WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
     กังวลต่อ FED ขึ้นดอกเบี้ย และการก่อวินาศกรรมที่กรุงปารีส ล้วนกดดันตลาดหุ้นโลก ขณะที่การ เงินบาทใกล้ 36 บาทต่อดอลลาร์ฯ น่าจะหนุนหุ้นส่งออก วันนี้เลือก KCE(FV@B80) และยังชื่นชอบ EASTW, KSL, PLANB, ASK, MAKRO

ความรุนแรงที่ปารีส/ราคาน้ำมันอ่อนตัว/Fed ขึ้นดอกเบี้ย ล้วนกดดันตลาด
     ปัจจัยภายนอกยังคงกดดันตลาดหุ้นทั่วโลก แม้ล่าสุด ญี่ปุ่น ได้ประกาศ GDP Growth งวด 3Q58 สูงราว 2% ดีกว่าที่คาด และดีกว่า งวด 2Q58 ที่ 1.5%YoY (หรือ 3Q58 - 0.7% QoQ vs งวด 2Q58 - 1.2% QoQ) และตลาดคาดหมายว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะดีขึ้นต่อเนื่องจนถึง 4Q58 จึงต้องติดตามการประชุมของ BOJ 19 พ.ย. นี้ ซึ่งตลาดคาดว่า BOJ ยังมีความจำเป็นในการใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป (BOJ คงฐานเงิน Monetary Base ที่อัตราราว 80 ล้านล้านเยนต่อปี)
    ส่วน สหรัฐ พบว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจบางตัว เริ่มส่งสัญญาณขัดแย้งกัน แม้ล่าสุดตลาดแรงงานฟื้นตัวแข็งแกร่ง โดยอัตราการว่างงาน ล่าสุดอยู่ที่ 5% แต่กลับพบว่ายอดค้าปลีก เดือน ต.ค. อยู่ที่ระดับ 0.1% MoM ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 0.3% MoM (ทรงตัวติดต่อกัน 2 เดือน ) ตามมาด้วยดัชนีราคาผู้ผลิต -1.6 %YoY ติดลบมากกว่าที่ตลาดคาดว่าจะ -1.2% YoY จึงต้องติดตามผลการประชุม Fed ระหว่าง 15-16 ธ.ค. นี้ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ ตามที่ตลาดคาดหรือไม่ ทั้งนี้ ASPS ยังเชื่อว่า Fed จะยังไม่รีบขึ้นดอกเบี้ยภายในปีนี้ เนื่องจากยังถูกกดดันจากเงินเฟ้อที่ต่ำมาก และการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก เช่น จีน
นอกจากนี้ปัจจัยลบที่คาดว่าจะกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกในสัปดาห์นี้ คือ เกิดเหตุโศกนาฏกรรม ที่กรุงปารีส ประเทศ ฝรั่งเศส หลังจากที่ กลุ่ม ISIS ได้มีการก่อเหตุสะเทือนขวัญ โดยเริ่มจากการกระหน่ำยิง และวางระเบิด ในสถานที่สำคัญหลายแห่ง ทำให้ล่าสุด มียอดผู้เสียชีวิต 150 คน และบาดเจ็บ ราว 300 คน ทำให้ นายกฝรั่งเศส ประกาศ พรก. ฉุกเฉิน และสั่งปิดพรหมแดน เชื่อว่าวันนี้จะเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นทั่วโลก

เงินสะพัดต่างจังหวัด หนุน GDP งวด 4Q58
      อีกประเด็นที่ตลาดให้ความสนใจในวันนี้ น่าจะเป็นเรื่องการรายงาน GDP Growth งวด 3Q58 จากสภาพัฒน์ (สศช.) โดยจากผลสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์ของ Bloomberg ทั้งหมด 16 ราย คาดไว้ที่ 2.6 % สูงกว่าที่ ASPS คาดการณ์ที่ 2.3 % โดยสาเหตุที่ASPS ประเมินไว้น้อยกว่าตลาดคาด เนื่องจากจากปัญหาภัยแล้งที่ยังกดดันภาคการเกษตร สะท้อนจาก สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยว่าภาคเกษตร ใน 3Q58 (ก.ค. - ก.ย.58) พบว่าหดตัว 4.9%YoY ซึ่งกระทบต่อกำลังซื้อของภาค เกษตรกร แต่อย่างไรก็ตามยังเชื่อว่าจะปรับตัวดีขึ้นในงวด 4Q58 ที่ 2.7 % (โดย ASPS) โดยน่าจะมาจากผลมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคครัฐที่เริ่มเดินหน้าตั้งแต่ ก.ย. ที่ผ่านมา โดยได้ครอบคลุกทุกกลุ่ม ตั้งแต่ผู้มีรายได้น้อย วงเงิน 1.36 แสนล้านบาท มาตรการช่วยเหลือกลุ่ม SMEs ผ่านการปล่อยกู้ อัตราดอกเบี้ยต่ำ 4% วงเงิน 1แสนล้านบาท และ ผลักดันการลงทุนภาครัฐผ่าน PPP เป็นต้น
