WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.โกลเบล็ก : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

Market View : แนวต้าน 1,500
Technical : แนวรับ 1,485 /1,478 แนวต้าน 1,500 / 1,520
หุ้นแนะนำพิเศษ : KTB แนวรับ 21 / 20.30 แนวต้าน 22.50 / 23.50
หุ้นเด่นรายวัน : CSS SCB TK

      วันพุธตลาดหุ้นไทยปิดบวก 6.06 จุด ตามตลาดต่างประเทศรับแรงเก็งกำไรกลุ่มแบงก์ก่อนประกาศงบ Q2 ดัชนี SET ปิดที่ 1,491.81 จุด เพิ่มขึ้น 6.06 จุด (+0.41%) มูลค่าการซื้อขาย 47,161.41 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 627.72 ล้านบาท
     แนวโน้มตลาดหุ้นไทย ทางฝ่ายวิจัย บล.โกลเบล็กฯ คาดมีแนวโน้มผันผวนในกรอบ 1,468-1.500(1,520) แรงซื้อเล่นรอบหรือการคาดการณ์ผลประกอบการกลุ่มธนาคารเป็นแรงผลักดันดัชนี (สัปดาห์นี้มีPreview) แต่สัญญาณทางเทคนิคของSETมีความเสี่ยงระยะสั้น (ทดสอบไม่ผ่านแนวต้าน) ในขณะที่ SET50 ระยะสั้นเน้นยืน 1,000 เป็นจุดตัดสินใจ ปิดต่ำกว่าเป็นสัญญาณลบ แนวรับหลัก 920 GFQ14 เก็งกำไรในกรอบ 20,290-20,640 GFV14 เก็งกำไรในกรอบ 20,350-20,700
      กลยุทธ์ ตลาดเริ่มมีแรงขายทำรอบ หรือสลับปรับเปลี่ยนกลุ่มเพื่อเล่นรอบ (แรงขายสลับกลุ่ม) กลุ่มพลังงานมีแนวโน้มพักหรือปรับตัวระยะสั้น หากมีกาปรับตัวลงแรง ซื้อเก็งกำไร PTTEP TOP PTTGC ในขณะที่กลุ่มธนาคารมีแรงซื้อเพิ่ม KTB KBANK BBL SCB กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม SAPPE MINT ICHI กลุ่มอสังหาฯ BLAND NUSA QH SIRI SPALI กลุ่มเดินเรือ PSL TTA กลุ่มรับเหมา ซื้อเก็งกำไรเล่นรอบ STEC ITD CK หุ้นรายหลักทรัพย์ IVL CCP BMCL LOXLEY HMPRO ระยะกลาง ถือ และซื้อเพิ่มเมื่อปรับตัวลงแรง

หุ้นแนะนำพิเศษ
      KTB (ราคาปิด 21.60 ซื้อ เป้าหมาย 25.20) เป็นแบงก์รัฐทำให้ได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ สิ้นเดือนพ.ค. 57 มียอดสินเชื่อสุทธิ 1.73 ล้านล้านบาทมีอัตราการเติบโตสูงที่สุดในกลุ่มที่ 4.8%YTD ตั้งแต่ 2Q57 ธนาคารกันเงินสำรองหนี้สูญเพิ่มจากเดิมเดือนละ 500 ล้านบาทเป็น 700 ล้านบาทเพื่อให้เหมาะสมกับยอดสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เมื่อปลายเดือนมี.ค.57 มีอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อ NPL (Coverage Ratio) อยู่ที่ 106% ลดลงจาก 114% เมื่อปลายปี 56และอยู่ในระดับต่ำที่สุดในกลุ่มแบงก์ขนาดใหญ่ จึงน่าจับตาว่าในช่วงครึ่งหลังของปีจะมีการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มเติมหรือไม่ ฝ่ายวิจัยบล.โกลเบล็กคาดกำไรในช่วง2Q57 ราว 8.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 38% จาก 2Q56 ที่มีการตั้งสำรองหนี้สูญเพิ่มเติม และเพิ่มขึ้น 17% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 57 ตามการเติบโตของสินเชื่อ อัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่ระดับ 4.3% สูงที่สุดในหุ้นกลุ่มธนาคารและเป็นระดับที่น่าสนใจ คาดการณ์เงินปันผลปี 57 ราว 0.89 บาทต่อหุ้น

