WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
     SET Index ฟื้นตัวรอบใหม่ โดยการหนุนของหุ้นพลังงานและธนาคารพาณิชย์ วันนี้จึงมีโอกาสทดสอบ 1,425-1,430 จุด ยังเน้นหุ้นที่มีผลกำไรเด่นใน 2H58 โดยเฉพาะที่อิงท่องเที่ยว ซึ่งกำลังเข้าสู่ High season เลือก BA([email protected]) เป็น Top pick

ตราบที่ Fed ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยน่าจะหนุนเงินเอเชียแข็งค่าช่วงสั้นๆ
     ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐยังส่งสัญญาณขัดแย้งกัน กล่าวคือด้านตลาดแรงงานยังมีการฟื้นตัวที่แข็งแกร่ง กล่าวคือยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรก ณ 10 ต.ค. ลดลง 8,000 ราย อยู่ที่ระดับ 255,000 ราย ( เฉลี่ย 4 สัปดาห์ ลดลง 2,250 ราย สู่ระดับ 265,000 ราย อัตราการว่างงานปัจจุบันอยู่ที่ 5.1%) แต่อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง โดยล่าสุด เดือน ก.ย. ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 0% YoY ซึ่งต่ำกว่าเดือน ส.ค. ที่ระดับ 0.2% YoY ซึ่งหลัก ๆ เกิดจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ที่ลดลง แต่เป็นการสะท้อนกำลังซื้อของประชาชนลดลงเช่นกัน ด้วยเหตุนี้เป็นการตอกย้ำว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ภายในปีนี้เป็นไปได้ยาก (เหลือการประชุม อีก 2 ครั้งในวันที่ 27-28 ต.ค. และ 15-16 ธ.ค.) และ Fed น่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วสุดคือต้นปีนี้
       การที่ตลาดมีความคาดหวังว่า Fed จะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยทำให้ระยะสั้นๆ ค่าเงินดอลลาร์ยังมีแนวโน้มแกว่งตัวถึงอ่อนค่า เมื่อเทียบกับสกุลคู่ค้าหลักของโลก และตรงกันข้ามค่าเงินของประเทศกำลังพัฒนา หรือประเทศเกิดใหม่ มีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง แม้จะชะลอตัวลงบ้างก็ตาม (แข็งค่าในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา) โดยเฉพาะค่าเงินบาท (มีโอกาสต่ำกว่า 35 บาทต่อดอลลาร์อีกรอบ จากที่ 35.18 บาทในขณะนี้) และเงินเปโซ (ฟิลิปปินส์ มีโอกาสหลุดมาที่ 45.5-45 เปโซ จากปัจจุบันอยู่ที่ 45.8 เปโซ) น่าจะนำการแข็งค่าในภูมิภาค ขณะที่ค่าเงินริงกิต (มาเลเซีย) และรูเปียะห์ (อินโดนีเซีย) น่าจะแข็งค่าในอัตราจำกัด หลังจากที่แข็งค่ามากที่สุดในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา และถือว่าเป็นดัชนีชี้นำ Fund Flow ที่ยังจะกลับเข้ามาลงทุนในในตลาดหุ้นเอเชียอย่างต่อเนื่อง แม้อาจจะเห็นการสลับขายบ้าง

การรายงานงบ 3Q58 ตลาดหุ้นสหรัฐ มีน้ำหนักต่อตลาดหุ้นโลก
เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทย ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐกำลังอยู่ในช่วงของการรายงานงบงวด 3Q58 โดยการประกาศล่าสุดพบว่ากำไรสุทธิลดลง 5.5% ใกล้เคียงกับผลสำรวจเมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา (คาดว่าลดลง 5.1 - 5.5% yoy ซึ่งเป็นการปรับลดมุมมองที่เป็นลบมากขึ้น หลังผลการสำรวจเมื่อสิ้นงวด 2Q58 ที่คาดว่า EPS จะลดลงเพียง 1%) ผลการประกาศงบที่ออกมา พบว่ามีถึง 76 บริษัทที่มีผลกำไรลดลง มีเพียง 32 บริษัทเท่านั้นที่ผลการดำเนินงานในงวด 3Q58 ดีขึ้น หากพิจารณาเป็นรายอุตสาหกรรม พบว่ากลุ่มพลังงานมีผลกำไรลดลงมากถึง 64.3% เนื่องจากราคาน้ำมันโลกที่ลดลง ตามมาด้วยวัสดุฯ (Materials) ลดลง 18.5% และกลุ่ม Consumer Staples ลดลง 3.3% ตรงข้ามกับกลุ่ม Consumer Discretionary ที่เพิ่มขึ้นราว 9.9% เท่านั้น แต่การที่ Fed มีแนวโน้มยืดการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายออกไปอย่างน้อยอีก 3 เดือนข้างหน้า น่าจะหนุนตลาดหุ้นสหรัฐแกว่งตัวในเชิงบวก หลังจากที่มีการปรับฐานตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2557 และทำจุดต่ำสุดปลายเดือน ส.ค. ก่อนที่จะฟื้นตัวในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งช่วยหนุนตลาดหุ้นโลก

