- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 30 November 2015 18:28
- Hits: 1061
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
แม้ยังขาดปัจจัยหนุนใหม่ ๆ แต่นโยบายกระตุ้นภาครัฐยังเดินหน้า กลยุทธ์การลงทุนเน้นหุ้นที่เข้าฤดูกาล (ท่องเที่ยว โรงกลั่น) รวมถึงเงินปันผลเด่น (ASK, SCC, EASTW, ADVANC) Top pick เลือก MCS([email protected]) เงินปันผลสูง 5.9% และลงทุนระยะสั้น TNP([email protected])
อังกฤษ & ญี่ปุ่น ยังคงใช้นโยบายอ่อนตัวต่อไป
เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา อังกฤษ รายงาน GDP Growth งวด 3Q58 ทรงตัวอยู่ที่ 2.3%YoY ใกล้เคียงกับงวด 2Q58 (หรือเท่ากับ 0.5% QoQ งวด 3Q58) ขณะที่การรายงานราคาขายบ้านใหม่ เดือน พ.ย. เพิ่มขึ้น 3.7% เพิ่มขึ้นในอัตราน้อยกว่าที่ตลาดคาดที่ 4.2% (ชะลอตัวเป็นเดือนที่ 2) บ่งชี้ว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ยังจำเป็นที่จะต้องใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป และทาง BOE ได้ส่งสัญญานการขึ้นดอกเบี้ยทีหลังสหรัฐ อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามการประชุม BOE วันที่ 10 ธ.ค. นี้
เช่นเดียวกับญี่ปุ่น แม้ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจล่าสุด ยังส่งสัญญาณการฟื้นตัว เช่น ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.8% เทียบกับเดือน ก.ย. ซึ่งติดลบ 0.2% และ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. เพิ่มขึ้น 1.4% สูงกว่าเดือน ก.ย. ที่เพิ่มขึ้น 1.1% (เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 เดือน ) แต่อย่างไรก็ตาม GDP Growth ในงวด 3Q58 ยังคงติดลบ 0.8%qoq เทียบกับ ติดลบ 0.7% ใน 2Q58 ยังแสดงถึงการฟื้นตัวที่ยังไม่มั่นคง ทำให้ตลาดคาดหวังว่า BOJ ยังจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ต่อเนื่องต่อไป (คงฐานเงิน Money Base ที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี) ซึ่งคงต้องติดตามการประชุม BOJ 18 ธ.ค. นี้
SET ยังซึมๆ ต่อไป และ รอการประชุม FED กลางเดือนนี้
สัปดาห์นี้คาดว่าตลาดจะยังขาดปัจจัยหนุนใหม่ ๆ และน่าจะรอจนกว่าจะมีการประชุมของ ธนาคารกลางสหรัฐในวันที่ 15-16 ธ.ค. ที่จะถึงนี้ ซึ่งตลาดยังให้น้ำหนักประเด็นนี้มาก สะท้อนจาก Dollar Index ยังทรงตัวในระดับใกล้เคียงกับ 100 จุด ตรงข้ามกับค่าเงินยูโรที่ยังอ่อนค่าต่อเนื่อง โดยล่าสุดมาอยู่ที่ 1.0579 เหรียญดอลลาร์ต่อยูโร เช่นเดียวกับค่าเงินทุกสกุลในเอเชียที่ยังคงแกว่งตัว หลังจากเผชิญกับการอ่อนค่ามาระยะ 1-2 เดือนที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามสัปดาห์นี้ คือ วันที่ 3 ธ.ค. จะมีการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) คาดว่าจะไม่มีอะไรใหม่ เนื่องจากเศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มที่กระเตื้องบ้างแล้วหลังจากได้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน QE สะท้อนได้จากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่มีสัญญานที่ดีขึ้นคือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อทั้งภาคการผลิตและภาคการบริการที่สามารถปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดที่ 54.4 และ 54.6 (เดือน ต.