WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล. เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
      ระยะสั้น SET ยังติด 1,425-1,430 จุด การรายงานงบ 3Q58 ของ ธ.พ. ยังถ่วง Fund flow ยังเน้นหุ้นที่มีกำไรเด่น 2H58 เลือก BA([email protected]), SIAM([email protected]) และ SYNTEC([email protected]) เป็น Top picks

แรงกดดันจากจีนลดลงหลังเศรษฐกิจงวด 3Q58 ใกล้ตลาดคาด
     การประกาศ GDP Growth งวด 3Q58 ของจีนออกมากใกล้เคียงกับตลาดคาด ซึ่งน่าจะลดแรงกดดันต่อตลาดได้ระดับหนึ่ง กล่าวคืออยู่ที่ระดับ 6.9%YoY สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 6.8%YoY (แม้ชะลอตัวต่ำที่สุดนับตั้งแต่วิกฤติการเงินปี 2552) แต่หากพิจารณารายละเอียด พบว่าการเติบโตมาจากภาคบริการที่เติบโต 8.4%YoY ช่วยชดเชยภาคการผลิตเติบโตในอัตราชะลอตัวลงเหลือ 6.0%YoY สะท้อนจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. อยู่ที่ระดับ 5.7%YoY ต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 6.1% (ลดลงติดต่อกัน 3 เดือน) รวมทั้งการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเติบโต 10.3%YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ระดับ 10.8% (ต่ำที่สุดในตั้งแต่ปี 2543)

      ขณะที่การบริโภคภาคครัวเรือนยังมีลักษณะทรงตัว กล่าวคือยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. อยู่ที่ระดับ 10.9% เทียบกับ 10.8% เดือนก่อนหน้า ดีกว่าตลาดคาดเล็กน้อยคือที่ 10.8% แต่เชื่อว่ารัฐบาลกลางของจีน ยังมีความจำเป็นที่จะใช้นโยบายการเงินและการคลัง เพื่อชดเชยภาคการผลิตและภาคส่งออกที่ชะลอตัวลง โดยผ่านการลดอัตราส่วนเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 18% ซึ่งยังอยู่ในระดับสูงกว่าอดีตอยู่มาก (แม้ได้ลดมา 3 ครั้งในปีนี้รวม 2%) และลดดอกเบี้ยนโยบายซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 4.6% (หลังจากปรับลด 5 ครั้ง นับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2557)

      แม้ GDP Growth ที่ออกมาใกล้เคียงตลาด ลดแรงกดดันไปได้ระดับหนึ่ง แต่ปัญหาประมาณทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่มีแนวโน้มหดตัวจาก 3.81 ล้านล้านเหรียญฯ ในช่วงต้นปี 2558 เหลือ 3.51 ล้านล้านเหรียญฯ จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากประสบภาวะการส่งออกที่ชะลอตัว และเงินทุนไหลออก หลังจากมีการลดค่าเงินหยวนในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากค่าเงินหยวนมีแนวโน้มแข็งค่าตามดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมีการผูกสกุลเงินไว้กับดอลลาร์ การแข็งค่าของเงินหยวนจึงไม่สะท้อนปัญหาเศรษฐกิจที่แท้จริง จึงทำให้จีนอาจจะต้องเผชิญกับความผันผวนของค่าเงินตามสกุลดอลลาร์

ต่างชาติสลับมาขายทั้งหุ้นและตราสารหนี้ไทยเล็กน้อย
      วานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 243 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) โดยเป็นการซื้อสุทธิ 3 ประเทศ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 185 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิราว 46 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) และอินโดนีเซียซื้อสุทธิราว 19 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศ ขายสุทธิคือ ฟิลิปปินส์ขายสุทธิราว 1 ล้านเหรียญ และไทยต่างชาติสลับมาขายสุทธิราว 6 ล้านเหรียญ หรือ 210 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 2 วัน) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 1,062 ล้านบาท

