WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
     ตลาดน่าจะให้ความสนใจกับการประมูลคลื่น 900 แต่คาดไม่ร้อนแรงเท่า 1800 เพราะน่าจะมีเฉพาะ DTAC, ADVANC เท่านั้นที่ต้องการ แต่วันนี้เลือก Top pick TASCO([email protected]) เพราะได้คัดเลือกกลับเข้ามาใน SET50 และยังได้ประโยชน์จากน้ำมันขาลง โดยยังชื่นชอบ BA([email protected]) และหุ้นที่มี CFO มั่นคง BDMS([email protected]), EASTW([email protected])

ประมูลคลื่น 900 ไม่น่าร้อนแรง และค่าประมูลไม่ควรเกิน 3 หมื่นล้านบาท
      วันนี้ จะเป็นการเริ่ม ประมูลใบอนุญาตคลื่น 900 MHz. (จำนวน 2 ใบอนุญาตฯ ละ 10 MHz) คาดว่าจะไม่รุนแรงเท่าการประมูลคลื่น 1800 MHz (ประมูลเมื่อ 11 พ.ย. ที่ผ่านมา) เนื่องจากคลื่น 1800 MHz (จำนวน 2 ใบอนุญาตฯ ละ 15 MHz) มีความเหมาะสมที่จะนำไปให้บริการ 4G มากสุด โดยเฉพาะในด้านอุปกรณ์ที่มารองรับ และ ในขณะนั้น ADVANC ถือว่าที่เป็น operator รายเดียวที่ยังไม่มี 4G ให้บริการ ขณะที่ TRUE และ DTAC ให้บริการอยู่แล้ว ด้วยคลื่น 2100 กำลัง 10 Mhz และ 5 Mhz ตามลำดับ (หลังจากได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 ทำให้ TRUE มีคลื่นที่ให้บริการ 3G รวม 20 Mhz มากสุดและเกินกว่าขั้นต่ำที่จำเป็นเพียง 15 Hhz) จึงมีความจำเป็นต้องประมูลให้ได้ (ส่วน DTAC มีคลื่น 1800 45 Mhz ซึ่งรองรับบริการ 4G ได้เช่นกัน แต่อยู่ภายใต้สัมปทาน และจะหมดอายุ ก.ย. 2561 ขณะที่มีต้นทุนสูง คือจ่ายส่วนแบ่งรายได้ 30% ของรายได้ ปัจจุบัน DTAC จึงมีต้นทุนสูงสุดในบรรดาผู้ประกอบการทั้ง 3 ราย)
      ขณะที่คลื่น 900 MHz. นั้น หากนำไปให้บริการ 4G อาจไม่เหมาะสมเท่าเนื่องจากอาจมีปัญหาด้านเครื่องลูกข่าย อุปกรณ์รองรับยังมีน้อย เมื่อเทียบกับคลื่น 1800 MHz ที่กล่าวข้างต้น จึงเชื่อว่า operator น่าที่จะนำคลื่น 900 MHz. ไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ น่าจะเป็นนำไปใช้สนับสนุน/ต่อยอดระบบ 2G และ 3G มากกว่า ซึ่งน่าจะตรงกับความต้องการ ของ ADVANC (ให้บริการ 2G บนคลื่น 900 แต่สิ้นสุดสัมปทานไปเมื่อ ก.ย. 2558 ซึ่งขณะนี้ กสทช อนุญาตให้ ADVANC ใช้งานชั่วคราว จนกว่าการประมูลคลื่น 900 จะเสร็จสิ้น และ บริการ 3G บนใบอนุญาตคลื่น 2100) และ DTAC (บริการ 2G อยู่บนคลื่น 1800 Mhz จะหมดสัมปทาน ก.ย. 2561 และ บริการ 3G บนใบอนุญาต 2100 Mhz และ คลื่นสัมปทาน 850 อย่างละ 10 Mhz ซึ่งจะหมดอายุราว ก.ย. 2561)
     ทั้งนี้ หากอิงจากการประมูลรอบล่าสุด คาดว่าราคาประมูลน่าจะอยู่ระหว่าง 2.5-3 หมื่นล้านบาท (มากกกว่า 2.0 เท่าจากราคาตั้งต้น) โดยฝ่ายวิจัยประเมินค่าประมูลใบอนุญาต 900 MHz ที่ราว 3 หมื่นล้านบาทต่อใบอนุญาต หากประเมินศักยภาพทางการเงิน แล้วคาดว่า ADVANC ยังเป็นผู้ที่มีความพร้อมสูงสุด (CFO ปีละกว่า 6 หมื่นล้านบาท + เงินสดในมือ 7.7 พันล้านบาท มี Gearing 0.95เท่า) โดยคาดว่า ADVANC จะนำคลื่น 900 MHz ที่ได้ไปให้บริการ 2G และเสริมประสิทธิภาพ 3G ให้สูงขึ้น
