- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 18 January 2016 16:36
- Hits: 817
บล.เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ยังผันผวนในกรอบ 1,240-1,260 จุด กลยุทธ์ยังเน้นหุ้นปันผลเด่น (SCC, STPI, INTUCH, EASTW) วันนี้เลือก Top picks คือ MCOT ([email protected]) ธุรกิจมีแนวโน้มที่ดีขึ้น หากได้เงินชดเชยในการคืนคลื่น 2600 ให้ กสทช นำไปประมูลใบอนุญาต 4G และ DTAC(FV@B40) ซึ่งนักวิเคราะห์ ASPS ปรับเพิ่ม Terminal Growth จาก 0% เป็น 1.5% พร้อมปรับเพิ่มเป็นซื้อ
ตลาดให้น้ำหนักการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐจะค่อยเป็นค่อยไป
ท่ามกลางความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัว นำโดยจีน ซึ่งถือว่าเป็นหัวเรือใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจส่งสัญญาติเข้าสู่ภาะชะลอตัวอย่างชัดเจน ภาครัฐจึงเตรียมผลักดันแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 13 (ปี2559 – 2563) ที่มุ่งเน้นการบริโภคในประเทศ แทนการส่งออก ยกเลิกนโยบายลูกคนเดียวเพื่อเพิ่มจำนวนแรงงานในประเทศ และรักษาสมดุลการเจริญเติบโตเศรษฐกิจ GDP Growth โตที่ 6.5% ซึ่งจะต้องติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมในช่วง มี.ค. ที่จะถึงนี้
ผลกระทบจากการชะลอตัวของจีน ต่อการส่งออกของประเทศในภูมิภาคเอเซียมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้โดยเฉพาะ ไทย เนื่องจากการค้าขายระหว่างไทย – จีน สูงเป็นอันดับ 2 ของการค้ารวม (คิดเป็น 11.1%) ทำให้สำนักเศรษฐกิจไทย หลายสำนักออกมาคาดการณ์การส่งออกของไทย 0 - 4% เทียบกับที่ ASPS คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเพียง 1.4% ขณะที่ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 30 เหรียญฯ ต่อ บาร์เรล ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2559 เฉลี่ยที่ 0.8% (จะเริ่มเป็นบวกตั้งแต่ตั้งปี 2559 และ เป็นบวกเพิ่มมากขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ เนื่องจากฐานที่ต่ำในปี 2558) เทียบกับที่ติดลบ 0.9% ในปี 2558 ทำให้ ธปท ประเมินว่าดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.5% เป็นระดับที่เหมาะสม และน่าจะยืนระดับนี้ต่อไปตลอดปี 2559 ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นบวกต่อตลาดหุ้นโดยรวม
ขณะที่ทาง สหรัฐ หลังจากได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก จาก 0.25% ขึ้นเป็น 0.5% ในช่วงปลายปี 2558 และปี 2559 นี้ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยไม่เกิน 4 ครั้ง หรือ(ไม่เกิน 0.875%) ล่าสุดผลสำรวจโอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ(Fed Fund Rate) ของ Bloomberg พบว่าการประชุมในรอบที่จะถึงนี้ ( 26-27 ม.ค.) ล้วนมีมุมมองว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการประชุมอีก 2 ครั้งถัดไป คือ เดือน มี.ค. เม.ย. (ความน่าจะเป็นของการขึ้นดอกเบี้ยมีเพียง 27.6% และ 31.6% ตามลำดับ) แต่มีน้ำหนักการปรับขึ้นดอกเบี้ยในรอบ 14 – 15 มิ.ย.59 สูงขึ้นด้วยความน่าจะเป็น 45%
MCOT ดูดีขึ้น หากคืนคลื่น 2600 ให้ กสทช. ไปประมูลใบอนุญาต 4G
ตามที่มีข่าวว่า MCOT อยู่ระหว่างเจรจาเพื่อคืนคลื่น 2600 ที่มีกำลังอยู่ 144 Mhz ให้กับ กสทช. ถือว่าเป็นข่าวดีกับทุกฝ่าย กล่าวคือ ทั้ง MCOT และ ผู้ให้บริการมือถือ ที่ยังต้องการใบอนุญาต 4G เช่น DTAC หรือ แม้แต่ ADVANC ยังต้องการคลื่นเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับ TRUE แม้ล่าสุดเพิ่งได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 15 Mhz ก็ตาม
