WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
    SET Index อยู่ภายใต้แรงกดดันของปัจจัยในต่างประเทศ ทั้งในส่วนของเศรษฐกิจ-ตลาดหุ้นจีน และสถานการณ์ตะวันออกกลาง แต่อย่างไรก็ตามภายในประเทศยังมีแรงหนุนจากมาตรการต่างๆ ต่อเนื่อง แนะนำให้เลือกลงทุนในหุ้นพื้นฐานดีที่ มีแรงขับเคลี่อนจากภาคเศรษฐกิจในประเทศ วันนี้ยังเลือก STPI([email protected]) เป็น Top pick ซึ่งนอกจากราคาลงลึกเกินไปแล้ว ยังมีปัจจัยบวกรออยู่หลายประการ

อัตราแลกเปลี่ยน กลับมาผันผวนอีกครั้ง หลังจีนปล่อยให้หยวนอ่อนค่า
     เศรษฐกิจจีนยังคงแสดงสัญญาณชะลอตัว สะท้อนจากจากดัชนี PMI ภาคการผลิต (Caixin) เดือน ธ.ค. ออกมาต่ำกว่าคาด สะท้อนภาพรวมด้านการผลิตที่ยังคงหดตัว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั้งฝั่งผู้ผลิต (PPI) และผู้บริโภค (CPI) ล่าสุดเดือน ธ.ค. ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ -5.9% (ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 46) และ 1.5% นอกจากนี้การส่งออกและการนำเข้ายังคงติดลบต่อเนื่อง ที่ 6.8% และ 8.7% ผนวกกับความกังวล GDP Growth อาจออกมาต่ำกว่าเป้าที่ธนาคารกลางจีนตั้งไว้ 7% (เทียบกับ IMF คาด 6.8%) จึงทำให้มีแนวโน้มที่ธนาคารกลางจีนจะยังคงใช้นโยบายผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง วานนี้รัฐบาลจีนได้ออกมาตรการแทรกแซงตลาด ผ่านการอัดฉีดเงินเข้าระบบกว่า 2 หมื่นล้านเหรียญ ผ่านการเข้าซื้อหลักทรัพย์ในตลาด นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังได้ทำการลดอัตรากู้ยืมเงินและเข้าแทรกแซงค่าเงินหยวน ผ่านการขายเงินดอลลาร์ (onshore market) อย่างไรก็ตาม แม้จะมีมาตรการดังกล่าวออกมา แต่วานนี้ตลาดหุ้นจีนยังคงแกว่งตัวอยู่ในแดนลบโดยปิดตลาดวานนี้ที่ 3,287.7 จุด ติดลบไปกว่า 0.26% (Shanghai)แม้จะได้มีการกระตุ้นผ่านมาตรการดังกล่าว ขณะที่ค่าเงินปิดตลาดที่ 6.5159 หยวน/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงอีก 0.19% (นับจากธนาคารจนลดค่าเงินวันจันทร์ที่ผ่านมา อยู่ที่ 6.5032 หยวน/ดอลลาร์)
     ในรอบปี 2558 ที่ผ่านมา ทั้งรัฐบาลจีนและธนาคารกลางจีนต่างพยายามออกมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นตลาด รวมแทรกแทรงตลาดเงินตลาดทุน ซึ่งก็มีทั้งผลในแง่บวกและลบต่อตลาดหุ้นจีน นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อตลาดหุ้นทั่วโลกในแง่ของ sentiment การลงทุนด้วย โดยรายละเอียดดังกล่าว สามารถประมวลได้ดังตารางด้านล่าง อย่างไรก็ตามหลายมาตรการอาจส่งผลทำให้กลไกตลาดผิดเพี้ยนไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่เมื่อผลของมาตรการหมดลง ตลาดหุ้นก็กลับเข้าสู่กลไกปกติ อย่างที่เห็นในเรื่องของมาตรการห้ามผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ถือหุ้นเกิน 5%) ขายหุ้น เป็นระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งเมื่อใกล้หมดอายุมาตรการ ประเด็นดังกล่าวก็กลับมาสร้างความกังวลต่อตลาดหุ้นได้อีกครั้งเช่นกัน จึงต้องติดตามพัฒนาการของมาตรการต่างๆต่อเนื่อง

