WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

เริ่มต้น 3Q ด้วยแรงหนุนจากภาคการผลิตโลกฟื้นตัว
Highlight
      ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ เปิดบวก ตามตลาดหุ้นโลก (DJIA, S&P500 ทำ New High) หลังตัวเลขภาคการผลิต PMI จีน และ ISM สหรัฐฯ มิ.ย. แข็งแกร่งสะท้อนเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว
ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ USA: การจ้างงานภาคเอกชน ADP มิ.ย. คาดเพิ่มขึ้น 205k(vs 179k) ยอดสั่งซื้อโรงงาน พ.ค. คาด +0.3%m-m (Vs 0.7%) EU:1Q57F GDP final คาด 0.2%q-q
-วันทำการล่าสุด นักลงทุนต่างชาติซื้ออีก +2.40 พันลบ. (ซื้อสะสม 2 วัน รวม +4.31 พันลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศ กลับมาขาย -35 ลบ. (จากซื้อสะสม 3 วันรวม 3.89 พันลบ.)
+/- สัปดาห์นี้จับตา กสทช.ชี้แจงการประมูลคลื่นความถี่ต่อคสช. ส่วนเดือนนี้คาดได้ความคืบหน้าด้านการจับตั้งสภาปฏิรูป และแนวทางการเลือกตั้ง
คาดดัชนีฯ วันนี้ Sideway up แนวต้าน 1493/1500 จุด จากปัจจัยต่างประเทศกลับมาเป็นแรงหนุน แต่คาดการปรับขึ้นของดัชนีฯ ยังผันผวนวันนี้อาจต้องเผชิญแรงขายทำกำไรบางส่วน หลังหมด window dressing


    กลยุทธ์: เก็งกำไร หุ้นกลาง-เล็ก AJD BKD IFEC THRE หุ้น Earnings Play GOLD TMB BAY KTB SCB BIGC PTTEP SCCC IVL และหุ้นมีประเด็นบวก PTT ADVANC INTUCH CK SCCC พิจารณาขายเล่นรอบหากสัปดาห์นี้ขึ้นไม่ผ่าน 1510 จุด

 

หุ้นในกระแส:
   หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 6.0%) ได้แก่ KC APCO RASA VTE CRANE TWS BTC TWZ NCH MAX TFD หุ้นที่ลงกว่า 2.5 % ได้แก่ TTCL SAPPE MACO PAF UTP SUPER GOLD DEMCO SCP THAI
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ BBL+365 PTTGC+306 BGH+294 PTT+284 สูงสุดด้านขาย ได้แก่ MINT-46 THRE-33 CPF-32

   หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ PTT 83 ADVANC 66 JAS 66

 

Market Outlook
    คาดดัชนีฯ วันนี้ Sideway up แนวต้าน 1493/1500 จุด ปัจจัยต่างประเทศกลับมาหนุน หลังตัวเลขภาคการผลิตทั้งจากจีนและสหรัฐฯ ออกมาดี ส่วนในประเทศลุ้นความคืบหน้านโยบายด้านพลังงานและสื่อสาร แนะนำ เก็งกำไรสั้น หุ้นขนาดกลาง-เล็ก หุ้น Earning Play มีประเด็นบวก
คาดดัชนีฯ วันนี้ Sideway up แนวต้าน 1493/1500 จุด ปัจจัยต่างประเทศเป็นข่าวบวก หลังจากตัวเลขภาคการผลิตทั้งจากฝั่งจีนและสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. หนุนความเชื่อมั่นนักลงทุน ต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจฟื้นตัวแรงตั้งแต่ครึ่งหลังปีนี้ (หนุน นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อหุ้นไทยคืน 2 วันสะสมกว่า 4.3 พันลบ.และเป็นบวกต่อหุ้นกลุ่ม Cyclical Play แบงก์ ปิโตรฯ) ส่วนปัจจัยในประเทศยังต้องจับตานโยบายด้านพลังงานและสื่อสาร ซึ่งหากมีความชัดเจนขึ้น มีโอกาสหนุนราคาหุ้นในระยะต่อไป ทั้งนี้ การสิ้นสุดการทำ Window Dressing อาจทำให้มีแรงขายทำกำไรบางส่วนเข้ามาในวันนี้ จึงคาดการปรับขึ้นของดัชนีฯ จะยังค่อนข้างผันผวน ด้านการประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/57 บจ.ไทย แบงก์ทิสโก้ จะประกาศงบฯ 14 ก.ค. คาดกำไร 1050 ลบ. -9.4%y-y +12.3%q-q ขณะที่ TMB BAY KTB SCB BIGC PTTEP คาดรายงานกำไรดีขึ้น y-y q-q


