WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
       ตลาดรับรู้กำไรงวด 4Q58 ที่ทยอยประกาศ บวกราคาน้ำมันดิบยืนเหนือ 30 เหรียญฯต่อบาร์เรล หลังผู้ผลิตน้ำมันยังหาทางลดปัญหา Over supply จึงคาด SET มีโอกาสทดสอบ 1,342 จุด กลยุทธ์ผสมผสานหุ้น Global (PTT, IRPC, PTTGC) + Domestic (P/E ต่ำ ปันผลสูง (ADVANC, INTUCH, PS, ASK) เลือก IRPC([email protected]) และ ADVANC(FV@B187) เป็น Top picks

เงินเฟ้อตกต่ำทั่วโลก...การใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายยังจำเป็น
      วานนี้ มีการรายงานเงินเฟ้อในหลายประเทศทั่วโลก พบว่ายังคงชะลอตัวต่อเนื่อง กล่าวคือ ยุโรป เงินเฟ้อเดือน ม.ค. ลดลงอยู่ที่ระดับ 0.3% yoy หลังจากฟื้นตัว 3 เดือนในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า และญี่ปุ่น ลดลงเหลือ 0% เป็นการชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ยกเว้นเพียงสหรัฐ ที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดอยู่ที่ 1.4% จาก 0.7% ในเดือน ธ.ค. 2558 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าในหมวดที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และ ยาสูบ ซึ่งเพิ่มขึ้นเฉลี่ยรายการละ 3% แต่ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังส่งสัญญาณชะลอตัว ทั้งนี้แม้ว่าระยะสั้น พบว่ายอดสั่งซื้อสินค้าคงทน เดือน ม.ค. พบว่าเพิ่มขึ้น 4.9% พลิกจากที่ติดลบ 5% ในเดือน ธ.ค. 2558 แต่เป็นเพราะมีคำสั่งซื้อเครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป แต่น่าจะเป็นเพียงเหตุการณ์ระยะสั้น ๆ

      ทั้งนี้ เพราะหากพิจารณาดัชนีชี้นำเศรษฐกิจโดยรมทั้งภาคการผลิต และ ครัวเรือนยังคงชะลอตัว กล่าวคือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) ที่หดตัวติดต่อกัน 4 เดือนติด และฝั่งผู้บริโภคพบว่า หลังจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.พ. หดตัว 6% จากเดือนก่อนหน้า(mom) เป็นเวลา 2 ดือนติดต่อกัน และ ยอดขายบ้านใหม่ เดือน ม.ค.หดตัว 5.2%yoy เป็นการตอกย้ำเศรษฐกิจของสหรัฐที่ชะลอตัว และน่าจะทำให้ Fed ต้องเพิ่มความระมัดระวังการขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ หรือไม่สามารถขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้ตามเป้าหมาย ติดตามผลการประชุม Fed วันที่ 15 -16 มี.ค. ซึ่งเชื่อว่าจะไม่มีอะไรพิเศษ โดยผลสำรวจของBloomberg คาดว่ามีโอกาสเพียง 10% ที่Fed จะขึ้นดอกเบี้ย และน่าจะกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์ (Dollar Index) ผันผวน ในกรอบ 95-100 โดยภาพรวมถือว่ายังเป็นสัญญานบวกต่อตลาดหุ้น และ ทิศทางของราคาน้ำมัน

