WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
      ตลาดยังให้น้ำหนักต่อหุ้น ICT ซึ่งสร้างความผิดหวังต่อตลาด เนื่องจากต้นทุนประมูล 4G สูงเกินไป แนะนำให้ Switch จาก DTAC และ TRUE มาเข้า ADVANC โดยยังชื่นชอบ EASTW, PLANB, ASK, MAKRO วันนี้ยังเลือก Top pick คือ KSL(FV@B6) ราคาน้ำตาลยังเป็นขาขึ้น

ปัจจัยภายนอกยังเหมือนเดิม รอการประชุม FED 15-16 ธ.ค. นี้
    วานนี้สหรัฐ รายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่สำคัญ พบว่ายังส่งสัญญาณการฟื้นตัว กล่าวคือยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ สำรวจถึง 7 พ.ย. อยู่ที่ 2.76 แสนราย สูงกว่าตลาดคาดราว 6,000 ราย (เทียบกับเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ลดลง 8,000 รายจากเดือนก่อนหน้า) ทำให้ตลาดคาดว่าโอกาสที่ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมวันที่ 15 - 16 ธ.ค. มีความเป็นไปได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามก็มีบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย และ เห็นว่า Fed ควรชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในรอบนี้เช่นกัน ล่าสุดความเห็นของ IMF ต้องการให้ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยฯ ต่อไป จนกว่าจะเห็นเงินเฟ้อกระเตื้องขึ้น จากปัจจุบันที่ต่ำเพียง 0% ยังห่างไกลเป้าหมายที่ 2% ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของฝ่ายวิจัยที่ยังมองว่าการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมในรอบนี้มีโอกาสน้อย


ขณะที่ญี่ปุ่น มีการรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในส่วนของภาคการผลิตที่ยังคงชะลอตัว สะท้อนจากยอดคำสั่งซื้อเครื่องจักร เดือน ก.ย. ปรับตัวดีขึ้น โดยหดตัว 1.7%YoY เทียบกับเดือน ส.ค. ที่หดตัว 3.5 %YoY เช่นเดียวกับดัชนีราคาผู้ผลิต PPI เดือน ต.ค. หดตัว 3.8% เทียบกับครั้งก่อนหน้าที่หดตัว 3.9% คาดว่าจะกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นซึ่งยังอยู่ในระดับต่ำ ล่าสุด 0 % ต่อไป ทำให้ความจำเป็นในการใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายยังมีอยู่ (BOJ คงฐานเงิน Monetary Base ที่อัตราราว 80 ล้านล้านเยนต่อปี) โดยจะต้องติดตามการประชุม BOJ ในรอบถัดไปในสัปดาห์หน้า19 พ.ย. ซึ่งคาดว่าจะยังไม่มีการขยาย วงเงินเพิ่มเติม สอดคล้องกับที่นาย ยูทากะ ฮาระดะ เจ้าหน้าที่ของ BOJ ซึ่งออกมาให้ความเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นที่ BOJ จะต้องผ่อนคลายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในขณะนี้

