- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 17 November 2015 17:19
- Hits: 861
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์วันนี้ Sideways Up
ตลาดหุ้นวานนี้:
ตลาดหุ้นไทยวานนี้เปิดย่อตัวลง สอดคล้องกับตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย จากกรณีเหตุการณ์ก่อการร้ายในกรุงปารีส ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าหลุดแนว 36.00 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม เกิดแรงซื้อหุ้นหลักกลับในช่วงบ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม ICT และกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ส่วนกลุ่มพลังงาน และปิโตรเคมี ลดช่วงลบ ส่งผลให้ปิด ณ สิ้นวัน SET INDEX บวก 6.16 จุด มาอยู่ที่ 1,388.62 จุด มูลค่าการซื้อขาย 35,830 ล้านบาท
เงินทุนต่างชาติขายสุทธิทั้ง 3 ตลาดพร้อมกันเป็นวันที่ 6 ผ่านตลาดหุ้นขายสุทธิเป็นวันที่ 6 อีก 2,272 ล้านบาท Short สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันที่ 8 อีก 7,749 สัญญา และขายสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 6 อีก 1,212 ล้านบาท
ปัจจัยสำคัญวันนี้
เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดไปใน 2Q58 แนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ติดตามการประชุม ครม. วันนี้ อาจมีการพิจารณาแผนการลงทุนในรูปแบบคลัสเตอร์
สถานการณ์ในกรุงปารีส เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติเป็นลำดับ
ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ดีดตัวแรงกว่า 3% คืนวานนี้ ช่วยกลุ่มพลังงาน /ปิโตรเคมี ให้ฟื้นตัว รวมถึงการเร่งปิดสถานะ Short ใน SBL
มุมมองต่อตลาด
เราปรับมุมมองการลงทุนขึ้นเป็น "กลาง" จากวันก่อนหน้า "กลางถึงลบ" หลังสถานการณ์ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสกลับสู่ภาวะปกติมากยิ่งขึ้น และ GDP ใน 3Q58 ของไทยออกมาดีกว่าคาด เติบโต 2.9% yoy และทำให้ภาพรวมปีนี้ คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ 2.8-2.9% ดีกว่าที่ตลาดประเมินไว้ที่ 2.5-2.6% yoy เป็นประเด็นที่ช่วยจำกัด Downside risk มากยิ่งขึ้นในตลาดหุ้นไทย
แต่แน่นอนว่า Upside gain ของ SET INDEX ก็เป็นไปอย่างจำกัดเช่นกัน เพราะยังมีประเด็นสำคัญที่เป็นตัวกำหนดกระแสเงินทุนต่างชาติและทิศทางค่าเงินบาทไทยคือ การประชุมเฟดวันที่ 16 ธ.ค. ณ ปัจจุบัน Bloomberg survey ประเมินโอกาส 66% ว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมนัดนี้ ส่งผลให้นักลงทุนทั่วโลกต่างชะลอการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง และตลาดตราสารหนี้ เพื่อรอดูผลการพิจารณาในช่วงเวลาดังกล่าว
เราแนะนำให้นักลงทุนติดตามการประชุม ครม.วันนี้ อาจมีการนำเสนอแผนการลงทุนในรูปแบบของคลัสเตอร์ตามที่ทีมเศรษฐกิจเสนอแนวทางการกระตุ้นการลงทุนภายในประเทศให้เป็นองค์รวมที่เกิดความเข้มแข็ง ซึ่งจะเป็นประเด็นต่อยอดการลงทุนจากภาคเอกชนในปีหน้า นอกเหนือไปจากโครงการ PPP แบบ Fast Track อีก 8 โครงการที่จะผลักดันให้เกิดความเป็นจริงในปีหน้า
ด้วยตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่น่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วใน 2Q-3Q58 สัญญาณการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป กลุ่ม Domestic Play อย่างกลุ่มธนาคาร / กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง / กลุ่มวัสดุก่อสร้าง / กลุ่มที่อยู่อาศัย จะทรงตัวและเกิดแรงเก็งกำไรเป็นรายตัวที่มีประเด็นการลงทุนเด่นเฉพาะตัว
เราประเมินกรอบแกว่งของ SET INDEX วันนี้ ระหว่าง 1,380-1,395/1,400 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.0-4.0 หมื่นล้านบาท/วัน กระแสเงินทุนต่างชาติยังคงเป็นการไหลออกในความเห็นของเรา เพียงแต่แรงขายสุทธิของนักลงทุนกลุ่มนี้น่าจะเริ่มชะลอตัวลง หลังได้เห็นภาพ GDP ใน 3Q58
กลยุทธ์การลงทุน
ดังนั้น เราแนะนำ "นักลงทุนอาจพิจารณาขายทำกำไรบริเวณ 1,390 จุด หรือสูงกว่า และกลับมาถือเงินสดอีกครั้ง เพราะภาพรวมยังมีความเปราะบางและผันผวนอยู่"
Top Pick in 4Q15: BMCL / ITD/ TMB/ TPIPL
HOLD: ITD / TPIPL/ ADVANC/ WHA/ IFEC/ INTUCH/ KTB
Speculaitve buy: ITD
Stock Pick of the Day
กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำ "ซื้อเก็งกำไร" ได้แก่
ITD : ราคาปิด 7.80 บาท ราคาเหมาะสม 12.00 บาท
MBKET คาดว่าราคาหุ้นจะตอบรับเชิงบวก หลังรายงานงบ 3Q58 พลิกเป็นกำไรสุทธิ 190 ล้านบาท จากขาดทุนสุทธิ 51 ล้านบาทใน 2Q58 ที่ผ่านมา และดีกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ประเมินก่อนหน้าว่าผลประกอบการ 3Q58 จะอ่อนแอ
อัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวดีขึ้นมากเป็น 10.4% ใน 3Q58 จาก 7.5% ใน 2Q58 และ 8.1% ใน 3Q57 จากการรับรู้รายได้งานที่มีอัตรากำไรสูงใน Backlog
Backlog สิ้นสุด 3Q58 สูงถึง 2.7 แสนล้านบาท จะช่วยหนุนการเติบโตของธุรกิจก่อสร้างได้ต่อเนื่องใน 4-5 ปีข้างหน้า และมีโอกาสได้งานอีกเป็นจำนวนมากทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจาก ITD เป็นผู้รับเหมาเอกชนหลายหลักของประเทศ
คงมุมมองเชิงบวกต่อกลุ่มรับเหมาก่อสร้างและเป็นหุ้นกลุ่มเด่นสำหรับการลงทุน 6-12 เดือนข้างหน้า เนื่องจากจะมีปัจจัยบวกเข้ามาต่อเนื่องจากการเปิดประมูลงานขนาดใหญ่ในประเทศ
คาดกำไรจากการดำเนินงานปกติปี 2559 เติบโตสูงถึง 57% yoy เป็น 964 ล้านบาท และมี Upside 54% จากราคาเหมาะสม พร้อมทั้งให้เป็น Top pick ของกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง
Fund Flow Analysis
Fund Flow in Emerging Markets
ตลาดหุ้นเอเชีย ขายสุทธิเป็นวันที่ 7 อีก US$621 ล้าน ใกล้เคียงกับวันก่อนหน้าขายสุทธิ US$641 ล้าน
และเป็นการขายสุทธิทุกตลาดเป็นวันที่ 4
Foreign Investors Action วานนี้
คาดต่างชาติขายสุทธิทั้ง 3 ตลาดพร้อมกันเป็นวันที่ 6
นักลงทุนต่างชาติคงการขายสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 6 อีก 2,272 ล้านบาท ใกล้เคียงกับวันก่อนหน้า รวม 6 วันทำการ ขายสุทธิ 11,154 ล้านบาท เทียบกับ 3 วันทำการก่อนหน้า ซื้อสุทธิ 4,067 ล้านบาท ส่งผลให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้ขายสุทธิสูงกว่า 1.1 แสนล้านบาท เป็น 115,030 ล้านบาท
SET50 Index Futures นักลงทุนต่างชาติคงการ Short สุทธิเป็นวันที่ 8 อีก 7,749 สัญญา รวม 8 วันทำการ Short สุทธิ 56,346 สัญญา สัญญา คาดว่าจะเป็นการปิดสถานะ Long สุทธิอย่างต่อเนื่อง กดดันให้ QTD นักลงทุนกลุ่มนี้ Long สุทธิลดลงเหลือ 34,490 สัญญา เมื่อ S50Z15 ปิดต่ำกว่า 900 จุด เป็นวันที่ 6 แต่ S50Z15 ปิดต่ำกว่า SET50 Index เป็นวันที่ 10 แคบลงเหลือ 2.21 จุด จากวันก่อนหน้า Discount เท่ากับ 5.20 จุด ทำให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้ Short สุทธิเป็นวันที่ 4 ขยับขึ้นเป็น 26,237 สัญญา
และตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนกลุ่มนี้คงการขายสุทธิเป็นวันที่ 6 แต่ชะลอตัวลงเหลือ 1,212 ล้านบาท รวม 6 วันทำการ ขายสุทธิ 20,993 ล้านบาท โดยราคาพันธบัตรไทยปรับตัวลงเล็กน้อย ผ่านผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี เพิ่มขึ้นเป็นวันที่ 2 เพียง 0.31bps จากวันก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 0.96bps ปิดที่ 2.698%
Short-Selling วานนี้
มูลค่า Short-selling เพิ่มขึ้นเป็นวันที่ 2 สูงถึง 2,287 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 1,886 ล้านบาท