หุ้นเด่นรายวัน
      CSS (ปิด 3.48 ซื้อเก็งกำไร) ผลประกอบการโตโดดเด่น โดยคาดกำไรสุทธิ 2Q57 เพิ่มขึ้นทั้ง QoQ และ YoY จากการรับรู้รายได้งานติดตั้งเสาโทรคมนาคมของ TRUEIF ส่วนระยะยาวเตรียมแตกไลน์ธุรกิจส่งบริษัทย่อยเข้าลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนและไอที ด้วยการเข้าซื้อกิจการ (เทกโอเวอร์) พร้อมหนุนเข้าจดทะเบียนในตลาดฯ(ที่มา:ทันหุ้น)
      SCB (ราคาปิด 173.50 ซื้อ เป้าหมาย 191) แนวโน้มกำไร 2Q57 ดีขึ้นทั้ง QoQ และ YoY ตามการเติบโตของสินเชื่อและการควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ทำได้ดี ทั้งนี้ คาดจะมีการบันทึกรายการพิเศษที่เป็นกำไรจากการขายเงินลงทุนในบมจ. ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัยให้กับ ACE Group มูลค่าราว 3 พันล้านบาทซึ่งอาจเป็นโอกาสให้ธนาคารพิจารณาตั้งสำรองหนี้สูญเพิ่มเติม ทั้งนี้ ปลายไตรมาสแรกปี 57 มีอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อNPL(Coverage Ratio) เพิ่มขึ้นเป็น 148% ซึ่งลดลงจากระดับ 151% เมื่อปลายปี 56
     TK (ราคาปิด 11 ซื้อเก็งกำไร) ได้รับอานิสงส์จากการที่ชาวนามีเงินส่งทำให้ความต้องการชำระหนี้พุ่งขึ้น มีลุ้นลูกค้าทยอยโปะหนี้หวังบุ๊กสำรองหนี้สูญกว่า 500 ล้านบาท เป็นกำไรพิเศษครึ่งปีหลัง 2557 ส่วนทั้งปี 2557 ไปได้สวยหลังยอดขายมอเตอร์ไซค์ฟื้นคืนชีพ และเตรียมลุยธุรกิจใหม่ "ไมโครไฟแนนซ์" (ที่มา : ทันหุ้น)

ปัจจัยบวก
+ เช้านี้สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน (CFLP) เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีนในเดือนมิ.ย.ลดลงสู่ระดับ 55.0 จาก 55.5 ในเดือนพ.ค. ดัชนีที่อยู่เหนือระดับ 50 แสดงให้เห็นว่าภาคบริการยังคงมีการขยายตัวจากเดือนก่อนหน้า
+ รายงานของ ADP ระบุว่า ภาคเอกชนของสหรัฐจ้างงานเพิ่มขึ้น 281,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่า ภาคเอกชนทั่วสหรัฐจะจ้างงานเพิ่มขึ้น 205,000 ตำแหน่ง หลังจากที่ในเดือนพ.ค.มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 179,000 ตำแหน่งซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น
+ กิจกรรมของภาคธุรกิจในนิวยอร์กปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเดือนมิ.ย. ดัชนีภาวะธุรกิจนิวยอร์กพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนที่ 60.5 ในเดือนมิ.ย.จากระดับ 55.3 ในเดือนพ.ค. โดยค่าดัชนีที่สูงกว่า 50 บ่งชี้ถึงการขยายตัวของกิจกรรม
+ อังกฤษเปิดเผยราคาบ้านในเดือนมิ.ย.พุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ เนื่องจากอุปสงค์ในอสังหาริมทรัพย์ยังคงสูงกว่าอุปทานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาบ้านในลอนดอนที่เพิ่มขึ้นเกือบ 26%YoY ใน2Q57 โดยราคาบ้านเฉลี่ยในลอนดอนอยู่ที่ 400,404 ปอนด์ ไม่นับรวมการซื้อด้วยเงินสดของนักลงทุนต่างประเทศ
+ ที่ประชุมคสช.อนุมัติในหลักการตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้คงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) 7% ออกไปอีก 1 ปี จนถึง 30 ก.ย.58 จากที่จะสิ้นสุด 30 ก.ย.57 และขยายระยะเวลาปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่คิดอัตราเป็น 7 ขั้น ในอัตราร้อยละ 5 10 15 20 25 30 และ 35 ออกไปอีก 1 ปีจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. รวมทั้งขยายเวลาการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลมาที่ร้อยละ 20 ออกไปอีก 1 ปี จนถึงวันที่ 31 ธ.ค.58
+ ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่าได้อนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุน ตามอำนาจในการอนุมัติฯ ของคณะอนุกรรมการ คือ โครงการที่มีขนาดการลงทุนตั้งแต่ 200-750 ล้านบาท และโครงการที่เป็นกิจการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ ที่มีขนาดการลงทุนเกิน 200 ล้านบาท 24 โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุน 14,475 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมเกษตร

ปัจจัยลบ
- ปัจจัยการเมืองที่ยังไม่ชัดเจนกดดันตลาดหุ้นไทยของนักลงทุนสถาบันต่างประเทศที่ห้ามการลงทุนในประเทศที่มีรัฐประหาร
- คสช. ตั้ง 5 โจทย์ปฏิรูปการเมือง เน้นรูปแบบ รัฐสภา-ที่มา ส.ส.-ส.ว.-วิธีควบคุมนักการเมือง "ปลัดกห." เตรียมเสนอรายงาน "ประยุทธ์" ก่อนสิ้นเดือน ก.ค. ด้านวงรับฟังความเห็น ยังหนุนระบบสภาคู่ ให้ ส.ส. มาจากการเลือกตั้ง ส.ว. มาจากทั้งเลือกตั้ง-สรรหา แต่ยังมีเสียงแตกว่า ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่
- สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานในเดือนพ.ค. ลดลง 0.5% แย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าที่ผลิตในโรงงานสหรัฐจะลดลง 0.3% เนื่องจากการปรับตัวลงของอุปสงค์ในยุทโธปกรณ์ แต่อย่างไรก็ดี มีสัญญาณบ่งชี้ถึงการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของการลงทุนของภาคเอกชน ซึ่งอาจนำไปสู่การขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในวงกว้างของเศรษฐกิจ ยอดสั่งซื้อใหม่ของภาคโรงงาน ในเดือนพ.ค.
- บอร์ด กนง.ห่วงการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยในอนาคตยังมีความเสี่ยง 3 ปัจจัยสำคัญ ค่าแรงงานสูงขึ้น บางประเทศใช้มาตรการกีดกันการค้ากับไทยและห่วงเม็ดเงินไหลเวียนสู่ระบบน้อย ย้ำการปฏิรูปทางการคลังอย่าเข้มงวดจนสร้างข้อจำกัดต่อการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจเฉพาะหน้า ชี้ความสามารถชำระหนี้ลดลงกระจุกตัวในกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำและเอสเอ็มอี

ปัจจัยที่ต้องจับตา

ในประเทศ
     สัปดาห์นี้เป็นช่วงทำ preview งบการเงินงวด 2Q57 ของหุ้นกลุ่มแบงก์ก่อนจะประกาศในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนก.ค.
     เดือนก.ค.สภาผู้ส่งออกจะประกาศปรับลดคาดการณ์การส่งออก ซึ่งคาดว่าประมาณการส่งออกของประเทศไทยในปี 2557 อาจลดต่ำกว่าที่ประมาณการเติบโตที่ 3%
      15 ก.ค. เปิดประมูลราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-auction) ประมูลงานโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย สัญญาที่ 1 วงเงิน 1.02 หมื่นล้านบาท พร้อมทางคู่เลี่ยงเมือง (Chord Lines) 3 แห่ง ซึ่งมีผู้รับเหมาที่มีคุณสมบัติ 6 ราย เป็นบริษัทจดทะเบียน 4 ราย คือ ITD, CK, STEC, UNIQ และบริษัทนอกตลาดอีก 2 ราย
เดือนก.ค.ไม่มีกำหนดประชุมของกนง.
สัปดาห์ที่ 3 หุ้นกลุ่มธนาคารจะรายงานผลการดำเนินงาน 2Q57

