WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

“เลือกซื้อ/ถือต่อเมื่อ SET ยืนเหนือ 1475”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
     • ภาพตลาดวันก่อน : ดัชนีปรับขึ้นทำ New High เมื่อวันศุกร์ โดยขึ้นไปสูงสุดที่ 1504.91 แล้วอ่อนลงมาปิดที่ 1495.83 (+2.62 จุด) มูลค่าซื้อขาย 4.9หมื่นล้านบาท ทั้งนี้นักลงทุนบางกลุ่มขายทำกำไรในหุ้นที่ปรับขึ้นแรง/ทำ New High ไปแล้ว เพื่อล็อกกำไรไว้ก่อนในช่วงที่ดัชนีขึ้นมาถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ นักลงทุนสถาบันในประเทศ, ต่างชาติ และรายย่อย ซื้อสุทธิแต่กลุ่มละไม่มาก ส่วนพอร์ตบล.ขายสุทธิ

• ปัจจัยและกลยุทธ์ :
     # Sentiment ตลาดต่างประเทศเป็น Neutral โดยตลาดหุ้นเอเชียที่เปิดซื้อขายในเช้าวันนี้แกว่งตัวในกรอบแคบ แต่มีทั้งบวกและลบ ทั้งนี้ตลาดหุ้นสหรัฐปิดทำการในวันศุกร์ที่ 4 ก.ค.เนื่องในวันชาติสหรัฐ
# ปัจจัยหนุนภายใน คือ นักลงทุนมองข้ามการอ่อนแอใน 1H57 เพราะมีความหวังว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นตั้งแต่ 2H57 เป็นต้นไปเช่นเดียวกับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน ซึ่งมองว่ากลุ่มที่อิงกับอุปสงค์ในประเทศ เช่น แบงค์, พาณิชย์, เช่าซื้อ, ยานยนต์&ชิ้นส่วน, วัสดุก่อสร้าง,อสังหาริมทรัพย์ (รวมถึงรับเหมาก่อสร้าง & นิคมอุตสาหกรรม), ขนส่ง, สื่อและโฆษณา ฯลฯ จะมียอดขายและรายได้กระเตื้องขึ้นใน 2H57 และเติบโตได้ดีในปี 58 ส่วนท่องเที่ยวคาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ 4Q57 ซึ่งเป็น High season รอบใหม่ของธุรกิจ สำหรับปัจจัยเสี่ยง คือ การบริโภคที่จะเติบโตได้จำกัดเนื่องจากผู้บริโภคระวังการใช้จ่ายเพราะหนี้สินภาคครัวเรือนที่สูง และการลงทุนภาครัฐที่อาจล่าช้าเพราะหลายโครงการต้องทบทวนและตรวจสอบเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความเหมาะสม
     # กลยุทธ์ทางเทคนิค : ซื้อใหม่เน้นซื้อตามค่าบวก การอ่อนตัวต่ำกว่าแนวฟิวเตอร์ 1475 จุด มีแนวเด้ง 1470, 1450-1440 จุด ส่วนการปรับขึ้นต่อมีแนวต้านระยะสั้น 1500, 1510-1520 จุด หุ้นพื้นฐานแนะนำซื้อลงทุนระยะยาววันนี้เป็น GLOBAL

Fundamental Pick
GLOBAL แนะนำซื้อปิด 13.70 บาท ราคาเป้าหมาย 15.10 บาท
      # อัตราการเติบโตจากสาขาเดิม (SSSG) ใน 2Q57 คาดว่าจะดีขึ้นจาก 1Q57 ที่ -7.1%QoQเทียบกับ 4Q56 และต่ำลง 6%YoY จาก 1Q56 โดยเป็นผลจากเศรษฐกิจซบเซา โดยในเดือนเม.ย.57 มีการติดลบที่น้อยลงกว่า 1Q57 และในเดือนพ.ค.-มิ.ย.57 ดีขึ้นหลังจากคสช.อนุมัติให้จ่ายเงินในโครงการรับจำนำข้าว ทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและเศรษฐกิจในต่างจังหวัดกระเตื้องขึ้น สำหรับแผนการขยายสาขาใหม่ยังดำเนินต่อไป คือใน 2Q57 จะเปิดใหม่จำนวน 5สาขา และใน 2H57 จำนวน 7 สาขา (1Q57 เปิดไปแล้ว 2 สาขา) ส่วนแนวโน้มยอดขายใน2H57 ดีขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เรายังคงให้สมมุติฐาน SSSG ปี 57 เป็น -2% แต่ยอดขายรวมยังขยายตัวได้จากการเปิดสาขาใหม่ สำหรับแนวโน้มผลประกอบการ คาดว่าปี 57 จะทรงตัว แต่จะขยายตัวก้าวกระโดด 40-45% ในปี 58 แนะนำซื้อลงทุน โดยให้ราคาพื้นฐาน 15.10 บาท ซึ่งประเมินด้วย PEG ปี 57 ที่ 1 เท่า

ปัจจัยต่างประเทศและโภคภัณฑ์
• วันศุกร์ตลาดหุ้น & โภคภัณฑ์สหรัฐปิดทำการ
* ตลาดหุ้นสหรัฐ & โภคภัณฑ์ปิดทำการในวันศุกร์ที่ 4 ก.ค.57 เนื่องในวันชาติสหรัฐ ส่วนดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์สที่ทำการซื้อขายช่วงเช้าวันนี้แกว่งตัวในกรอบแคบ

• สหรัฐยังไม่ส่งทหารเข้าไปร่วมสู้รบในอิรัก
* พลเอกมาร์ติน เดมป์เซย์ ประธานคณะเสนาธิการร่วมของสหรัฐ เปิดเผยว่าสหรัฐยังไม่จำเป็นต้องส่งกำลังทหารพร้อมด้วยอาวุธเข้าไปร่วมปราบปรามกลุ่มกบฏไอเอสไอแอลหรือกลุ่มรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์ในอิรักขณะนี้ เพราะความจำเป็นเร่งด่วนอยู่ที่การแก้ปัญหาการเมืองของอิรักมากกว่า แต่สหรัฐจะยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

+ ยูโรโซน : วันนี้คาดว่ารมว.คลังยูโรโซนจะอนุมัติเงินกู้งวดถัดไป 1 พันล้านยูโรให้กรีซ
* คณะทำงานยูโรกรุ๊ปอนุมัติเงินกู้งวดถัดไปในวงเงิน 1 พันล้านยูโร (1.36 พันล้านดอลลาร์)ให้แก่กรีซแล้วในวันที่ 4 ก.ค.57 และคาดว่าจะมีการอนุมัติอย่างเป็นทางการในการประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซนที่กรุงบรัสเซลส์ในวันจันทร์ที่ 7 ก.ค.57

ปัจจัยในประเทศและหลักทรัพย์
+ ไทย : แนวโน้มภาคอุตสาหกรรมดีขึ้นใน2H57 เนื่องจากดัชนีความเชื่อมั่นที่ปรับขึ้นสู่ระดับกว่า 50 ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปี
* นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่าแนวโน้มการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมในช่วง 2H57 มีแนวโน้มดีขึ้น เห็นได้จากตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย.57 ขยายตัวไปอยู่ในระดับ 56.6 จุด ซึ่งเป็นค่าดัชนีที่เกิน 50 จุด ครั้งแรกนับตั้งแต่กลางปี 56 หรือในรอบ 12 เดือน

* ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของหอการค้าไทย ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และดัชนีของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ล้วนแต่เพิ่มขึ้นทุกตัว ทำให้มั่นใจว่าในครึ่งปีหลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัวสูงกว่าในครึ่งปีแรกอย่างแน่นอน

+ ไทย : สศค.จะปรับ GDP Growth ของไทยใหมในปลายเดือนก.ค.นี้ เบื้องต้นคาดใกล้เคียงระดับที่ประเมินไว้ 2.6%
* แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวว่า ปลายเดือนก.ค.57 ทางสศค.จะมีการปรับประมาณการตัวเลข GDP Growth ของไทยปี 57-58 เพื่อสะท้อนตัวเลขส่งออกและภาพรวมเศรษฐกิจภายใน โดยขณะนี้มีสัญญาณที่ดีขึ้นในหลายอุตสาหกรรม ทำให้ทางสศค.เชื่อว่ามีโอกาสที่เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเติบโตได้มากกว่าหรือใกล้เคียงกับที่ได้คาดการณ์ไว้ในระดับ 2.6%

*ความเห็น Retail Research DBSV : เราคาดว่าประเด็นเสี่ยงหลักของเศรษฐกิจไทยใน2H57 คือ 1) การเติบโตของการส่งออก โดยหากแต่ละเดือนในครึ่งหลังของปีมีมูลค่าส่งออกในระดับ 19,000 ล้านเหรียญสหรัฐ/เดือน ส่งออกทั้งปี 57 จะเป็นแค่ทรงตัวเท่านั้น และ 2) การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐที่ล่าช้า ซึ่งขณะนี้มีแนวโน้มว่าการเบิกจ่ายงบประมาณจะต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 95% โดยทางอธิบดีกรมบัญชีกลางประเมินว่าจะสามารถเบิกจ่ายงบประมาณปี 57 (สิ้นสุด 30 ก.ย.57) ได้ราว 90.8% ทั้งนี้ในช่วง 3 ไตรมาสของปีงบประมาณนี้ได้เบิกจ่ายไปแล้ว 68.12% หรือประมาณ 1.72 ล้านล้านบาทอย่างไรก็ตาม การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 57 ที่ต่ำกว่า 2% ไม่ได้เป็นประเด็นที่ตลาดกังวลมากนัก เพราะเชื่อว่าการเติบโตที่น้อยลงในปีนี้จะถูกเลื่อนไปปี 58 และทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจปีหน้าเร่งตัวขึ้นมาก โดยพระเอก หรือ Key Growth คือ การลงทุนภาครัฐและการลงทุนภาคเอกชนที่เติบโตสูงขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญ และมูลค่าส่งออกที่ขยายตัวดีขึ้น

•/+ ความจริงเกี่ยวกับการตัด GSP : ไทยจะถูกตัด GSP จากอียูตั้งแต่ 1 ม.ค.58 เพราะรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงขึ้น แต่ไม่ใช่เรื่องใหม่ของผู้ประกอบการไทย ซึ่งได้เตรียมแผนรองรับไว้แล้วพอสมควร การอ่อนตัวเป็นจังหวะซื้อลงทุนใน CPF และ TUF
* อียูตัด GSP ไทยเพราะประเด็นรายได้เฉลี่ยต่อหัวที่สูงขึ้น ไทยจะถูกตัด GSP จากสหภาพยุโรปเพราะรายได้เฉลี่ยต่อหัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ในกลุ่มรายได้ปานกลางถึงค่อนข้างสูง(Middle Upper Income Level) เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน โดยจะตัด GSP ตั้งแต่ 1 ม.ค.58 เป็นต้นไป ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นการเมือง เช่น การมีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งหรือไม่

* ความเกี่ยวพันกับการเจรจา FTA ไทย-อียู คือ ผู้ประกอบการไทยใน 4 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก จะถูกอียูระงับสิทธิพิเศษ GSP ตามหลักเกณฑ์ Product Graduation หรือ มูลค่าส่งออกของประเทศผู้ได้รับสิทธิเกินกว่าร้อยละ 17.5 ของมูลค่าการนำเข้ารวมของสินค้ารายการนั้นก่อน 1 ม.ค.58 ต้องการให้รัฐบาลไทยเร่งเจรจา FTA ระหว่างไทยกับอียูให้บรรลุโดยเร็วเพื่อให้สามารถส่งออกสินค้าไปยังอียูอย่างเต็มที่ได้อีกครั้ง

* รายการสินค้าที่จะถูกตัดสิทธิประโยชน์ภายใต้โครงการ GSP ใหม่ของอียู ที่จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.57-31 ธ.ค.59 ซึ่งประเทศไทยจะถูกตัดสิทธิในสินค้าภายใต้ Section S-4a, S-4b และ S14 มีดังนี้
1) สินค้าใน Section S-4a ได้แก่ ของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ ปลา หรือสัตว์จำพวกครัสเตเซีย มอลลัสก์ หรือสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ ซึ่งสินค้าที่จะได้รับผลกระทบอย่างมากคือ สินค้าประเภทเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ประมงแปรรูป ได้แก่ ทูน่ากระป๋อง และกุ้งแปรรูป
2) สินค้าใน Section S-4b ได้แก่ น้ำตาล ขนมที่ทำจากน้ำตาล โกโก้และของปรุงแต่งที่ทำจากโกโก้ ของปรุงแต่งจากธัญพืช แป้ง สตาร์ช หรือนม ผลิตภัณฑ์อาหารจำพวกเพสทรีของปรุงแต่งทำจากพืชผัก ผลไม้ ลูกนัต หรือจากส่วนอื่นของพืช ของปรุงแต่งเบ็ดเตล็ดที่บริโภคได้ เครื่องดื่ม สุรา น้ำส้มสายชู กากและเศษที่เหลือจากอุตสาหกรรมผลิตอาหารอาหารที่จัดทำไว้สำหรับเลี้ยงสัตว์ ซึ่งสินค้าที่จะได้รับผลกระทบอย่างมากคือ อาหารแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์
3) สินค้าใน Section S-14 ได้แก่ ไข่มุกธรรมชาติหรือไข่มุกเลี้ยง รัตนชาติหรือกึ่งรัตนชาติโลหะมีค่า โลหะที่หุ้มด้วยโลหะมีค่า และของที่ทำด้วยของดังกล่าว เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณที่เป็นของเทียม เหรียญกษาปณ์ ซึ่งสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูง ได้แก่ สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ แต่เนื่องจากเป็นสินค้าที่ถูกตัด GSP อยู่แล้ว จึงไม่ได้รับผลกระทบเพิ่มเติม

ทั้งนี้ประเทศอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ GSP ใหม่ของสหภาพยุโรป ได้แก่ จีนอินโดนีเซีย อินเดีย คอสตาริกา เอกวาดอร์ ไนจีเรีย และยูเครน (ที่มา : Plant Standardand Certification Office)

* ทางออกของผู้ประกอบการไทยที่จะถูกตัด GSP คือ การเจรจาเพื่อให้ได้รับสิทธิพิเศษGSP ในบางรายการสินค้า, การใช้ฐานการผลิตประเทศเพื่อนบ้านที่ยังได้รับสิทธิพิเศษ GSPเป็นที่ผลิตเพื่อส่งออกไปอียูแทน เช่น เวียดนาม ซึ่ง CPF ก็ใช้แนวทางนี้เป็นทางออก, การให้ผู้ค้ารายใหญ่ในประเทศซื้อสินค้ามาจำหน่ายในประเทศหรือส่งออกไปในภูมิภาคอื่นที่มีสายสัมพันธ์ทางการค้าที่ดีมากขึ้น เป็นต้น

* กลยุทธ์ : ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับผู้ประกอบการ...การอ่อนตัวของราคาหุ้นเป็นจังหวะซื้อ CPF และ TUF สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการถูกตัด GSP จากสหภาพยุโรปคือ ทูน่ากระป๋อง และกุ้งแปรรูป โดยผู้ประกอบการหลักที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯและเราทำการวิเคราะห์ทางด้านปัจจัยพื้นฐาน คือ CPF และ TUF ซึ่งมองว่าเรื่องการถูกตัด GSP จากอียูไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยผู้ประกอบการรับทราบเรื่องนี้มาหลายปีแล้ว และได้มีแผนรองรับไว้พอสมควร เช่น การย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ยังได้รับสิทธิพิเศษ GSP, การขยายฐานการผลิตและตลาดไปยังประเทศผู้นำเข้าหลัก, การเพิ่มสัดส่วนรายได้จากสินค้าประเภทอื่นที่ไม่ติดปัญหาและมีมาร์จิ้นดี, การปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการผลิตและลดค่าใช้จ่ายเพื่อให้มีต้นทุนที่ต่ำลง สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้มากขึ้นและยังสามารถทำกำไรได้ในเกณฑ์ดีแม้ว่าจะถูกตัด GSP ก็ตาม ดังนั้น เรามองว่าราคาหุ้น CPF และ TUF ที่อ่อนตัวลงมาก็เป็นจังหวะในการซื้อลงทุน ทั้งนี้ราคาหุ้นได้ปรับลดลงรับข่าวลบต่างๆ ไปพอสมควรแล้ว ซึ่งรวมถึงประเด็นสถานการณ์ค้ามนุษย์ด้วย เราประเมินราคาพื้นฐาน CPF ไว้ที่ 33 บาท (มี Upside จากราคาปิดที่ 27.25 บาทอยู่ 21%) และ TUF เท่ากับ 84 บาท (มี Upside จากราคาปิดที่ 66 บาทอยู่27%)

นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : Tel 7829 [email protected]

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!