WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
      ปัจจัยกดดันรอบด้าน และแรงขายหุ้น CPALL ของกองทุนไทย ซึ่งถือหุ้นรวมกันกว่า 12% แต่อาจจะมีการสลับไปซื้อหุ้นอื่นในกลุ่มค้าปลีก/นอกกลุ่มฯ ที่มี CG ระดับ 4-5 (SCC, BDMS) จึงยังชื่นชอบหุ้นที่มีผลฤดูกาลเลือก IRPC([email protected]) และ BDMS([email protected]) เป็น Top picks

ตลาดฯ ให้น้ำหนัก Fed ขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้น
     เชื่อว่าประเด็นที่ตลาดให้น้ำหนักต่อการลงทุนในตลาดหุ้นยังเป็นเรื่อง การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในวันที่ 15-16 ธ.ค. นี้ ขณะที่การรายงานตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่อง กล่าวคือ การจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Non - Farm Payrolls) เดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นที่ระดับ 2.11 แสนราย สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 2 แสนราย (เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 เดือน) ส่งผลทำให้ อัตราการว่างงานเดือน พ.ย. ทรงตัวที่ 5% เท่าเดือนก่อนหน้า และ หนุนให้ตลาดคาด Fed ขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบนี้ สะท้อนจาก ผลสำรวจ Fed fund rate บ่งชี้ถึงโอกาสขึ้นดอกเบี้ยในรอบนี้ ปรับเพิ่มขึ้นขึ้นต่อเนื่อง ที่ 78 % (จากครั้งก่อนหน้า 72%) แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีกลุ่มคนส่วนน้อยที่ยังมองว่า Fed จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมในสัปดาห์หน้า ซึ่ง ASPS อยู่ในกลุ่มนั้น เนื่องจากประเด็นเรื่อง อัตราเงินเฟ้อที่ยังต่ำ 0.2% yoy
      ขณะที่ อังกฤษ คาดว่าผลการประชุมของธนาคารกลาง หรือ BOE ใน 10 ธ.ค. นี้น่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ0.5% ตามเดิม (นานติดต่อกันตั้งแต่ มี.ค. 2552 ) เนื่องจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังส่งสัญญาณ ชะลอตัว ประกอบกับเงินเฟ้อ ยังคงติดลบ 0.1% (ติดต่อกัน 3 เดือน) โดยรวมทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐกลับมาแข็งค่าอีกครั้ง หลังจากอ่อนค่าในปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา (เกิดจากการ cover short ค่าเงินยูโร เพราะผิดหวังที่ ECB ขยายเวลาการรับซื้อ แทนที่จะเพิ่มเม็ดเงินรับซื้อ QE ต่อเดือน) ล่าสุดค่าเงินดอลลาร์ หรือ Dollar Index อยู่ที่ 98.75 และ ยังติดแนวต้าน 100 จุด ขณะที่ค่าเงินเอเชียยังคงทรงตัว ส่วนหนึ่งคาดว่าแรงขายต่างชาติที่เริ่มเบาบางลง

