- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 13 January 2016 17:02
- Hits: 1211
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อตาม sentiment ต่างประเทศ และการกลับมาซื้อของนักลงทุนต่างชาติ จึงเป็นไปได้ที่หุ้นที่มีมูลค่าตลาดขนาดใหญ่จะกลับมาโดดเด่นอีกครั้ง กลยุทธ์ยังชอบหุ้นปันผลเด่น PER ต่ำ INTUCH(FV@B68) และ STPI([email protected]) แต่วันนี้เลือก KBANK(FV@B240) เป็น Top pick
หุ้น Big Cap มีแนวโน้มฟื้นตัว หาก SET ฟื้นตัวเช่นเดียวกับเพื่อนบ้าน
วานนี้นักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยเป็นวันแรก แต่มูลค่าไม่มากนักเพียง 375 ล้านบาทเท่านั้น หลังจากขายสุทธิติดต่อกันมากว่า 7 วันทำการ ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติมีการขายสุทธิติดต่อกันมาในรอบที่ดัชนีปรับฐานล่าสุดเมื่อต้นเดือน พ.ย. 2558 แม้มีการสลับกลับมาซื้อสุทธิบ้างแต่ติดต่อกันไม่เกิน 2-3 วัน ส่งผลให้ตั้งแต่วันที่ 4 พ.ย. 58 ถึงสิ้นปี SET Index ปรับลดลงไปกว่า 9.5% ส่วนปีนี้ จนถึงปัจจุบัน (ytd) SET Index ลดลงไป 2.5%
การปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่องของดัชนี ส่งผลให้หุ้น Blue Chip ที่มี Market Cap ขนาดใหญ่ (เกิน 1 หมื่นล้านบาทขึ้นไป) เป็นเป้าในการถูกขายมาโดยตลอด โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มพลังงาน กลุ่มธนาคารพาณิชย์ และกลุ่ม ICT ประกอบกับแต่ละกลุ่มฯ ก็มีปัจจัยลบกดดันเฉพาะตัว ยิ่งเป็นตัวเร่งให้มีการเทขายมากขึ้น ส่งผลให้สัดส่วนการถือครองหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติลดต่ำลงมากสุดในรอบกว่า 10 ปี
อย่างไรก็ดี การ rebound ขึ้นแรงของตลาดวานนี้ ปรากฏว่า เป็นการฟื้นตัวขึ้นของหุ้น Market Cap ขนาดใหญ่ ซึ่งจากการประเมิน นอกจากคาดว่าจะเป็นการซื้อหุ้นเพื่อ covered short แล้ว ยังอาจเป็นการเข้ามาค่อยๆ ทยอยสะสมหุ้นขนาดใหญ่ที่ราคาลดลงมากกว่าปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งอาจเป็นโอกาสที่ดีในการเลือกหุ้นที่ช่วงที่ผ่านมาปรับลดลงมากกว่าตลาด แต่มีโอกาสฟื้นตัวแรงกว่าตลาด (beta มากกว่า 1) และยังมีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งรองรับ รายละเอียดดังภาพด้านล่าง วันนี้แนะนำหุ้นใหญ่ที่คาดว่าจะฟื้นตัว เช่น KBANK และ LPN เลือกเป็น Top pick
ตั้งแต่ต้นปี 2559 ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นไทยเป็นครั้งแรก
วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 222 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 9) โดยเป็นการขายสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 154 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) รองลงมาคือ ไต้หวันขายสุทธิราว 82 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7) และฟิลิปปินส์ขายสุทธิเล็กน้อยราว 1 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) ยกเว้น อีก 2 ประเทศ ที่ซื้อสุทธิ คือ อินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิราว 5 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 3 วัน) และ ไทย โดยสลับมาซื้อสุทธิ เป็นครั้งแรกในปี 2559 ราว 10 ล้านเหรียญ หรือ 375 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 7 วัน) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 2,298 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) รวมถึงพอร์ตโบรกเกอร์ ยกเว้นนักลงทุนรายบุคคลเท่านั้นที่เป็นผู้ขายสุทธิวานนี้
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ที่นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 38,542 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 200 ล้านบาท ส่วนค่าเงินบาทยังคงประคองอยู่ที่ 36.34 บาท/ดอลลาร์
มาตรการอสังหาริมทรัพย์ น่าจะหนุนผลกำไรกลุ่มงวด 1Q59
