WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
      ด้วยต้นทุนที่สูงมาก ขณะที่การปรับเพิ่ม ARPU ให้ครอบคลุมทุนยากมาก ASPS เตรียมปรับลดประมาณ/Fair Value กลุ่มสื่อสารและคงน้ำหนักน้อยกว่าตลาด แนะขายหุ้นสื่อสาร (TRUE, DTAC และ JAS) และยังให้สะสมหุ้นปันผลเด่น (EASTW, MCS, SCC) และหุ้นได้ประโยชน์น้ำมันขาลง เลือก BA([email protected]) คือ Top pick

ปรับลดประมาณการหุ้นสื่อสารทั้งกลุ่ม แนะนำขาย DTAC, TRUE, JAS
       ผลการประมูลใบอนุญาต 4G คลื่น 900MHz ที่ออกมานับว่าผิดฝาผิดตัวและผิดกว่าที่คาดไว้มาก โดยผู้ชนะ 2 ราย คือ JAS และ TRUE ซึ่งเท่าที่ประเมินกันในเบื้องต้นมีความจำเป็นในการประมูลน้อยกว่าคู่แข่งขันอีก 2 ราย แต่เชื่อว่า TRUE น่าจะเดินเกม ที่กำหนดคู่แข่งขันรายเดิม ทั้ง 2 ราย ขณะที่ JAS ต้องการเข้าสู่ธุรกิจ non-voice ที่เต็มรูปแบบ (หรืออื่น ๆ ซึ่งยังไม่ทราบรายละเอียด ต้องรอ JAS แถลงอีกครั้ง) ทำให้ด้วยการแข่งขันที่ดุเดือด จนทำให้ต้นทุนใบอนุญาตพุ่งสูงมาก (แพงที่สุดในโลก) จึงก่อให้เกิดคำถามที่ว่า JAS และ TRUE จะทำอย่างไรกับต้นทุนที่สูงขนาดนี้ ขณะที่ฝั่ง ADVANC และ DTAC จะแก้ไขอย่างไรเมื่อไม่ได้คลื่นมาเพิ่ม
       ทั้งนี้ หลังจากการประมูลคลื่น 900 MHz จบสิ้นลง ส่งผลให้ TRUE มีคลื่นในมือมากที่สุด 4 คลื่น รวม 55 MHz (ประกอบด้วย 850 MHz จำนวน 15 MHz (เช่าจาก CAT)สิ้นสุด 2568, คลื่น 900 MHz จำนวน 10 MHz สิ้นสุด 2573, คลื่น 1800 MHz จำนวน 15 MHz สิ้นสุด 2576, และ คลื่น 2100 MHz จำนวน 15 MHz สิ้นสุด 2570) ซึ่งทำให้ TRUE มีประสิทธิภาพในการให้บริการสูงสุดในปัจจุบัน แต่สิ่งที่น่ากังวลมากสุดคือ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ TRUE ต้องกู้ยืม และ เพิ่มทุนสักเท่าไร อย่างที่เคยเรียนนักลงทุนไปแล้วว่า TREU มี net gearing 0.68 เท่า มีเงินสดในมือ 1.11 หมื่นล้านบาท มีฐานทุน 7.44 หมื่นล้านบาท
       ขณะที่ต้นทุนเฉลี่ยต่อปี ที่สูงขึ้นจากใบอนุญาตใหม่ทั้ง 2 ใบ เมื่อรวมกับ Capex ในการลงทุนปกติ (2G+3G) และที่เพิ่มขึ้นจาก 4G คาดจะพุ่งสูงขึ้นเป็น 1.36 แสนล้านบาท หากพิจารณาแค่ให้ TRUE คุ้มทุน คือให้ Marginal Cost (MC) เท่ากับ Margical Revenue (MR)ตามหลักเศรษฐกิจ TRUE ต้องเพิ่มรายได้หรือค่าบริการเฉลี่ยขึ้นอีก 50 บาท/เดือน จากปัจจุบันที่มี ARPU เพียง 184 บาท ต่อเลขหมาย ซึ่งจะทำได้หรือไม่ ภายใต้ฐานลูกค้าที่มีอยู่ราว 18.5 ล้านราย หรือมีส่วนแบ่งตลาดราว 26% นักลงทุนต้องคิดต่อนะคะว่าจะเกิดอะไรขึ้น ยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องที่ TRUE จะต้องกู้ยืม ภายใต้สมมติฐาน net gearing 1.5 เท่า คาดว่า TRUE ต้องเพิ่มทุน 6 หมืนล้านบาท และกู้ยืมอีก 6.4 หมื่นล้านบาท
