- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 21 December 2015 16:57
- Hits: 5259
บล.บัวหลวง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ลงทดสอบ 1,270/1,250 จุด
คาดดัชนีฯลง วันจันทร์-อังคาร ก่อนลุ้นรีบาวด์จากแนวรับบริเวณ 1,270/1,250 จุด (การเก็งกำไรช่วงนี้ ควรวาง Stop loss 3-5%) ปัจจัยลบ หุ้นพลังงานต้นน้ำคาดดิ่งตามราคาน้ำมันดิบที่ลง จากข่าวสภาสหรัฐฯยกเลิกข้อห้ามส่งออกน้ำมันฯครั้งแรกรอบ 40 ปี (แต่บวกต่อกลุ่มโรงกลั่น TOP IRPC) และ ผลประมูลคลื่นฯ 4G กดดันกลุ่มมือถือ (คาดกลุ่มจะเปิดลงเฉลี่ย 4-5% แล้วดีด)
ระยะเดือน ธค. หลังจากดัชนีฯหลุดจากจุดขาดทุน 1,340 จุดลงมา คาดว่าช่วง 1-2 สัปดาห์สุดท้ายของเดือนตลาดยังคงมีลุ้นยืนตามแนวรับ 1,250 จุด ส่วนเดือน มค. มีความเสี่ยงหลุด 1,200 จุด (ยังต้องรอประเมินสถานการณ์อีกครั้งว่ารอบนี้จะรีบาวด์ไปได้ไกลแค่ไหน)
หุ้นแนะนำวันนี้ CPALL กองทุนผนึกรายย่อยเรียกประชุมวิสามัญฯสัปดาห์นี้ ขอปลดบอร์ดบริหารฯ คาดเรียกความเชื่อมั่นธรรมาภิบาลบริษัทฯคืน, EPG เป็นหุ้นได้ประโยชน์จากปิโตรเลียมขาลง, DIF กระแสตลาดคาดได้ประโยชน์ จากการขอเช่าเสาสัญญาณเพิ่มเติมจากค่ายมือถือน้องใหม่ JAS และ DTAC ที่ต้องการเช่าเสาเพิ่มขยายโครงข่ายฯ
BLS รายงานพื้นฐานวันนี้
(-) DTAC เราปรับราคาเป้าหมาย (DCF) ลงเหลือ 45 บาท (Rating Hold) อิงจากสมมุติฐาน ใบอนุญาติ 1800MHz เดิมในมือ หมดลงในปี 2018 และ 2100MHz หมดลงในปี 2027 โดยจะไม่ได้ใบอนุญาตใดเพิ่มอีกในการประมูลครั้งต่อๆไป / ในมุมมองกลยุทธ์คาดราคาหุ้นวันนี้จะลงจำกัด เพราะอิงจากราคาเหมาะสมกรณีแย่สุดคือไม่มีใบอนุญาติเพิ่มอีกเลยหลังจากนี้ราคาเหมาะสมยังอยู่ที่ 45 บาท แต่การลงทุนระยะยาวแนวโน้มธุรกิจมีแต่ทรงกับลง เพราะจะโดนแย่งส่วนแบ่งตลาดไปเรื่อยๆ แนะนำ ขึ้นขายเปลี่ยนตัวเล่น
(-) TRUE เราปรับคาดการณ์ผลการดำเนินงานปีหน้าลงเป็นขาดทุน 5,000 ล้านบาท และ แนะนำ ขาย ราคาเป้าหมาย 4 บาท อิงจากค่าใช้จ่ายและดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้น โดยคาดจะขาดทุนไปอย่างน้อย 3-4 ปีจากนี้ และ ใบอนุญาติ 900MHz ที่ได้มาล่าสุด จะให้มูลค่าที่ติดลบ ส่วนการเพิ่มทุนคาดว่าจะออก PP ให้ China Mobile ส่วนหนึ่งและ ออก RO ภายใน 1-2 ปีข้างหน้า / กลยุทธ์ คาดรีบาวด์ แต่เป็นโอกาสในการขาย
(-) JAS คาดจะต้องเพิ่มทุนในรูปแบบ PP ให้พันธมิตรรายใหม่ (ตลาดคาดว่าจะเป็น SK telecom จากเกาหลีใต้) ซึ่งใบอนุญาตที่ได้มาให้มูลค่าที่ติดลบ /กลยุทธ์แนะ รีบาวด์ เป็นโอกาสในการขาย
(-) ADVANC เราปรับราคาเป้าหมายลงเหลือ 245 บาท จาก 294 บาท (ส่วน INTUCH มูลค่า NAV ลงเหลือ 100 บาท) โดยคาดกำไร 1-2 ปีข้างหน้าจะทรงตัว และปันผลจะลดลงเล็กน้อยจากกำไรปี 2016-17 ที่คาดว่าจะโต +/- ในกรอบ 2% ซึ่งจะยังคงให้ผลตอบแทนเงินปันผลที่สูงกว่า 6.5% /กลยุทธ์คาด ราคาหุ้นวันนี้คาดเปิดลงจำกัด และรีบาวด์ จากผลการดำเนินงานที่ไม่ได้รับผลกระทบมากนักในระยะสั้น
(-) กลุ่มพลังงานทดแทน เลื่อนจับฉลากโซล่าร์หน่วยงานราชการฯ รอเกณฑ์ใหม่อีกครั้งในเดือน มค. คาด TSE และ IFEC กระทบต่อราคาหุ้น /แต่ IFEC กระทบน้อยกว่า เพราะรายได้โรงไฟฟ้าส่วนใหญ่มีการกระจายการลงทุนไปที่พลังงานลมทั้งในและต่างประเทศไม่ได้อิง โซลาร์เป็นหลัก