หลังประมูล 4G ADVANC ยังเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด ลดน้ำหนัก TRUE/DTAC
       สรุปการประมูลคลื่น 4G ภายใต้ใบอนุญาต 1,800 MHz จบลงเย็นวานนี้ โดยมีผู้ชนะการประมูล คือ ADVANC และ TRUE ด้วยค่าใบอนุญาตที่ 4.09 หมื่นล้านบาท และ 3.97 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ โดยมี JAS เป็นผู้เสนอราคาสูงเป็นรายที่ 3 ส่วน DTAC นั้นไม่สู้ราคา โดยเคาะราคาสูงสุดที่ 1.75 หมื่นล้านบาทเท่านั้น เพราะปัจจุบันถือว่า DTAC มีคลื่นความถี่ 1800 อยู่ 45 MHz ที่อยู่ภายใต้สัมปทาน 2G ซึ่งจะหมดอายุในปี 2561 แม้จะสามารถนำมาพัฒนา 4G ได้ แต่มีต้นทุนบริการที่สูง 30% ของรายได้ค่าบริการ จึงอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบอีก 2 รายได้ที่มีต้นทุนใบอนุญาตที่ต่ำกว่า ปัจจุบัน DTAC ให้บริการ 3G บนคลื่น 2100 อยู่ 10 MHz และ บริการ 4G บนคลื่น 2100 5 MHz (คลื่น 2100 จะหมดอายุปี 2570) จึงทำให้ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของ DTAC ลดลง (เพราะหลังจาก TRUE จะมีคลื่นให้บริการ 4G รวม 25 MHz ซึ่งเป็นคลื่น 2100 เดิม 10 MHz กับของใหม่อีก 15 MHz ขณะที่ ADVANC มีบริการ 4G บนคลื่น 1800 เพียง 15 MHz) ดังนั้นเชื่อว่า DTAC น่าจะเป็น 1 ใน 2 ราย (อีกรายคือ ADVANC) ที่น่าจะเข้าร่วมประมูลคลื่น 900 MHz เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนา 4G ทำให้ความสามารถแข่งขันระยะสั้น-กลางยังด้อยอยู่มาก นักวิเคราะห์ ASPS จึงได้ปรับลดประมาณปี 2559 ของ DTAC ลงจากเดิมราว 45-50% พร้อมปรับลดคำแนะนำ DTAC เป็นขาย มูลค่าหุ้นใหม่ที่รวมคลื่น 900 MHz (คาดค่าประมูลจะอยู่ที่ 25,000-30,000 ล้านบาท) จะอยู่ที่ราว 45-46 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาตลาด


       ขณะที่อีก 2 บริษัทที่ได้ใบอนุญาตใหม่จะมีต้นทุนที่สูงขึ้น แต่ยังมีกระแสเงินสดรองรับ ทั้งนี้เพราะต้นทุนค่าประมูลสูงกว่าคาดมากถึง 19,000 ล้านบาท (ประเมินไว้ 21,000 ล้านบาท) จะเป็นภาระที่สูงขึ้น แม้จะสามารถตัดจ่ายได้นานถึง 18 ปี แต่นั่นหมายความว่าค่าใช้จ่ายแต่ละปี ราว 2,222 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมเงินลงทุนในโครงข่ายและอุปกรณ์ที่ 4G ซึ่งแต่ละรายกำหนดแผนการลงทุนไม่เท่ากัน กล่าวคือ ADVANC กำหนดไว้ที่ 2 หมื่นล้านบาท และ TRUE 1 หมื่นล้านบาท (DTAC ราว 1.5 หมื่นล้านบาท) ซึ่งแม้เงินลงทุนส่วนหลังให้สามารถตัดจ่ายได้ 7 ปี แต่นั่นหมายความว่าแต่ละรายมีต้นทุนส่วนเพิ่มนอกเหนือใบอนุญาตอีกรายละ 2.5 พันล้านบาทต่อปี และ 1.43 พันล้านบาทต่อปี ตามลำดับ โดยรวมแต่ละรายจะมีต้นทุนในการให้บริการ 4G เพิ่มขึ้นในการจัดทำงบกำไรขาดทุนต่อปี รายละ 4,722 ล้านบาท และ 3,652 พันล้านบาท ตามลำดับ และหากพิจารณาสภาพคล่องทางการเงินทุกรายจะยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี (เงินสดในมือ และกระแสเงินสดจากการดำเนินงานสูง (CFO)) กล่าวคือ ADVANC ปัจจุบันจะอยู่ที่ 93,000 ล้านบาท (CFO ปีละ 65,000 ล้านบาท) และ TRUE อยู่ที่ 32,000 ล้านบาท (CFO ปีละ 23,000 ล้านบาท) ส่วน DTAC อยู่ที่ 55,000 ล้านบาท (CFO 25,000 ล้านบาท) ขณะที่มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ที่ 0.96 เท่า และ 0.44 เท่า ส่วน DTAC ที่ 0.94 จึงมีช่องว่างที่กู้ยืมได้เพิ่มเติม และปลอดภัยต่อการเพิ่มทุน แต่อย่างไรก็ตามภาระดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้นจะกดดันให้ TRUE ซึ่งมีฐานกำไรที่ต่ำ มีโอกาสกำไรยากขึ้น
ขณะนี้นักวิเคราะห์ ASPS อยู่ระหว่างการปรับลดประมาณการกำไรของ TRUE ปี 2559 ลง คาดว่าจะปรับลดลงราว 80-90% จากประมาณการเดิม พร้อมลดมูลค่าหุ้นภายหลังรวมใบอนุญาตใหม่จะอยู่ที่ 9.5-10.0 บาท จึงแนะนำให้ Switch ไปเข้า ADVANC ซึ่งภายหลังการรวมใบอนุญาตคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz ทั้ง 2 ใบ คาดว่าจะต้องปรับลดประมาณกำไรปี 2559 ลงจากเดิมราว 19% แต่มูลค่าหุ้นใหม่ในปี 2559 จะอยู่ที่ 280-285 บาท ไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก หุ้น ADVANC จึงเป็นหุ้นที่นักวิเคราะห์ยังชื่นชอบที่สุด แม้ภายใต้การแข่งขันและความเสี่ยงที่ยังมีอยู่

MSCI Plays : หุ้นเด่น TIPCO และ VNG
เมื่อคืนที่ผ่านมา MSCI (Morgan Stanley Capital International) ประกาศรายชื่อหุ้นที่ถูกนำเข้าและคัดออกในดัชนี MSCI รอบ พ.ย. 2558 โดยดัชนี MSCI Global Standard ไม่มีหุ้นใดถูกคัดเลือกเข้า-ออกในรอบนี้ ขณะที่ดัชนี MSCI Global Small Cap รอบนี้ มีหุ้นไทยที่ถูกคัดเลือกเข้าดัชนีทั้งสิ้น 5 บริษัท คือ GLOBAL, IMPACT, PLAT, TIPCO และ VNG ส่วนหุ้นที่ถูกคัดออกจากดัชนีมี 8 บริษัท คือ DSGT, LOXLEY,MBK, MONO,NOK, PCS,PTL,SIM ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2558 เป็นต้นไป
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาข้อมูลในอดีตเชิงสถิติ ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา พบว่า ราคาของหุ้นที่ได้รับคัดเลือกเข้าคำนวณดัชนี MSCI Global Small Cap กลับไม่ได้ตอบรับเชิงบวกมากนัก โดยหุ้นที่จะถูกนำเข้าไปคำนวณมีโอกาสปรับขึ้นเพียง 56% และให้ผลตอบแทนเฉลี่ยราว 0.7% หลังจากนั้น ราคาหุ้นจะลดลงจนติดลบหลังจากถูกคัดเลือกเข้าคำนวณดัชนีไปแล้ว
ตรงกันข้ามกับหุ้นที่ถูกคัดออกจากดัชนี MSCI Global Small Cap ราคาหุ้นจะสะท้อนปัจจัยดังกล่าวด้วยการปรับลดลงในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนการคัดเลือกเข้าคำนวณ แต่หลังจากออกจากการคำนวณแล้ว ราคาหุ้นกลับปรับขึ้นโดยเฉพาะหลังจากถูกปรับออกราว 1.5 เดือน ราคาหุ้นวิ่งขึ้นมากกว่า 3.5% ด้วยความน่าจะเป็นที่จะมีหุ้นปรับขึ้นราว 63%
กลยุทธ์การลงทุนเลือกลงทุนในหุ้นที่ถูกคัดเข้าดัชนี MSCI Global Small Cap อย่าง TIPCO([email protected]) เนื่องจากรับส่วนแบ่งกำไรจาก TASCO ทำให้คาดว่าราคาปัจจุบันยังถือว่าถูกมาก โดยซื้อขายกันที่ PER ปี 59 เพียง 6.9 เท่า จึงเป็นโอกาสในการเข้าลงทุน และหุ้นอีกตัวที่แนะนำให้เก็งกำไรระยะสั้นคือ VNG (FV@B 15.9) เนื่องจากวานนี้ราคาหุ้นปรับตัวลงมาหนักถึง 5.62% จนทำให้มี Upside เหลืออยู่

