- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 11 January 2016 16:53
- Hits: 980
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ปัญหาจีน และความขัดแย้งในหลายพื้นที่ หักล้างตลาดแรงงานสหรัฐที่ยังฟื้นตัวแข็งแกร่ง กลยุทธ์เน้นหุ้นปันผลเด่นที่มี PER ต่ำ ใกล้เคียงหรือน้อยกว่า PER ตลาดที่ปัจจุบันคาดว่าอยู่ที่ 13.5 เท่า (หลังจากปรับลด EPS กลุ่มสื่อสาไรลงราว 35-40%) เลือก INTUCH(FV@B68) และ STPI([email protected]) เป็น Top picks
ยังคงถูกดันจากปัจจัยภายนอกต่อเนื่อง
สัปดาห์แรกของปี 2559 นับเป็นปีที่ย่ำแย่ปีหนึ่ง ตลาดหุ้นโลกปรับตัวลดลงรุนแรงเกือบทุกแห่ง ดังปรากฏในภาพข้างต้น ทั้งนี้เนื่องจากถูกกดดันจากปัจจัยรอบด้าน โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวมากกว่าคาด โดยพบว่าดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน ธ.ค. ติดลบ 5.9% (ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 46 ทั้งปี 2558 ติดลบ 5.2%) อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. ยังทรงตัวในระดับต่ำ 1.6% เทียบ แม้กระเตื้องขึ้นเล็กน้อยจาก 1.5% ในเดือน ต.ค. (ส่งผลให้ทั้งปี 2558 ขยายตัวเพียง 1.4%) ซึ่งทำให้ธนาคารกลางจีนต้องใช้มาตรการเงินผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง (ผ่านการลดดอกเบี้ยนโยบายฯ และ RRR) และการลดค่าเงินเพื่อกระตุ้นการส่งออก
ขณะที่ราคาน้ำมันดิบโลกตกต่ำสุดในรอบ 12 ปี โดยราคาน้ำมันดูไบลดลงต่ำกว่า 30 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นต้นทุนเฉลี่ยของผู้ผลิตในตะวันออกกลางยกเว้นฝั่งสหรัฐและแคนาดา (ต้นทุนสูงกว่า 60 เหรียญฯต่อบาร์เรล) แต่เนื่องจากรายได้หลักกว่า 90% ของผู้ส่งออกในตะวันออกกลางมาจากน้ำมันเป็นหลักๆ นโยบายเร่งส่งออกน้ำมัน แม้ราคาน้ำมันจะต่ำติดดิน ถือเป็นทางรอดเดียวที่จะนำเงินตราเข้าประเทศ เพื่อใช้จ่ายฯ ในภาวะที่ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันต้องเผชิญกับการอ่อนตัวของค่าเงินอ่อนค่า และเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
สถานการณ์ความขัดแย้งในภูมิภาคยังคงน่ากังวล โดยเฉพาะในตะวันออกกลางความขัดแย้งระหว่างซาอุดิอาระเบียกับอิหร่านยังคงตึงเครียด ภายหลังการประชุมฉุกเฉินรัฐมนตรีต่างประเทศ 22 ชาติสมาชิกความร่วมมือรอบอ่าวอาหรับ เมื่อวันที่ 10 ม.ค. ที่ผ่านมา (ตามเวลาในประเทศไทย) มีมติให้ประณามอิหร่าน กรณีผู้ประท้วงบุกเผาทำลายสถานทูตซาอุดิอาระเบียในอิหร่าน พร้อมทั้งร่วมมือกันใช้มาตรการสกัดกั้นการแทรกแซงประเทศสมาชิก และการสนับสนุนผู้ก่อการร้าย อีกทั้งยังมีหลายประเทศประกาศคว่ำบาตรอิหร่านเพิ่มเติม ทางด้านอิหร่านเองก็ออกมากล่าวหาว่าซาอุดิอาระเบียทิ้งระเบิดโจมตีสถานทูตอิหร่านในเยเมน ทั้งหลายต่างๆ เหล่านี้ สะท้อนถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ในภูมิภาคอาหรับ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นร้อนของคาบสมุทรเกาหลี หลังจากเกาหลีเหนือประกาศความสำเร็จในการทดลองระเบิดไฮโดรเจน สร้างความกังวลให้กับนานาชาติ ทั้งสหประชาชาติ รวมทั้งจีน ที่เป็นพันธมิตรกันมาตลอดก็ยังออกมาประณามการกระทำดังกล่าว ล่าสุด สหรัฐได้มีการส่งเครื่องบินรบมาประจำยังฐานทัพในเกาหลีใต้แล้ว องค์ประกอบดังกล่าวทำให้ตลาดหุ้นไทยซึ่งอยู่ในภาวะที่เปราะบางและขาดแรงหนุนจาก Fund Flow ปรับตัวลดลงมาอย่างรุนแรงเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปัญหาเหล่านี้หักล้างการรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐ โดยล่าสุด ตลาดแรงงาน ยังฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง กล่าวคือ การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) เดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นที่ระดับ 2.92 แสนราย มากกว่าที่ตลาดคาดที่ 2 แสนราย(เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 เดือน) สอดคล้องกับ การจ้างงานภาคเอกชน ที่รายงานไปก่อนหน้านี้ (เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 6 เดือน) หนุนให้อัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับ 5% (ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ เม.ย.2551) อย่างไรก็ตามภาคการผลิตที่ยังฟื้นตัวแต่ไม่มั่นคง และอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ล่าสุดอยู่ที่ 0.5% (ห่างจากเป้าหมายที่ 2% อย่างมาก) ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ จะมีผลต่อการตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมของ Fed รอบถัดไป (26 -27 ม.ค. 2559)