หุ้นมีข่าว
(*) IFEC ราคาหุ้นลงแรง 20% เมื่อวานศุกร์ คาดเกิดจาก วิตกข่าว ผถห.รายใหญ่ (ที่มากรุงเทพธุรกิจ) แสดงความกังวลต่อการซื้อสินทรัพย์โรงแรมดาราเทวี แต่เรายังเชื่อมั่นว่า การใช้เงินลงทุน 2.46 พันล้านบาท นั้นคุ้มค่า โดยเป็นการใช้เงินกู้แบงก์ระยะสั้น และเงินสดบางส่วน เข้าซื้อสินทรัพย์ในราคาต่ำกว่ามูลค่าประเมิน ไม่ได้นำมาจากการออกหุ้นกู้ และไม่ใช่เงินเพิ่มทุน จึงไม่ได้ผิดวัตถุประสงค์ธุรกิจแต่อย่างใด
IFEC ซื้อดาราเทวี (Equity 1.6 พันล้านบาท และ หนี้ 860 ล้านบาท) ผลกระทบต่องบการเงินเชิงบวกคือ 1) จะมีกำไรจากการซื้อหนี้ ที่ปรับโครงสร้างหนี้ปีนี้เข้ามาจากการ Hair cut ประมาณ 540 ล้านบาท และมีอีกก้อนที่กำลังอยู่ระหว่างทำ Hair cut คาดว่าจะมีกำไรทยอยรับรู้เข้ามาอีกประมาณ 2 พันล้านบาท ในปีหน้า)
2) ปี 2016 จะมีกำไรจากการขายที่ดินโรงแรม และ ขายอาคาร Residential รับรู้เข้ามาประมาณ 1 พันล้านบาท
3) การซื้อกิจการจะได้ Loss carry มาลดหย่อนภาษี อีกประมาณ 1,000 ล้านบาท
4) โรงแรมมี กำไรก่อนหักค่าเสื่อมอยู่ที่ 150 ล้านบาท /ปี (ค่าเสื่อมจะลดลงตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป เพราะปรับเกณฑ์บัญชีใหม่ขอตัดค่าเสื่อมนานขึ้นเป็น 30 ปี จาก 20-25 ปี และ ดอกเบี้ยจ่ายอยู่ที่ 110 ล้านบาท จะลดลงจากการ Hair Cut หนี้) ทำให้ IFEC จะรับรู้กำไรสุทธิเข้ามาประมาณ 30-50 ล้านบาท ต่อปี
5) ราคาประเมินที่ดินและกิจการ โรงแรม อยู่ที่ 4 พันล้านบาท สามารถนำไปค้ำประกันเงินกู้ เพื่อลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าในและต่าง ประเทศ
6) เงินลงทุนนี้มาจากเงินกู้แบงก์ ซึ่งทำให้ DE เพิ่มเป็น 0.80 เท่า เพิ่มเล็กน้อยจากเดิมที่ 0.5-0.6 เท่า
คาดว่ากำไรสุทธิ 4Q15 ของ IFEC จะก้าวกระโดดจากกำไรพิเศษ และ ปีหน้า กำไรปกติ จากโรงไฟฟ้า 72.5 MW ในมือตอนนี้ ที่จะรับรู้เต็มปี ทำให้ปี 2016 กำไรน่าจะเกิน 1,000 ล้านบาท (ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์ของเรา เพราะเดิมไม่คาดว่าจะมีกำไรพิเศษดังกล่าวจากการลงทุนครั้งนี้ ทั้งนี้เรายังรอดูว่ากำไรพิเศษทั้งหมดนี้จะทยอยบันทึกอย่างไร จึงยังคงประมาณการณ์กำไรไว้ก่อน) และคาดว่ากำไรพิเศษนี้เมื่อรวมกำไรปกติ บริษัทฯจะนำมาจ่ายเป็นปันผลพิเศษจากผลประกอบการปี 2016 เบื้องต้นคาดประมาณ 0.50 บาท/หุ้น) โดย PE 2016 ตอนนี้เหลือ 11 เท่า จากราคาปิด 6.3 บาท (คาดว่าเมื่อประกาศงบปี ช่วง กพ. 2016 จะเป็น Positive surprise ต่อตลาด)
(*) SGF นักลงทุนรายใหญ่พร้อมใจรับซื้อหุ้นเพิ่มทุน เอสจีเอฟ "สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล" หรือเสี่ยปู่ ทยอยซื้อถือลงทุน 7.63% ขณะที่ "วิวัฒน์ วิฑูรย์เธียร" อดีตหุ้นใหญ่เอแคป แอ๊ดไวเซอรี่ ร่วมซื้อถือครองหุ้นรวม 6.78% เจ้าตัวแจงเหตุ เข้าไปถือหุ้นเพราะสนใจธุรกิจและเอสจีเอฟอยู่ระหว่างเปลี่ยนธุรกิจ โดยการซื้อกิจการธุรกิจสินเชื่อรายย่อย มองแนวโน้มน่าสนใจ (ที่มากรุงเทพธุรกิจ)