ต่างชาติยังคงขายหุ้นในภูมิภาคทั้ง 5 ประเทศ
วานนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 478 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) โดยเป็นการขายสุทธิทั้ง 5 ประเทศ เริ่มจากไต้หวันถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 184 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิราว 158 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6) ตามมาด้วยอินโดนีเซียถูกขายสุทธิราว 29 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 9 ล้านเหรียญ ส่วนไทยต่างชาติขายสุทธิสูงถึง 98 ล้านเหรียญ หรือ 3,530 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 1,835 ล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 9,669 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 3,712 ล้านบาท ในส่วนของค่าเงินบาทล่าสุดอยู่ที่ 35.89 บาท/ดอลลาร์

ราคาน้ำมันอ่อนตัวตามสต๊อกน้ำมันที่สูง แต่ตลาดน่าจะซึมซับไปมากพอควร
วานนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ได้รายงานสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ สิ้นสุด 7 พ.ย.เพิ่มขึ้นราว 4.2 ล้านบาร์เรล (เพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 7) ส่งผลให้สต็อกน้ำมันดิบอยู่ที่ 487 ล้านบาร์เรล (สูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.) เช่นเดียวกับกำลังการผลิตน้ำมันดิบที่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.5 หมื่นบาร์เรลต่อวัน ล่าสุดอยู่ที่ 9.19 ล้านบาร์เรล ด้านสต็อกน้ำมันกลั่น Heating Oil และน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน 0.35 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 141 ล้านบาร์เรล (หลังจากปรับตัวลดลง ติดต่อกัน 7 สัปดาห์) เนื่องจากสภาวะอากาศที่แปรปรวน ทำให้อากาศอุ่นขึ้น ส่งผลทำให้ความต้องการน้ำมันปรับตัวลดลง สวนทางกับสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 2.1 ล้านบาร์เรล (ลดลงติดต่อกัน 5 สัปดาห์) อยู่ที่ 213 ล้านบาร์เรล ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบดูไบ ปรับตัวลดลงมาทำจุดต่ำสุดใหม่อีกครั้งที่ 42.51 เหรียญฯ ต่อ บาร์เรล (ลดลงจากวันก่อนหน้าราว 3%) ทำนองเดียวกับราคาน้ำมันดิบตลาดล่วงหน้าทั้ง Brent และ WTI ปรับตัวลดลงราว 3% และ 4% (ล่าสุดอยู่ที่ 44.06 และ 41.67 เหรียญฯต่อบาร์เรล) ซึ่งการที่ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงอาจสร้าง แรงกดดันราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานปรับตัวลดลง จึงเป็นจังหวะเข้าสะสมเมื่อราคาอ่อนตัว PTT(FV@350B) มี upside ราว 23.7% ที่มีลักษณะธุรกิจ Conglomerate กระจายตัวมากที่สุด และยังได้ปัจจัยบวกจาการที่บริษัทลูก SPRC เตรียม trade เข้าตลาดฯ ในต้นเดือนหน้า นอกนี้บริษัทรายงานงบงวด 3Q58 สอดคล้องกับนักวิเคราะห์ ASPS คาด จึงคาดว่าประเด็นเรื่องราคาน้ำมัน น่าจะซึมซับในราคาหุ้นไปพอสมควรแล้ว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!