NVDR Movement
NVDR ขายสุทธิเป็นวันที่ 4 กลับมาเน้นการลดน้ำหนักใน KBANK อีกครั้ง
การซื้อขายผ่าน NVDR ขายสุทธิมากถึง 1,087 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิเล็กน้อย 271 ล้านบาท รวม 4 วันทำการ ขายสุทธิ 3,501 ล้านบาท ทั้งนี้การกลับมาเน้นลดน้ำหนักในกลุ่มธนาคารอย่างหนาแน่น ขณะที่ซื้อสุทธิเบาบาง สรุปได้ดังต่อไปนี้
1. กลุ่มธนาคารกลับมาถูกขายสุทธิสูงสุด 667 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่ม ICT ขายสุทธิ 158 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 154 ล้านบาท กลุ่มอาหาร ขายสุทธิ 137 ล้านบาท และกลุ่มขนส่ง ขายสุทธิ 130 ล้านบาท
2. กลุ่มพลังงาน ซื้อสุทธิสูงสุดอีกครั้ง 177 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 214 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มค้าปลีก ซื้อสุทธิ 38 ล้านบาท
ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ - การเงินรายภูมิภาค
สหรัฐอเมริกา
ไม่มี
ยุโรป
อัตราเงินเฟ้อที่แท้จริงในอียูเพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง: เพิ่มขึ้น 1.1% yoy ในเดือนต.ค. สูงกว่า Bloomberg consensus คาดที่ 1.0% yoy ส่วนอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 0.1% mom เทียบกับเดือนก.ย.ที่ -0.1% mom
จีน
ไม่มี
เอเชียแปซิฟิก
ยอดส่งออกอินโดนีเซียหดตัวแรง: หดตัว 20.98% yoy ในเดือน ต.ค. ต่อจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว 17.59% yoy และเป็นการหดตัวแรงกว่าที่ Bloomberg Consensus คาดที่ -16.78% yoy ทั้งนี้การส่งออกไปยังสหรัฐฯหดตัว 5.25% ขณะที่การส่งออกไปอาเซียนรวมถึงกลุ่มอียูเพิ่มขึ้น 0.11% และ 1.05% ตามลำดับ ด้านยอดนำเข้าหดตัว 27.81% yoy ทำให้ดุลการค้าเกินดุลอยู่ที่ระดับ US$1.019 พันล้าน
ดัชนีค้าส่งของอินเดียหดตัวใกล้เคียงคาด: หดตัว 3.81% yoy ในเดือน ต.ค. จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว 4.54% yoy เทียบกับ Bloomberg Consensus คาดหดตัว 3.80% yoy นำโดยราคาน้ำมันที่หดตัว 16.32% yoy ขณะที่ราคาอาหารเพิ่มขึ้น 2.44% yoy
ยอดส่งออกสิงคโปร์หดตัวน้อยกว่าคาด: ลดลง 0.5% yoy ในเดือน ต.ค. จากเดือนก่อนที่ขยายตัว 0.3% yoy ขณะที่ Bloomberg Consensus คาดลดลง 3.0% yoy นำโดยการส่งออกเวชภัณฑ์ที่ขยายตัว 44.6% yoy ขณะที่การส่งออกอิเล็กทรอนิกส์และปิโตรเคมียังคงหดตัว 3.2% yoy และ 9.0% yoy ตามลำดับ นอกจากนี้ยอดส่งออกยังเป็นการเติบโต 1.1% mom
ไทย
สศช.เผย GDP ใน 3Q58 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 ปี: ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ใน 3Q58 ขยายตัว 2.9% yoy ดีกว่า 2Q58 ที่ขยายตัว 2.8% yoy สูงสุดในรอบ 3 ปี และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว ไตรมาสนี้ขยายตัว 1% qoq ขยายตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่เติบโต 0.3% qoq ทำให้ภาพรวมจีดีพีในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ ขยายตัว 2.9% yoy นอกจากนี้ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะยังขยายตัวไม่ดีนัก แต่เศรษฐกิจไทยขยายตัวดีกว่าหลายประเทศ และประเมินการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยทั้งปีว่าจะอยู่ที่ 2.9% yoy เทียบกับปี 2557 ขยายตัว 0.9% yoy แม้คาดว่าการส่งออกและการผลิตภาคเกษตรทั้งปีจะ -5% yoy และ -5.5% yoy ตามลำดับ ซึ่งลดลงมากกว่าประมาณการครั้งก่อน คาดติดลบ 3.0% yoy และ -4.0% yoy ตามลำดับ
Strategist Team Maybank KimEng
Mayuree Chowvikran, CISA Strategist / Analyst 662-6586300 x 1440
Padon Vannarat Equity Analyst 662-6586300 x 1450
Rinrada Lianghathaitham Assistant Analyst 662-6586300 x 1530