      ขณะที่พอร์ตโบรกเกอร์ยังคงซื้อสุทธิสะสมต่อเนื่องเป็นวันที่ 11 โดยมียอดซื้อสุทธิสะสมรวมสูงกว่า 1.4 หมื่นล้านบาท ยังคงเชื่อว่าในระยะสั้นน่าจะมีโอกาสที่จะเห็นแรงขายทำกำไรออกมาจากนักลงทุนกลุ่มดังกล่าว
     ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 9,285 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 4,017 ล้านบาท ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดยล่าสุดอยู่ที่ 35.47 บาท/ดอลลาร์
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค

ยังชอบหุ้นกำไรเด่นใน 2H58 : BA, ERW, SIAM, SYNTEC
      ขณะที่เชื่อว่าตลาดยังให้น้ำหนักต่อการรายงานงบงวด 3Q58 ของกลุ่ม ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งขณะนี้ได้ทยอยประกาศมาแล้ว 4 บริษัทคือ TMB, TCAP, KKP และ SCB ซึ่งมีผสมทั้งที่ดีกว่าคาดและต่ำกว่าคาด กล่าวคือ TMB ผลการดำเนินงานดีกว่าคาดถึง 29% หลักๆ มาจากการลดลงของค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ที่ลดลงหลังมีการขาย NPL ออกไป นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และรายได้ค่าธรรมเนียมฯ หนุนให้กำไรสุทธิงวด 3Q58 เติบโต 24.6% qoq และ 17.9% yoy ส่วนแนวโน้ม 4Q58 ผลการดำเนินงานน่าจะอ่อนตัวลง จากแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของการตั้งสำรองหนี้ฯ จากช่วงของฤดูกาล และ KKP รายงานผลกำไรดีกว่าคาดเช่นกัน 26% จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และรายได้อื่นๆ แต่ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้เพิ่มขึ้นกว่า 1.8 เท่า เนื่องจากในงวดนี้มีการตั้งสำรองทั่วไป (General Provision) จำนวน 600 ล้านบาท

     ส่วน SCB ต่ำกว่าคาดราว 1000 ล้านบาท หรือต่ำกว่าคาด 11% จากการลดลงของรายได้ในทุกส่วน ทั้งรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ รายได้ค่าธรรมเนียมฯ และรายได้อื่นๆ รวมทั้งเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ที่สูงขึ้นจากการจัดชั้นลูกหนี้ SSI เป็น NPL แต่โดยรวมจะยังคงประมาณการกำไรปี 2558 ที่คาดว่าจะหดตัว 11.6%yoy แต่จะฟื้นตัวได้ถึง 17.4%yoy ในปี 2559 และ TCAP แม้ผลกำไรงวดนี้ต่ำกว่าคาดแต่เพียง 4% จากค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณภาพสินทรัพย์ยังแข็งแกร่ง สะท้อนจากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ลดลงจากงวด 2Q58

      ส่วนภาค real sector คาดว่าจะทยอยประกาศงบฯ ปลายเดือนนี้ถึงต้นเดือนหน้า คือ กลุ่มพลังงาน ซึ่งคาดว่า PTTEP น่าจะนำร่องที่รายงานงบย่ำแย่ จากการบันทึกด้อยค่าสินทรัพย์ราว 2 หมื่นล้านบาท (กระทบต่อ PTT ซึ่งถือหุ้น 65.29% ใน PTTEP) แต่เชื่อว่าประเด็นนี้ตลาดน่าจะรับรู้ไปแล้ว ตามด้วย SSI จะต้องบันทึกขาดทุนจากการบริษัทย่อย (SSI UK) ที่ประสบปัญหาและต้องปิดกิจการไป จนทำให้ SSI ต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งหากรวมผลกระทบจากกรณีของ PTTEP และ SSI เข้ามาด้วยกันแล้ว ก็เป็นไปได้ที่จะมีกระทบต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2558 ของบริษัทจดทะเบียนรวม ซึ่งทำให้ EPS และ EPS Growth ปี 2558 ที่ประเมินไว้ 89.63 บาท และ 16.8% จะไม่สามารถเป็นไปตามประมาณการ แต่อย่างไรก็ตาม หากมองไกลออกไปในปี 2559 คาดว่า EPS และ EPS Growth จะมีสูงมากกว่า 101.92 บาท และ 13.7% ตามประมาณการเดิม และ ASPS เตรียมจะใช้ดัชนีเป้าหมายปี 2559 โดยอิง EPS 2559 ทั้งนี้จะประกาศใช้ เมื่อการรายงานงบ 3Q58 เสร็จสิ้น ซึ่งก็ราว เดือนกลางเดือน พ.ย. 2558

กลยุทธ์การลงทุนระยะสั้นยังชอบหุ้นที่มีแนวโน้มผลประกอบการในช่วง 4Q58 เติบโตโดดเด่น โดยเฉพาะกลุ่มที่อิงตามฤดูกาล ท่องเที่ยว เริ่มจาก ธุรกิจการบิน ชื่นชอบ BA([email protected]) มากสุด ทั้งเรื่อง earnings momentum, EPS Growth และ PER ของธุรกิจการบิน ถือว่าต่ำสุดเพียง 12 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของสายการบินครบวงจรทั่วโลกที่ 14.2 เท่า AOT(FV@B344) ในฐานะเป็นผู้ผูกขาดบริการสนามบินเพียงรายเดียว ทั้งยังมีความคืบหน้าเกี่ยวกับโครงการสุวรรณภูมิเฟส 2 ที่มีความคืบหน้าอีกครั้ง และกำลังเข้าสู่ขั้นตอนที่ AOT เปิดประมูลหาผู้ก่อสร้างในปีนี้ และเริ่มสร้างปีหน้า จะช่วยเพิ่มกำลังให้บริการเพิ่มขึ้นเป็น 60 ล้านคน

ตามมาด้วย ธุรกิจโรงแรม ยังชื่นชอบ ERW([email protected]) มากสุด โดยคาดว่าจะเห็นการฟื้นตัวกลับมามีกำไรใน 4Q58 และมากขึ้นใน 1Q59 ซึ่งเป็นช่วง Peak Season ของการท่องเที่ยว และมี upside สูงสุดราว 20% นอกจากนี้ ยังให้ความสนใจหุ้นขนาดกลาง-เล็ก ที่มีปัจจัยบวกหนุน แต่ราคาหุ้นยังไม่ตอบสนองด้านบวก คือ

SYNTEC(FV@B 3.86) แทบไม่ได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมอสังหาฯ ที่ชะลอตัวลงในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ปัจจุบันมี Backlog เพิ่มเป็น 1.42 หมื่นล้านบาท และเป็นงานที่มี Gross Margin สูง นอกจากนี้ยังมีแผนขยายการลงทุนไปยังธุรกิจอสังหาเพื่อสร้างรายได้ค่าเช่าเพิ่ม ปัจจุบันราคาหุ้นมีค่า PER เพียง 11 เท่า ถือว่าต่ำมากในกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งมีค่า PER เฉลี่ย 21 เท่า

SIAM(FV@B 4.86) มีแผนงานชัดเจนที่จะขยายไปทำธุรกิจพลังงานทดแทนในส่วนโรงไฟฟ้าโซล่าร์ และขยะ โดยคาดว่าจะมีกำลังผลิตไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 49 MW ภายในปี 2561 ทั้งนี้ ราคาหุ้นปัจจุบันยังไม่สะท้อนมูลค่าธุรกิจส่วนเพิ่ม และยังมี Discount จากมูลค่าของฐานธุรกิจเดิมอีกราว 3% (คาดการณ์ BV ปี 2558 อยู่ที่ราว 3.97 บาท)

MCS(FV@B 12.91) กำไรปี 2558 เติบโตกว่า 5 เท่าตัว และจะอยู่ในวัฏจักรขาขึ้นไปอีกนานด้วย Backlog รองรับรายได้ 5 ปีข้างหน้า ขณะที่ยังได้ประโยชน์จากเงินเยนที่แข็งค่า และโอกาสของการรับงานใหม่ๆ ในญี่ปุ่นในช่วงก่อนการจัดงานโอลิมปิกปี 2563

หุ้นที่แนะนำใน Market talk

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!