ต่างชาติขายสุทธิหุ้นทั้งภูมิภาค
วันศุกร์ที่ผ่านมา ความกังวลต่อเศรษฐกิจที่ชะลอตัวของจีน ยังกดดันให้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 315 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7) โดยเป็นการขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคทั้ง 5 ประเทศ นำโดย ไต้หวันขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 133 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ขายสุทธิราว 236 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยอินโดนีเซียถูกขายสุทธิราว 50 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) และฟิลิปปินส์ขายสุทธิราว 21 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) สุดท้ายคือ ไทย ขายสุทธิเล็กน้อยราว 7 ล้านเหรียญ หรือ 246 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6) สวนทางสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 529 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว)
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ที่นักลงทุนสถาบันในประเทศยังคงซื้อสุทธิ 19,180 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 688 ล้านบาท ส่วนค่าเงินบาทล่าสุดอยู่ที่ 36.33 บาท/ดอลลาร์
ระยะสั้นให้ Switch จากธนาคารใหญ่มา TCAP, TISCO
ฝ่ายวิจัยคาดว่าแนวโน้มผลการดำเนินงานของกลุ่ม ธ.พ. น่าจะหดตัวทั้ง qoq และ yoy จากค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่สูงขึ้นตามช่วงของฤดูกาล ส่วน NPL ยังเป็นขาขึ้น แต่ก็เริ่มชะลอตัวลง ถือเป็นสัญญาณบวกต่อเนื่องในปี 2559 โดยคาด KTB, KBANK และ TMB นำการลดลงของกำไรสุทธิสูงสุดในงวดนี้ สวนทางกับ TISCO, SCB, TCAP ที่คาดจะแสดงกำไรสุทธิโดดเด่นสุดในงวดนี้
ทั้งนี้ ธ.พ. ขนาดใหญ่ อย่าง BBL มีโอกาสที่จะถูกปรับลดประมาณการกำไรปี 2559 ลง จากความเชื่อมั่นต่อคุณภาพสินทรัพย์ที่ลดลง รวมทั้งการให้การสนับสนุนด้านเงินทุนแก่กลุ่ม ICT ที่มีแนวโน้มความเสี่ยงมากขึ้น เช่นเดียวกับ KTB อยู่ระหว่างปรับลดประมาณการกำไรปี 2559 ลงเช่นกัน สะท้อนแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของ credit cost และ NIM ที่ลดลง ส่วน KBANK ยังคงประมาณการฯ ปี 2559 โดยคาดกำไรเติบโต 8.1% แต่แนวโน้ม NPL ยังเป็นขาขึ้น ทำ peak ช่วง 2-3Q59 ที่ 3.5-3.6% ของสินเชื่อรวม กดดัน credit cost ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตามยังเชื่อว่าราคาหุ้นที่ปรับลดลงต่ำมากได้สะท้อนปัจจัยกังวลคุณภาพสินทรัพย์ไปมากแล้ว จึงน่าจะเห็นการฟื้นตัวของราคาหุ้นในระยะต่อจากนี้
ขณะที่ ธ.พ. ขนาดกลาง ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของ NPL ไม่มากนัก โดยเฉพาะ TCAP คาด 4Q58 กำไรเติบโตจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย และ คชจ.สำรองหนี้ฯลดลง รายได้ค่าธรรมเนียมทรงตัว ส่วนปี 2559 คาดกำไรโต 11.8% จากการฟื้นตัวของสินเชื่อเช่าซื้อ ขณะที่ NPL คาดลดลงต่ำกว่า 3% ของสินเชื่อรวม เช่นเดียวกับ TISCO กำไรงวด 4Q58 เติบโตโดดเด่นเช่นกัน โดยแนวโน้มสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์น่าจะกลับมาเติบโตเป็นบวกได้ตั้งแต่งวด 2H59 เป็นต้นไป บวกกับอัตราตอบแทนเงินปันผลที่สูงราว 6.5% จึงเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจในการลงทุน
ตลาดหุ้นผันผวน ยังคงแนะนำหุ้นเงินปันผลเด่น INTUCH, STPI
แม้ตลาดหุ้นไทยยังมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลง จากปัจจัยภายนอก ทั้งความกังวลต่อเศรษฐกิจที่ชะชอตัวของจีน และราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ถือเป็นโอกาสในการเข้าสะสมหุ้นที่ราคาปรับฐานลงมาลึกเกินปัจจัยพื้นฐานแล้ว และมีการจ่ายปันผลสูง ซึ่งโดยปกติแล้วนักลงทุนมักจะทยอยซื้อสะสมตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป (เริ่มเข้าสู่ช่วงของการจ่ายปันผลราวเดือน มี.ค. - พ.ค.) เนื่องจากราคาหุ้นที่จ่ายปันผลสูง มักจะมีการปรับขึ้นอย่างมีนัยฯ ทางฝ่ายวิจัยได้ค้นหาหุ้นปันผลเด่น โดยใช้เกณฑ์ดังนี้ คือ มี Dividend Yield สูงกว่า 4.4%, มี PER ปี 59 ต่ำกว่า 13 เท่า พร้อมทั้งมี Upside สูงเกิน 20% ดังปรากฎในตารางด้านล่าง
นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ : ภราดร เตียรณปราโมทย์