- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 30 October 2015 17:32
- Hits: 1240
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดปรับฐานน่าจะเป็นโอกาสสะสมหุ้นพื้นฐาน โดยยังให้น้ำหนักกับหุ้นที่มีกำไรเด่นใน 2H58 โดยยังชื่นชอบ EASTW(FV@B14) และ SYNTEC([email protected]) และหุ้นรับเหมาที่น่าจะได้ประโยชน์จากการใช้ ม. 44 ในลดขั้นตอนการประมูล เลือก CK([email protected]) เป็น Top pick
ให้น้ำหนักยุโรปและญี่ปุ่นคาด จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
ดูเหมือนปัจจัยภายนอกยังให้น้ำหนักต่อการขึ้นดอกเบี้ยฯ ของสหรัฐ แม้ผลประชุมในรอบที่ที่ผ่านมา FED จะยังมิได้กำหนดกรอบเวลาการขึ้นดอกเบี้ยที่ชัดเจน แต่ตลาดต่างตีความว่าจะขึ้นในการประชุมรอบถัดไปคือ 15-16 ธ.ค. ซึ่งในการประชุม รอบนี้ มีกำหนด แถลงตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ ซึ่งทำให้ทราบถึงมุมมองของ FED ที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม ASPS ยังมองว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะยังไม่เกิดขึ้นในปีนี้ อย่างเร็วสุดคือต้นปีหน้า เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อที่ยังคงติดลบอยู่ จากผลกระทบของราคาน้ำมันดิบโลกที่ยังทรงตัวในระดับต่ำ และเศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวล่าช้า สะท้อนได้จากค่าเงินดอลลาร์ เริ่มชะลอการแข็งค่าหลังจากการขยับตัวขึ้นตั้งแต่ต้นสัปดาห์นี้ โดยล่าสุด Dollar Index อยุ่ที่ 97.28 อ่อนค่า 0.5% จากวันก่อนหน้า และคาดว่าน่าจะแกว่งตัวในกรอบแคบ ๆ จนกว่าการคาดการณ์ตลาดต่อทิศทางดอกเบี้ยจะเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งยังมีผลต่อความผันผวนของตลาดเงินและตลาดทุน
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า คาดธนาคารกลางทั่วโลกยังคงใช้นโยบายผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง อาทิ จีนแม้ในช่วงที่ผ่านมาได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาหลายครั้ง รวมถึง ยูโร และญี่ปุ่น ก็ยังคงนโยบายผ่อนคลายต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยบวกหนุนตลาดทั่วโลก ทั้งนี้ในการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่นวันนี้ คาดว่าน่าจะทราบผลการประชุมในช่วงสาย ๆ ของวันนี้ ซึ่งตลาดคาดว่าจะมี การขยายวงเงินการซื้อสินทรัพย์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จากเดิมที่ระดับ 80 ล้านล้านเยน (6.67 แสนล้านเหรียญ) ต่อปี เป็น 90 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้น 12.5% หลังจาก สะท้อน ผลสำรวจเศรษฐศาสตร์จาก Bloomberg พบว่า มี 16 คนจากทั้งหมด 36 คน หรือราว 45% เชื่อว่า BOJ จะขยายวงเงินการซื้อสินทรัพย์ในรอบนี้ (เพิ่มขึ้น13 ราย จากการสำรวจก่อนหน้า 7 ต.ค.) อีก 12 ราย หรือ 33% คาดว่า BOJ จะไม่มีการขยายวงเงินในรอบนี้ ส่วนที่เหลือ คาดว่าจะมีการขยายวงเงิน QE ในการประชุมรอบถัดๆ ไป ทั้งนี้หากพิจารณา ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ยังส่งสัญญาณชะลอตัว ได้แก่ การใช้จ่ายภาคครัวเรือน เดือน ก.ย. หดตัว 0.4% ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ระดับ 1.1% และอัตราเงินเฟ้อที่ยังต่ำ โดยล่าสุด เดือน ก.ย. หดตัวลงเหลือ 0% เทียบกับเดือน ส.ค. ที่อยู่ที่ระดับ 0.2% (หดตัวติดต่อกัน 7 เดือน)
และ เช่นเดียวกับยุโรป ตลาดคาดหวังว่าจะเห็นการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ใน 2 ลักษณะคือ จะขยายระยะเวลาการใช้ QE ออกไปจากที่กำหนดกรอบเวลาไว้ถึง ก.ย. 2559 หรือ เพิ่มวงเงินที่กำหนดไว้ตลอดโครงการ จากปัจจุบันที่กำหนดวงเงิน QE ไว้เดือนละ 6 หมื่นล้านยูโร หรือสิ้นสุดโครงการจนถึงเดือน ก.ย. 2559 คาดว่าจะใช้เม็ดเงินทั้งหมด 1.14 ล้านยูโร ซึ่งเม็ดเงินกระตุ้นอาจจะเพิ่มขึ้นจากยอดรวม ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นที่ตลาดยังให้น้ำหนักอยู่ อย่างไรก็ตามล่าสุดดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยุโรปมีสัญญาณที่ดีขึ้น สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ต.ค. อยู่ที่ 105.9 เทียบกับตลาดคาด 105.1 นับว่าเป็นฟื้นตัวที่ดี และทำสถิติสูงสุดตั้งแต่มิ.ย. 2554 ทั้งนี้เชื่อว่าหลัก ๆ น่าจะได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าว
รัฐยังเดินหน้าผลักดันโครงการลงทุน ชอบ CK