มาตรการกระตุ้นกำลังซื้อปลายปี เริ่มส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยปีนี้
    ในส่วนของไทย หลังจากช่วงปลายเดือน ธ.ค.58 ที่ผ่านมารัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นภาคการบริโภค โดยให้นำค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท ระหว่าง 25-31 ธ.ค. 2558 โดยกลุ่มที่ได้รับประโยชน์คือผู้มีรายได้ระดับกลาง-บน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เสียภาษีส่วนใหญ่ของประเทศ มาตรการดังกล่าวพบว่ามีผลตอบรับออกมาในเชิงบวก ล่าสุดกรมสรรพากร ออกมาเผยว่า ยอดขายของผู้ประกอบการค้าปลีก – ค้าส่งในช่วงปลายปี 58 ปรับเพิ่มขึ้น 20-50% โดยเม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ 1.25 แสนล้านบาท โดยสินค้าแฟชั่นโต 35% เครื่องใช้ไฟฟ้าโต 25% ทำให้ภาพรวมอุตสาหกรรมค้าปลีกมูลค่ากว่า 3.2 ล้านล้านบาท โต 3.05% (เดิมที่คาดที่ 2.8%) ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวแม้จะเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ เพียง 7 วัน แต่ก็น่าจะกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ขยายตัวได้อีกราว 0.1 -0.2% ซึ่งฝ่ายวิจัยเชื่อว่าจะหนุนให้ GDP Growth ปี 2558 โตได้ที่ 2.7%
 ประกอบกับ ล่าสุดกรมสรรพากรเสนอมาตรการให้ ครม. เห็นชอบภายใน 1Q59 คือการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยผู้มีรายได้มากกว่า 2 หมื่นบาท แต่ไม่เกิน 3 หมื่นบาท/เดือน ไม่ต้องเสียภาษี (จากเดิมผู้มีรายได้ไม่เกิน 2 หมื่นบาท ไม่มีต้องเสียภาษี) โดยจะมีผลบังคับใช้ในปี 2560 ที่จะมีการยื่นเสียภาษี ปี 2561 ถือว่าเป็นการกระตุ้นกำลังซื้ออีกส่วนหนึ่ง ทำให้การบริโภคภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมค้าปลีก ซึ่งมีหุ้นเด่นเช่น ROBINS, COM7 และกลุ่มท่องเที่ยว ซึ่งมีหุ้น ERW เป็น Top Pick

หุ้นปันผลสูง Dividend Play อีกทางเลือกที่ปลอดภัย
     ผ่านไป 2 วันทำการแรกของปี 2559 ตลาดหุ้นไทยเริ่มต้นได้ไม่สวยนัก ปรับตัวลดลงไปกว่า 2.7% ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลทางสถิติที่ว่าSET มีโอกาสที่จะปรับตัวลงในช่วง 1-3 วันทำการแรกของปี อย่างไรก็ตาม การที่ดัชนีลดลงมาใกล้บริเวณ 1250 จุด ทำให้ Expected P/E ณ สิ้นปี 2559 อยู่ในระดับต่ำเพียง 13.3 เท่า ซึ่งเป็นระดับที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน กล่าวคือ ใกล้เคียงกับตลาดหุ้นอินโดนีเซียที่ 13.2 เท่า แต่ต่ำกว่าตลาดหุ้นมาเลเซียที่ 14.3 เท่า และ ฟิลิปปินส์ที่ 15 เท่า และหากพิจารณาดัชนีเป้าหมายที่ 1466 เท่า พบว่าดัชนียังมี upside อีกกว่า 17% จึงอาจกล่าวได้ว่า SET index มี downside risk ที่จำกัดแล้ว จึงน่าจะเป็นโอกาสที่เหมาะสมในการลงทุนระยะกลาง-ยาว นอกจากนี้ ยังสามารถคาดหวัง dividend yield ได้ในระดับสูง เนื่องจากราคาหุ้นปรับตัวลงมามากเกินกว่าปัจจัยพื้นฐาน โดยฝ่ายวิจัยได้คัดเลือกหุ้นปันผลสูงที่มีการจ่ายปันผลเป็นเงินสดสม่ำเสมอในรอบ 5 ปีหลังสุด ทั้งยังมีโอกาสสูงที่จะได้ Capital Gain จากการปรับขึ้นของราคาในช่วงก่อนวันขึ้น XD ราว 3 เดือน
ทั้งนี้ ในส่วนของ INTUCH และ ADVANC ล่าสุดนักวิเคราะห์กลุ่มสื่อสารได้มีการปรับประมาณการกำไรลง ทำให้อัตราเงินปันผลลดลงเหลือราว 7% แต่ก็ยังเป็นอัตราที่สูงเป็นลำดับต้นๆ ของตลาด ทั้งยังมี upside เหลืออยู่สูงมาก โดย INTUCH upside สูงถึง 48.6% ส่วน ADVANC upside กว่า 26% นักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงๆ ก็สามารถเข้าซื้อสะสมได้

ทั้งสถาบันฯและต่างชาติขายหุ้นไทยใน 2 วันแรกของปี
      วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 357 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) แต่เป็นการซื้อสุทธิอยู่ประเทศเดียว คือ อินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิราว 5 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติยังคงขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 153 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) รองลงมาคือ ไต้หวันถูกขายสุทธิราว 106 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิเล็กน้อยราว 3 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8) ส่วนตลาดหุ้นไทย วานนี้ปรับตัวลดลงไปอีกกว่า 10 จุด โดยเกิดจากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติราว 101 ล้านเหรียญ หรือ 3,640 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 707 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 2)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 34,977 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 202 ล้านบาท ส่วนค่าเงินบาทล่าสุดประคองตัวอยู่ที่ 36.14 บาท/ดอลลาร์

ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!