กำไรงวด 4Q58 ทำได้ตามเป้าหมาย แนวโน้มปี 2559 ยังดีต่อ
     การรายงานงบฯ งวด 4Q58 ที่ฝ่ายวิจัยรวบรวมถึงช่วงเย็นวานนี้ มีบริษัทจดทะเบียนรายงานงบฯ แล้วกว่า 260 บริษัท คิดเป็น Market Cap รวมกันแล้ว 75% ปรากฏว่ากำไรสุทธิงวด 4Q58 ที่ประกาศออกมารวมกันได้กว่า 1.99 แสนล้านบาท ซึ่งทำให้โอกาสที่จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ ASPS ประเมินไว้ราว 2.3 แสนล้านบาท มีความเป็นไปได้สูง ทั้งนี้ยังรอหุ้น Market Cap ใหญ่ ที่ยังมิได้ประกาศงบฯ เช่น กลุ่มรับเหมาฯ CK, ITD ค้าปลีก CPALL ส่งออกอาหาร CPF (คาดกำไรอ่อนตัวตามผลของฤดูกาล) โรงพยาบาล BDMS (คาดกำไรเติบโตโดดเด่นจาก รพ.ใหม่) โรงแรม CENTEL (คาดกำไรหดตัวจากต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น) และสายการบิน THAI (น่าจะออกมาดีเพราะเป็นผลของฤดูกาล และมีกำไรพิเศษ) เป็นต้น
ทั้งนี้ หากพิจารณาผลประกอบการที่ออกมาแล้วนั้น พบว่ากลุ่มที่มีแนวโน้มดีกว่าคาด เช่น กลุ่ม ธ.พ. ปิโตรเคมี ICT ส่วนกลุ่มที่ ใกล้เคียงคาด อาทิ เช่าซื้อ วัสดุก่อสร้าง อสังหาฯ ค้าปลีก และ ชิ้นส่วนฯ ยกเว้นที่อิงเศรษฐกิจโลกที่ยังต่ำกว่าคาด เช่น พลังงาน ได้แก่ PTTEP และ BCP

      สำหรับ แนวโน้มกำไรตลาดปี 2559 คาดว่าสดใสกว่าปี 2558 (แม้จะมีการปรับประมาณการกำไรของกลุ่ม Media และ ICT ไปแล้วในช่วงต้นปี 2559 ก็ตาม) แม้ยังมีตัวแปรที่สำคัญที่อาจจะกดดันกำไรในปี 2559 คือเรื่องราคาน้ำมันที่อาจจะกดดันผลประกอบการของ กลุ่มพลังงานและโรงกลั่น เนื่องจากสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 45 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งยังสูงกว่าราคาปัจจุบันที่ยังเคลื่อนไหวที่ 30 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล (ค่าเฉลี่ย 2 เดือนแรก 28.06 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล) แต่เนื่องว่าราคาน้ำมันได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว และเนื่องจากฐานกำไรที่ต่ำมากในปี 2558 จึงทำให้คาดว่าในปีนี้กลุ่มนี้จะเติบโตก้าวกระโดด

      โดยภาพรวมผลกำไรในปี 2559 คาดว่าจะมีกำไรสุทธิราว 8.4 ล้านบาท เทียบกับปี 2558 ที่ราว 7 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้นราว 90 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ราว 20% โดยกลุ่มที่เติบโตสูงสุดเป็นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี รองลงมาคือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ แม้ปี 2559 คาดว่าการเติบโตสินเชื่อไม่สูงมากนัก แต่เนื่องจากไม่ต้องตั้งสำรองฯ จำนวนมากเหมือนปีที่ผ่านมา จึงน่าจะเห็นการเติบโตของกำไรในระดับใกล้เคียง 10% ทั้งนี้ หากพิจารณาระดับ Expected P/E ของตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ราว 14.7 เท่า ใกล้เคียงกับภูมิภาคอย่างมาเลเซียที่ 14.5 เท่า แต่ต่ำกว่าฟิลิปปินส์ที่ 15.1 เท่า แต่ด้วยการเติบโตในอัตราที่สูงกว่า จึงทำให้ตลาดหุ้นไทยมีความโดดเด่นกว่า

     กลยุทธ์การลงทุนให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นไทย 40% โดยให้ผสมผสานระหว่างหุ้น Global ซึ่งได้แก่ PTT, IRPC, PTTGC กับหุ้น Domestic Play (เน้น P/E ต่ำ เงินปันผลสูง) อาทิ ADVANC, INTUCH, ASK รวมทั้งหุ้นที่มีแนวโน้มผลประกอบการเติบโตสูง เช่น BJCHI, MCS เป็นต้น

