- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 20 January 2016 16:38
- Hits: 754
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
แม้ปัญหาภายนอกยังมี แต่พัฒนาเชิงบวกรายหุ้น โดยเฉพาะ กสทช เจรจาขอคืนคลื่น 2600 จาก MCOT([email protected]) ซึ่งจะได้เงินชดเชยมาพัฒนา Hidden assets แล้ว ยังแก้ปัญหาขาดแคลนคลื่น 4G ดีต่อ DTAC(FV@B40) ยังชื่นชอบหุ้นทั้ง 2 และวันนี้เลือก TCAP([email protected]) เป็น Top pick งบงวด 4Q58 ดีกว่าคาด และ ROE ที่สูง นักวิเคราะห์ ASPS จึงปรับมูลค่าหุ้นขึ้นจากเดิม 15%
IMF ปรับลด GDP Growth โลก 0.2% ปี 2559-2560
ปัจจัยภายนอกยังคงกดดันตลาดหุ้นโลก โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ธนาคารกลางโลกส่วนใหญ่ยังคงใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย ในฝั่งยุโรป แม้หลังจากรายงานเงินเฟ้อเดือน ธ.ค. 2558 ยังทรงตัวที่ 0.2% เท่ากับเดือนพ.ย. ยังไกลจากเป้าหมายเช่นกัน จึงทำให้ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังคงใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน QE จนถึงต้นปี 2560 โดยการประชุม ECB วันพรุ่งนี้ไม่น่าจะมีอะไรใหม่ หรือ กรณี อังกฤษ แม้เงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 2558 เริ่มกระเตื้องขึ้นมาที่ 0.2% เท่ากับที่ตลาดคาด และดีกว่า 0.1%.ในเดือน พ.ย. แต่ยังห่างไกลจากเป้าหมาย 2% เช่นกัน ทำให้ตลาดคาดว่า BOE จะเลื่อนการขึ้นดอกเบี้ยไปเป็นปลายปี 2559 (ช่วงพ.ย.59) เนื่องจากความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกยังมีอยู่ โดยเฉพาะจีน หลังจากรายงาน GDP Growth งวด 4Q58 ที่ 6.8%yoy ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ 6.9%yoy (เฉลี่ยปี 2558 อยู่ที่ 6.9%yoy ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 25 ปี vs 7.3% yoy ในปี 2557) โดยพบว่าภาคการผลิตของจีนยังชะลอตัว สะท้อนผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. ลดลงมาอยู่ที่ 5.9% (ชะลอตัวติดกัน 5 เดือน)
สวนทางภาคการบริโภคที่ยังฟื้นตัวต่อเนื่อง กล่าวคือยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. อยู่ที่ 11.1% เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8
ด้วยความสัมพันธ์และผูกโยงทางด้านเศรษฐกิจ การเงินและค้าที่จีนมีกับทั่วโลก โดยเฉพาะในฝั่งประเทศกำลังพัฒนาแถบเอเชีย รวมถึงไทย จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ IMF ทำการปรับลดประมาณ GDP Growth โลกลงเป็นครั้งแรกในปีนี้ ทั้งนี้หลังจากที่ World Bank ได้ปรับลดไปก่อนหน้านี้ (ปรับลด 0.4% เหลือ 2.4% ในปี 2558 และ 2.9% ในปี 2559 ส่วนปี 2560 ลดลง 0.1% เหลือ 3.1% ) โดย IMF ได้ปรับลด GDP Growth โลกปี 2559 และ 2560 ลงปีละ 0.2% เหลือ 3.4% และ 3.6% ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นการปรับลดประเทศเกิดใหม่และกำลังพัฒนาละปีละ 0.2% ได้แก่ รัฐอิสระของ commonwealth (รัสเซีย และประเทศใกล้เคียง) ลดลง 0.5% และ ลดลง 0.3% ตามมาด้วย ลาตินอเมริกา (บราซิล และ เม็กซิโก และ แคริบเบียน) ปรับลด 1.1% และ 0.7% ตะวันออกกลาง (ซาอุดิอาราเบีย, อเมริกาเหนือ อาฟกานิสถานและปากีสถาน) ลดลง 0.3% และ ลดลง 0.5% ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วปรับลดน้อยกว่าคือเพียง 0.1% ในปี 2559-2560 โดยเป็นการปรับลดสหรัฐ 0.2% ในปี 2559 ตรงข้ามกับฝั่งยุโรปปรับเพิ่มปีละ 0.1% ในปี 2559
โดยสรุป ตราบที่การปรับลดประมาณการ GDP Growth โลกยังมีอยู่ถือเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นโลก แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาตลาดหุ้นที่ปรับฐานนับจากจุดสูงสุดในปี 2558 พบว่าตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงราว 30% จาก จุดสูงสุดใน เดือน พ.ค.2556 ที่ 1,643.43 จุดลงมากว่า 29.81% (ปิดวานนี้ที่ 1266.01 จุด) เทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอาทิ อินโดนีเซียปรับลดลง 15.52% ฟิลิปปินส์ (15.27%) และ มาเลเซีย (9.71%) สวนทางกับงฝั่งยุโรปและอเมริกา ที่ดัชนีกลับปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน กล่าวคือ S&P500 ปรับตัวเพิ่มขึ้น ราว 12.71%, CAC Index เพิ่มขึ้น 5.85%, DAX Index 14.07% เช่นเดียวกับตลาดหุ้นจีนที่สามารถปรับตัวขึ้นกว่า 30.48% ตลาดหุ้นไทยถือว่า underperform ตลาดหุ้นโลก
ต่างชาติซื้อหุ้นไทยเพียงประเทศเดียวในภูมิภาค
วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 455 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) และเป็นการขายสุทธิถึง 4 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิสูงสุทธิในภูมิภาคราว 273 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) ตามมาด้วยไต้หวันขายราว 173 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) เช่นเดียวกับอินโดนีเซียขายสุทธิราว 24 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) และฟิลิปปินส์ขายสุทธิราว 11 ล้านเหรียญ ส่วนไทยเป็นประเทศเดียวที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิราว 26 ล้านเหรียญ หรือ 934 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 4 วัน) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิสูงถึง 2,313 ล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ที่นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 4,523 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 1,086 ล้านบาท ส่วนค่าเงินบาทล่าสุดอยู่ที่ 36.30 บาท/ดอลลาร์
ธ.พ. รายงานงบ 4Q58 ดีกว่าคาด ปรับเพิ่มมูลค่าหุ้น TCAP 15%
สัปดาห์นี้หุ้นกลุ่ม ธ.พ. น่าจะทยอยประกาศงบได้เกือบทั้งหมด หลังจากที่ TISCO รายงานงบเป็นแห่งแรกเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา กำไรสุทธิเป็นไปตามคาด เติบโต 54%qoq แต่ลดลง 5.5%yoy ตามด้วย LHBANK ประกาศกำไรดีกว่าคาด เติบโต 4%qoq และ 52%yoy และ KKP กำไรดีกว่าคาดเช่นกัน เติบโต 6%qoq และ 135% yoy และ ล่าสุด มีการรายงานงบฯ ของกลุ่ม ธ.พ. ออกมาเพิ่มเติม คือ
TCAP ([email protected]) ผลการดำเนินงานงวด 4Q58 ต่ำกว่าคาด เติบโตเพียง 0.4%qoq และลดลงเล็กน้อย 0.1% yoy ผลจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลงและค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม NPL ปรับตัวลดลง และ NIM ยังทรงตัว โดยรวมแล้วกำไรสุทธิทั้งปี 2558 เติบโต 6.2% yoy ส่วนแนวโน้มงวด 1Q58 คาดว่าจะยังทรงตัวสูงใกล้เคียงกับงวด 4Q58 จากการควบคุมค่าใช้จ่ายดำเนินงาน และ credit cost ที่คาดว่ายังทรงตัวได้ใกล้เคียงงวดที่ผ่านมา ส่วนแนวโน้ม NPL คาดว่ายังเป็นไปในทิศทางขาลงต่อเนื่อง โดยรวมปี 2559 คาดกำไรจะเติบโตถึง 20% จากของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่เริ่มเห็นในช่วงปลายปี ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยได้ปรับเพิ่ม Fair value ปี 2559 ขึ้นเป็น 46.50 บาท จาก 40.60 บาท มี upside จากราคาปัจจุบันกว่า 23% โดยปรับเพิ่มคาดการณ์ ROE ระยะยาวขึ้นมา ประกอบกับราคาปัจจุบันยังต่ำกว่า BV จึงเชื่อว่าราคาหุ้นน่าจะกลับขึ้นไป outperform และกลับไปใกล้เคียงค่าเฉลี่ย PBV ย้อนหลัง 5 ปีที่ 1 เท่า ได้ไม่ยาก
ส่วนหุ้นที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์นั้นนักวิเคราะห์ ASPS ได้ทยอยทำ preview earnings ไปบ้างแล้ว ซึ่งพบว่ามีหุ้นที่ยังเติบโตตามฤดูกาล หรือ ได้รับอานิสงส์จากนโยบายรัฐ เช่น THAI ([email protected]), MCS ([email protected]), COM7 ([email protected]), SCC (FV@B595), AP ([email protected]), QH ([email protected]) TNP ([email protected]) และ TMT ([email protected]) เป็นต้น ตรงกันข้ามกับหุ้นที่มีผลกำไรชะลอตัวเนื่องจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจในประเทศ หรือได้รับผลกระทบจากการราคาน้ำมัน/ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง เช่น DRT ([email protected]), IRPC ([email protected]), LPN ([email protected]), KSL([email protected]), MCOT ([email protected]), PTTEP (FV@B60) และ THANI (FV@B4) (รายละเอียดอ่านใน Equity Talk ของหุ้นรายตัวตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา)
สหรัฐอยู่ในช่วงประกาศงบ 4Q58 หนุนหุ้นรายตัวเช่นกัน
ส่วนการรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนตลาดหุ้น S&P500 ล่าสุดมีการรายงานไปเพียง 20 บริษัท หรือราว 4% เท่านั้น โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่ที่รายงานงบออกมาแล้ว เช่น JPMorgan Chase & Co, Citigroup Inc, Wells Fargo & Co, Bank of America Corp รวมทั้ง Intel Corp และ Netflix Inc ซึ่งส่วนใหญ่ผลออกมามีการเติบโตใกล้เคียงหรือดีกว่าคาดเพียงเล็กน้อย และคาดในสัปดาห์นี้จะทยอยประกาศออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งใกล้เคียงกับของไทยมีกลุ่มธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินจะรายงานออกมาก่อน ทั้งนี้ นักวิเคราะห์จาก Deutsche Bank คาดว่ารายได้ในกลุ่มนี้จะเติบโต ขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านกฏหมายลดลง แต่ยังมีผลกระทบจากการเติบโตของสินเชื่อที่ชะลอตัวภายใต้ภาวะตลาดเงินที่ซบเซา จึงทำให้ผลกำไรรวมในกลุ่มนี้น่าจะแกว่งตัวในกรอบ -2% ถึง 4% เมื่อเทียบกับงวด 4Q57 ส่วนกลุ่มการแพทย์ (Healthcare) คาดรายได้เติบโต 10%yoy สวนทางกับกลุ่มเทคโนโลยีคาดหดตัวลง -2%yoy
ขณะที่ปี 2559 นักวิเคราะห์จาก Deutsche Bank มีมุมมองเชิงลบมากขึ้นต่อผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนใน S&P500 โดยคาดว่ากำไรตลาดต่อหุ้นจะอยู่ที่ 120 เหรียญ ลดลงจากครั้งก่อนหน้าที่ 125 เหรียญ และต่ำกว่า consensus ที่ประเมินไว้ 124.05 เหรียญ หลักๆ เกิดจากการลดลงของกำไรในกลุ่มเทคโนโลยี และกลุ่มการแพทย์ (2 กลุ่มนี้มีสัดส่วนกำไรตลาด S&P กว่า 35%) ที่เติบโตในอัตราต่ำสุดกว่า 30 ปี ขณะที่กลุ่มพลังงาน (สัดส่วนในกำไรต่อหุ้นของตลาด S&P ราว 5-10 เหรียญ) คาดกำไรหดตัวลงกว่า 30%yoy จากสมมติฐานราคาน้ำมัน WTI ปีนี้ไว้ที่เพียง 35 เหรียญ/บาร์เรล
ยังเน้นเลือกหุ้นปันผลสูงที่มีคุณสมบัติ Low Beta, Low P/E
ในภาวะที่ตลาดหุ้นผันผวน กลยุทธ์การลงทุนยังให้น้ำหนักการลงทุน 40% ในหุ้น ที่เหลือเป็นเงินสด และ แนะให้เลือกหุ้น พื้นฐานแข็งแกร่ง มีฐานการเงินมั่นคง (D/E ต่ำ และหรือ กระแสเงินสดจากการดำเนินงานสูง (Cash flow from operation) สามารถจ่ายเงินปันผลได้สม่ำเสมอ (ประมาณ 3.5-4% ต่อปี) แล้ว ยังเป็นหุ้นที่มีโอกาสปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาด หรือ หุ้นที่ค่า Beta ต่ำกว่า 1 เท่า
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์