- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 01 December 2015 17:54
- Hits: 1122
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาดเดือน ธ.ค. ตลาดหุ้นน่าจะทรงถึงบวกเล็กน้อย ตามสถิติอดีต 10 ปี ตลาดหุ้นจะให้ผลตอบแทนเป็นบวก 1.48% ด้วยความน่าจะเป็น 70% โดยคาดว่าเกิดจากแรงหนุนของ LTF และ Window Dressing ยังแนะนำถือหุ้นปันผลเด่น (ASK, SCC, EASTW, ADVANC) Top pick เลือก MCS([email protected]) เงินปันผลสูง 5.9% และลงทุนระยะสั้น TNP([email protected])
ผลสำรวจ FED เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย แม้ดัชนีชี้นำยังขัดแย้งกันก็ตาม
การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐล่าสุด ยังมีความขัดแย้ง กล่าวคือ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ย. หดตัวลงจากเดือนก่อนหน้าราว 9.6% mom (อยู่ที่ 90.4) เป็นการหดตัวติดต่อกัน 3 เดือน และตามด้วยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ( PMI) ภาคการผลิต เขตชิคาโก เดือน พ.ย. ปรับตัวลง 13.34% จากเดือนก่อนหน้า (อยู่ที่ระดับ 48.7 เทียบกับเดือน ต.ค. ซึ่งอยู่ที่ 56.2) ตรงกันข้าม ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจหลายประการเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น เช่น ดัชนีการทำสัญญาขายบ้าน (pending home sales) เดือนต.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.2% MoM สูงกว่าเดือน ก.ย. ที่ติดลบ 2.3% MoM หนุนให้ยอดขายบ้านใหม่ เดือน ต.ค. เพิ่มขึ้น 4.8 หมื่นหลัง (อยู่ที่ 4.95 แสนหลัง) เพิ่มขึ้น 5% YoY
อย่างไรก็ตาม ประเด็นอัตราเงินเฟ้อที่ยังต่ำ 0.2% yoy และต่ำกว่าเป้าหมาย 2% มาก ทำให้ ASPS เชื่อว่าการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบนี้ มีโอกาสน้อย และน่าจะเลื่อนออกไปเป็นต้นปี 2559 ขณะที่ตลาดยังให้น้ำหนักกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมในรอบนี้ สะท้อนจากตัวเลขการสำรวจโดย Bloomberg พบว่า กว่า 74% (จากเดิม 72 % ในครั้งก่อนหน้า ) ที่มองว่า FED มีโอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม วันที่ 15 -16 ธ.ค. จึงต้องติดตามผลการประชุมว่าจะเป็นไปตามที่ตลาดส่วนใหญ่คาดหรือไม่ ขณะที่ค่าเงินสกุลดอลลาร์ พบว่ายังมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง (หลังจากแข็งค่า 6% ในรอบ 1 เดือน ล่าสุด Dollar Index อยู่ 100.17 ) และสอดคล้องกับค่าเงินยูโรป และเงินเยน ที่ทรงตัวล่าสุดอยู่ โดยล่าสุดค่าเงินเยนอยู่ 123.24 เยนต่อดอลลาร์ (หลังจากที่อ่อนค่ามาราว 3% ในช่วงเดียวกัน) และ เงินยูโรอยู่ที่ 1.056 เหรียญฯต่อยูโร (หลังจากอ่อนค่ามาราว 7% ในช่วงเดียวกัน)
กลยุทธ์การลงทุนเดือน ธ.ค. เน้นไปหุ้นชิ้นส่วนฯ อาหาร โรงพยาบาล
ในภาวะที่ตลาดหุ้นผันผวนด้วยแรงกดดันทั้งจากภายภายนอก และความกังวลต่อเศรษฐกิจไทยที่อาจจะไม่ฟื้นในปี 2559 แม้หลังจากรัฐได้พยายามผลักดันการลงทุนระยะสั้น กลาง และยาว แต่ทุกอย่างต้องใช้เวลาพิสูจน์ อย่างไรก็ตามในระยะสั้น โดยเฉพาะเริ่มต้นใหม่ของเดือน ธ.ค. หากพิจารณาสถิติในอดีตย้อนหลัง 10 ปี (ตั้งแต่ปี 2548-2557) จะพบว่าตลาดหุ้นไทย มักจะ side way หรือออกด้านข้าง แต่ยังให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 1.48% ด้วยความน่าจะเป็น 70% (ปีที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวก 7 ปี และให้ผลตอบแทนเป็นลบ 3 ปี) และหากพิจารณาในระดับกลุ่มอุตสาหกรรมพบว่ามี 12 กลุ่มฯ ที่สามารถสร้างผลตอบแทนชนะตลาดได้ โดยกลุ่มฯ ที่ให้ผลตอบแทนด้วยความน่าจะเป็นสูงสุด (80% เท่ากัน) 4 อันดับแรกคือ อิเล็กทรอนิกส์, ค้าปลีก, อาหาร และการแพทย์ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4.98% 3.73% 3.04% 2.68% ตามลำดับ (รายละเอียดดังภาพ) ซึ่งจะกล่าวรายละเอียดของรายหุ้นแต่ละกลุ่มดังนี้
กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ พบว่าหุ้นที่ผลตอบแทนชนะกลุ่ม พร้อมกับมีความน่าจะเป็น 80% คือ DELTA, KCE, ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 11.38% และ 6.90% แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาราคาหุ้นพบว่า KCE มี Upside 24% ขณะที่ DELTA เต็มมูลค่า จึงแนะนำให้ Swith จาก DELTA(FV@B84) มา KCE (FV@B80)
กลุ่มค้าปลีก พบว่าหุ้นที่ผลตอบแทนชนะกลุ่ม พร้อมกับมีความน่าจะเป็น 70% คือ BIGC, CPALL ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 7.11% และ 5.31% ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามพบว่าราคาตลาดปัจจุบัน CPALL(FV@B60) ยัง มี Upside ราว 21.83% ขณะที่ BIGC(FV@B225) มี upside เหลือจำกัด จึงแนะนำให้ Switch ไป CPALL
กลุ่มอาหาร พบว่าหุ้นที่ผลตอบแทนชนะกลุ่มฯ พร้อมกับมีความน่าจะเป็น 70-80% นำโดย OISHI, TU ซึ่งให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 10.04%, 3.89% ตามลำดับ และ KSL ([email protected]) แม้ให้ผลตอบแทนน้อย 2.84% แต่ระยะสั้นน่าจะได้รับอานิสงค์จากเงินบาทอ่อนค่า และทิศทางน้ำตาลขาขึ้น จากปรากฎการณ์ เอลนีโญ และ ณ ราคา ปัจจุบันมี Upside ราว 36.99% จึงแนะนำซื้อ ส่วน TU(FV@B23) ราคาตลาดมี upside 24.32% แนะนำซื้อเช่นกัน
กลุ่มการแพทย์ พบว่าหุ้นที่ผลตอบแทนชนะกลุ่มฯ พร้อมกับมีความน่าจะเป็น 70% มีเพียง BDMS([email protected]) 4.61% แต่ราคาปัจจุบัน มี upside 9% จึงแนะนำซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว
ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค สูงสุดในรอบเกือบ 1 ปี
วานนี้ ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์หยุดทำการเนื่องจากเป็นวันหยุด แต่ตลาดหุ้นอื่นๆยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า วานนี้ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ตกหนัก ขณะเดียวกันต่างชาติยังขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคสูงถึง 1,175 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิที่สูงสุดในรอบเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา โดยส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจาก การที่กองทุนต่างประเทศมีการปรับพอร์ตลงทุนตามการคำนวณของ MSCI และหากพิจารณาเป็นรายประเทศ พบว่า ไต้หวันที่ถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 526 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิราว 471 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยอินโดนีเซียที่ถูกขายสุทธิราว 106 ล้านเหรียญ และไทยต่างชาติยังคงขายสุทธิราว 72 ล้านเหรียญ หรือ 2,572 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 โดยมียอดขายสุทธิสะสมรวม 5.2 พันล้านบาท) ต่างกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 683 ล้านบาท
สรุปแรงซื้อขายของต่างชาติในเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 3.4 พันล้านเหรียญ (หลังจากกลับมาซื้อสุทธิสะสมในเดือน ต.ค. ได้เพียงเดือนเดียว) และเป็นการขายสุทธิสะสมทั้ง 5 ประเทศ โดยสาเหตุหลักๆน่าจะเกิดจาก ความกังวลต่อการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐในช่วงเดือน ธ.ค. ของปีนี้
ส่วนแนวโน้มเดือน ธ.ค. แม้ในช่วงนี้ตลาดหุ้นทั่วโลกจะมีความผันผวนสูง และแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติยังคงมีมาต่อเนื่อง แต่ในช่วงใกล้สิ้นปี คาดว่าตลาดหุ้นไทยจะได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อ LTF และการทำ Window Dressing ของนักลงทุนสถาบันฯ และจากสถิติย้อนหลัง 10 ปี พบว่า ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น 7 ใน 10 ปี และให้ผลตอบแทนเฉลี่ยราว 1.84%
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์