WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

May copyบล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์วันนี้ Selective Buy
ตลาดหุ้นวานนี้:
        ตลาดหุ้นไทยวานนี้ SET INDEX เปิดบวกและพยายามไต่ระดับขึ้นทดสอบ 1,300 จุด นำโดยกลุ่มพลังงาน และ AOT แต่ก็เกิดแรงขายทำกำไรมากขึ้น กลุ่มธนาคาร / ICT ย่อตัวลงในช่วงบ่าย กดดันให้ SET INDEX กลับซึมตัวลงมาปิดบวกได้เพียง 0.96 จุด มาอยู่ที่ 1,289.36 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 40,758 ล้านบาท ทั้งนี้มีรายการ Big Lot หุ้น BIGC จำนวน 3 ล้านหุ้น ราคา 248 บาท มูลค่า 744 ล้านบาท
ด้านกระแสเงินทุนต่างชาติ ซื้อสุทธิทั้ง 3 ตลาดเป็นวันที่ 2 ด้วยการซื้อสุทธิตลาดหุ้นอีก 275 ล้านบาท Long สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันที่ 3 เพียง 431 สัญญา และซื้อสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 6 อีก 2,991 ล้านบาท

ปัจจัยสำคัญวันนี้
ซาอุฯ - รัสเซีย ตกลงเห็นชอบที่จะคงกำลังการผลิตน้ำมัน
รองนายกฯ ดร.สมคิด เร่งรัดให้ รมว.คมนาคม เข้าไปเจรจากับภาคเอกชนในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย
ติดตามรายงานการประชุมเฟดเมื่อเดือนม.ค. เพื่อประเมินโอกาสของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมเดือนมี.ค.
แนวโน้มจีนดูดีขึ้น ทางการจีนเตรียมให้การสนับสนุนงานลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 4.0 แสนล้านหยวน/ไตรมาส ใน 1Q59 และจะต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 2 ไตรมาสข้างหน้า

มุมมองต่อตลาด
เราประเมินภาพ SET INDEX วันนี้ มีโอกาสซึมตัวลงทดสอบด่าน 1,270-1,275 จุดในช่วงเปิดตลาด เพราะขาดปัจจัยใหม่เข้าหนุนการลงทุน กระแสเงินทุนต่างชาติที่แม้ว่าจะซื้อสุทธิทั้ง 3 ตลาดพร้อมกันเป็นวันที่ 2 แต่ก็เป็นไปอย่างเบาบาง ทำให้แรงจูงใจในการเก็งกำไรรอบสั้นต่อตลาดหุ้นไทยเป็นไปอย่างจำกัด
ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศแนวโน้มทรงตัว ไม่ว่าจะเป็น
- แนวโน้มเศรษฐกิจจีน หลังทางการจีนมีแผนให้เงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไตรมาสละ 4.0 แสนล้านหยวนในช่วง 9M59 นี้ รวมถึงการกำหนดค่าเงินหยวน/ดอลลาร์สหรัฐฯ มีเสถียรภาพมากขึ้นระหว่าง onshore-offshore
- ทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มทรงตัวมากขึ้น หลังผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของกลุ่มโอเปค อย่างซาอุฯ และนอกโอเปค อย่างรัสเซีย เห็นชอบร่วมกันที่จะไม่เพิ่มกำลังการผลิตมาไปกว่าเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ทำให้แรงกดดันของ Oversupply ขอน้ำมันทรงตัว
- ทิศทางค่าเงินสกุลหลัก ไม่ว่าจะเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ เยนญี่ปุ่น ยูโร หรือ GBP จะทรงตัวและแกว่งในกรอบแคบมากขึ้น เพื่อรอดูผลการประชุมเฟดในเดือนมี.ค. หลังตลาดปรับมุมมองต่อการประชุมนัดนี้เป็นการคงอัตราดอกเบี้ยของเฟด และได้สะท้อนไปยังค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงมารอผลการประชุมดังกล่าวแล้ว
กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง มีแนวโน้มอ่อนแอ หลังการทำงานของรมว.คมนาคม เกิดความล่าช้าในหลายๆ โครงการ ไม่ว่าจะเป็นการเจรจากับภาคเอกชนในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย / การพิจารณาโครงการรถไฟฟ้าสีส้ม / เหลือง / ชมพู หรือรูปแบบการบริหารจัดการของมอเตอร์เวย์ 3 เส้นทางที่ยังไม่ได้ข้อสรุป
ขณะที่กลุ่มพลังงาน / ปิโตรเคมี จะทรงตัวดีขึ้น สอดคล้อกับภาพรวมของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก โดยหุ้นเด่นกลุ่มนี้ PTT ที่ผลการดำเนินงานจะประกาศในวันศุกร์ที่ 19 ก.พ. และมีโอกาสที่จะจ่ายเงินปันผลงวด 2H58 ราว 7-8 บาท สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 6 บาท รวมถึงหุ้นหลักในกลุ่มธนาคารที่รอประกาศจ่ายปันผลงวด 2H58 หรือปี 2558 ปลายเดือนก.พ. และ AOT ที่แนวโน้มผลการดำเนินงานใน 2Q58/59 จะเติบโต qoq โดดเด่นต่อเนื่อง

กลยุทธ์การลงทุน
เราแนะนำให้ "นักลงทุนเข้าเก็งกำไรเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย หากราคาหุ้นเป้าหมายย่อตัวระหว่างชั่วโมงการซื้อขาย เพื่อรอขายทำกำไรบริเวณ 1,300 จุด +/-"

Speculative Buy: PS

Stock Pick of the Day
กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำ "เก็งกำไร" ได้แก่
1. PS : ราคาปิด 25.50 บาท ราคาเหมาะสม 33.30 บาท
a) PS จะรายงานงบ 4Q58 ในวันศุกร์นี้ โดยคาดว่ากำไรสุทธิจะเติบโต +36.6% yoy และ +57.5% qoq เป็น 2,565 ล้านบาท ทำระดับสูงสุดใหม่ จากอานิสงค์ของมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐฯซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่เดือน พ.ย.ที่ผ่านมา
b) คาดผลประกอบการ 1Q59 จะดีต่อเนื่อง จากมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐฯ ซึ่งจะหมดอายุลงในสิ้นเดือน เม.ย. จึงเป็นปัจจัยช่วยกระตุ้นยอดโอนใน 1Q59 ให้เร่งตัวขึ้นได้ดี
c) ตั้งเป้า Presales ปี 2559 เติบโต 20% yoy ที่ 5.1 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นสัดส่วนได้แก่ บ้านเดียว 25%, ทาวน์เฮาส์ 47% และ คอนโดมิเนียม 28% และคาดว่ากำไรสุทธิปี 2559 จะเติบโต +4.9% yoy เป็น 7,605 ล้านบาท และเป็นระดับสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง
d) ซื้อขายที่ PER2559 ระดับ 7.5 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 7 ปีที่ 9.8 เท่า และหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่ม เช่น LH ที่ 13.4 เท่า

Fund Flow Analysis

Fund Flow in Emerging Markets
กลับมาซื้อสุทธิ US$303 ล้าน จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ US$193 ล้าน

Foreign Investors Action วานนี้
ต่างชาติซื้อสุทธิทั้ง 3 ตลาดพร้อมกันเป็นวันที่ 2
นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 2 อีกเล็กน้อย 275 ล้านบาท รวม 2 วันทำการซื้อสุทธิ 583 ล้านบาท และทำให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้ขายสุทธิสะสมลดลงเล็กน้อย เป็น 14,001 ล้านบาท
ด้าน SET50 Index Futures นักลงทุนกลุ่มนี้คงการ Long สุทธิเป็นวันที่ 3 อีกเพียง 431 สัญญา รวม 3 วันทำการ Long สุทธิ 9,831 สัญญา คาดเป็นการเปิดสถานะ Long ต่อเนื่อง เมื่อ SET50 Index ปิดยืนเหนือ 810 จุดได้ต่อเนื่อง ขณะที่ S50H16 ปิดต่ำกว่า SET50 Index ต่อเนื่อง แต่กลับกว้างขึ้นเป็นวันแรกในรอบ 3 วันทำการ 7.50 จุด จากวันก่อนหน้า Discount เพียง 5.04 จุด ผลักดันให้ QTD นักลงทุนกลุ่มนี้ Long สุทธิยังคงทะลุ 90,000 สัญญา เป็น 90,867 สัญญา
และตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนกลุ่มนี้คงการซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6 อีก 2,991 สัญญา รวม 6 วันทำการ ซื้อสุทธิ 21,997 ล้านบาท แม้ว่าราคาพันธบัตรไทยจะเริ่มฟื้นตัวเป็นวันแรกในรอบ 3 วันทำการ ผ่านผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ลดลง 1.44bps จากวันก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 5.78bps ปิดที่ 2.105%