(+) โบรกเผยบอร์ด 'ซีพี ออลล์' เรียกประชุมด่วน 18 ธ.ค.ถกกรณีผู้บริหารใช้ข้อมูลภายใน ซื้อหุ้น คาดได้ข้อสรุปสัปดาห์หน้า (21-25 ธค.) ยอมรับสถาบันต่างชาติบางส่วนเทขายก่อนหน้า และส่วนที่เหลือจับตาผลประชุมของบริษัท พร้อมหวัง ก.ล.ต. ปรับปรุงเกณฑ์เข้มงวดขึ้น ยกระดับธรรมาภิบาลบริษัทจดทะเบียนไทย (ที่มากรุงเทพธุรกิจ)
(-) TCAP "ธนชาต" รับสโกเทีย เตรียมขายหุ้นแบงก์ ตามกลยุทธ์การลงทุนในภูมิภาค ระบุมีเงื่อนไข "พันธมิตรรายใหม่" ต้องแข็งแกร่งพอ พร้อมหนุนธุรกิจได้ ด้าน"แบงก์ชาติ" ย้ำหากมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นเกิน 10% จำเป็นต้องขออนุญาต ส่วนกรณีต่างชาติหากถือหุ้นเกิน 25% ต้องขออนุญาตเช่นกัน (ที่มากรุงเทพธุรกิจ)
(+) กลุ่มสินค้าไอทีมีแนวโน้มราคาถูกลง SYNEX COM7 ฯลฯ: นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีการค้าขององค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ครั้งที่ 10 ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา เปิดเผยว่า ขณะนี้ที่ประชุมสมาชิกดับเบิลยูทีโอ มีมติความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอทีเอ) โดยการลดภาษีสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับไอที 201 รายการเป็น 0% มีผลทันทีตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 59 จำนวน 65% ของสินค้าทั้งหมด และที่เหลือทยอยปรับลดเหลือ 0% ภายในเวลา 5 ปี ส่งผลให้เกิดการค้าการลงทุนแก่ประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้น (ที่มาเดลินิวส์)
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
(-/+) สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติ อนุมัติร่างกฎหมายงบประมาณรายจ่ายวงเงิน 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งจะจัดสรรเงินแก่รัฐบาลจนถึงเดือน ก.ย. 2016 นอกจากนี้ สภาผู้แทนราษฎรยังมีมติยกเลิกข้อห้ามส่งออกน้ำมันสหรัฐ ที่มีการบังคับใช้มานาน 40 ปี (ส่งผลราคาน้ำมันดิบลงต่อจากอุปทานในตลาดโลกที่อาจเพิ่มขึ้น)
(-) US EU รายงาน GDP 3Q15 ส่วนใหญ่คาดเศรษฐกิจชะลอลง US (อังคาร) คาด +1.9% จาก 2.1% q-q ar.
(-) เงินเฟ้อสหรัฐฯ (วันพุธ) คาด Core PCE +0.1% จาก 0% (การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อสหรัฐฯสนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง)
(+) CLSA เตรียมปรับลดราคาเป้าหมายหุ้นกลุ่มสื่อสาร หลังประมูล 4 จี คลื่น 900 MHz2 ใบอนุญาตทะลุแสนล้านบาทแต่ฟันธงดัชนีหุ้นไทย 1,300 จุด เอาอยู่เชื่อนักลงทุนต่างชาติจ่อซื้อหุ้นสื่อสารกลับเพราะแม้แต่ราคาประมูลสูงแต่ดีต่ออนาคตระยะยาว ขณะที่แบงก์พาณิชย์เตรียมเงินพร้อมปล่อยกู้ผู้ชนะ (ที่มา ไทยรัฐฯ)
(-) เจพีมอร์แกนปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจปี 2556 สำหรับประเทศตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่ 21 ประเทศ จากทั้งหมด 22 ประเทศ เช่น จีน ไทย เกาหลีใต้ เป็นต้น เนื่องจากการส่งออกจะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยปรับลดคาดการณ์ของไทยลงจาก 3.50% เหลือ 3.30%
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค