- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 08 October 2015 17:35
- Hits: 1695
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
"อาจแกว่งตัว...เลือกซื้อ/ถือเมื่อยืนเหนือ 1370"
Stock Picks-Oct 2015 : Fundamental : AOT, BBL, CK, CPNRF, LPN
Fundamental Pick -Today: MINT
(ดูรายละเอียดด้านใน)
Top Picks-High Div Yield : ADVANC, INTUCH, BTS, DCC, AP, QH, SPALI, SNC, MODERN, TCAP, TISCO, TMT, BTSGIF, CPNRF, SPF
Shot Sell-Prev : M 16%, STEC 11%, CBG 10%
Technical View ภาพตลาดเป็นบวก แต่ระวังการอ่อนตัวลงจากแรงขายทำกำไร
Support Resistance Stop loss
SET ซื้อค่าบวก 1400,1410-20 ต่ำกว่า 1370
SET50 ซื้อบวก 910-920,930 ต่ำกว่า 890
Technical Picks- Today : TMB, TPIPL, CPN, SAMART, MAJOR, EA, CENTEL, CPALL
หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : ดัชนีตลาดหุ้นไทยบวกแรงในช่วงท้ายวัน ปิดตลาด SET Index ปรับขึ้น 22.97 จุด ที่ 1393.66 จุด โดยนักลงทุนกลับเข้ามาซื้อหุ้นในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี หลังจากราคาน้ำมันดิบขยับขึ้นเพราะปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐลดลงเป็นลำดับ จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันลดลงต่อเนื่องมาแล้ว 5 สัปดาห์สู่ระดับ 614 แท่น และลงมากว่าครึ่งหนึ่งจากช่วงสูงสุดที่มากกว่า 1200 แท่น รวมทั้งคาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น ยูโรโซน และจีน พร้อมที่จะใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะต่อไป นักลงทุนสถาบันในประเทศ ต่างชาติ และพอร์ตบล.ซื้อสุทธิกลุ่มละ 1 พันกว่าล้านบาท รายย่อยขายสุทธิ 4.3 พันล้านบาท
สำหรับ วันนี้ ตลาดมีโอกาสขยับขึ้นต่อแต่ระยะทางของการปรับขึ้นอาจจำกัดลงจากแรงขายทำกำไรระยะสั้นที่สลับออกมาหลังจากมีการปรับพอร์ตลงทุนในหุ้นตอบรับการเปลี่ยนแปลงกระแสคาดการณ์เรื่องอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐไปพอควรแล้ว ปัจจัยจับตา คือ ผลการประชุมและถ้อยแถลงของเฟดในวันที่ 16.-17 ต.ค.นี้ ว่าจะส่งสัญญาณทิศทางอัตราดอกเบี้ยอย่างไร ส่วนเรื่อง TPP คาดว่าจะกระทบต่อภาคส่งออกของไทยในระยะสั้นไม่มากเพราะไทยมี FTA กับ 9 ใน 12 ประเทศที่เป็นสมาชิก TPP และยังได้ GSP สินค้ากว่า 3 พันรายการถึงปี 60 แต่ในระยะยาวอาจได้รับผลกระทบถ้าไม่ได้ปรับตัวรองรับ สำหรับผลประกอบการ 3Q58 คาดว่าจะอ่อนลง QoQ โดยหลักมาจากผลขาดทุนในสต็อกของกลุ่มโภคภัณฑ์ ขณะที่อุปสงค์ในประเทศยังซบเซา กลุ่มที่มีแนวโน้มดีชัดเจนในช่วง 1-2 ไตรมาสข้างหน้า คือ ท่องเที่ยว หุ้นพื้นฐานแนะนำวันนี้เป็น MINT
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ภาพตลาดวันนี้เป็นบวก แต่ควรระวังการแกว่งลงตามมา แนวต้านระยะสั้น 1400, 1410-1420 จุด การซื้อใหม่เน้นตามด้วยค่าบวก ค่าลบ/ต่ำกว่า 1370 จุด ดูไม่ดี สำหรับหุ้นที่มีสัญญาณทางเทคนิคดี สามารถเลือกซื้อเก็งกำไรระยะสั้น (แต่ไม่บวกไม่เล่น) หุ้นที่เข้ามาใหม่ได้แก่ CK, TMB, SAMART, ANAN ส่วนหุ้นที่แนะนำไปแล้วและอยู่ใน List ต่อ คือ SIM, CPN, AUCT ส่วนหุ้นที่ปรับขึ้นมาแล้ว & อยู่ในพื้นที่ Take Profit เป็น AAV, SCCC, IRPC, CPALL
Market Drivers
ปัจจัยต่างประเทศ & ราคาโภคภัณฑ์