        ทางฝั่ง JAS แม้ได้ใบอนุญาตคลื่น 900 ไป แต่ด้วยปัจจุบันไม่มีฐานลูกค้ามือถือ มีเพียงฐานลูกค้าที่ใช้ Internet บรอดแบนด์ราว 1.8 ล้านรายเท่านั้น และ ปัจจุบันมีรายได้เฉลี่ยต่อเลขหมาย หรือ ARPU Broadband Service ณ สิ้น 3Q58 อยู่ที่ราว 570 บาท/ราย/เดือน ขณะที่ต้นทุนรวมของ JAS จะพุ่งขึ้นเป็น 560 บาท/เดือน หาก JAS ต้องการเน้นให้บริการ Non-voice เต็มรูปแบบเหมือนในประเทศเกาหลี แต่ด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น หากใช้สมมติฐานเดียวกับ TRUE คือ MC=MR ภายใต้สมมติฐานลูกค้า internet เพิ่มเป็น 2ล้านราว JAS จะต้องเร่งให้บริการ เพื่อเพิ่ม ARPU เป็น 1000 บาทต่อเลขหมาย เพื่อให้ครอบคลุมต้นทุนที่สูงข้น หรือไม่ก็ต้องเพิ่มฐานลูกค้าขึ้นเป็น 3-5 ล้านราย หากไม่สามารถเพิ่ม ARPU ได้สูงขนาดนั้น ซึ่งจะเป็นอย่างไร จากนี้ คงต้องติดตามกลยุทธ์เด็ดของ JAS ที่จะประกาศให้นักลงทุนทราบโดยทั่วกัน ถึงกลยุทธ์เพื่อความอยู่รอดในระยะยาว หรือ กลยุทธ์ เตรียมตัวเพื่อขอ ควบควมกิจการกับใครดี .... แต่ที่แน่ ๆ คือ JAS จำเป็นต้องเพิ่มทุน แม้ปัจจุบันมีฐานะเป็น net cash position แต่ปัจจุบันมีฐานทุน 1.56 หมื่นล้านบาท หากมองโลกในแง่ดีถ้าสามารถให้ JAS-W3 แปลงเป็นทุนทั้งหมดจะได้เงินสด 1.5 หมื่นล้านบาท ฐานทุนจะเพิ่มเป็น 3 หมื่นล้านบาท หากตั้งสมมติฐานให้ net gearing 1 เท่า คาดว่าเท่ากับ JAS 3 หมื่นล้านบาท
      ส่วนทางด้าน ADVANC นั้น การไม่สามารถชนะคลื่น 900 Mhz ครั้งนี้ได้ ทำให้ปัจจุบันมีคลื่นเพียง 2 คลื่นคือ 2100 15 Mhz ภายใต้ใบอนุญาต 3G จะสิ้นสุดปี 2570 และ คลื่น 1800 15 Mhz ที่เพิ่งชนะประมูลรอบนี้ มีอายุ 18 ปี รวมแล้วจะมีเพียง 30 Mhz เทียบกับในอดีตที่เคยมีมากถึง 42.5 Mhz ซึ่งอาจจะทำให้ ADVANC อาจจะเผชิญกับประสิทธิภาพในการให้บริการ เมื่อเทียบกับ TRUE ที่มีคลื่นมากกว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ADVANC ได้เจรจากับ TOT ในการทำสัญญาเป็นพันธมิตร นำคลื่น 2100 ของ TOT จำนวน 15 Mhz อายุ 10 ปี ออกมาให้บริการ ร่วมกับคลื่น 2100 ของ ADVANC ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ทำให้ ADVANC มีกำลังให้บริการทั้งหมด 42.5 Mhz เท่าเดิม เพื่อแก้ปัญหาประสิทธิภาพในการให้บริการ
และ สุดท้าย DTAC ปัจจุบันมีคลื่นความถึ่ 55 Mhz รวมมากสุด รวม 55 Mhz แต่ส่วนใหญ่ราว 40 Mhz จะครบอายุในปี 2561 คือ คลื่น 1800 30 Mhz และ คลื่น 850 จำนวน 10 Mhz หลังปี 2561 จึงเหลือเฉพาะคลื่น 2100 15 Mhz ภายใต้ใบอนุญาต 3G จะสิ้นสุดปี 2570 ซึ่งจะทำให้ DTAC เผชิญกับต้นทุนค่าบริการที่สูงสุดในอุตสาหกรรม (ภายใต้สัมประทานเดิมต้นทุนเฉลี่ย 23 -30% ของรายได้) และประสิทธิภาพการบริการที่ด้อยกว่าคู่แข่ง และ ผลักดันให้ DTAC ต้องเข้าร่วมประมูลใบอนุญาตที่ครบกำหนดดังกล่าว ซึ่งอาจจะเผชิญกับต้นทุนที่สูง เหมือนการประมูลในรอบนี้ หาก TRUE ต้องการที่จะกีดกันคู่แข่งขันเหมือนในรอบนี้
     อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นถือว่าเป็น sentiment เชิงลบต่อกลุ่มสื่อสาร เพราะต้นทุนที่สูงมาก แต่เชื่อว่าการแข่งขันแย่งลูกค้าระดับPremium จะเกิดขึ้นรุน แรง เพราะหลังจาก TRUE มีคลื่นก็จะเป็นผู้ได้เปรียบ ขณะที่ ADVANC, DTAC ต้องพยายามรักษาฐานลูกค้าเช่นกัน ซึ่งทุกรายน่าจะมีต้นทุนค่าการตลาดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้นักวิเคราะห์ ASPS ต้องนำไปสู่การปรับลดประมาณกำไรในปี 2559 และ ในระยะถัดไปรวมถึง มูลค่าหุ้นที่จะต้องปรับลดลง เนื่องจาก ต้นทุนโดยรวมที่สูงขึ้น (MC) ไม่สามารถปรรับรายได้ขึ้นได้ทัน (MR) จึงยังให้น้ำหนักการลงทุนในกลุ่มสื่อสารเป็นน้อยกว่าตลาด และให้ขายหุ้นสื่อสารถึงบริษัท ทั้ง TRUE, JAS, DTAC ส่วน ADVANC คาดว่าหากมีการปรับลด Fair Value ลงในเบื้องต้นน่าจะอยู่ที่ 210 - 220 บาท ซึ่งก็ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคาตลาด จึงแนะนำซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว

กลุ่มสื่อสารอาจไม่ถึงทางตัน..MCOT น่าจะยอมให้นำคลื่นที่มีอยู่ออกมาประมูลปี 2559
     ดูจากจำนวนคลื่นที่มีอยู่จำกัด อาจจะทำให้นักลงทุนวิตกว่า ADVANC และ DTAC อาจสู่ทางตัน อย่างไรก็ตามหากลองกลับไปดูคลื่นความถี่ของ MCOT คือ คลื่น 2600 MHz จำนวน 120 MHz (จะหมดอายุปี 2570) ซึ่งปัจจุบัน กสทช กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับ MCOT ให้นำคลื่นประมาณ 50% ของคลื่นที่ MCOT มีอยู่ออกมาให้ผู้ประกอบการค่ายมือถือประมูลในปี 2559 รับอนุญาตให้ใช้งานคลื่น จนถึงปี 2550 ออกมาประมูลได้ 60 MHz บางส่วนมาเปิดประมูลภายในปี 2559 แต่ทั้งนี้จากการสัมภาษณ์ IR ของ MCOT พบว่า MCOT ยินดีที่จะให้คลื่น 60 MHz ออกมาประมูล แต่ MCOT ต้องได้รับค่าชดเชยแบบสมเหตุสมผล
      ทั้งนี้ การที่หลายคนมองว่า ADVANC และ DTAC มีโอกาสขาดแคลนคลื่นในอนาคตนั้น นาย ฐากร เลขาธิการ กสทช. ระบุว่า ในปี 2561 กสทช.จะนำคลื่น 1800 MHz จำนวน 45 MHz ที่DTAC หมดอายุสัมปทานกับ CAT อีกหลายคลื่น หาก กสทช มีความจริงใจที่จะช่วยเหลือผู้ประกอกการ ก็น่าจะนำคลื่นส่วนนี้ออกมาประมูลเพิ่มเติม โดยน่าจะแบ่งผลประโยชน์ให้กับ MCOT บ้างเพื่อแลกกับการยอมคืนคลื่นก่อนครบกำหนด

ต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยติดต่อกัน 10 วันทำการ
       วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 138 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) แต่เป็นการซื้อสุทธิอยู่ 2 ประเทศ คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิราว 31 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ถูกซื้อสุทธิราว 3 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 94 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิได้เพียงวันเดียว) ตามมาด้วยอินโดนีเซียถูกขายสุทธิราว 22 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 2 วัน) และไทยต่างชาติยังคงขายสุทธิราว 56 ล้านเหรียญ หรือ 2,021 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 10 โดยมียอดขายสุทธิสะสมรวมสูงถึง 1.7 หมื่นล้านบาท ) ต่างกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 479 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 7,199 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 649 ล้านบาท ส่วนค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดยล่าสุดอยู่ที่ 36.14 บาท/ดอลลาร์

ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!