Short-Selling วานนี้
เร่งขึ้นเป็น 1,058 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 513 ล้านบาท

NVDR Movement
NVDR ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3 เน้นกลุ่มพลังงานอย่างโดดเด่น
การซื้อขายผ่าน NVDR ซื้อสุทธิอีก 881 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 806 ล้านบาท รวม 3 วันทำการซื้อสุทธิ 1,809 ล้านบาท โดยยังคงเน้นสะสมกลุ่มพลังงานต่อเนื่อง สรุปภาพรวมได้ดังนี้
1. กลุ่มพลังงาน ซื้อสุทธิสูงสุดเป็นวันที่ 2 อีก 664 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 201 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มธนาคาร ซื้อสุทธิ 133 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 174 ล้านบาท และกลุ่มไฟแนนซ์ ซื้อสุทธิ 92 ล้านบาท
2. ส่วนกลุ่มค้าปลีก ขายสุทธิสูงสุด 134 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มปิโตรเคมี ขายสุทธิ 31 ล้านบาท

ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ - การเงินรายภูมิภาค


สหรัฐอเมริกา
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาเป็นลบ
ดัชนี Empire State ภาคการผลิต เดือนก.พ. -16.64 จุด หดตัวมากกว่าที่ Bloomberg consensus คาด -10.00 จุด แต่ฟื้นตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ -19.37 จุด โดยคำสั่งซื้อใหม่หดตัวเป็นเดือนที่ 9 อีก 11.63 จุด ขณะที่การจ้างงานดีขึ้นจาก -13.00 จุดเดือนธ.ค. เป็น -0.99 จุด แต่ยังเป็นการหดตัวเดือนที่ 8
ดัชนีตลาดบ้าน เดือนก.พ. เท่ากับ 58 จุด ต่ำกว่า Bloomberg consensus คาดที่ 61 จุด และเดือนก่อนหน้าที่ 61 จุด ทั้งนี้สะท้อนถึงความอ่อนแอของผู้ซื้อบ้านใหม่ รวมถึงพายุหิมะที่ด้านตะวันออก ส่งผลกระทบต่อยอดขายในเดือนก.พ.

ยุโรป
อัตราเงินเฟ้อในอังกฤษเร่งขึ้นเล็กน้อย: เดือนม.ค. เพิ่มขึ้น 0.3% yoy เร่งขึ้นจากเดือนธ.ค.ที่ 0.2% yoy แต่สอดคล้องกับที่ตลาดคาดการณ์ ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อที่แท้จริง เพิมขึ้น 1.2% yoy ชะลอตัวจากเดือนธ.ค.ที่ 1.4% yoy อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อยังคงต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2.0% เนื่องจากราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับต่ำสุด 12 ปี และแรงกดดันต่อการใช้จ่าย

จีน
ตัวเลขเศรษฐกิจจีนส่งสัญญาณเป็นกลางถึงบวก
ยอดสินเชื่อรวมทั้งระบบ เพิ่มขึ้นเป็น 3.42 ล้านล้านหยวน ณ สิ้นเดือนม.ค. ดีกว่า Bloomberg consensus คาดที่ 2.2 ล้านล้านหยวน
ยอดสินเชื่อใหม่สกุลเงินหยวน เดือนม.ค. เพิ่มขึ้นเป็น 2.51 ล้านล้านหยวน ดีกว่า Bloomberg consensus คาดที่ 1.90 ล้านล้านหยวน สะท้อนถึงการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์กลับมาเน้นสินเชื่อสกุลเงินหยวนมากขึ้น จากเงินตราต่างประเทศ
NPL ณ สิ้นเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 7% จาก ณ สิ้นเดือนก.ย. เป็น 1.27 ล้านล้านหยวน เป็นระดับการเพิ่มขึ้นของ NPLs ที่ต่ำสุดในรอบ 2 ปี และหากพิจารณาเฉพาะหนี้เสียทั้งระบบสถาบันการเงินอยู่ที่ 4.2 ล้านล้านหยวน คิดเป็น 5.46% ของหนี้สงสัยจะสูญทั้งหมด
ธนาคารกลางจีนเริ่มดูดซับสภาพคล่องทางการเงิน: ด้วยการประมูลพันธบัตร RP7 วันวงเงิน 3.0 หมื่นล้านหยวน ต่ำกว่าพันธบัตรที่ครบกำหนด 1.25 แสนล้านหยวน ทั้งนี้ตลาดเงินในจีนจะเปิดทำการทุกวันจนถึงวันศุกร์นี้ และจะกลับมาเปิดตามปกติสัปดาห์ละ 2 ครั้งตามเกณฑ์เดิม ธนาคารกลางจีนได้อัดฉีดสภาพคล่องทางการเงินในช่วงก่อนเทศกาลตรุษจีนรวมทั้งสิ้น 1.7 ล้านล้านหยวน
ทางการจีนเตรียมอัดฉีดเงินโครงการลงทุน 4.0 แสนล้านหยวนไตรมาสนี้: The National Development and Reform Commission มีแผนที่จะลงทุน 4.0 แสนล้านหยวนใน 1Q59 เพื่อใช้เป็นเงินไฟแนนซ์ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และกระตุ้นการลงทุน

เอเชียแปซิฟิก
ธนาคารกลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย: เท่ากับ 1.5% สำหรับอัตราดอกเบี้ย RP7 วัน ด้วยเสียง 5-1 ขณะที่ความผันผวนในตลาดเงิน การส่งออกที่หดตัว และอุปสงค์ภายในประเทศที่มีแนวโน้มอ่อนแอลง ทำให้ธนาคารกลางได้เพิ่มวงเงินกู้พิเศษแก่บริษัทขนาดเล็ก
ฟิลิปปินส์ปรับเป้าการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ลง: เป็น 6.8-7.8% ในปีนี้ จากการประเมินครั้งก่อนที่ 8.0% และคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 6.6-7.6% ในปี 2560 เนื่องจากความผันผวนในตลาดเงินและสินค้าโภคภัณฑ์ ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของฟิลิปปินส์ โดยคาดหวังว่าการใช้จ่ายจากภาครัฐ จะสามารถกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศให้เติบโตแข็งแกร่ง ชดเชยกับภาคการส่งออกที่ยังคงอ่อนแอ
ซาอุฯ - รัสเซียตกลงที่จะคงกำลังการผลิต: หลังหารือที่กรุงโดฮา โดยทั้งซาอุฯ และ รัสเซีย จะคงกำลังการผลิตที่ระดับเดียวกับเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ถือเป็นการร่วมมือระหว่างกลุ่มโอเปค และ นอกกลุ่มโอเปค ครั้งแรกในรอบ 15 ปี แม้ว่าจะไม่มีอิหร่านเข้าร่วมการหารือก็ตาม การประชุมครั้งนี้ประกอบด้วย ซาอุฯ / กาต้าร์ / เวเนซูเอร่า / รัสเซีย ทั้งนี้ซาอุฯ เปิดทางให้มีการดำเนินการมากกว่านี้ได้ เพื่อให้เกิดเสถียรภาพ และปรับตัวที่ดีขึ้นของตลาด
ยอดส่งออกไต้หวันหดตัวแรง: ลดลง 13.0% yoy ในเดือน ม.ค. จากเดือนก่อนหน้าที่ลดลง 13.7% yoy แต่ยังหดตัวน้อยกว่าที่ Bloomberg Consensus คาด -14.5% yoy นำโดยการส่งออกไปยังจีนที่หดตัว 19.3% yoy ด้านการนำเข้าหดตัว 11.7% yoy ทำให้ดุลการค้าเกินดุลที่ระดับ US$3.51 พันล้าน
คำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นหดตัวแรงกว่าคาด: ลดลง 3.6% yoy สำหรับเดือน ธ.ค. เทียบกับเดือนก่อนที่ขยายตัว 1.2% yoy และแย่กว่าที่ Bloomberg Consensus คาดที่ -2.8% yoy อย่างไรก็ตามเป็นการขยายตัว 4.2% mom ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงการใช้จ่ายลงทุนในอนาคต

ไทย
ไม่มี

Strategist Team Maybank KimEng
Mayuree Chowvikran, CISA Strategist / Analyst 662-6586300 x 1440
Padon Vannarat Equity Analyst 662-6586300 x 1450
Rinrada Lianghathaitham Assistant Analyst 662-6586300 x 1530

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!