สหรัฐ : ปัจจัยจับตาคือ การประชุม FOMC วันที่ 16-17 ต.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม กระแสคาดการณ์ขณะนี้ประเมินว่าเฟดจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.59 จากเดิมที่คาดว่าจะเป็นเดือนต.ค.หรือธ.ค.58 ทั้งนี้เพราะเศรษฐกิจสหรัฐเติบโตชะลอตัวลง และเศรษฐกิจโลกยังซบเซา ล่าสุด IMF ประกาศปรับลดคาดการณ์ Global GDP Growth เป็น 3.1% จากเดิม 3.3% สำหรับปี 58 เนื่องจากราคาพลังงานและโภคภัณฑ์ลดลงมาก และสหรัฐกำลังดำเนินการเพื่อเข้าสู่ภาวะนโยบายการเงินปกติ
+ สหรัฐ : Moody's คงอันดับเครดิตสหรัฐไว้ที่ Aaa ซึ่งเป็นอันดับสูงสุดของการจัดอันดับของ Moody's และให้แนวโน้มมีเสถียรภาพ (Stable) บ่งชี้ว่าอันดับเครดิตสหรัฐอาจไม่มีการปลี่ยนแปลงในช่วง 12-18 เดือนข้างหน้า สำหรับปัจจัยจับตาและอาจเป็นความเสี่ยงที่ทำให้ Moody's ปรับลดอันดับเครดิตสหรัฐลง คือ การขาดดุลงบประมาณจำนวนมาก และหนี้สินที่เพิ่มขึ้น
+ จีน : คาดทางการจีนจะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม หลังจากเศรษฐกิจชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตได้ 6.5-7.5% ในปี 58 (ค่ากลางคือ 7%) หลังจากรัฐบาลประกาศใช้มาตรการด้านการคลังต่างๆ ที่ได้ออกไปแล้ว และการเร่งลงทุนในโครงสร้างขั้นพื้นฐาน
+ IMF เห็นด้วยกับการที่ทางการจีนปรับสมดุลเศรษฐกิจ ด้วยการลดส่งออกและการลงทุนภาครัฐไปสู่การบริโภคภายใน ลดภาคการผลิตเพิ่มภาคบริการ ซึ่งเป็นผลดีกับเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจโลกในระยะยาว โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา
ญี่ปุ่น : ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงใช้นโยบายเพิ่มฐานเงินที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี ผ่านทางโครงการซื้อสินทรัพย์ สำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่น ทาง BOJ ประเมินว่ามีการฟื้นตัวในระดับปานกลาง แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำมากก็ตาม
+ ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นต่อ ดัชนีดาวโจนส์ปิด +122.10 จุด หนุนนำโดยหุ้นกลุ่มพลังงาน เหมืองแร่ และเทคโนลียีชีวภาพ รวมทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนลง
-/ สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐปรับขึ้นเกินคาดในสัปดาห์ก่อน โดยเพิ่ม 3.1 ล้านบาร์เรล เป็น 461 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะเพิ่ม 2.5 ล้านบาร์เรล และ EIA ระบุด้วยว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐเพิ่มขึ้น 76,000 บาร์เรล สู่ระดับ 9.172 ล้านบาร์เรลต่อวันในสัปดาห์ก่อน
อย่างไรก็ตาม ปริมาณการผลิตดังกล่าวยังต่ำกว่าปริมาณการผลิตน้ำมันเฉลี่ยของสหรัฐที่ EIA คาดการณ์ไว้สำหรับปี 58 ที่ 9.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน และสำหรับปี 59 ที่ 8.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน
- ราคาน้ำมันดิบร่วงหลังสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐเพิ่มมากกว่าคาด โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย.ลดลง 72 เซนต์ หรือ 1.5% ปิดที่ 47.81 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วน BRENT ลดลง 59 เซนต์ หรือ 1.1% ปิดที่ 51.33 ดอลลาร์/บาร์เรล…ควรระวังแรงขายทำกำไรระยะสั้นในหุ้นกลุ่มพลังงาน
+ ธนาคารกลางหลายประเทศเข้าซื้อทองคำในช่วงก.ค.-ส.ค.58 สภาทองคำโลกเผยว่าธนาคารกลางหลายแห่งเข้าซื้อทองคำต่อในเดือนส.ค.58 รวม 47 ตัน เพื่อเสริมทุนสำรองระหว่างประเทศ หลังจากมีการเข้าซื้อ 62 ตันในเดือนก.ค.58 ทั้งนี้จีนและรัสเซียเป็นผู้ซื้อรายใหญ่สุด โดยเป็นการซื้อทองคำเพื่อไปชดเชยกับการลดการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐ สำหรับสัญญาทองคำ COMEX เมื่อคืนนี้ขยับขึ้น 2.30 ดอลลาร์ ปิดที่ 1148.70 ดอลลาร์/ออนซ์
ปัจจัยในประเทศ & ข่าวเด่น
/- ก.พาณิชย์ยังไม่ระบุผลกระทบ TPP ต่อไทย นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยถึงการบรรลุข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจกลุ่มทราน-แปซิฟิก (TPP) ของสมาชิก 12 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ สหรัฐ และเวียดนาม ว่าขณะนี้ยังไม่ทราบว่าข้อตกลงดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อไทยอย่างไร เพราะกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเพิ่งส่งรายงานผลการประเมินเบื้องต้น และร่างข้อตกลงสุดท้ายของ TPP ก็ยังไม่เสร็จสิ้น
ความเห็นเชิงกลยุทธ์ : เราเห็นว่า TPP อาจมีผลกระทบระยะยาวต่ออุตสาหกรรมส่งออกของไทย เช่น สิ่งทอ & เครื่องนุ่งห่ม, สินค้าเกษตร, ยานยนต์และชิ้นส่วน, อาหารแปรรูป เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นคาดว่าจะยังไม่กระทบมากนัก เพราะไทยมี FTA กับประเทศ 9 ใน 12 ที่เป็นสมาชิกของ TPP ยกเว้นสหรัฐ, แคนาดา และเม็กซิโก รวมทั้งสินค้าส่งออกไทยราว 3 พันรายการ (ภายใต้กลุ่มเซรามิค, สุขภัณฑ์, อาหารแปรรูป ฯลฯ) ยังได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี GSP ไปถึงปี 60
+/- เงินบาทแข็งค่าขึ้นหลังคาดว่าเฟดจะเลื่อนการเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไป ล่าสุดเช้าวันนี้อยู่ที่ 35.89 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ หลังจากขึ้นไปสูงสุดที่ 36.64 บาท/ดอลลาร์ในวันที่ 2 ต.ค.58
ความเห็นเชิงกลยุทธ์ : เราคาดว่าทิศทางค่าเงินบาทในระยะสั้นจะเป็นการแข็งค่าขึ้นจากต้น 4Q58 เพราะกระแสคาดการณ์เรื่องอัตราดอกเบี้ยสหรัฐที่เปลี่ยนไป ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนลงในช่วงสั้นและมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นช้าลง ค่าเงินบาทก็มีแนวโน้มในทิศทางกลับกันกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นใน 4Q58 คาดว่ากลุ่มส่งออกของไทยจะถูกกระทบจากปริมาณการส่งออกที่ลดลงตามฤดูกาล (ปกติ 4Q จะอ่อนลงจาก 3Q ซึ่งเป็นช่วง Peak Season ของการส่งออกอยู่แล้ว) และเมื่อแปลงเป็นเงินบาทก็จะอ่อนลงตามค่าเงินอีกด้วย เราให้น้ำหนักการลงทุนกลุ่มส่งออกเป็น Neutral หุ้นเด่น คือ KCE โดยปัจจัยหนุนคือการใช้กำลังการผลิตโรงงานใหม่ที่เพิ่มเป็นลำดับ และโรงงานใหม่ได้มาร์จิ้นดีเพราะเป็นเครื่องจักรใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง
/+ ออมสินคาดวงเงินกู้ซอฟท์โลน 1 แสนล้านบาทจะหมดภายในธ.ค.58 นี้ ธนาคารออมสินเปิดเผยยอดการปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำหรือซอฟต์โลนวงเงินกู้ 1 แสนล้านบาท ที่อัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปี ว่าล่าสุดสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 18 แห่งได้ยื่นเรื่องขอกู้และได้ปล่อยกู้ไปแล้ว 9,600 ล้านบาท และคาดว่าภายในสิ้นเดือน ต.ค.นี้จะมียอดการอนุมัติวงเงินไม่น้อยว่า 40,000-50,000 ล้านบาท และภายในสิ้นเดือน ธ.ค.นี้วงเงินกู้ 1 แสนล้านบาทจะหมดเอย่างแน่นอน
นักวิเคราะห์ & กลยุทธ์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค
[email protected]