สหรัฐเริ่มลดคนงาน หลังทยอยหยุดแท่นขุดเจาะฯ ตั้งแต่ปลายปี 2558
      ราคาน้ำมันยังคงแกว่งตัวขึ้นต่อเนื่อง แม้ปัญหา Over Supply ยังคงมีอยู่ แต่คาดจะได้รับ Sentiment เชิงบวก จากการที่ผู้ผลิตน้ำมันทั้งในกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC เริ่มหันหน้าเจรจา เพื่อคงกำลังการผลิต และ ล่าสุด รัฐมนตรี พลังงานของเวเนซุเอล่า ยังคงยืนยันถึงการประชุมร่วมกันระหว่างผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ในกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC อาทิ ซาอุดิอาระเบีย รัสเซีย และกาตาร์ เพื่อหารือเกี่ยวข้องกับการผลิต ในกลางเดือน มีนาคมที่จะถึงนี้
      นอกจากนี้ การที่ผู้ผลิตน้ำมันในสหรัฐ(ผู้ผลิตน้ำมันที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้แก่ Shale oil และ Shale gas) ได้ทยอยตัดลดงบลงทุน พร้อมปลดคนงานบางส่วนลง กว่า 5,000 ตำแหน่ง หลังจากประสบปัญหาขาดทุน จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดต่ำกว่าต้นทุน ส่งผลต้องทยอยปิดกิจการต่อเนื่องนับจากปลายปี 2558 สะท้อนจากจำนวนหลุมขุดเจาะในสัปดาห์ที่ผ่านมาลดลงเหลือเพียง 413 หลุม ต่ำสุดในรอบ 6 ปี ซึ่งจากประเด็นดังกล่าวถือว่าเป็นการลดปัญหา Supply ลง
     สถานการณ์ดังกล่าว นอกจากเป็นการลดแรงกดดันต่อราคาน้ำมัน แล้ว ยังทำให้นักลงทุน/นักเก็งกำไร น่าจะเริ่มเปลี่ยนสถานะจากที่ short น้ำมัน/ขายหุ้นน้ำมัน กลับมามีสถานะ Long ทั้งน้ำมัน /หุ้นในกลุ่มพลังงาน อีกครั้งหลังจากที่ส่วนใหญ่ขายหุ้นกลุ่มนี้มานานติดต่อกันหลายปี

      ล่าสุดราคาน้ำมันตลาดล่วงหน้า Brent ปรับขึ้น ราว 2.56% (ปิดตลาด35.29 เหรียญฯต่อบาร์เรล) ขณะที่ราคาน้ำมัน WTI ยังคงแกว่งตัวระดับ 33 เหรียญฯต่อบาร์เรล ทิศทางเดียวกับน้ำมันมันดิบดูไบ spot ปรับตัวขึ้นราว 5.35% ล่าสุด 29.53 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ขณะที่ตลาดล่วงหน้าที่ยังคงแกว่งตัวระดับ 30 เหรียญฯต่อบาร์เรล) ยังชื่นชอบหุ้นน้ำมันและปิโตรเคมี เลือก PTT และ IRPC เป็น Top picks เช่นเดิม

ต่างชาติยังคงซื้อหุ้นไทยต่อเนื่องเป็นวันที่ 8
      วานนี้แม้ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์จะหยุดทำการ เนื่องจากเป็นวันหยุด แต่ตลาดหุ้นอื่นๆยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่าต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 211 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเล็กน้อยในวันก่อนหน้านี้) แต่เป็นการขายสุทธิอยู่ประเทศเดียว คือ อินโดนีเซียขายสุทธิราว 2 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติยังคงซื้อสุทธิคือ ไต้หวันซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 201 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ ซื้อสุทธิราว 8 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) และไทยต่างชาติยังคงซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 3 ล้านเหรียญ หรือ 115 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8 โดยมียอดซื้อสุทธิสะสมรวมราว 8.6 พันล้านบาท) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 331 ล้านบาท

ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 7,062 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 4,738 ล้านบาท ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย โดยล่าสุดอยู่ที่ 35.65 บาท/ดอลลาร์
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค

หุ้นที่แนะนำใน Market talk 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!