ปัจจัยต่างประเทศ กลับมาหนุนหลังวานนี้ตัวเลข PMI ภาคการผลิตจีนเดือน มิ.ย. ดีดตัวแตะระดับ 51 สูงสุดในรอบ 6 เดือน ขณะที่ตัวเลข ISM ภาคการผลิตสหรัฐฯ แม้ต่ำกว่าคาดเล็กน้อย แต่ยังทรงตัวในระดับสูงที่ 55.3 ทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลวานนี้ดัชนี Dow Jonesสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ระหว่างวันที่ 16,998.70 จุด
ปัจจัยในประเทศ กลุ่มพลังงาน มีแรงซื้อเข้ามา หลังการแต่งตั้งนาย ปิยสวัสดิ์ เป็นบอร์ดปตท. PTT (สะท้อนรับแผนปรับโครงสร้างราคาให้สอดคล้องกับต้นทุนแท้จริง) ส่วนกลุ่มสื่อสารยังต้องลุ้นความชัดเจน ซึ่งคณะทำงาน คสช. จะชี้แจงประเด็นการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ต่อ คสช. ในสัปดาห์นี้ โดยหากเกิดความชัดเจน จะเป็นแรงขับเคลื่อนดันให้ SET INDEX ขยับขึ้นสร้างจุดสูงสุดใหม่ได้ต่อเนื่อง โดยประเมินแนวต้านที่ 1510 จุด


กลยุทธ์: เก็งกำไร หุ้นกลาง-เล็ก AJD BKD IFEC THRE หุ้น Earnings Play GOLD TMB BAY KTB SCB BIGC PTTEP SCCC IVL และหุ้นมีประเด็นบวก PTT ADVANC INTUCH CK SCCC พิจารณาขายเล่นรอบหากสัปดาห์นี้ขึ้นไม่ผ่าน 1510 จุด
Recommend Stocks: เดือน ก.ค. แนะนำลงทุน INTUCH SCCC (Dividend Play) GFPT PTTEP (Global play) KBANK QH SCP (การบริโภคการลงทุนในประเทศ) GUNKUL (พลังงานทดแทน) IVL JAS (มีประเด็นบวก)


July Statistic : สถิติย้อนหลัง 10 ปี (ปี 47-56) พบว่ามีโอกาส 70% ที่ ดัชนีฯ เดือน ก.ค. ปิดปรับขึ้น ด้วยอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย +2.01%m-m Max +10.68% (ปี 50) Min -12.01% (ปี 51) ขณะที่เดือน ส.ค. และก.ย. ให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย -0.38%m-m และ +1.22%m-m ตามลำดับ
เทคนิค : ขึ้นสลับย่อ
คาดภาพใหญ่แนวโน้มดัชนีฯ ขาขึ้นยังมีต่อเนื่อง แต่จะมีผันผวนสูงขึ้น โดยดัชนีฯ สามารถยืนปิดทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 9 เดือนได้สำเร็จ ส่งผลให้ดัชนีฯมีโอกาสสูงขึ้นจะขึ้นไปแตะแนวต้านต่อไปที่ 1497จุด (Fibonanci) หรือแนวต้านจิตวิทยาที่ 1500 จุดได้ในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้แนวต้านหลักที่เป็นกรอบบนของ uptrend channel รอบนี้ที่ดำเนินมาตั้งแต่ต้นปี อยู่ที่บริเวณ 1510 จุด ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1475 จุด (SMA 5 วัน) และ 1470 จุด (SMA10วัน) โดยมีสัญญาณเตือนการปรับฐานรอบสั้นๆ อิง Stochastic, RSI ที่เริ่มเกิดสัญญาณ Overbought และอาจเปลี่ยนเป็น Sell Signal ได้ โดยหากดัชนีฯ ดีดตัวขึ้นไม่ผ่านแนวต้านหลัก 1510 จุดได้ในสัปดาห์นี้อาจพิจารณาขายเล่นรอบ

 

