- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 08 July 2014 14:57
- Hits: 2404
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดมีความเสี่ยงปรับฐาน แนะนำหุ้นปันผลเด่น โดยหุ้น Big Cap เลือก PTTEP, ADVANC ขณะที่ Mid-Small Cap เลือก BECL, KKP ทั้งนี้เลือก PTTEP(FV@B195), ADVANC(FV@B270), BECL(FV@B45) เป็น Top picks เพราะมี Upside เกิน 20% และ Dividend Yield ปี 2557F ที่ 4.2%, 6.1% และ 4.8% ตามลำดับ
การขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐเริ่มมีน้ำหนักต่อตลาดมากขึ้น
แม้ประธาน FED ได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนต่อแนวทางการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อเมื่อการจ้างงานในสหรัฐอยู่ในระดับที่น่าพอใจ (เป็นไปตามการบริหารนโยบายการเงินของสายพิราบ) คืออัตราการว่างงานจะต้องลดลงอยู่ในระดับ 5.5% ซึ่งเป็นระดับปกติก่อนเกิดวิกฤติซับไพร์มในปี 2551-2552 แม้ล่าสุดอัตราการว่างงานจะลดลงเหลือ 6.1% ต่ำสุดในรอบ 6 ปี และต่ำกว่าเป้าหมายที่ 6.5% ก็ตาม โดยยังมีความกังวลต่อจำนวนผู้ว่างงานที่ยังไม่กลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน แม้ล่าสุด การจ้างงานนอกภาคการเกษตร เดือน มิ.ย. จะเพิ่มมากถึง 2.88 แสนตำแหน่ง มากกว่าตลาดคาดเพียง 7.3 หมื่นตำแหน่ง (เทียบกับเพียง 6.4 หมื่นตำแหน่งในเดือนก่อนหน้า)
และสอดคล้องกับการจ้างงานภาคเอกชนของ ADP ที่ ปรับตัวขึ้น 2.81 แสนตำแหน่ง เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อสหรัฐได้ขยับขึ้นมายืนเหนือ 2% ติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน เป็นประเด็นทำให้นักเศรษฐศาสตร์จากโบรกเกอร์ชั้นนำหลายแห่งในสหรัฐ คือ Goldman Sachs, JP Morgan และ Bank of Tokyo เริ่มกลับมาให้น้ำหนักต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐเร็วขึ้น ประเมินช่วงเวลาขึ้นดอกเบี้ย FED จากเดิมใน 1Q59 เข้ามาเร็วขึ้นเป็น 3Q58 ซึ่งเชื่อว่ามุมมองนี้น่าจะเพิ่มมากขึ้น ตราบที่การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ยังมีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งเชื่อว่ายังเป็นปัจจัยกดดันตลาดที่พร้อมจะทำให้ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐ และตลาดหุ้นโลกปรับฐานได้
เตรียมปรับลดส่งออกไทย สะท้อนปัญหาที่ยังมีอยู่
เพื่อสะท้อนยอดการส่งออกที่ยังอ่อนแอ กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับลดเป้าส่งออกสินค้าและบริการไทยปี 2557 เหลือ 3.5% จากเดิม 5% แต่ยังสูงกว่าที่ ธปท. คาดการณ์ไว้ล่าสุด 3% ภายใต้สมมติฐาน เศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ 3.6-6.7% ตามการประมาณการของ IMF ทั้งนี้หากพิจารณาในช่วง 5M57 พบว่า ยอดส่งออกติดลบ 1.22%yoy (หลัก ๆ มาจากจีน ติดลบ 5.6% ASEAN-9 