ทางด้าน MCOT ปัจจุบันคลื่นความถี่ 2600 Mhz ได้รับสัมทปานมาเป็นเวลา 15 ปี (ยังไม่เริ่มนับการใช้งาน) อยู่ระหว่างการเจรจาทำแผนธุรกิจ ให้บริการ Pay TV ผ่านระบบ broadband ร่วมกับ PLAY WORK (จะให้บริการด้าน content) และ CAT (เป็นลงทุนด้าน Board band) ซึ่งคาดว่าจะใช้คลื่นไม่มากนัก จึงน่าจะมีส่วนเหลืออีกจำนวนมากที่จะคืนให้กับ MCOT ก่อนกำหนดเวลา ซึ่งตามข่าวที่เห็นในหน้าหนังสือพิมพ์ MCOT จะยอมคืน จำนวน 60 Mhz (42%) แต่ทั้งนี้ขึ้นกับ ผลตอบแทน หรือ เงินชดเชยที่จะได้รับจาก กสทช. ซึ่งในเบื้องต้นหากคิดในอัตรา 5% ค่าประมูลขั้นต่ำของคลื่น 2,600 (ที่สมมติฐาน 1.99 หมื่นล้านบาทต่อ 20Mhz ) เงินชดเชยสุทธิหลังภาษี น่าจะอยู่ที่ราว 2.4 พันล้านบาท (หรือคิดเป็นหุ้นละ 3.5 บาท )
นอกจากนี้ MCOT ยังมีที่ดินเปล่าที่ย่าน อสมท. ขนาด 50 ไร่ คาดว่าราคาตลาดขั้นต่ำน่าจะประมาณ 4 พันล้านบาท (เทียบกับต้นทุนที่ประมาณ 1.4 พันล้านบาท ซึ่งทำให้กำไรสุทธิหลังภาษีที่เกิดจากส่วนต่างอีกราว 3 บาท ต่อหุ้น) โดยรวมแล้ว MCOT มีกระแสเงินเพิ่มมากขึ้น จะช่วยยืดอายุการทำธุรกิจเดิม (ธุรกิจบันเทิงที่อยู่ในภาวะชะลอ) ออกไปอีกระยะหนึ่งแล้ว และเงินสดที่ได้สามารถนำไปพัฒนาที่ดินดังกล่าว และ/หรือ ร่วมทุนกับ developers ซึ่งอาจจะทำให้รูปแบบการทำธุรกิจ (Business model) ของ MCOT เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ประเด็นบวกดังกล่าว ทำให้นักวิเคราะห์ ASPS เพิ่มมูลค่าหุ้น โดยการร่วมธุรกิจเดิม บวกกับเงินชดเชยที่จะได้มาจากการยอมคืนคลื่น 2600 และ กำไรที่ยังมิได้รับรู้จาก hidden assets รวมเป็นเงินราว 15.5 บาท จึงปรับเพิ่มคำแนะนำ เป็นซื้อ
การนำคลื่น 2600 มาประมูลดีต่อ DTAC และ ADVANC
การนำคลื่น 2600 มาประมูลใบอนุญาต 4G ถือว่าเป็นปัจจัยบวกต่อหุ้น ICT ดังที่ทราบว่าหลังประมูลใบอนุญาต4G ( 2 ใบอนุญาตสำหรับคลื่น 1800 และ 2 ใบอนุญาตสำหรับ คลื่น 900 )เสร็จสิ้น ในปลายปี 2558 พบว่าต้นทุนค่าใบอนุญาตทั้ง 2 คลื่นสูง กว่าความเป็นจริงมาก เพราะกังวลว่าคลื่นให้บริการ จะขาดแคลน ทำให้ต้องแย่งชิงคลื่นกัน และ การที่ DTAC เป็นบริษัทเดียวที่ไม่ได้ใบอนุญาตใหม่เลย ทำให้ต้องลงทุนในคลื่นสัมปทานเดิม (จ่ายส่วนแบ่งรายได้ที่ 30% และต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้ คู่สัญญาคือ CAT ในปี 2561 ซึ่งเป็นปีที่หมดสัญญาสัมปทาน) ที่มีต้นทุนสูงกว่าคู่แข่งขันหลัก (ADVANC, TRUE ทั้ง 2 ราย อยู่ใต้ใบอนุญาต4G มีต้นทุนคือส่วนแบ่งรายได้ 5% และต้นทุนค่าใบอนุญาต) แต่เมื่อมีคลื่น 2600 ออกมาให้ประมูลเพิ่มเติม ทำให้ความกังวลว่าจะขาดแคลนคลื่นความถี่จะลดน้อยลง และช่วยให้การทำธุรกิจของ DTAC มีความยืดหยุ่นมากขึ้น นักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับเพิ่มการเติบโตระยะยาวขึ้นจากเดิม ที่ปรับลดลงเหลือ 0% ขึ้นมาเป็น 1.5% เช่นเดิม (แต่ยังให้ต้นทุนโดยรวมยังเพิ่มขึ้นจากการลงในโครงข่ายเดิม) ทำให้ Fair Value ใหม่จะอยู่ที่ 40 บาท เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ 32 บาท (ปรับลดประมาณการและ Terminal Growth ลงหลังไม่ได้ใบอนุญาต 4G) จึงปรับพิ่มคำแนะนำจาก switch เป็น ซื้อ
หุ้นรายตัวยังได้รับอิทธิพลของการทำ Preview Earnings งวด 4Q58
สัปดาห์นี้หุ้นกลุ่ม ธ.พ. น่าจะทยอยประกาศงบได้เกือบทั้งหมด หลังจากที่ TISCO รายงานงบเป็นแห่งแรกเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา กำไรสุทธิเป็นไปตามคาด เติบโต 54%qoq แต่ลดลง 5.5%yoy