หลังจากรัฐได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นต่าง ๆ ไม่ว่าจะ กระตุ้นการใช้จ่ายตอนปลายปี (25-31 ธ.ค. 2558) โดยเฉพาะมาตรการนำค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท ซึ่งพบว่าได้ผลตอบรับในเชิงบวกเป็นอย่างมาก สะท้อนจากเม็ดเงินเข้าสู่ระบบสูงราว 1.39 แสนล้านบาท สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ 1.25 แสนล้านบาท และหนุนให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) ฟื้นตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ซึ่งน่าจะดีต่อหุ้นกลุ่มค้าปลีกที่จดทะเบียนในตลาด เช่น ROBINS(FV@B55) HMPRO ([email protected]) และCOM7([email protected]) ซึ่งวานนี้นักวิเคราะห์ ASPS เพิ่งปรับเพิ่ม Fair Value ของ COM7 ขึ้นจากเดิม 5.75 บาท เป็น 7.3 บาท เหตุผลเพราะคาดว่า ส่วนแบ่งรายได้จากการขายมือถือพร้อม sim พร้อม package 12 เดือน ร่วมกับค่ายมือถือ ได้ข้อสรุป ซึ่งจะหนุนผลกำไรในปี 2559 ดีกว่าคาดไว้เดิม (อ่านรายละเอียด Equity talk วานนี้)
ส่วนมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่คาดว่าจะสิ้นสุด 30 เม.ย. 2559 นับจากที่ประกาศใช้ 29 ต.ค. 2558 (ยกเว้นผู้ซื้อบ้านหลังแรก ที่มีมูลค่าไม่ 3 ล้านบาท ให้นำค่าซื้อไม่เกิน 20% ของมูลค่าซื้อบ้าน ไปหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 5 ปีภาษีนับจากปี 2558) คาดว่าน่าจะเห็นผลบวกต่องบการเงินของบริษัทจดทะเบียนนับตั้งแต่งวด 4Q58 แต่น่าจะชัดเจนในงวด 1Q59 เป็นต้นไป ทั้งนี้แม้ว่าในปี 2558 Presale ของหลายบริษัทที่เริ่มเปิดเผยออกมาจะพลาดเป้าไปจากหลายสาเหตุ นำโดย PS และ LPN ต่ำกว่าเป้าหมาย 10% และ 15% ตามลำดับ แต่เชื่อว่าผลประกอบการของกลุ่มอสังหาฯ ในช่วง 4Q58 จนถึง 1Q59 จะโดดเด่นด้วยแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ของภาครัฐ โดยเฉพาะการลดค่าธรรมเนียมการโอนฯ และจดจำนองที่มีผลบังคับใช้จนถึงสิ้นเดือน เม.ย. 2559 ประกอบการผ่อนคลายการปล่อยสินเชื่อซื้อที่อยู่อาศัยตามนโยบายรัฐบาล น่าจะกระตุ้นการโอนฯให้สูงขี้น โดยบริษัทที่ได้ประโยชน์มาก คือ บริษัทที่มี Backlog สูง หรือมีสินค้าที่คาดว่าจะสร้างเสร็จทันภายในอายุมาตรการดังกล่าว ซึ่งมีอยู่หลายบริษัท แต่สำหรับการคัดกรองหุ้นเพื่อการลงทุน ฝ่ายวิจัยได้เพิ่มเงื่อนไขเรื่อง Dividend Yield เข้าไปประกอบด้วย ซึ่งทำให้ได้หุ้นที่น่าสนใจ 4 บริษัทได้แก่ PS, LPN, SPALI และ SC
PS (FV@B 36) พอร์ตสินค้าประกอบด้วยบ้านราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนสูง 54% ขณะที่สถานะ Backlog สิ้น 3Q58 มีมากถึง 3.54 หมื่นล้านบาท แยกเป็นส่วนที่สร้างเสร็จเริ่มโอนฯ ใน 4Q58 มูลค่า 1.65 หมื่นล้านบาท จากคอนโดฯ ใหม่ 4 โครงการ ซึ่งมียอดขายแล้ว 6.2 พันล้านบาท คาดหนุนให้ผลประกอบการ 4Q58 สูงสุดของปี นอกจากนี้ด้วยความพร้อมในเรื่องฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นนโยบายจ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูงขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 33% เป็น 50% ของฐานกำไรในอนาคต ซึ่งจะสร้างโอกาสให้ Dividend Yield สูงกว่าปัจจุบันที่ยืนเฉลี่ย 4% ต่อปี (บนสมมุติฐาน Dividend Payout Ratio 33% EPS Growth ปี 2559 5%)
SPALI (FV@B 28.59) มีพอร์ตสินค้าราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 40% และมี Backlog สิ้น 3Q58 รวม 3.5 หมื่นล้านบาท เป็นส่วนที่จะรอรับรู้รายได้ใน 4Q58 ประมาณ 7 พันล้านบาท ซึ่งจะหนุนให้ 4Q58 โดดเด่นสุดของปีเช่นกัน ด้าน Dividend Yield น่าพอใจระดับ 6.3% และ PER ซื้อขายต่ำเพียง 6.5 เท่า EPS Growth ปี 2559 4%
LPN (FV@B 19.20) มีสัดส่วนพอร์ตสินค้าเกือบทั้งหมดต่ำกว่า 3 ล้านบาท และมีโครงการคอนโดฯ ที่จะสร้างเสร็จพร้อมโอนฯ ในช่วง 1H59 รวมถึง 6 โครงการจากทั้งปี 9 โครงการ ซึ่งบริษัทมีแผนเร่งโอนฯ ให้ทันช่วง 4M59 เพื่อสร้างยอดโอนฯ ให้ได้สูงถึง 1 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 57% ของเป้ารายได้ขายอสังหาฯ ทั้งปี พร้อมคาดหวัง Dividend Yield สูงถึง 6% EPS Growth ปี 2559 12%
SC (FV@B 4.56) คาดแนวโน้มกำไร 4Q58 สูงสุดของปี และจะต่อเนื่องใน 1Q59 เนื่องจากมีโครงการคอนโดฯ ใหม่พร้อมโอนฯ อีก 2 โครงการ มูลค่ารวม 5.6 พันล้านบาท ขายได้แล้ว 82% แถมราคาหุ้นมี PER ต่ำ 6.3 เท่า อีกทั้ง Dividend Yield สูงระดับ 6.4% EPS Growth ปี 2559 12%
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์