ราคาน้ำมันดิบโลกยังทรงตัว แต่คาดว่าผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว
วานนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ได้รายงานสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ สนิ้ สุด 9 ต.ค .เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่สามราว 7.56 ล้านบาร์เรล (อยู่ที่ 468 ลา้ นบาร์เรล) ซึ่งนับเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือน ตรงกันขา้ มกับสต๊อกน้ำมันสำเร็จรูปที่ลดลง อาทิ เบนซิน ปรับตัวลดลง 2.6 ลา้ นบาร์เรล ซึ่งนับเป็นการปรับลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ส.ค .(ยกเว้นน้ำมันดีเซลที่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านบาร์เรลเป็นสัปดาห์ท4ี่ ) อย่างไรก็ตามการที่สต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นนั้นเกิดจากการเข้าสู่ช่วงปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นประจำปี ทำให้ปริมาณน้ำมันดิบที่ใช้ในการโรงกลั่นลดลง ยังคงกดดันราคาน้ำมันโลกชะลอตัว โดยพบว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้าลดลงมาอยู่ที่ 46.93 เหรียญฯตอ่ บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดูไบลดลงมาอยู่ที่ 46.28 เหรียญฯต่อบาร์เรล แต่ยังคงเชื่อว่าราคาน้ำมัน ณ ระดับนี้จะเป็นจุดต่ำสุดแล้ว เพราะราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง จะกดดันให้ผู้ผลิตที่มีต้นทุนสูงอาทิ กลุ่มผู้ผลิต Shale oil และ Shale gas ให้ชะลอกำลังผลิต สะท้อนจากปริมาณการผลิตน้ำมันในสหรัฐ ลดลง76 ,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 9.1ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์ก่อน ซงึ่ น่าจะช่วยบรรเทาปัญหา Oversupply ได้ จึงยังคงแนะนำ PTT(FV@B360) ซึ่งมีการทำธุรกิจปิโตรเลี่ยมครบวงจร และมี Upside 35.85 % หาก PTT ยังฟื้นตัวต่อจากวานนี้ น่าจะหนุน SET เดินหน้าต่อได้

คาดแรงซื้อต่างชาติยังคงมีตลอดเดือน ต.ค. เช่นเดียวกับอดีต
วานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 400 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิพียงวันเดียว) แม้ยังเลือกขายสุทธิอยู่บางประเทศ คือ อินโดนีเซีย แต่ขายสุทธิเล็กน้อยราว 1 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศต่างชาติซื้อสุทธิคือ ไต้หวันซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 323 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิราว 51 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 1 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 2 วัน) ส่วนไทยต่างชาติซื้อสุทธิราว 26 ล้านเหรียญ หรือ 918 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 333 ล้านบาท ส่วนทางด้านตราสารหนี้พบว่า นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 10,061 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 11,830 ล้านบาท
คาดว่าเดือน ต.ค. นี้ กระแสเงินทุนจากต่างชาติมีแนวโน้มไหลกลับมาในตลาดหุ้นไทยเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในอดีต และยังสะท้อนสิ่งที่เห็นในขณะนี้คือ 1) ยอดซื้อสุทธิสะสมในตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค. จนถึงปัจจุบันสูงถึง 173 ล้านเหรียญ หรือ 6.2 พันล้านบาท ซึ่งเป็นเดือนที่มียอดซื้อที่สูงสุดในปีนี้ เมื่อเทียบกับ 9 เดือนที่ผ่านมา 2) ยอดซื้อสุทธิสะสมในตลาดตราสารหนี้ตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค. จนถึงปัจจุบันอยู่ที่ 6.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นเดือนที่มียอดซื้อสุทธิสะสมสูงกว่ายอดขายสุทธิสะสมในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (ยอดขายสุทธิสะสมในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2558 อยู่ที่ 4.9 หมื่นล้านบาท) ส่งผลให้ยอดซื้อตราสารหนี้ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันกลับมาเป็นบวกราว 2 หมื่นล้านบาท ด้วยแรงซื้อจากต่างชาติทั้งในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ไทย กดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยล่าสุดอยู่ที่ 35.25 บาท/ดอลลาร์

ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!