ประเด็นจับตา
1. ประเด็นการเมือง: จับตานโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการรัฐขนาดใหญ่
ประเด็นการเมือง (Update):
ผู้ตรวจราชการฯเผย 2 ก.ค.ส่งทีมลงพื้นที่ตรวจสต็อกข้าวในโกดังรัฐ 1.8 พันแห่ง นายจิรชัย มูลทองโร่ยผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า คณะทำงานจะลงพื้นที่ตรวจสอบสต็อกข้าวในโกดังของรัฐ 1.8 พันแห่ง และ ไซโลอีก 137 แห่งทั่วประเทศ ในวันที่ 2 ก.ค.นี้ เพื่อให้ทราบข้อมูลที่แน่นอนของสต็อกข้าวในแต่ละแห่งว่ามีจำนวนเท่าใด ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาตรวจสอบทั้งหมดราว 2 เดือน (ก.ค. - ส.ค.) โดยเบื้องต้นข้อมูลที่ได้รับรายงานจากกระทรวงพาณิชย์นั้น มีข้าวอยู่ในโกดังและไซโลทั่วประเทศราว 17.9 ล้านตัน


ศปป.เผยสร้างความปรองดองปท.ก้าวหน้า 60-70%,สรุปข้อมูลให้สภาปฏิรูปฯ สิ้น ก.ค. นี้ ผู้อำนวยการศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป(ศปป.)คาดว่า ภายในสิ้นเดือน ก.ค.นี้ จะรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นของทุกภาคส่วน ส่งให้ สภาปฏิรูปประเทศ เพื่อดำเนินการไปสู่การปฏิรูปประเทศ โดยขณะนี้การสร้างความปรองดองฯ มีความก้าวหน้าไปแล้ว 60-70%
ปลัดกลาโหมหารือกกต.แก้อุปสรรคเลือกตั้ง-วางกรอบปฏิรูปปท. คาดสรุปได้ปลาย ก.ค. ปลัดกระทรวงกลาโหม เผยว่า จะหารือกับ กกต. เกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการทำงานและการป้องกัน การทุจริตเลือกตั้ง เพื่อนำความเห็นต่างๆ มารวมกับความคิดเห็นที่ได้ก่อนหน้านี้ จากนั้น จะสรุปข้อมูลทำเป็นกรอบความเห็นเสนอต่อ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ในปลายเดือน ก.ค.นี้ เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปประเทศต่อไป

-2. Earnings Outlook: Bloomberg Earnings Revision: ยังคงปรับลดประมาณการกำไรลงต่อเนื่องในเดือน มิ.ย. (ปี 57 เป็น 13.7% จากเดิม 15.5%, ปี 58F เป็น 14.8% จากเดิม 15.9% นำลงโดยกลุ่มขนส่ง Tourism Bank)
BB Consensus ถูกปรับลดประมาณการกำไรเติบโตปี 57F-58F ลงต่อเนื่องในเดือน มิ.ย.
คาดการณ์ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในปี 57F และ 58F ยังปรับลงต่อเนื่องในเดือน มิ.ย. อิง consensus ที่คาดผลกำไรของตลาดฯ เติบโตที่ 13.7% และ 14.8% จากเดิม คาดไว้ที่ 15.5% และ 15.9% ในปี 57F และ 58F ตามลำดับ อย่างไรก็ดี เรามีมุมมองบวกมากขึ้นต่อภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลัง แต่จากปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อเกือบตลอดครึ่งปีแรก ทำให้กำไรของบจ. ในครึ่งปีแรกถูกปรับลดลงต่อเนื่อง และส่งผลกำไรทั้งปีลดลงด้วย สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการปรับคาดการณ์กำไรปี 57F เพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ได้แก่ กลุ่มยานยนต์ +6.8% กลุ่มสื่อสาร +2.2% และกลุ่มโรงพยาบาล +1.9% ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการปรับคาดการณ์กำไรปี 57F ลดลงสูงสุด ได้แก่ กลุ่มขนส่ง -5.6% กลุ่มท่องเที่ยว -5.0% และกลุ่มธนาคาร -4.4%
สำหรับคาดการณ์ผลกำไรบจ.2Q57F พบว่า แบงก์ทิสโก้จะประกาศงบวันแรก 10 ก.ค. แต่บจ.ที่คาดว่าจะรายงานกำไรเติบโตดีขึ้น y-y q-q ได้แก่ TMB BAY SCB KTB BIGC PTTEP