ส่วนหุ้นที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์นั้นนักวิเคราะห์ ASPS ได้ทยอยทำ preview earnings ไปบ้างแล้ว ซึ่งพบว่ามีหุ้นที่ยังเติบโตตามฤดูกาล หรือ ได้รับอานิสงส์จากนโยบายรัฐ เช่น THAI ([email protected]), MCS ([email protected]), COM7 ([email protected]), SCC (FV@B595) และ AP ([email protected]) เป็นต้น ตรงกันข้ามกับหุ้นที่มีผลกำไรชะลอตัวเนื่องจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจในประเทศ หรือได้รับผลกระทบจากการราคาน้ำมันที่ลดลง DRT ([email protected]), IRPC ([email protected]) และ LPN ([email protected]) รายละเอียดอ่านใน Market Talk เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนหุ้นที่มีการทำ preview earnings เพิ่มเติมได้แก่
TNP ([email protected]) คาดการณ์กำไรสุทธิงวด 4Q58 เติบโตกว่าเท่าตัว qoq และ 30%yoy ปัจจัยหนุนมาจากช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวเชียงรายและมาตรการภาษีช่วงปลายปีที่ผ่านมา ขณะที่อัตราการทำกำไรเพิ่มขึ้นเช่นกัน ส่วนปี 2559 คาดเติบโต 27% โดยเป็นการเติบโตทุกไตรมาสจากสาขาที่เปิดใหม่ และการลดลงของ SG&A ทั้งนี้ ปัจจัยขับเคลื่อนระยะยาวมาจากการเติบโตที่คาดว่าจะสูงถึง 27% ภายใน 3 ปีนี้ จากโอกาสเปิดสาขาในเชียงรายได้อีกมาก รวมทั้งสาขาที่เปิดใหม่ถึงจุดคุ้มทุนได้รวดเร็ว ขณะที่อัตราทำกำไรจะดีขึ้นต่อเนื่อง
ส่วน KSL ([email protected]) รายงานงบงวด 4Q57/58 แล้ว ปรากฏหดตัวถึง 220%qoq และ 228%yoy จากภาวะน้ำตาลโลกที่ตกต่ำ โดยฝ่ายวิจัยได้ปรับลดประมาณการกำไรปี 2558/59-60 ลง 20% และ 19% ตามลำดับ แต่หลังปรับประมาณการแล้วภาพรวมกำไรยังเติบโตถึง 37.8% โดยงวด 1Q58/59 คาดจะพลิกเป็นกำไรได้จากคาดการณ์ราคาน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น และแนวโน้มการขายไฟฟ้าที่สูงขึ้น
ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค
วานศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 500 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) เป็นการขายทั้งประเทศ ยกเว้น คือ ฟิลิปปินส์ ที่ซื้อสุทธิประเทศเดียว ราว 5 ล้านเหรียญ ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศยังคงขายสุทธิ คือ ไต้หวันขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 221 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ขายสุทธิราว 195 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิอเนื่องเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยอินโดนีเซียขายสุทธิราว 59 ล้านเหรียญ และไทยขายสุทธิราว 30 ล้านเหรียญ หรือ 1,075 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิราว 1,266 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 3 วัน)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ที่นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 9,067 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิเล็กน้อยราว 36 ล้านบาท ส่วนค่าเงินบาทยังคงประคองตัวอยู่แถวๆ 36.32 บาท/ดอลลาร์
เน้นหุ้นปันผลสูงที่มีคุณสมบัติ Low Beta, Low P/E
ในภาวะที่ตลาดหุ้นผันผวน กลยุทธ์การลงทุนยังให้น้ำหนักการลงทุน 40% ในหุ้นที่เหลือเป็นเงินสด และ แนะให้เลือกหุ้น พื้นฐานแข็งแกร่ง มีฐานการเงินมั่นคง (D/E ต่ำ และหรือ กระแสเงินสดจากการดำเนินงานสูง (Cash flow from operation) สามารถจ่ายเงินปันผลได้สม่ำเสมอ (ประมาณ 35-4% ต่อปี) แล้ว ยังเป็นหุ้นที่มีโอกาสปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาด หรือ หุ้นที่ค่า Beta ต่ำกว่า 1 เท่า รายละเอียดดังปรากฏในตารางถัดไป
หุ้นปันผลเด่นพร้อมทั้งมีกระแสเงินสดดำเนินงานแข็งแกร่ง และ มี Beta ต่ำ
หุ้นปันผลเด่น พร้อมทั้งมี PEต่ำ และ Upside สูง
หุ้นที่แนะนำใน Market talk