วันนี้จะทราบผลประมูลรถไฟ-จิระ-ขอนแก่น แบบ e-Auction ยังชอบ CK
      ในวันนี้ (8 ธ.ค.) จะมีการประมูล e-Auction สัญญาก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น วงเงิน 2.36 หมื่นล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี โดยมีบริษัทผู้รับเหมาที่ผ่านคุณสมบัติเข้าร่วมประมูล 4 ราย คือ CK, ITD, STEC และ UNIQ และ จะทราบผลภายในวันนี้ ทั้งนี้แม้งานก่อสร้างดังกล่าว ไม่มีความซับซ้อน ทำให้การแข่งกันสูง และ นำไปสู่ Margin ที่ต่ำกว่างานประเภทที่สลับซับซ้อน แต่ก็น่าจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับผู้ที่ชนะงานประมูลได้ราวปีละ 8 พันล้านบาท เนื่องจากในปีนี้ไม่ได้มีงานประมูลใหม่ๆ ออกมา ผลการดำเนินงานในปี 2559 จึงต้องขึ้นอยู่กับ Backlog ที่มีอยู่ในมือ จึงน่าจะเป็นกระแสที่ช่วยหนุนกลุ่มรับเหมาฯ ที่น่าสนใจขึ้นอีกครั้ง
       ขณะที่การประชุม ครม. วันนี้ มีประเด็นที่อาจจะเป็น sentiment เชิงบวกต่อตลาด คือ กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี วงเงิน 1.1 แสนล้านบาท ซึ่ง ASPS คาดว่า CK (FV@B 33) มี โอกาสที่จะได้ทั้งงานประมูลรถไฟรางคู่จิระ-ขอนแก่น หลังพลาดงานประมูลรถไฟทางคู่ช่วงแก่งคอย-คลอง 19 ไป และงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่คาดว่าจะมีส่วนของงานใต้ดินราว 6 หมื่นล้านบาท โดย CK ถือเป็น 1 ใน 2 บริษัทก่อสร้างไทยที่มีประสบการณ์ทำงานสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินมาก่อน และ ราคาตลาดยังมี upside ราว 18% รวมถึงเสถียรภาพของกำไรที่มีมากกว่ารายอื่นๆ จากส่วนแบ่งรายได้และเงินปันผลของบริษัทลูกที่มีเข้ามาสม่ำเสมอ โดยปี 2559 เป็นต้นไป CK จะมีส่วนแบ่งกำไรจาก BEM (BECL+BMCL) เข้ามาไม่ต่ำกว่า 750 ล้านบาท จากอดีตที่เคยรับรู้เพียงเงินปันผลจาก BECL ประมาณ 375 ล้านบาท/ปี

SCC / BDMS อาจได้รับประโยชน์ จากแรงขาย CPALL
      ประเด็นหุ้น CPALL (ก.ล.ต. ปรับผู้บริหารใช้ข้อมูล inside) แม้เชื่อว่าจะไม่กระทบปัจจัยพื้นฐานของบริษัท แต่อาจจะกระทบต่อการประเมิน CG Rating (โดย IOD) ซึ่งปัจจุบัน มี CG Rating 3 (ดี) และอาจจะมีผลทำให้นักลงทุนสถาบันฯ มีแนวโน้มปรับลดน้ำหนักการลงทุนลง โดยหากพิจารณารายชื่อหุ้น 10 ลำดับแรก ที่กองทุนในประเทศ (ประเภทตราสารทุน) ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด 50 อันดับแรก (ข้อมูลสิ้นเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา) พบว่ามีการถือครองหุ้น CPALL มากที่สุด โดยคิดเป็นสัดส่วน 12.6% ดังตารางด้านล่าง
     ดังนั้น หากมีแรงขายในหุ้น CPALL คงจะมีคำถามว่าแล้ว เม็ดเงินจำนวนมาก จะนำไปลงทุนในหุ้นอะไรต่อ ซึ่งในเบื้องต้น คาดว่านักลงทุนสถาบันฯ จะต้องสลับเข้าไปลงทุนในหุ้นบริษัทอื่นที่มีบรรษัทภิบาลสูง หรือค่า CG Score อยู่ในระดับ 4 ถึง 5 ซึ่งสามารถเป็นไปได้ 2 กรณี คือ สลับไปลงทุนในหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันอย่างเช่น ROBINS (FV@B 55) และ HMPRO (FV@B 8.30) ที่มีค่า CG Score อยู่ในระดับ 5 อีกทั้งราคาหุ้นปัจจุบันมี Upside มากกว่า 22% ทั้ง 2 บริษัท หรืออีกทางเลือกคือ สลับเข้าไปลงทุนในหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นที่กองทุนนิยมถือและมี Market Cap ใหญ่เพียงพออย่าง SCC (FV@B 595) และ BDMS(FV@B 22.30) ที่มีค่า CG Score อยู่ในระดับ 5 และ 4 ตามลำดับ