+3.กสทช.คาดแจกคูปอง Set Top Box ให้ปชช.ได้ ภายในก.ย. แนะเก็งกำไร AJD SAMART
กสทช.ระบุในเอกสารเผยแพร่ว่า จะมีการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนต่อเรื่องการให้คูปอง Set Top Box โดยใช้เวลา 15 วัน คาดแล้วเสร็จในวันที่ 15 กรกฎาคม 2557 หลังจากนั้นจะเสนอ ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)พิจารณา โดย ที่ประชุมคณะกรรมการ กสทช.มีมติเห็นชอบให้นำเรื่องการแจกคูปองดังกล่าว ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ โดยประเด็นเกี่ยวกับ จำนวนครัวเรือน, ราคาคูปอง ว่าจะเป็นเริ่มต้นตามประกาศราคาขั้นต่ำ 690 บาทหรือสูงกว่านั้น, วงเงินที่จะใช้สนับสนุน ทั้งหมด, คูปองจะสามารถแลกอะไรได้บ้าง

+/- 4.รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ : จับตา วันจันทร์ EU CPI มิ.ย. คาด +0.6%y-y วันอังคาร China Official PMI Mfg มิ.ย. คาด 51 (Vs 50.8)วันพุธ-พฤหัสฯ USA การจ้างงานเอกชน มิ.ย. คาด +205k(Vs +179k) และการจ้างงานนอกภาคเกษตรมิ.ย. คาด+213k(+217k)
วันพุธ: USA: การจ้างงานภาคเอกชน ADP มิ.ย. คาดเพิ่มขึ้น 205k(vs 179k) ยอดสั่งซื้อโรงงาน พ.ค. คาด +0.3%m-m (Vs 0.7%) EU:1Q57F GDP final คาด 0.2%q-q
วันพฤหัสบดี: USA: การจ้างงานนอกภาคเกษตร มิ.ย. คาดเพิ่มขึ้น 213k (Vs 217k) อัตราว่างงาน 6.3% ISM ภาคบริการ มิ.ย. คาด 56.7 (Vs 56.3) ECB Meeting คาดคงดอกเบี้ยที่ 0.15%
ศุกร์: USA ตลาดหุ้นปิดทำการ Germany:Factory Orders พ.ค. คาด -1%m-m(Vs +3.1%)

 

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
      อียู เผยอัตราเงินเฟ้อยูโรโซนทรงตัวในเดือน มิ.ย. อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนทรงตัวในเดือน มิ.ย. ซึ่งช่วยลด แรงกดดันในระยะใกล้ต่อธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ให้ดำเนินการอีกครั้งในเร็วๆนี้เพื่อจัดการกับภาวะอัตราเงินเฟ้อต่ำ ทั้งนี้ สำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป (Eurostat) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ใน 18 ประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร เพิ่มขึ้น 0.5% เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันในเดือน มิ.ย.
อีซีบี เผยการปล่อยสินเชื่อแก่ภาคครัวเรือน, เอกชนหดตัวลงในเดือน พ.ค. ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เปิดเผยว่า การให้สินเชื่อแก่ภาคครัวเรือน และภาคเอกชนในยูโรโซนหดตัวลงในเดือนพ.ค.มากกว่าในเดือน เม.ย. และการขยายตัวของปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบยังคงชะลอตัว แม้อีซีบี ดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษก็ตาม ทั้งนี้ สินเชื่อที่ให้ภาคเอกชนลดลง 2.0% ในเดือน พ.ค. จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หลังจากที่หดตัวลง 1.8% ในเดือน เม.ย. ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ (M3) ของยูโรโซน ขยับขึ้น 1.0% จาก 0.7% ในเดือน เม.ย.


     เยอรมนี เผยยอดค้าปลีกลดลง 0.6% ในเดือน พ.ค. สำนักงานสถิติของรัฐบาลกลางเยอรมนี เปิดเผย ในวันนี้ว่ายอดค้าปลีกเมื่อเทียบเป็นรายปีของเยอรมนีลดลง 0.6% ในเดือน พ.ค. เมื่อเทียบกับ เดือน เม.ย. และเพิ่มขึ้น 1.9% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สำนักงานสถิติระบุว่า การเปลี่ยนแปลงรายเดือนได้ถูกปรับค่าตามปัจจัยปีปฏิทินและปัจจัยฤดูกาล โดยระบุว่าเดือนพ.ค. 2014 มีวันใช้จ่ายมากกว่า 1 วัน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว นักวิเคราะห์ที่ได้รับการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดว่า ยอดค้าปลีกจะเพิ่มขึ้น 0.7% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และ 2.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี
มาร์กิต เผย PMI ภาคการผลิตสหรัฐเดือน มิ.ย. สูงสุดในรอบ 4 ปี บริษัทมาร์กิต เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐอยู่ที่ระดับ 57.3 ในเดือน มิ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 2010 โดยลดลงเล็กน้อยจากรายงานก่อนหน้านี้ที่ระดับ 57.5