หลังจากที่รัฐประกาศใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้าและ SMEs พร้อมแผนการลงทุนระยะยาว โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ รัฐยังเร่งการใช้ ม.44 เพื่อให้ลดขั้นตอนการทำงาน เรื่องหลัก ๆ เช่น ให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการภาครัฐ (PPP) และ ลดระยะเวลาการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) จากเดิมที่ใช้เวลานาน 1-2 ปี เป็นต้น เพราะหากผ่านขั้นตอน EIA ซึ่งใช้เวลายาวนานที่สุดไปได้แล้ว จะสามารถนำเสนอ ครม. และเข้าสู่กระบวนการประกวดราคาเพื่อหาผู้รับเหมาต่อไป ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุน และ สร้างความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามการใช้ ม.44 เชื่อว่าจะเกิดประโยชน์กับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่-รถไฟฟ้ารางเดี่ยว โดยโครงการรถไฟรางคู่นั้นซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษา EIA 3 เส้นทาง คือ เส้นมาบกะเบา-ชุมทางจิระ นครปฐม-หัวหิน และลพบุรี-ปากน้ำโพ จากโครงการเฟสแรกทั้งสิ้น 6 เส้นทาง
ส่วนโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ซึ่งขณะนี้ได้มีการออกแบบเสร็จแล้ว และ ผ่านการศึกษา IEA แล้ว ได้แก่ รถไฟฟ้าสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรงระยะทาง 29.1 กม. ซึ่งจะทำให้ โครงการเหล่านี้ สามารถเร่งการประมูลให้เร็วขึ้นในปี 2559 เช่นเดียวกับการประมูลจัดหาผู้เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (เดินรถ) (ส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 27 กม.) ซึ่งทุกอย่างถือว่าอยู่ในแผนแล้ว
สรุปการใช้ ม. 44 ได้มีการพูดกันมาสักระยะหนึ่งแต่ยังไม่มีผลต่อความคืบหน้า แต่การกลับมาเร่งใช้ ม. 44 ซึ่งถือว่าเป็นการสร้าง sentiment เชิงบวกต่อภาครับเหมาก่อสร้างอีกรอบหนึ่ง โดยบริษัทรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ถือว่าได้ประโยชน์ค่อนข้างชัดเจน เนื่องจากงานก่อสร้างจะเป็นแบบ PPP ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งบริษัทรับเหมาที่มีคุณสมบัติครบถ้วน มีเพียง ITD,CK,STEC และ UNIQ ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยเห็นว่าบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่มีเครือข่ายและฐานเงินทุนแข็งแรงอย่าง CK (FV@B 31.25) น่าจะมีความได้เปรียบกว่าเมื่อเทียบบริษัทรับเหมาฯรายอื่นๆ
นอกจากนี้ ยังชื่นชอบ SYNTEC ([email protected]) ที่แม้จะไม่ได้ประโยชน์ตรงจากโครงการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ แต่เชื่อว่าจะได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นภาครัฐอื่นๆ โดยเฉพาะภาคอสังหาฯ ที่จะกลับมาคึกคักขึ้นจากมาตรการกระตุ้น โดยเชื่อว่า ความแข็งแกร่งทั้งปริมาณ Backlog และประสิทธิภาพการทำกำไร น่าจะมีผลประกอบการเติบโตโดดเด่นที่สุด และมีประเด็นบวกให้เก็งกำไรได้ในอนาคต และเลือกเป็น Top picks
ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค
วานนี้ตลาดหุ้นในภูมิภาคทั้ง 5 ตลาด ยังคงถูกนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิเช่นเดียวกับวันก่อนหน้า โดยมียอดขายสุทธิรวม 375 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) และหากพิจารณาเป็นรายประเทศ พบว่า ตลาดหุ้นไต้หวันถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 165 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) เช่นเดียวกับอินโดนีเซียที่ถูกขายสุทธิราว 73 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิราว 34 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) และฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 23 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) ส่วนไทยต่างชาติขายสุทธิสูงถึง 81 ล้านเหรียญ หรือ 2,895 ล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกัน 3 วัน โดยมียอดขายสุทธิสะสมรวม 5.7 พันล้านบาท ) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 242 ล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 10,582 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 1,512 ล้านบาท ในส่วนของค่าเงินบาทอ่อนค่าลง โดยล่าสุดอยู่ที่ 35.63 บาท/ดอลลาร์
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์