    จากที่นักวิเคราะห์กลุ่ม ธ.พ. ของ ASPS ได้ประชุมกับผู้บริหารสถาบันการเงิน และ Consumer Finances ทำให้ทราบว่า ขณะนี้เศรษฐกิจในบางพื้นที่ในต่างจังหวัดเริ่มกระเตื้องขึ้นบ้างแล้ว โดยเฉพาะ กลุ่มลีสซิ่ง พบว่า ยอดปล่อยสินเชื่อใหม่กระเตื้องขึ้น โดยเฉพาะ รถบรรทุกที่ใช้ในการก่อสร้าง ขนส่งสินค้าตามแนวชายแดน และภาคท่องเที่ยว (ยกเว้นภาคเกษตรยังอ่อนแอ) รวมถึงการจัดเก็บหนี้มีสัญญานที่ดีขึ้นในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ยอด NPL ต่อสินเชื่อรวม ใกล้เคียงกับ งวด 3Q58 เท่ากับ 1.54% ของสินเชื่อรวม บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ สะท้อนได้จาก CCI ที่ฟื้นตัวในเดือน ต.ค. และเป็นการฟื้นตัวครั้งแรกในรอบ 10 เดือน ทำให้ประเมินว่า GDP Growth ในปี 2558 จะเติบโตราว 2.5% และ 3.8% ในปี 2559 เป็นการสะท้อนว่าเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยน่าจะผ่านจุดต่ำสุด

เงินบาทอ่อนค่าใกล้ 36 บาทต่อดอลลาร์ดีต่อผู้ส่งออก/KCE, KSL
    เงินบาทได้กลับมาอ่อนค่าราว 2% นับจากจุดแข็งค่าสูงสุดกลางเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา (35.2 บาทต่อดอลลาร์) โดยด้รับแรงกดดันจาดตลาด ยังคงให้น้ำหนัก ต่อขึ้นดอกเบี้ยของ Fed หลังภาคแรงงานฟื้นตัวเริ่มเข้าสู่การจ้างงานเต็มที่ หนุน Dollar Index ปรับตัวแข็งค่า ราว 5.56% (นับจาก 14 ต.ค.) อยู่ระดับ 99.15 ในสถานการณ์นี้ดีต่อหุ้นส่งออก โดยเฉพาะกลุ่ม ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคและกลุ่มเกษตร-อาหาร
     ทั้งนี้ เนื่องจากกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิค มีรายได้ส่วนใหญ่ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อาทิ HANA ,DELTA,KEC และ SVI ซึ่ง เงินบาทอ่อนค่าทุกๆ1 บาท (จากสมมติฐานที่ 35 บาทต่อดอลลาร์ในปี 2559) จะหนุนให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 6.2%,5.7%, 5.5% และ 5.2% ตามลำดับ เช่น เดียวกับกลุ่มเกษตร-อาหาร ที่ได้อานิสงค์จากเงินบาทอ่อนค่า อาทิ STA,KSL,CPF,TU,GFPT และ BR โดย ทุกๆ1 บาทของเงินบาทที่อ่อนค่า จะหนุนให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 7.2%,6.7%,4.9%,5.5%,2.4% และ 0.5% ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามระยะสั้น กลุ่มเกษตร-อาหารยังคงมีแรงกดดันจาก ราคาเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อไก่ที่ยังมีราคาตกต่ำ เนื่องจากมีปริมาณไก่ออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก กระทบต่อราคาเนื้อหมูให้ปรับลดลงตามกัน และ ตามมาด้วย ราคายางในตลาดโลกยังคงตกต่ำ ตามความต้องการที่อ่อนแอ ในภาวะปัจจุบันคาดว่าหุ้นที่น่าสนใจ และคาดว่าจะมีโอกาส outperform คือ KCE, KSL นอกจากปัจจัยค่าเงินบาท และยังมาจากพื้นฐานของรายหุ้น กล่าวคือ
      KCE มีโครงสร้างรายได้ 70% เป็นเงินสกุลดอลลาร์ ขณะที่มีโครงสร้างต้นทุนเพียง 50% เป็นดอลลาร์ ซึ่งเมื่อเงินบาทอ่อนค่าทุกๆ 1 บาท จะหนุนให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 5.5% ขณะที่ไตรมาส 3 พบว่า Gross margin และ Norm Profit ปรับตัวทำระดับสูงสุดในรายไตรมาส เนื่องจาก โรงงานแห่งใหม่ทั้ง 2 เฟส เริ่มเดินเครื่องมากขึ้น ขณะที่อัตราการสูญเสียน้อย และแนวโน้มคำสั่งซื้อที่จะทยอยเพิ่มขึ้นจากฐานลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ ทำให้เช้านี้นักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับเพิ่มสมมติฐานเงินบาทเป็น 36 บาทต่อดอลลาร์ จากเดิม 35 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้ต้องปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2559 ขึ้นจากเดิม 7.1% เป็น 3 พันล้านบาท หรือมีอัตราการเติบโต 36.2% yoy พร้อมปรับเพิ่ม Fair Value ใหม่ 9.5% เป็น 80 บาท มีปัจจุบันราคาตลาด ราว 26.98%
      และ KSL เป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลกว่า 70% ของน้ำตาลที่ผลิตทั้งหมด จึงได้รับอานิสงค์จากค่าเงินบาทอ่อนค่าอย่างมาก กล่าวคือ โดย ทุกๆ1 บาทของเงินบาทที่อ่อนค่า จะทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 6.7% ดังนั้นหากใช้สมมติฐานที่ 36 บาท ต่อดอลลาร์ คาดว่ากำไรสุทธิ และ Fair Value ของ KSL ในปี 2559 จะอยู่ที่ 1,594 ล้านบาท ( จะเพิ่มขึ้น 18% จากปี 2558) (นักวิเคราะห์ ASPS น่าจะมีการ update ประมาณการภายใต้สมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ตามมา) ขณะที่ปัจจัยหนุนราคาหุ้นระยะสั้นก็คือ ปัญหาภัยแล้งจากปรากฎการณ์เอลนีโญ ทำให้อ้อยในไทยให้เติบโตช้า และผลผลิตอ้อยต่อไร่ลดลง ขณะที่บราซิล ซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่สุดของโลก เผชิญกับปัญหาฝนตกหนัก ส่งผลให้การหีบอ้อยต้องล่าช้าออกไป ทำให้ปริมาณผลผลิตน้ำตาลโลกมีแนวโน้มลดลง และ ปี 2559 จะทำให้โอกาสที่ปริมาณผลิตน้ำตาลโลกจะน้อยกว่าความต้องการสูงถึง 3 ล้านตัน สะท้อนจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกล่าสุดที่ 15.04 เซ็นต์/ปอนด์ ปรับเพิ่มขึ้นราว 30% จากปลายเดือน ก.ย ที่ผ่านมา ปัจจุบันราคาตลาด KSL (FV@B6) และมี Upside ราว 29.31%

กำไรตลาด 3Q58 อ่อนตัวตามคาด แต่จะฟื้นในงวด 4Q58
    เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายของการรายงานงบงวด 3Q58 จากการรวบรวมข้อมูล ณ ช่วงเย็นวันที่ 13 พ.ย. ที่ผ่านมา มีการรายงานงบออกมาแล้วกว่า 344 บริษัท หรือคิดเป็นกว่า 58% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด เบื้องต้นคาดว่ากำไรรวมของตลาดในงวด 3Q58 นี้อาจทำได้เพียง 1 แสนล้านบาทเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่า 2 ไตรมาสแรกของปีนี้ ที่กำไรตลาดเฉลี่ยอยู่ที่ 2.2 แสนล้านบาท) อย่างไรก็ตาม คาดว่า กำไรทั้งปี 2558 น่าจะทำได้ที่ระดับ 7.26 แสนล้านบาท เติบโตเล็กน้อยจากปี 2557 ที่กำไรตลาดอยู่ที่ 7.03 แสนล้านบาท โดยคาดว่าในงวด 4Q58 ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัวจากการเข้าสู่ช่วงเทศกาลท่องเที่ยวปลายปี หนุนให้กลุ่มโรงแรม (MINT, CENTEL, ERW) เป็นช่วงพีคสุด เช่นเดียวกับสนามบิน (AOT) และสายการบิน (BA) จะได้อานิสงส์จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาช่วงปลายปี ตามมาด้วยกลุ่มค้าปลีก-ส่ง (MAKRO, COM7, ROBINS) ที่การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่กลับมาตามฤดูกาลเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ นอกจากนี้ มาตรการของรัฐที่ออกมาก่อนหน้า หนุนให้ความต้องการสินเชื่อ โดยเฉพาะในต่างจังหวัดเพิ่มสูงขึ้น (ASK, THANI)
     ทั้งนี้ หากประเมินดัชนีเป้าหมายใหม่ปี 2559 โดยใช้กำไรตลาดที่ 101.92 บาท/หุ้น อิง Expected P/E ที่ 16 เท่า ดัชนีเป้าหมายใหม่อยู่ที่ราว 1,615 จุด หรือคิดเป็น upside จากระดับดัชนีปัจจุบันกว่า 16% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาที่ระดับ 8.6% ฉะนั้นแล้ว สำหรับนักลงทุนระยะยาว ที่ระดับ SET Index ปัจจุบัน จึงเริ่มมีความน่าสนใจในการลงทุน เน้นสะสมหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง ทั้งหุ้น Market Cap ขนาดใหญ่ อาทิ กลุ่ม ธ.พ. KBANK, TCAP กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับปิโตรเคมี SCC, IRPC และหุ้นขนาดกลางที่มีแนวโน้มผลประกอบการเติบโตโดดเด่นดีกว่าคาด เช่น รับเหมาฯ ขนาดกลาง-เล็ก SYNTEC, BJCHI, MCS

คาดยังคงมีแรงขายจากต่างชาติ จากข่าวร้ายในฝรั่งเศส
     วันศุกร์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 637 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6) โดยเป็นการขายสุทธิทั้ง 5 ประเทศ นำโดยไต้หวันถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 359 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิราว 178 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7) ตามมาด้วยอินโดนีเซียถูกขายสุทธิราว 6 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 25 ล้านเหรียญ ส่วนไทยต่างชาติขายสุทธิราว 69 ล้านเหรียญ หรือ 2,478 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) ต่างกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 1,244 ล้านบาท
     ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (9-13 พ.ย. 58) ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคทุกวัน โดยมียอดรวมสูงถึง 2.2 พันล้านเหรียญ ส่งผลให้ยอดซื้อสุทธิสะสมตั้งแต่ต้นเดือนที่เคยบวกกลับมาติดลบทั้ง 5 ประเทศ (ดังตารางด้านล่าง) นอกจากนี้ตลาดหุ้นในภูมิภาครวมถึงไทยยังไม่ได้ Price in กับเหตุการณ์ความวุ่นวายในฝรั่งเศส ทำให้คาดว่าสัปดาห์นี้น่าจะยังมีแรงขายจากต่างชาติออกมาอย่างต่อเนื่อง
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 7,335 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 6,163 ล้านบาท ในส่วนของค่าเงินบาทล่าสุดยังทรงตัวอยู่ที่ 35.89 บาท/ดอลลาร์


นักวิเคราะห์: ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์: ภราดร เตียรณปราโมทย์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!