ติดลบ 3.5% และ ญี่ปุ่น ติดลบ 1.7%) ส่วนการนำเข้าหดตัว 14%yoy ทั้งภายใต้สมมติฐานใหม่ คาดว่ายอดส่งออกในช่วงที่เหลือ 7 เดือนของปีนี้เฉลี่ยต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ 6% ซึ่งถือว่าเป็นไปได้ยากมาก เพราะเศรษฐกิจในกลุ่มเอเซียยังฟื้นตัวล่าช้า ขณะที่ยังเผชิญกับการต่อต้านการยึดอำนาจของทหารจากประเทศคู่ค้าหลักของไทย คือ สหรัฐ และ ยุโรป เป็นต้น
ทั้งนี้มีความเป็นไปว่า สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ที่ไทยได้รับจากสหภาพยุโรป รวม 723 รายการ (กุ้งสดแช่แข็ง จักรยานยนต์ รองเท้า เครื่องนุ่งห่ม ล้อรถยนต์ ทูน่ากระป๋อง เป็นต้น) จะสิ้นสุด 1 ม.ค. 2558 จะไม่ได้รับการพิจารณา เช่นเดียวช่วง 1 ม.ค. 2557 สหภาพยุโรปได้ตัด GSP สินค้าไทยไป 50 รายการ ซึ่ง 1 ใน 50 รายการคือ กุ้งแปรรูป ซึ่งทำให้กุ้งแปรรูปนำเข้าจากไทยต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตรา 20% จากเดิม เพียง 7% และเช่นกันหากถูกยกเลิก GSP อีกครั้งจะทำให้กุ้งแช่แข็งส่งออก ต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตรา 12% จากปัจจุบัน 4.2% ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนนำเข้าจากไทยสูงขึ้น และอาจจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศผู้ส่งออกกุ้งจากแหล่งอื่น ๆ ของโลก ได้แก่ จีน เวียดนาม อินเดีย เอกวาดอร์ และ อินโดนีเซีย เป็นต้น
จากประเด็นดังกล่าว อาจจะทำให้มีการปรับลดประมาณการการส่งออก โดยเฉพาะของ ASP ที่คาดไว้ว่าการส่งออกสินค้าและบริการ ในปี 2557 จะเติบโตสูงถึง 6.1% โดยนำเสนอประมาณการใหม่ ภายหลังการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจในงวด 3Q57
ไทยสลับมาซื้อสุทธิ ทิศทางเดียวกับภูมิภาค
วานนี้เงินทุนไหลกลับเข้ามาในภูมิภาคอีกครั้ง โดยที่นักลงทุนต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค ราว 450 ล้านเหรียญฯ โดยที่เป็นการซื้อสุทธิในทุกประเทศ เริ่มจากเกาหลีใต้ มียอดซื้อสุทธิสูงสุด และ ซื้อต่อเนื่องเป็นวันที่ 8 ราว 181 ล้านเหรียญฯ (เทียบกับวันก่อนหน้าซื้อสุทธิเพียง 13 ล้านเหรียญฯ) ที่เหลือสลับมาซื้อ จากที่ขายในวันก่อนหน้า คือ ไต้หวันซื้อสุทธิราว 132 ล้านเหรียญฯ อินโดนีเซีย (ขายสุทธิ 2 วันก่อนหน้า) ซื้อสุทธิราว 64 ล้านเหรียญฯ ไทยสลับมาซื้อสุทธิราว 53 ล้านเหรียญฯ (1.7 พันล้านบาท) และสุดท้ายคือ ฟิลิปปินส์ ซื้อสุทธิราว 21 ล้านเหรียญฯ (หลังจากที่ขายสุทธิเล็กน้อย 2 วันก่อนหน้า)
แม้ว่าต่างชาติจะกลับเข้ามาซื้อสุทธิอีกครั้ง แต่ยังคงเป็นการเลือกซื้อรายประเทศ คือไต้หวันและ เกาหลีใต้ และ ซื้อเบาบางในกลุ่ม TIP ในทิศทางเดียวกับประเทศไทย ที่แม้ต่างชาติจะเริ่มซื้อสุทธิต่อเนื่อง (ซื้อ 5 จาก 6 วันหลังสุด รวม 7.1 พันล้านบาท) แต่ยังถือว่าเบาบางหากเทียบกับการขายอย่างหนักในช่วงก่อนหน้า ที่ขายสุทธิเฉลี่ยกว่า 3.6 พันล้านบาทต่อวัน (ช่วงปลายเดือน พ.ค. 57)
