- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 19 October 2015 18:15
- Hits: 2122
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“แกว่งไม่หลุด 1400...มีลุ้น 1430+/-,1450”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : SET Index เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดที่ 1418.38 จุด (-6.94 จุด) โดยนักลงทุนต่างชาติและพอร์ตบล.ซื้อสุทธิต่อ แต่สถาบันในประเทศและรายย่อยขายสุทธิหลังดัชนีปรับขึ้นมาเกือบ 90 จุดในช่วง 11 วันทำการที่ผ่านมา
ในช่วงต้นสัปดาห์นี้แกว่งตัวรอข่าวใหม่ ซึ่งจะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของ ECB โดยตลาดประเมินว่าจะมีถ้อยแถลงในเชิงบวกเกี่ยวกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนั้นยังจับตาตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ ด้วย เช่น ดัชนี PMI ภาคการผลิตของเดือนต.ค.ของสหรัฐ, ตัวเลข GDP ประจำ 3Q58 ของจีน เป็นต้น ส่วนในประเทศเป็นการประกาศงบการเงิน 3Q58 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และหลังจากนั้นจะมีบริษัทใน Real Sectors ทยอยรายงานตามมา หากมี Positive Surprise ก็ทำให้ตลาดขยับขึ้นต่อได้ (ซึ่งก็มีโอกาสเพราะส่วนใหญ่มองผลประกอบการ 3Q58 ไม่ดีนัก) ดังนั้นหาก SET Index ยังประคองตัวอยู่เหนือระดับ 1400 จุดได้ก็น่าถือลุ้นต่อ หรือเลือกซื้อเก็งกำไรตามรอบสำหรับหุ้นพื้นฐานที่น่าสนใจแนะนำวันนี้เป็น CENTEL
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ภาพตลาดเป็นลบเล็กๆ แต่ยังไม่ทิ้งโอกาสรีบาวด์ก่อนลงต่ำ การซื้อใหม่ก็แนะนำให้ตามด้วยค่าบวก แนวต้านระยะสั้น 1430-1440, 1450 จุด ค่าลบ/ต่ำกว่า 1400 จุด ดูไม่ดี ควรลดพอร์ตตาม สำหรับผลการ SCAN หุ้นที่มีสัญญาณทางเทคนิคดีและมีโอกาสทำ New High โดยสามารถเลือกซื้อเก็งกำไรระยะสั้น (แต่ไม่บวกไม่เล่น) ที่เข้ามาใหม่ คือ BIGC, CBG, CWT ส่วนหุ้นที่แนะนำไปแล้วสามารถถือต่อหรือพิจารณา Take Profit เมื่อราคาปรับขึ้นต่อ ได้แก่ HMPRO, NCH, ACAP, ANAN, IFEC, EA
Market Drivers
ปัจจัยต่างประเทศ & ราคาโภคภัณฑ์
• สหรัฐ : การผลิตภาคอุตสาหกรรม -0.2%MoM ในเดือนก.ย.สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ การผลิตที่ร่วงลงดังกล่าวได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอ ซึ่งทำให้อุปสงค์ของสินค้าจากสหรัฐลดลง
+ สหรัฐ : ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐเบื้องต้นประจำ เดือนต.ค.พุ่งขึ้นสู่ 92.1 จากระดับ 87.2 ในเดือนก.ย.ในขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าดัชนีจะอยู่ที่ 89.5 ในเดือนต.ค.
• สหรัฐ : ภาคแรงงานอยู่ในเกณฑ์ดี ตำแหน่งงานนอกภาคเกษตรที่เปิดรับสมัครโดยสถานประกอบการในสหรัฐลดลงสู่ระดับ 5.4 ล้านตำแหน่งในเดือนส.ค. จากระดับ 5.7 ล้านตำแหน่งในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลในปี2543 ส่วนจำนวนแรงงานที่ลาออกจากงานโดยสมัครใจทรงตัวที่ระดับ2.7 ล้านตำแหน่งในเดือนส.ค.
+ ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้น โดยดัชนี DJIA ปรับตัวเพิ่มขึ้น 74.22 จุดหนุนโดยความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ดีขึ้นและผลประกอบการบริษัทขนาดใหญ่ที่ออกมาดีเกินคาด
+ ราคาน้ำมันดิบขยับขึ้น สัญญา WTI ส่งมอบเดือนพ.ย.เพิ่มขึ้น 88เซนต์ หรือ 1.9% ปิดที่ 47.26 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญา BRENTเพิ่มขึ้น 73 เซนต์ หรือ 1.5% ปิดที่ 50.46 ดอลลาร์/บาร์เรล ทั้งนี้เบเกอร์ ฮิวจ์ส รายงานว่าจำนวนแท่นขุดเจาะที่เปิดใช้งานลดลง 10 แท่นมาอยู่ที่ 595 แท่นในสัปดาห์ก่อน
- สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบธ.ค.ลดลง 4.4 ดอลลาร์หรือ 0.37% ปิดที่ 1,183.10 ดอลลาร์/ออนซ์ อันเป็นผลจากการขาดปัจจัยกระตุ้นใหม่ๆ และราคาทองคำปรับขึ้นมาจากระดับ 1100ดอลลาร์มาเป็นเกือบ 1200 ดอลลาร์ซึ่งเป็นแนวต้านสำคัญ
ปัจจัยในประเทศ & ข่าวเด่น
+ กลุ่มรับเหมา/วัสดุก่อสร้าง : รัฐบาลเดินหน้า 19 โครงการลงทุนขนาดใหญ่วงเงินรวม 1.77 ล้านล้านบาท คาดประมูลในช่วงปี 58-60 และก่อสร้างช่วงปี 58-66 โดยคมนาคมได้เปิดเผยแนวทางจัดหาแหล่งเงินทุนไว้ดังนี้ 1) เงินลงทุนจากงบประมาณ220,329 ล้านบาท (12.43%), 2) แผนบริหารหนี้สาธารณะ 1.14 ล้านล้านบาท (64.76%), 3) เปิดให้เอกชนร่วมลงทุน 336,721 ล้านบาท(19%), 4) เงินรายได้จากรัฐวิสาหกิจ 53,372 ล้านบาท (3%) และ 5)เงินกองทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง 14,200 ล้านบาท (0.8%)
ความเห็นเชิงกลยุทธ์ Retail Research : นับเป็นข่าวบวกกับกลุ่มรับเหมาและวัสดุก่อสร้างที่จะมีงานขนาดใหญ่ทยอยเปิดประมูลอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีข้างหน้า ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้การลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัวขึ้นด้วย หุ้นเด่น CK (ราคาพื้นฐาน 33 บาท), STEC (ราคาพื้นฐาน 30 บาท), SCC (ราคาพื้นฐาน 580 บาท)
•/- ไทย : กระทรวงการคลังประเมิน GDP Growth ปีนี้ของไทยเติบโต 2.8% และปีหน้า 3.8% ซึ่งการขยายตัวที่ต่ำกว่าเป้าหมายเดิมที่ 3% ในปีนี้เกิดจากการส่งออกที่ซบเซามาก โดยคาดว่ามูลค่าส่งออกรูปดอลลาร์สหรัฐอาจติดลบมากกว่า 5% ส่วนการเติบโตเพิ่มขึ้นในปี 59เพราะได้รับผลดีจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการเร่งลงทุนโครงการขนาดใหญ่ภาครัฐ สำหรับภาคเอกชนมองเศรษฐกิจปี 59ขยายตัว 3.5% ต่ำกว่าที่กระทรวงการคลังประเมินไว้ ส่วนปัจจัยเสี่ยงคือ ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยเฉพาะจีนที่เป็นคู่ค้าหลักหนึ่งของไทย (ไทยส่งออกโดยตรงไปจีนประมาณ 10% ของทั้งหมด และมีการส่งออกทางอ้อมอีกส่วนหนึ่ง) ปัญหาเชิงโครงสร้างของอุตสาหกรรมส่งออกไทย ภัยแล้ง และปัญหาการเมือง
• กลุ่มธนาคารพาณิชย์ : ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ TMB คาดสินเชื่อ4Q58 จะเติบโตดีขึ้น โดยเฉพาะ SME และสินเชื่อรายย่อยสำหรับผู้มีรายได้น้อย โดยมาจากมาตรการกระตุ้นภาครัฐ และส่งผ่านโมเมนตัมต่อไปยังปี 59 โดยประมาณการว่าสินเชื่อของกลุ่มปีหน้าจะขยายตัวเพิ่มเป็น 6.1% จาก 5.2% ในปี 58
ด้าน KBANK และ CIMBT กล่าวว่ามีลูกค้ามาขอวงเงินซอฟท์โลนจำนวนมาก และมั่นใจว่าจะอนุมัติได้ทันตามเป้า และมองสินเชื่อปี 59เติบโตเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ความเห็นเชิงกลยุทธ์ Retail Research : เรามองว่ากลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยยังมีความมั่นคงทางธุรกิจสูงมาก เมื่อพิจารณาจาก CARและระดับ NPL ที่แม้ว่าจะเพิ่มขึ้นแต่ก็ยังไม่เกิน 3% อย่างไรก็ดี การเติบโตจะไม่หวือหวาในปี 58 เพราะเศรษฐกิจทุกภาคส่วนชะลอ/เติบโตน้อยกว่าที่เคยคาดการณ์กันไว้ ส่วนในปี 59 ก็มีความหวังว่าการใช้จ่ายและลงทุนภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจะช่วยกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น หนุนให้ความต้องการใช้สินเชื่อขยายตัวมากขึ้น และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเติบโตดีขึ้น ในเชิงกลยุทธ์ แนะนำทยอยซื้อสะสมเพื่อลงทุน หุ้น Top Pick คือ KBANK รองลงมาเป็น BBL ส่วนหุ้นที่มีValuation จูงใจและปันผลสูงเป็น TCAP
+ กลุ่มที่พักอาศัย : LPN-GOLD-SENA-PS ปรับตัวโดยเร่งทำโครงการที่ก่อสร้างเร็วเพื่อขายและโอนภายใน 6 เดือน ให้สอดรับกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ 1) ให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมโอน+จดจำนองเหลืออย่างละ 0.01% ภายใน 6 เดือน ซึ่งส่วนนี้ไม่จำกัดราคาและไม่จำเป็นต้องเป็นบ้านหลังแรก และ 2) หากเป็นบ้านราคาไม่เกิน 3ล้านบาท+เป็นหลังแรกก็สามารถนำค่าซื้อ 20% ไปทยอยคิดเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อลดหย่อนภาษีได้อีก 5 ปี ปีละเท่าๆ กัน แต่เมื่อผ่าน 6เดือนไปแล้วจะได้สิทธิประโยชน์เฉพาะข้อ 2) โดยมีผลไปจนถึงสิ้นปี 59
ความเห็นเชิงกลยุทธ์ Retail Research : เมื่อพิจารณาจากผลงานในอดีตเราเชื่อว่า LPN และ PS สามารถทำโครงการที่ก่อสร้างเร็ว โอนเร็วได้เป็นอย่างดี โดย LPN (ราคาพื้นฐาน 18.50 บาท) มีความชำนาญในการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม ส่วน PS (ราคาพื้นฐาน 30 บาท) มีระบบ Precast ที่ทำให้ก่อสร้างได้เร็วมาก
นักวิเคราะห์ & กลยุทธ์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค
[email protected]