     ISM เผย PMI ภาคการผลิตทรงตัวในเดือน มิ.ย. สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM)เปิดเผยดัชนีผู้จัดการ ฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือน มิ.ย.อยู่ที่ระดับ 55.3 ในเดือน มิ.ย. แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับ 55.4 ในเดือน พ.ค. นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตจะอยู่ที่ 55.8 ในเดือน มิ.ย.


      ผลสำรวจชี้ดัชนี PMI ภาคการผลิตยูโรโซนชะลอตัวมากกว่าคาดใน มิ.ย. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของมาร์กิตสำหรับภาคการผลิตขั้นปลายของยูโรโซน ร่วงสู่ระดับ 51.8 ในเดือน มิ.ย. จากระดับ 52.2 ในเดือน พ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2013 โดย PMI ภาคการผลิตของเยอรมนี ร่วงลงสู่ระดับ 52.0 ในเดือน มิ.ย. จาก 52.3 ในเดือน พ.ค. PMI ภาคการผลิตของฝรั่งเศส ลดลงสู่ระดับ 48.2 ในเดือน มิ.ย. จาก 49.6 ในเดือน พ.ค. PMI ภาคการผลิตของอิตาลี อยู่ที่ 52.6 ในเดือน มิ.ย. ซึ่งต่ำกว่าที่คาดไว้และลดลงจากระดับ 53.2 ในเดือน พ.ค. และ PMI ภาคการผลิตของสเปน อยู่ที่ระดับ 54.6 ในเดือน มิ.ย. จากระดับ 52.9 ในเดือน พ.ค.


     ผลสำรวจ HSBC ชี้ดัชนี PMI ภาคการผลิตขยายตัวครั้งแรกรอบ 6 เดือนใน มิ.ย. ผลสำรวจขั้นสุดท้ายของเอชเอสบีซี/มาร์กิตพบว่า ดัชนี ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตอยู่ที่ระดับ 50.7 ในเดือน มิ.ย. จาก 49.4 ในเดือน พ.ค. โดยพุ่งทะลุระดับ 50 ที่แบ่งแยกระหว่างการขยายตัวและการหดตัวได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2013


    ผลสำรวจชี้ดัชนี PMI ภาคการผลิตจีนพุ่งสูงสุดรอบ 6 เดือนใน มิ.ย. สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน (NBS) ซึ่งเป็นทางการจีน เผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตดีดตัวแตะระดับ 51 ในเดือน มิ.ย. จากระดับ 50.8 ในเดือน พ.ค. สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
+ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดสร้างจุด New High Record ใหม่
     วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดสร้างทำสถิติสูงสุดใหม่ โดยดัชนี DJIA ปิดเพิ่มขึ้น 129.47 จุด หรือ 0.77% สู่ระดับ 16,956.07 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดเพิ่ม 13.09จุดหรือ 0.67% สู่ระดับ 1,973.32 จุด Nasdaq ปิดบวก 50.47 จุด หรือ 1.14% สู่ระดับ 4,458.65 จุด หลังตลาดได้รับข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีเกินคาดหนุนทั้งยอดขายรถในสหรัฐและพีเอ็มไอจีนเดือน มิ.ย. ที่ทะยานแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน
    สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน หรือซีเอฟแอลพี และสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน หรือเอ็นบีเอส เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ หรือพีเอ็มไอ ภาคการผลิตของจีนในเดือน มิ.ย.เพิ่มขึ้นแตะ 51 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน เทียบกับระดับ 50.8 ในเดือน พ.ค. ถือเป็นการปรับตัวแข็งแกร่งในช่วงสิ้นไตรมาส 2 และส่งสัญญาณบวกว่า เศรษฐกิจของจีนกำลังมีเสถียรภาพมากขึ้น ข้อมูลของทางการจีนสอดคล้องกับดัชนีพีเอ็มไอ ภาคการผลิตของเอชเอสบีซี ซึ่งดีดตัวขึ้นแตะ 50.7 ในเดือน มิ.ย. จาก 49.4 ในเดือน พ.ค. โดยนายฉู หงปิน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเอชเอสบีซี กล่าวว่า ดัชนีพีเอ็มไอ ภาคการผลิตจีนที่ปรับตัวขึ้นในเดือน มิ.ย. ตอกย้ำถึงแนวโน้มของอุปสงค์ที่แข็งแกร่งขึ้น พร้อมระบุด้วยว่า เศรษฐกิจจีนจะยังคงมีสัญญาณการฟื้นตัวมากขึ้น และแนวโน้มนี้ จะต่อเนื่องไปในช่วงหลายเดือนข้างหน้า โดยได้รับแรงหนุนจากการลงทุนด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่แข็งแกร่งขึ้น นอกจากนี้ เอ็ดมุนด์ ดอท คอม ยังเผยยอดขายรถยนต์ในอุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐ เดือน มิ.ย. ว่าอยู่ที่ 1.42 ล้านคันจากที่เว็บไซท์แห่งนี้คาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ 1.36 ล้านคัน