ค.) ซึ่งนับเป็นการปรับตัวขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ต้นปี อานิสงค์จากค่าเงินยูโรอ่อนค่าหนุนการส่งออกให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องผลทำให้ดุลการค้าดุลสูงขึ้น แม้จะมีความขัดแย้งในบาง เช่น อัตราเงินเฟ้อที่ยังคงยืนอยู่ในระดับต่ำ ล่าสุดที่ 0.1% แม้ว่าจะสามารถปรับตัวขึ้นจากระดับติดลบได้ก็ตาม แต่ยังคงอยู่ห่างจากเป้าหมาย 2% มาก ทั้งนี้แม้ตลาดจะคาดหวังว่าจะมีการเพิ่มมาตรกการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการขยายวงเงิน QE ที่ปัจจุบันกำหนดไว้ 60 พันล้าน ยูโรต่อเดือนจนถึงเดือน ก.ย. 2559 (ใช้ไปแล้ว 582 พันล้านยูโร ของวงเงินที่คาดว่าจะใช้ทั้งสิ้น 1.1 ล้านล้านยูโร) แต่คาดว่าจะยังไม่มีอะไรเพิ่มเติมในการประชุมรอบนี้
ขณะที่การปรับฐานตลาดหุ้นไทย รวมถึงตลาดหุ้นเพื่อนบ้านกลุ่ม TIP พบว่ายังคง underperform ตลาดหุ้นโลกมาก เชื่อว่านอกจาก ปัจจัยกดดันจากที่สหรัฐขึ้นดอกเบี้ย แล้ว ยังเกิดจากผลกำไรของตลาดหุ้นไทยในงวด 3Q58 ที่ต่ำกว่า จนนำไปสู่การปรับลดประมาณกำไรในปี 2558 ลงเป็นครั้งที่ 4 ทำให้กำไรตลาดรวมในปี 2558 น่าจะจบลงที 7.06 แสน ล้านบาท ทรงตัวเมื่อเทียบกับปี 2557 แต่เป็นที่สังกตว่ากำไรสุทธิที่ลดลงส่วนหนึ่งมาจากรายการพิเศษเช่น ขาดทุนจาดอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากเงินบาทอ่อนค่า หรือขาดทุนจากสินค้าในสต๊อก เนื่องจากราคาสินค้าตกต่ำตามภาวะเศรษฐกิจโลก แต่คาดว่าในปี 2559 กำไรตลาดน่าจะกลับมาเติบโตโดดเด่นในระดับ 25-30% หรือ ทำให้ Expected P/E ณ สิ้นปี 2559 ลดลงเหลือ 13.86 เท่า (EPS 98.75 บาท) เทียบกับ สิ้นปี 2558 ที่ 18 เท่า (EPS 75.4 บาท)สิ่งเหล่านี้ถือว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะตอบรับไปแล้วในระดับหนึ่ง เช่นว่าในระยะ 2-3 สัปดาห์ ก่อนจะสิ้นสุดปี 2558 เชื่อว่าจะเกิดปรากฏการณ์ Window Dresssing (การทำราคาปิดของ กองทุนในประเทศ) และการทำงานของ LTF ซึ่งพบว่าเม็ดเงินส่วนใหญราว 46% จะเข้ามาในเดือน ธ.ค. ของทุกปี ซึ่งทำให้เชื่อว่าดัชนีหุ้นไทยจะกลับมาทดสอบที่ 1,400 จุดได้อีกครั้ง
ต่างชาติขายหุ้นไทยต่อเนื่องเป็นวันที่ 4
วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 168 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) แต่เป็นการซื้อสุทธิอยู่ประเทศเดียว คือ อินโดนีเซียที่ถูกซื้อสุทธิราว 17 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศต่างชาติขายสุทธิ คือ ไต้หวันที่ถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 113 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิราว 30 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 31 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 2 วัน) และไทยต่างชาติยังคงขายสุทธิราว 12 ล้านเหรียญ หรือ 418 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 โดยมียอดขายสุทธิสะสมรวม 2.7 พันล้านบาท) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 341 ล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 109 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 2,984 ล้านบาท ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง โดยล่าสุดอยู่ที่ 35.89 บาท/ดอลลาร์
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์