ดัชนียังมีความเสี่ยง...แนะนำหุ้นปันผลเด่น : ADVANC, PTTEP, BECL, KKP
คาดว่านับตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป จะเข้าสู่ฤดูกาลประกาศงบงวด 2Q57 โดยเริ่มจากกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และหลังจากนั้นจะตามด้วยกลุ่มที่มิใช่สถาบันการเงิน (Real sector) โดยคาดว่ารายงานผลประกอบการน่าจะเสร็จสิ้นราวกลางเดือนสิงหาคม 2557 ซึ่งและหลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ช่วงของการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมต่อเนื่องไป ซึ่งมีบริษัทจดทะเบียนจำนวนมากที่ให้ปันผลอยู่ในระดับสูง จนหนุนให้ราคาหุ้นตอบรับในด้านบวก ก่อนการประกาศจ่ายเงินปันผล จึงเป็นที่มาของการศึกษาในครั้งนี้ โดยในการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี และ ทำการคัดเลือกหุ้นปันผลระหว่างกาลเด่นที่เข้าเงื่อนไข 4 ประการคือ
1) จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสดต่อเนื่อง 5 ปีขึ้นไป
2) อัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) เฉลี่ย สูงกว่าตลาด
3) ผลดำเนินงานที่เป็นกำไรทุกปีต่อเนื่อง 5 ปีย้อนหลังติดต่อกัน
4) อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) อยู่ในเกณฑ์สูงน่าพอใจ
ผลจากการศึกษาสรุปได้ดังนี้คือ หุ้นที่มีการจ่ายปันผลเด่น พบว่าราคาหุ้นมักจะทยอยปรับตัวสูงขึ้นล่วงหน้าราว 1-2 เดือนก่อนหน้าวันขึ้นเครื่องหมาย XD แต่เนื่องจากหุ้นที่ผ่านเกณฑ์มีจำนวนหลายตัว ฝ่ายวิจัยจึงได้จำแนกตามขนาด Market Cap. ได้ 2 กลุ่ม กลุ่ม Big Cap คือหุ้นที่มีขนาด Market Cap. ตั้งแต่ 4 หมื่นล้านบาทขึ้นไป มี 20 บริษัท และกลุ่ม Mid & Small Cap คือหุ้นที่มีขนาด Market Cap. ต่ำกว่า 4 หมื่นล้านบาท มีทั้งหมด 38 บริษัท โดยกำหนดกลยุทธ์การลงทุนดังนี้
Big Cap : ซื้อหุ้นล่วงหน้าก่อนประกาศขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 1-2 เดือน แล้วขายทำกำไร หลังขึ้นเครื่องหมาย XD 1-2 เดือน พบว่าจะให้ผลตอบแทนในอดีตเฉลี่ย 7.3-7.5% ด้วยความน่าจะเป็นราว 72% Top Picks เลือก INTUCH (ซื้อ: FV@B109), ADVANC (ซื้อ : FV@B270), TTW (ซื้อ : [email protected]), PTTEP (ซื้อ : FV@B195) และ SCC (ซื้อ: FV@B520)
Mid-Small Cap : ซื้อก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน แต่ให้ขายเร็วกว่า คือ ให้ขายหลังวัน XD 1 เดือน จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 9.3% ด้วยความน่าจะเป็นที่ 62% Top Picks เลือก KKP (ซื้อ : [email protected]), BECL (ซื้อ : FV@B45) และเก็งกำไร MBKET (ซื้อ : FV@B26)
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
พบชัย ภัทราวิชญ์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล