WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
        ดอลลาร์อ่อนค่าตามคาดหวังว่า FED จะยืดการขึ้นดอกเบี้ยไปเป็นต้นปีหน้า และปริมาณผลิตน้ำมันดิบโลกมีแนวโน้มลดลงจากแท่นขุดเจาะในสหรัฐที่ลดลง และปัญหาแหล่งผลิตหลัง รัสเซียโจมตีซีเรีย หนุนราคาน้ำมัน บวกต่อ PTT(FV@B360) เลือกเป็น Top pick คู่กับ KBANK(FV@B232)

ไม่แปลกใจที่ธนาคารโลกตัด GDP Growth ไทยเหลือ 2.5% ปีนี้
     วานนี้ ธนาคารโลก (World Bank) มีการปรับคาดการณ์ GDP Growth ของไทยลงสู่ 2.5% ในปี 2558 (เดิมคาดไว้ที่ 3.5% ในเดือน
มิ.ย.58 ) และ 2% ในปี 2559 (เดิมคาดไว้ที่ 4 %) และในปี 2560 จะขยายตัว 2.4% (เดิมคาดไว้ที่ 4 %) เหตุผลหลักในการปรับการคาดการณ์ครั้งนี้เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะจีนซึ่งเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว (มีการปรับ]f GDP Growth ลงเหลือ 6.9% ในปี 2558 (เดิมคาดไว้ที่ 7.1%) และ 6.7% ในปี 2559 (เดิมคาดไว้ที่ 7%) โดยให้น้ำหนักปี 2558 เติบโตดีกว่าปี 2559 เพราะคาดว่าจะได้รับแรงหนุนจากการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐ และการขยายตัวของภาคท่องเที่ยว
     อย่างไรก็ตาม การปรับการคาดการณ์ลงในปีนี้สอดคล้องกับนักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักที่ได้ปรับลดลงไปก่อนหน้านี้ และสอดคล้องกับ ASPS ซึ่งคาดการณ์ GDP Growth ในปี 2558 เท่ากับ 2.7% โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น ซึ่งคาดว่าได้ทยอยอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบตั้งแต่ปลายเดือน ก.ย. เป็นต้นไป น่าจะเห็นผลชัดเจนขึ้นในงวด 4Q58 แต่อย่างไรก็ตาม ในปี 2559 นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ประเมิน GDP Growth ของไทยเฉลี่ย 3.5-4% เช่นเดียวกับ ASPS มองว่า GDP Growth ขยายตัวได้ 3.8% (อ่านรายละเอียดใน Economic Update 17 ก.ย. 2558) ซึ่งสวนทางกับธนาคารโลกที่คาดการณ์เศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวลงจากปี 2558
การที่ World bank คาดการณ์ GDP Growth ที่ลดต่ำลงในปี 2558 ถือว่าตลาดได้รับรู้ไปแล้ว จึงไม่น่าจะมีน้ำหนักต่อตลาด แต่อย่างไรก็ตามในปี 2559 หากเศรษฐกิจไทยไม่สามารถเติบโตได้ได้ตามที่คาดการณ์กันไว้ และกลับปรับตัวลดลงตามที่ World bank คาดการณ์ จะถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อตลาดหุ้น ซึ่งคงต้องติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐจะเดินหน้าอย่างต่อเนื่องได้หรือไม่

หลายปัจจัยหนุนราคาน้ำมันโลกฟื้นตัวระยะสั้นๆ
      แนวโน้มที่ Fed จะเลื่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ ออกไปอย่างน้อยในระยะ 3 เดือนข้างหน้า ถือเป็นปัจจัยกดดันเงินดอลลาร์หยุดแข็งค่า และกลับมาแกว่งตัวในทิศทางอ่อนค่า (สะท้อนจาก Dollar Index ปรับตัวอ่อนค่าลงในระยะสั้นราว 0.4%) ทั้งนี้ภายหลังจากการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่ต่ำกว่าตลาดคาด ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วย หนุนให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ฟื้นตัวระยะสั้น อาทิ ทองคำ ปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 1.85% ตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค. ราคาน้ำมันดูไบที่ปรับระดับอยู่ที่46.70 เหรียญฯร์ต่อบาร์เรล หรือเพิ่มขึ้น 2.2% ตั้งแต่ต้นสัปดาห์
นอกจากนี้จากปัจจัยด้านการผลิตน้ำมันดูจะลดแรงกดดันในเรื่อง oversupply ลง โดยเฉพาะหลังจากผู้ผลิตน้ำมันที่มีต้นทุนการผลิตน้ำมันสูงอย่างสหรัฐ ได้ทยอยปรับลดกำลังการผลิต สะท้อนจากการจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ในสหรัฐ (ผู้ผลิต shale gas และ shale oil) ลดลงเหลือ 640 หลุมจาก 644 หลุม ทำให้ตัวเลขปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน เหลือ 9.1 ล้านบาร์เรล และปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลาง หลังจากที่รัสเซียเข้าโจมตี ซีเรีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบรายหนึ่งในตะวันออก ล้วนกดดันให้ราคาน้ำมันโลกฟื้นตัวช่วงสั้นๆ กล่าวคือราคาน้ำมันดิบดูไปล่าสุดอยู่ที่ 46.70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดที่ 42 เหรียญฯต่อบาร์เรลเมื่อปลายเดือน ก.ย. และพบว่าราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยจากต้นปีจนถึงปัจจุบันอยู่ที่ราว 54.48 เหรียญฯต่อบาร์เรล เทียบกับสมมติฐานที่กำหนดไว้ในปี 2558 ที่ 53 เหรียญฯต่อบาร์เรล นั่นหมายความว่าในช่วงที่เหลืออีก 3 เดือนของปีนี้ราคาน้ำมันดิบดูไบต้องมีค่าเฉลี่ย 48.56 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งดูแล้วมีความเป็นไปได้สูง ในสถานการณ์นี้ถือว่าดีต่อ PTTEP(FV@B94) ซึ่งเป็นผู้ผลิตและสำรวจปิโตรเลี่ยม ตามมาด้วย PTT(FV@B360) ซึ่งทำธุรกิจปิโตรเลี่ยมครบวงจร กล่าวคือถือหุ้น PTTEP 65.2% และยังถือหุ้นโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีอีกหลายแห่งคือ TOP(FV@B56) ถือหุ้น 49.1% PTTGC(FV@B67) 48.9% และ IRPC([email protected]) 38.5% เป็นต้น จะเห็นว่าราคาหุ้นของโรงกลั่นส่วนใหญ่เต็มมูลค่ายกเว้น IRPC ที่ยังมี upside 45% ขณะที่หุ้น PTT, PTTEP ยังมี upside และ laggard มาก ในสถานการณ์นี้จึงแนะนำให้ switch จากหุ้นโรงกลั่นมายัง PTT, PTTEP และ IRPC

ต่างชาติสลับมาขายหุ้นไทยเล็กน้อย
     วานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ราว 56 ล้านเหรียญ โดยเลือกขาย 2 ประเทศคือ ไต้หวัน (ขายสุทธิราว 78 ล้านเหรียญ ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) และไทย สลับมาขายสุทธิราว 6 ล้านเหรียญ หรือ 210 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 2 วัน) ที่เหลืออีก 3 ประเทศซื้อสุทธิคือ อินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 23 ล้านเหรียญ รองลงมาคือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิราว 3 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) และฟิลิปปินส์ถูกซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 2 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4)
      ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิตลาดหุ้น 170 ล้านบาท หลังจากที่ซื้อสุทธิเล็กน้อยใน 2 วันก่อนหน้า ตรงข้ามกับตลาดตราสารหนี้ พบว่า นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 13,486 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 1,452 ล้านบาท

ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!