ต่างชาติขายหุ้นในภูมิภาค แต่สลับมาซื้อบ้างบางประเทศ
     วานนี้แม้ตลาดหุ้นไทยหยุดทำการเนื่องจากเป็นวันหยุด แต่ตลาดหุ้นต่างชาติยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิในภูมิภาคราว 105 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 3 วัน) หากพิจารณาเป็นรายประเทศพบว่า ไต้หวันและอินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิราว 185 ล้านเหรียญ และ 44 ล้านเหรียญ ตามลำดับ ส่วนเกาหลีใต้และฟิลิปปินส์ต่างชาติยังคงขายสุทธิราว 122 ล้านเหรียญ และ 2 ล้านเหรียญ ตามลำดับ
ส่วนวันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคสูงถึง 651 ล้านเหรียญ แต่เป็นการซื้อสุทธิเพียงประเทศเดียว คือ อินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิราว 13 ล้านเหรียญ ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศต่างชาติยังคงขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 338 ล้านเหรียญ รองลงมาคือ ไต้หวันถูกขายสุทธิราว 291 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 20 ล้านเหรียญ และไทยต่างชาติยังคงขายสุทธิราว 16 ล้านเหรียญ หรือ 559 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) ต่างกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 247 ล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 18,843 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 1,224 ล้านบาท ขณะที่ค่าเงินบาทยังคงทรงตัว โดยล่าสุดอยู่ที่ 35.91 บาท/ดอลลาร์

ราคาน้ำมันอ่อนตัวกดดันตลาด แตหนุนหุ้นโรงกลั่น ชอบ IRPC
        ราคาน้ำมันดิบโลกยังคงลงต่อ ล่าสุดน้ำมันดิบดูไบ แตะระดับ 35.67 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดใหม่ของปีนี้ เช่นเดียวกับน้ำมันตลาดล่วงหน้าทั้ง Brent และ WTI ปิดที่ 39.52 และ 37.80 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2552 (ช่วงหลังวิกฤติซับไพร์ม) หลังการประชุมกลุ่ม OPEC ในวันศุกร์ที่ผ่านมามีมติคงปริมาณการผลิตไว้ที่ 30 ล้านบาร์เรล ต่อวัน (ขณะที่ผลิตปัจจุบันที่ 31.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน) เพิ่มแรงกดดันปัญหา Oversupply โดยคาดปัจจุบัน โลกมีปริมาณการผลิตน้ำมันเกินความต้องการ (Supply surplus) อยู่ราว 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน และจะเพิ่มขึ้นอีกวันละ 1 ล้านบาร์เรล หากอิหร่านกลับมาเดินหน้าผลิตตามเดิม หลังได้รับการยกเลิกการคว้ำบาตร (ทำให้ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 96 เป็น 97 บาร์เรลต่อวัน เทียบกับ ปริมาณการใช้น้ำมันของโลกมีเพียง 94 ล้านบาร์เรลต่อวัน) ซึ่งถือเป็น Sentiment เชิงลบกับหุ้นน้ำมัน (PTT, PTTEP

     แต่ราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงมากถือว่าสะท้อนข่าวร้ายไประดับหนึ่งแล้ว นักลงทุนที่มีหุ้นทั้ง 2 บริษัทแนะนำให้ถือต่อไป) แต่จะหนุนหุ้นกลุ่มโรงกลั่น จากค่าการกลั่นที่สิงค์โปร์ที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยยังคงแกว่งตัวระดับ 8 เหรียญฯต่อบาร์เรล และ ยังได้รับอานิสงค์จากช่วงฤดูกาลที่เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวในหลายทวีปทั่วโลก และเชื่อว่าการเพิ่มขึ้นของกำลังการกลั่น ของโรงกลั่นใหม่ๆ ที่จะเข้ามาสู่ตลาดน้อยกว่าคาด จึงยังคงแนะนำซื้อ PTTGC([email protected]) ณ ราคาปัจจุบันมี Upside 44.1% และยังคงชื่นชอบ IRPC ([email protected]) เนื่องจากแนวโน้มกำไรปกติในปี 2559 เติบโตโดดเด่นที่สุดในกลุ่ม(39.2% yoy) และ ณ ราคาปัจจุบันมี upside ราว 42.34% ส่วน PTT (FV@B360) ถือว่ามีการกระจายธุรกิจสูง โดยถือหุ้นกลุ่มโรงกลั่นทั่ง IRPC , TOP 38.51% และ 49.10% ตามลำดับ

นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ : ภราดร เตียรณปราโมทย์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!