ส่วน DTAC คาดว่าต้องการเพิ่มจำนวนคลื่นภายใต้ระบบใบอนุญาตให้มากขึ้นกว่าปัจจุบัยที่มีคลื่น 2100 MHz เพียงคลื่นเดียว ซึ่งหาก DTAC ไม่สามารถประมูลครั้งนี้ได้ จะส่งผลให้คลื่นสัมปทานที่มีในมือ (850 และ 1800 MHz) ที่จะหมดอายุลงในปี 2561 จะต้องนำกลับมาประมูลใหม่ ทำให้ DTAC ไม่มีทางเลือกที่จะต้องประมูลให้ได้ และมีความเสี่ยงที่อนาคตราคาประมูลจะสูงกว่าปัจจุบัน และหากพิจารณาความพร้อมด้านการเงินเชื่อว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี กล่าวคือมี CFO ปีละเกือบ 3 หมื่นล้านบาท เงินสดในมืออีก 2.1 หมื่นล้านบาท และมี net Gearing 0.95 เท่า
ขณะที่ TRUE หลังจากได้ใบอนุญาตเพิ่มเติมดังกล่าวข้างต้น จึงมีงความจำเป็นน้อย
      JAS อยากทำธุรกิจมือถือจริงหรือ???? ปัจจุบัน JAS เป็นผู้ให้บริการ Internet ความเร็วสูง มีส่วนแบ่งตลาดราว 31% จากทั้งหมดที่มีคู่แข่งขันอยู่3 ราย (อีก 2 รายคือ TOT มีส่วนแบ่งตลาด 32% และ TRUE 37%) และเป็นหนึ่งใน 4 ที่เข้าร่วมเข้าประมูล 1800 Mhz โดยเสนอราคาที่ 3.8 หมื่นล้านบาท สูงเป็นลำดับที่ 3 รองจาก ADVANC และ TRUE และ ในรอบนี้ คาดว่าอาจจะเข้าประมูลคลื่น 900 Mhz จะด้วยเหตุผลใดไม่ทราบ แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ แล้ว JAS ไม่น่าจะมีความพร้อมในการเข้าแข่งขันเพื่อให้ได้ใบอนุญาตมาทำธุรกิจมือถือ เริ่มจาก 1) กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (CFO) ที่ทำได้เฉลี่ยได้ปีละ 5-6 พันล้านบาท (ซึ่งเพียงพอต่อ เงินลงทุน และ เงินปันผลในแต่ละปี เท่านั้น) โดยไม่รวมเงินสดที่มีอยู่ในมือ ณ สิ้น 3Q58 8.7 พันล้านบาท ที่ยังมีสภาพคล่องเหลืออยู่ ขณะที่แม้ JAS มีสถานะ Net Cash จากฐานะทุนหรือส่วนเจ้าของที่มีอยู่ 1.5 หมื่นล้านบาท JAS จึงสามารถกู้ยืมเพิ่มเติม อีก 2 เท่าตัว หรือ ดัน Gearing ขึ้นไปเป็น 2 เท่า ก็จะได้เงินกู้ยืมเข้ามา 3 หมื่นล้าน ซึ่งเมื่อรวมเงินสดในมือ ก็อาจจะทำให้มีเงินพร้อมลงทุน ใบอนุญาต 900 MHz ถึงเกือบ 4 หมื่นล้านบาท แต่ประเด็นที่ 2) คือ JAS ไม่มีฐานลูกค้ามือถือเลย เพราะปัจจุบันฐานลูกค้ามือถือ อยู่กับ ADVANC, DTAC และ TRUE เกือบ 100% แล้ว จะแย่งลูกค้าอย่างไร เพราะทั้ง 3 รายได้วางโครงข่ายต่าง ๆ ไว้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วไประเทศแล้ว นอกจาก JAS จะหาพันธมิตร ซึ่งพันธมิตรจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากผู้ที่ฐานลูกค้าอยู่ในมือ ทั้ง 3 เจ้าข้างต้น

หุ้นเข้าออก SET50 - SET100 รอบ 1H59 แนะนำ SCCC TASCO และ PLANB
      ตลาดหลัดทรัพย์ได้ประกาศรายชื่อหุ้น ที่ถูกคัดเลือก เข้า-ออก SET50, SET100 และเริ่มนำไปคำนวณในต้นปี 2559 โดยมีหุ้นที่ถูกคัดเข้า SET50 อยู่ 3 บริษัท และออกอีก 3 บริษัท ส่วนหุ้นที่ถูกคัดเข้า SET100 มีอยู่ 14 บริษัท และออกอีก 14 บริษัท ดังตารางด้านล่างนี้
     ราคาหุ้นที่ถูกคัดเลือกเข้าคำนวณในดัชนี SET50 และ SET100 มักจะปรับตัวขึ้นตอบรับในเชิงบวก เนื่องจากกองทุนประเภท Index Fund ต้องมีการปรับพอร์ตลงทุนตามหุ้นที่ถูกคัดเข้า-ออกจากคำนวณ อีกทั้งยังสอดคล้องกับการศึกษาข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา พบว่า หากซื้อหุ้นก่อนเข้าคำนวณราว 1 สัปดาห์ และขายทำกำไรในวันเข้าคำนวณ โดยหุ้นที่ถูกเข้าคำนวณในดัชนี SET50 จะมีความเป็นไปได้กว่า 78% ที่ผลตอบแทนเป็นบวก และให้ผลตอบแทนเฉลี่ยราว 3.0% ขณะที่หุ้นที่เข้าคำนวณในดัชนี SET100 จะให้ความน่าจะเป็นที่น้อยกว่าราว 51% และให้ผลตอบแทนเฉลี่ยเพียง 1.2% เท่านั้น
      กลยุทธ์การลงทุน แนะนำลงทุนในหุ้นที่ถูกเข้าคำนวณทั้งในดัชนี SET50 และ SET100 อย่าง SCCC(FV@B410) และ TASCO([email protected]) โดยราคาหุ้นของทั้ง 2 บริษัทปรับฐานลงมามากจนมี Upside สูงถึง 45% และ 27% ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีหุ้นที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่งคือ PLANB([email protected]) ได้รับปัจจัยบวก จากการถูกคัดเลือกเข้าคำนวณในดัชนี SET100 ขณะที่มีการรุกขยายกำลังให้บริการสื่อในสนามบิน โดยการซื้อหุ้นบริษัท เดอะวันพลัส จำกัด น่าจะทำให้กำไรเติบโตต่อเนื่องถึง 41% ในปีหน้า

ยอดขายหุ้นในภูมิภาคในเดือน ธ.ค. สูงกว่าทั้งเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา
     วานนี้ ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคทั้ง 5 ประเทศ ราว 534 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) ส่งผลให้ยอดขายสุทธิสะสมหุ้นในภูมิภาคในเดือน ธ.ค. อยู่ที่ 3.6 พันล้านเหรียญ ซึ่งสูงกว่ายอดขายทั้งเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา (อยู่ที่ 3.4 พันล้านเหรียญ) และหากพิจารณาเป็นรายประเทศ พบว่า วานนี้เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 255 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 9) รองลงมาคือ ไต้หวันถูกขายสุทธิราว 137 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) ตามมาด้วยอินโดนีเซียถูกขายสุทธิราว 33 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) และฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 20 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 9) ส่วนไทยต่างชาติยังคงขายสุทธิสูงถึง 89 ล้านเหรียญ หรือ 3,235 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 โดยมียอดขายสุทธิสะสมรวม 7.6 พันล้านบาท) ต่างกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่เริ่มกลับมาซื้อสุทธิราว 1,017 ล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 6,203 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 2,442 ล้านบาท ส่วนค่าเงินบาทล่าสุดยังคงอ่อนค่าอยู่ที่ 36.12 บาท/ดอลลาร์

นักวิเคราะห์: ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์: ภราดร เตียรณปราโมทย์

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!