+ ตลาดหุ้นยุโรป ปิดเพิ่มจากรายงาน PMI จีน สหรัฐฯ ดีเกินคาด
    วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรป ปิดสูงขึ้น FTSE ปิดเพิ่มขึ้น 58.98 จุด หรือ 0.87% สู่ 6,802.92 จุด ดัชนี CAC40 ปิดสูงขึ้น 38.28 จุด หรือ 0.87% สู่ 4,461.12 จุด และ DAX ปิดบวก 69.34 จุด หรือ 0.71% สู่ 9,902.41 จุด
ดัชนีหุ้นสำคัญในตลาดหุ้นยุโรป ปิดตลาดแดนบวก หลังมีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจของจีนและสหรัฐที่ดีเกินคาด ประกอบกับข่าวบีเอ็นพี พาริบาส์ ยอมจ่ายเงินเพื่อยอมความคดีกับสหรัฐในฐานะทำธุรกรรมในประเทศที่สหรัฐลงโทษด้วยมาตรการคว่ำบาตร

-ราคาน้ำมันดิบ ปิดลดลงเล็กน้อย วิตกอุปสงค์ชะลอตัว
     วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบ ส.ค. ปิดเพิ่มขึ้น 0.34 ดอลลาร์ สู่ 114.46 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymex ส่งมอบ ส.ค. อ่อนตัว 0.14 ดอลลาร์ มาปิด ตลาดที่ 106.03 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สัญญาน้ำมันดิบตลาดล่วงหน้าสหรัฐปิดปรับตัวลง จากแรงเทขายทำกำไร และความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในอิรัก ขณะที่พายุพัดเข้าสหรัฐ ทำให้เกิดความกลัวว่า จะทำให้ความต้องการนํ้ามันลดลง

+ราคาทองคำ ขยับขึ้น หลังรายงาน SPDR Gold Trust ซื้อทองเพิ่มเมื่อวันจันทร์
    วันทำการที่ผานมา ราคาสัญญาทองเดือน สิงหาคม ปิดตลาด ขยับขึ้น 4.60 ดอลล์ สู่ 1,326.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์
    ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับลง 1.75 ดอลลาร์ สู่ 1,325.44 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรทอง หลังจากคำสั่งซื้อของกองทุน ETF ช่วยหนุนให้ราคาทองพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบเกือบ 2 เดือนที่ 1,332.10 ดอลลาร์ในช่วงแรก
กองทุน SPDR Gold Shares ซึ่งเป็นกองทุน ETF ทองที่ใหญ่ที่สุดในโลกรายงานว่า ปริมาณการถือครองทองของกองทุนแห่งนี้เพิ่มขึ้น 5.7 ตันในวันจันทร์ ซึ่งถือเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 10 มี.ค. เป็นต้นมา

- ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index ขึ้นต่อเป็นวันที่ 2
     วันทำการที่ผานมา ดัชนี Baltic Dry Index ปิดเพิ่มขึ้นอีก 44 จุด หรือ 5.18% เป็น 894 จุด หลังจาก ปี 56 เพิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก (แนะนำ เก็งกำไร PSL TP Consensus 22.84-27.25 บาท TTA TP Consensus 22.83-27.25 บาท)

ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501
[email protected]
02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564
[email protected]
02-624-6270

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!