ต่างประเทศ
3 ก.ค. อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี อียู เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนมิ.ย.
OECD เปิดเผยสัดส่วนในการขยายตัวของ GDP ใน Q1/2557 ของประเทศสมาชิก
อียู เปิดเผยยอดค้าปลีกเดือนพ.ค.
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประชุมและแถลงมติอัตราดอกเบี้ย
สหรัฐ เปิดเผยข้อมูลจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมิ.ย. / ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนพ.ค. / จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ / ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการและดัชนีภาคบริการเดือนมิ.ย.
4 ก.ค. ญี่ปุ่น เปิดเผยยอดขายรถยนต์นำเข้าเดือนมิ.ย.
เยอรมนี เปิดเผยคำสั่งซื้อภาคการผลิตเดือนพ.ค.
*ตลาดปิดทำการเนื่องในวันชาติสหรัฐ
29-30 ก.ค. กำหนดประชุมธนาคารกลางสหรัฐเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

รายชื่อหลักทรัพย์ที่ติดเกณฑ์บัญชี Cash Balance
* AJP / APCO / EE มีผลบังคับใช้ 26 พ.ค. - 4 ก.ค. 57
* BMCL / RPC มีผลบังคับใช้ 2 มิ.ย. - 10 ก.ค. 57
* RASA มีผลบังคับใช้ 9 มิ.ย. - 18 ก.ค. 57
* AJD / TFI / TH / TRUE / UV มีผลบังคับใช้ 16 มิ.ย. - 25 ก.ค. 57
* IFEC / PF / SLC มีผลบังคับใช้ 23 มิ.ย. - 1 ส.ค.57
* EFORL / TSF มีผลบังคับใช้ 30 มิ.ย. - 8 ส.ค.57
***เนื่องจากการลงทุนในหลักทรัพย์ ดังกล่าวมีการซื้อขายผิดไปจากสภาพปกติของตลาดดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
ตลาดหุ้นดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 20.17 จุด
     ดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ปิดตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 20.17 จุด หลังจากออโตเมติค ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยตลาดแรงงานในสหรัฐเปิดเผยว่า ภาคธุรกิจของสหรัฐมีการจ้างงานในเดือนมิ.ย.สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ โดยภาคเอกชนของสหรัฐมีการจ้างงานในเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 281,000 ตำแหน่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการว่า จะเพิ่มขึ้น เพียง 205,000 ตำแหน่งและสูงกว่าเดือนพ.ค.ที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 179,000 ตำแหน่ง ทำให้ปิดตลาดดัชนีดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 20.17 จุด หรือ +0.12%ปิดที่ 16,976.24 จุด ดัชนี NASDAQ ลดลง 0.92 จุด หรือ -0.02% ปิดที่ 4,457.73 จุด ดัชนี S&P500 เพิ่มขึ้น 1.30 จุด หรือ +0.07%ปิดที่ 1,974.62 จุด

ตลาดน้ำมัน NYMEX ลดลง 86 เซนต์
      ราคาน้ำมันดิบที่ตลาดล่วงหน้า NYMEX ส่งมอบเดือนส.ค.ลดลง 86 เซนต์เพราะได้รับแรงกดดันจากข่าวที่ว่า ท่าขนส่งน้ำมัน 2 แห่งของลิเบียสามารถกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงเพียงเล็กน้อย เนื่องจากตลาดได้รับแรงหนุนจากสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐที่ปรับตัวลดลงในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา โดย EIA รายงานสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ ลดลง 3.2 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะปรับตัวลงเพียง 2.4 ล้านบาร์เรล ทำให้ปิดตลาดราคาน้ำมันดิบที่ตลาดล่วงหน้า NYMEX ส่งมอบเดือนส.ค.ลดลง 86 เซนต์ ปิดที่ 104.48 ดอลลาร์/บาร์เรลส่วนน้ำมันดิบ BRENT ส่งมอบเดือนส.ค.ลดลง 1.05 ดอลลาร์ ปิดที่ 111.24 ดอลลาร์/บาร์เรล

Analyst - ธวัชชัย 02-6725993 [email protected]
- วิลาสินี 02-6725937 [email protected]
- อาทิตย์ [email protected]
Assistant - ณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!