- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 07 July 2014 14:40
- Hits: 2365
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาดว่าการขับเคลื่อนของดัชนียังมาจากหุ้นรายตัวที่มีการเติบโตที่ดี (IVL, TTCL) และผลกำไรงวด 2Q57 โดดเด่น วันนี้แนะนำลงทุนหุ้นอสังหาฯ (SC, AP, RML) โดยเลือก SC เป็น Top pick เพราะมี P/E ต่ำ Div Yield 4.9% และ upside เกิน 20%
สิ้นสุดการทำ Preview Earnings ของ ธ.พ. อาจจะมีโอกาส take profit
หลังจากที่นักวิเคราะห์ ASP ได้ทยอยทำประมาณการกำไรงวด 2Q57 ของหุ้นในกลุ่ม ธ.พ. เสร็จสิ้นเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยภาพรวมพบว่า ผลกำไรทรงตัวจากงวด 1Q57 และจากงวดเดียวกันของปีก่อน (yoy) แม้รายได้รวมชะลอตัว จากดอกเบี้ยรับที่ลดลงจาก Yield (กดดัน NIM) จากการปรับลดดอกเบี้ยในช่วงต้นปี และรายได้มิใช่ดอกเบี้ยชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศ แต่กลับได้รับชดเชยด้วยต้นทุนดำเนินงานที่ลดลง (KTB, KBANK, SCB โดย SCB มีกำไรพิเศษจากการขายเงินลงทุนในบริษัทไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย หรือ SCSMG) ทั้งนี้ยกเว้น TMB ที่มีกำไรโดดเด่นที่สุดในกลุ่ม โดยพบว่ากำไรสุทธิดีขึ้นมากกว่า 6 เท่าตัว อันเป็นผลจากการฟื้นตัวทั้ง 2 ด้าน และ ทำให้นักวิเคราะห์ได้ปรับเพิ่มคำแนะนำ TMB เป็น ซื้อ จากเดิม ถือ โดย Fair Value ใหม่อยู่ที่ 2.88 บาท มี upside 14.6%
ตรงกันข้ามที่ BBL (อ่านรายละเอียด Equity Talk เมื่อวันศุกร์) พบว่างวด 2Q57 กำไรหดตัวมากที่สุดในกลุ่ม โดยหดตัว 19%yoy และหดตัว 8%qoq เนื่องจากผลกำไรจากธุรกรรม Fx และเงินลงทุนลดลง ขณะที่รายได้จากดอกเบี้ยสุทธิ และค่าธรรมเนียมฯ ยังคงทรงตัวจากงวดก่อนหน้า โดยภาพรวมทำให้งวด 1H57 กำไรสุทธิหดตัวกว่า 4%yoy และทำให้กำไรสุทธิใน 1H57 คิดเป็นเพียง 43% ของประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี 2557 อย่างไรก็ตามเชื่อว่าทิศทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวในงวด 2H57 จะส่งผลบวกต่อการเติบโตของสินเชื่อสุทธิและผลการดำเนินงานจากการเข้าสู่ช่วงฤดูกาล และแผนการลงทุนใหญ่ของประเทศที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนที่ดีต่อราคาหุ้น BBL ที่ยัง laggard มาก รวมทั้ง PBV ต่ำเพียง 1.2 เท่า จึงคงประมาณการกำไรปี 2557 และ Fair value เท่ากับ 220 บาท
ส่วนธนาคารพาณิชย์รายย่อย พบว่าอ่อนตัวจากงวด 2Q56 โดยเฉพาะ TCAP และ KKP หดตัวถึง 68% และ 30% ตามลำดับ ยกเว้น TISCO ที่หดตัวน้อยสุดคือ ราว 17.5% อย่างไรก็ตาม คาดว่าธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจะมีแนวโน้มที่ฟื้นตัวในงวด 2H57 จากสินเชื่อที่มีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นหลังการเมืองคลี่คลาย โดยเฉพาะสินเชื่อขนาดกลาง-เล็ก รวมถึงสินเชื่อรายย่อย น่าจะฟื้นตัวได้แรงกว่าธนาคารที่เน้นการปล่อยสินเชื่อขนาดใหญ่ โดยเลือก KKP (FV@B 52.2) เป็น Top pick เนื่องจากมี EPS Growth เกินกว่า 10% ต่อปี และที่สำคัญมี PBV ต่ำสุดเพียง 1.0 เท่า พร้อมกับ Div yields สูงสุดราว 7%
หุ้นอสังหาฯ โดดเด่นงวด 2Q57 คือ SC, AP, RML
ขณะที่ทางด้านภาคการผลิต หรือมิใช่สถาบันการเงิน คาดว่านักวิเคราะห์น่าจะทยอยทำการคาดการณ์กำไร (Preview earnings) ตั้งแต่เดือนนี้จนกว่าจะมีการประกาศในราวกลางเดือน ส.ค. นี้ โดยประเมินว่าภาคการผลิตที่มีน้ำหนักถ่วงตลาด โดยเฉพาะพลังงาน-ปิโตรฯ น่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นจากงวด 1Q57 โดยเฉพาะปิโตรเลี่ยม สะท้อนจากราคาผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น (ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยงวด 2Q57 106.2 เหรียญฯต่อบาร์เรล เทียบกับ 105.25 เหรียญฯ จากต้นปีจนถึงปัจจุบัน) ยกเว้นค่าการกลั่นที่ปรับลดลงในช่วง 2Q57 อันเป็นผลของฤดูกาล ส่วนธุรกิจปิโตรฯ ที่โดดเด่นยังคงอยู่ในสายโอเลฟินส์ ยกเว้นสาย Aromatic ที่ยังถูกกดดันจากปริมาณผลผลิตใหม่ของโลกที่ยังเพิ่มมากกว่าความต้องการในช่วง 1-2 ปีนี้
ขณะที่กลุ่มอื่นๆ งวด 2Q57 ที่คาดว่าจะมีกำไรสุทธิโดดเด่นที่สุด ได้แก่กลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย เพราะการบันทึกรายได้จากยอดขายในอดีต นอกจากนี้ยังเห็นสัญญาณฟื้นตัวระยะสั้น ทั้งยอดจองบ้านใหม่ (presale) และเป้าหมายการบันทึกรายได้ หุ้นเด่นนำโดย AP (FV@B 7.10), SC (FV@B 4.45) และ RML (FV@B 2.38) โดยทั้ง 3 บริษัท มีผลประกอบการที่เติบโตต่อเนื่องในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ ขณะที่มี Expected P/E ต่ำกว่าตลาดมาก คืออยู่ที่ราว 7-8 เท่า (ยกเว้น RML 5 เท่า เท่านั้น) และยังมี Dividend Yield สูงเกิน 4% แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณา upside พบว่าเหลือเพียง RML และ SC เท่าที่ยังเกิน 20% ทั้งนี้หากพิจารณาองค์ประกอบรวม แล้ว เลือก SC(FV@B 4.45) เป็น Top pick เพราะนอกจากมี Upside 20% สูง ยังให้เงินปันผลสูงสุดในกลุ่ม 4.9%
ต่างชาติสลับขายสุทธิเล็กน้อย แต่ยังซื้อหนักในตราสารหนี้
วันศุกร์ที่ผ่านมาพบว่า นักลงทุนต่างชาติสลับมาขายหุ้นในภูมิภาคอีกครั้ง ราว 242 ล้านเหรียญฯ (หลังจากที่ซื้อสุทธิติดต่อกัน 9 วันก่อนหน้า) โดยยอดขายหลักๆมาจากไต้หวันที่สลับมาขายสุทธิอย่างหนักถึง 202 ล้านเหรียญฯ (ซื้อติดต่อกัน 9 วันก่อนหน้า) ส่วนประเทศอื่นๆ ขายสลับซื้อสุทธิเบาบาง กล่าวคือ อินโดนีเซียขายสุทธิเป็นวันที่ 2 ราว 48 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัวจากวันก่อนหน้า) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ ขายสุทธิเป็นวันที่ 2 เช่นกันราว 4 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 26%) และไทย สลับมาขายสุทธิราว 1 ล้านเหรียญฯ (36 ล้านบาท, ซื้อติดต่อกัน 4 วันก่อนหน้า) สวนทางกับเกาหลีใต้ที่ยังคงซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7 แต่ยอดซื้อลดลงถึง 92% เหลือราว 13 ล้านเหรียญฯ
แม้ว่านักลงทุนต่างชาติจะสลับขายสุทธิหุ้นไทยออกมา แต่กลับขายเพียงเบาบาง และเป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค ขณะที่ในตลาดตราสารหนี้ของไทยนักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 ด้วยยอดสูงถึง 1.05 หมื่นล้านบาท (รวม 7 วันซื้อสุทธิกว่า 4.7 หมื่นล้านบาท) ทำให้เชื่อว่าในระยะสั้น นักลงทุนต่างชาติจะยังคงขายซื้อสลับขายหุ้นไทยด้วยปริมาณเบาบางตามสถานการณ์ต่อไป หลังจากที่ขายสุทธิออกมาอย่างหนักในช่วงก่อนหน้ากว่า 3.7 หมื่นล้านบาทในช่วงกลางเดือน พ.ค. – มิ.ย. 57
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
พบชัย ภัทราวิชญ์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล