WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
      มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจความชัดเจนมากขึ้น และยังเพิ่มมาตรการช่วยเหลือผู้ซื้อบ้านด้วยการลดภาษีการโอนและจดจำนอง ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยหนุนหุ้นพัฒนาบ้านขาย คาดว่าหุ้นที่น่าจะได้ประโยชน์มากสุดคือ SPALI([email protected]) จึงเลือกเป็น Top Pick ยังมี Yield สูง และ PER ต่ำสุด

หลังปรับฐานดัชนีมีโอกาสฟื้นตัวรอบใหม่ หากมั่นใจแผนกระตุ้นยังเดินหน้า
       หลังจากที่ดัชนีตลาดหุ้นได้ฟื้นตัวจาก 1,300 จุด (24/8/58) ขึ้นมาที่ 1,396 จุด (9/9/58) หรือเพิ่มขึ้น 7.4% ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์จากแรงหนุนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐที่ได้ทยอยประกาศทั้งระยะสั้นและระยะยาว ภายหลังจากมีการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรี โดยมี ดร. สมคิดฯ เป็นรองนายกฯ และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตามดัชนีตลาดหุ้นไทยไม่สามารถผ่านแนวต้านดังกล่าวได้ และมีการปรับฐานตลอดเดือน ก.ย. ด้วยความกังวลว่าการเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจอาจจะล่าช้า แต่อย่างไรก็ตามขณะที่การเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ เริ่มเห็นเป็นรูปมากขึ้น ทั้งคณะรัฐมนตรี ได้ทยอยอนุมัติโครงการลงทุนสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และ ยังอนุมัติมาตรการช่วยเหลือผู้ซื้อบ้าน โดยการเสนอให้ลดภาษีการโอนและจำนอง ซึ่งเชื่อว่าตลาดน่าจะมีโอกาสกลับมาฟื้นตัวได้อีกรอบหนึ่ง โดยล่าสุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับลดลงมาอยู่ที่ 1349 จุด (มี expected PER 15 เท่า) เทียบกับดัชนีเป้าหมายสิ้นปี 1,480 จุด ทำให้ดัชนียังมี upside ราว 9.7% โดยกลยุทธ์แนะนำให้เลือกลงทุนรายหุ้นในกลุ่ม Domestic Play ที่ได้ประโยชน์จากมาตรการส่งเสริมภาครัฐ SCC (FV@B580), CK ([email protected]), TCAP ([email protected]), KBANK (FV@B232), SPALI([email protected])

การขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐยังล่าช้าตราบที่ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังขัดแย้ง
      วานนี้มีการรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐยังมีแนวโน้มฟื้นตัว แต่ยังมีความขัดแย้งอยู่ กล่าวคือ ภาคแรงงานยังมีการฟื้นตัวแข็งแกร่ง สะท้อนจากการจ้างงานนอกภาคการเกษตร เดือน ก.ย. เพิ่มขึ้น 10,000 ราย (ที่ระดับ 200,000ราย) เพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า (แม้ว่าอาจจะมีการเพิ่มขึ้น) และเป็นการเพิ่มขึ้น 3 เดือนติดต่อกัน ซึ่งน่าจะทำให้ Fed บรรลุเป้าหมาย อัตราการว่างงานที่ 5% ได้ (ปัจจุบันอยู่ที่ 5.1%) แต่อย่างไรก็ตามยังมีความขัดแย้งกับภาคการผลิตที่ชะลอตัวลง ล่าสุดมีการรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของชิคาโก อยู่ที่ระดับ 48.7 ลดลง หดตัวจากเดือนส.ค.ซึ่งอยู่ที่ 54.4 จากดัชนีชี้วัดข้างต้นที่ยังขัดแย้งกัน ซึ่งทำให้ ASPS คาดว่าโอกาสการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed น่าจะยืดออกไปเป็นปลายปีนี้หรือต้นปี 2559 มีน้ำหนักมากขึ้น (ขณะที่ยังเหลือ


การประชุม อีก 2 ครั้ง ในเดือน ต.ค. และ ธ.ค.)
      ส่วนไทยนั้นล่าสุด สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ส.ค. ติดลบ 8.3 % เป็นการติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 (สูงสุดในรอบ 17เดือน) อย่างไรก็ตาม ASPS เชื่อว่า ภาคการผลิตน่าจะเป็นจุดต่ำสุดแล้ว เพราะเชื่อว่า หลังจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ได้มีการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบตั้งแต่ปลายเดือน ก.ย. เป็นต้นไป น่าจะทำให้ เห็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และการลงทุนได้ชัดเจนขึ้น และน่าจะหนุนให้ GDP Growth มีแนวโน้มฟื้นตัวในงวด 4Q58เป็นต้นไป ซึ่ง ASPS ประเมินว่าจะเติบโตในระดับ 2.6% เทียบกับงวด 3Q58 ที่ประเมินว่าจะอยู่ที่ 2.3% ทั้งปี 2558 คาดว่า GDP Growth จะอยู่ 2.7% และจะมีแนวโน้มดีขึ้นเป็น 3.8% ในปี 2559

มาตรการลดภาษีอสังหาฯ - เปิดประมูลเมกะโปรเจกต์ มีส่วนกระตุ้นบรรยากาศการลงทุน
      ตามที่รัฐบาลเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจผ่านมาตรการระยะสั้น และยาว โดยเฉพาะการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล ที่ได้เร่งดำเนินการพิจารณาอนุมัติเพื่อให้การลงทุนโครงการเมกะโปรเจ็คมีความชัดเจนมากขึ้น โดยโครงการลงทุนขนาดใหญ่ 17 โครงการ มูลค่ารวม 1.6 ล้านล้านบาทนั้น ขณะนี้มี 8 โครงการที่ได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ประกอบด้วย 1) ถนนมอเตอร์เวย์ 3 เส้นทาง 2) รถไฟทางคู่ 2 เส้นทาง 3) โครงการด้านการพัฒนาท่าเรือ 2 โครงการ และ 4) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส 2 และ โครงการที่ได้รับอนุมัติแล้วได้มีการเปิดขายซองประกวดราคาไปแล้ว คือ โครงการรถไฟทางคู่ช่วงแก่งคอย-ฉะเชิงเทรา และช่วงจิระ-ขอนแก่น ซึ่งน่าจะเริ่มขายซองในวันที่ 2 ต.ค. นี้
ส่วนโครงการที่คาดว่าขายซองประกวดราคาหลังจากนี้ คือ ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร และนครปฐม-หัวหิน ส่วนโครงการที่เหลืออีก 9 โครงการ (ประกอบไปด้วยโครงการรถไฟฟ้า 5 โครงการ รถไฟทางคู่ 2 โครงการ และรถไฟความเร็วสูงอีก 2 โครงการ) จะทยอยเปิดประมูลในปี 2559-2560 ประเด็นดังกล่าวสร้างกระแสเชิงบวกต่อกลุ่มรับเหมาก่อสร้างที่จะมีงานเข้ามาหล่อเลี้ยงต่อเนื่องไปอีกหลายปี แต่เนื่องจากตลาดได้รับรู้ข่าวดังกล่าวไปค่อนข้างมากแล้ว จึงแนะนำซื้อเมื่ออ่อนตัว โดยเลือก CK (FV@B 31.25) เป็น Top Pick
      นอกจากนี้ กระทรวงการคลังเตรียมพิจารณามาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย และมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ภายในสัปดาห์นี้และจะเสนอเข้าที่ประชุม ครม. ในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ หากจะพิจารณาถึงผลของมาตรการออกมาพอสรุปได้ดังนี้
การปรับลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ : ปกติจัดเก็บในอัตรา 2% ของราคาประเมิน แบ่งเป็นภาระของผู้ซื้อ และผู้ขาย ฝ่ายละ 1% หากมีการปรับลดลง ก็จะทำให้ภาระของผู้ซื้อลดลงประมาณ 0.6% ของราคาซื้อบ้าน ขณะที่ผู้ประกอบการก็จะมี Norm Profit Margin ก่อนหักภาษีเพิ่มขึ้นราว 0.6% เช่นกัน
      การปรับลดค่าธรรมเนียมจดจำนอง : ปกติจัดเก็บจากผู้ซื้อบ้านในอัตรา 1% ของวงเงินที่ผู้ซื้อบ้านต้องการกู้จากสถาบันการเงิน โดยที่ฝ่ายผู้ประกอบการไม่มีภาระต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ดังนั้นหากปรับลดลงเหลือ 0.01% ผลประโยชน์ที่ได้ก็จะตกอยู่กับฝ่ายผู้ซื้ออย่างเดียว ทั้งนี้คาดว่ามาตรการดังกล่าวน่าจะครอบคลุมบ้านทุกระดับราคาฝ่ายวิจัยประเมินกลุ่มที่ได้ประโยชน์มากสุด คือ
1) กลุ่มบริษัทที่มีสต๊อกบ้านสร้างเสร็จพร้อมขาย ซึ่งโดยปกติจะสามารถโอนฯ ได้ระยะสั้น 1.5-2 เดือน รวมถึงการระบายสต๊อกคอนโดฯ ที่สร้างเสร็จ พร้อมโอนฯ จะทำให้ได้ง่ายขึ้น โดย ณ สิ้น 2Q58 ผู้ประกอบการ 15 รายภายใต้ coverage มีสต๊อกสินค้าสร้างเสร็จพร้อมขายและรับรู้รายได้ทันทีราว 4 หมี่นล้านบาท
2) กลุ่ม Backlog ของผู้ประกอบการ 15 ราย ที่จะรอโอนฯ ใน 2H58 อีก 9.3 หมื่นล้านบาท โดยผู้ประกอบการที่มี Backlog สะสม
อยู่ในระดับสูงเช่น SIRI, PS, SPALI ,ANAN, LPN เป็นต้น
3) ผู้พัฒนาบ้านพร้อมอยู่ เนื่องจากสามารถขายบ้านใหม่ได้ทันในช่วงอายุมาตรการ สำหรับหุ้นที่ฝ่ายวิจัยเลือกเป็น Top Pick ใน
กลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัยได้แก่ SIRI ([email protected]), PS (FV@B 34.46), SPALI (FV@B 27.57) และ SC ([email protected])(อ่านรายละเอียดได้จาก News Plus กลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย ได้ในวันนี้)

ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคทั้ง 4 ประเทศ ยกเว้นไทย
      วานนี้นักลงทุนต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 114 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 5 วัน) เป็นการซื้อสุทธิอยู่ 4 ประเทศ นำโดยเกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 108 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 5 วัน) รองลงมาคือ อินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิราว 20 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 10 วัน) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ถูกซื้อสุทธิราว 5 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 6 วัน) และไต้หวันถูกซื้อสุทธิราว 10 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 3 วัน) ตรงข้ามกับไทยที่ต่างชาติยังคงขายสุทธิราว 33 ล้านเหรียญ หรือ 1,210 ล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกัน 6 วัน โดยมียอดขายรวมสูงถึง 1.6 หมื่นล้านบาท) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศขายสุทธิราว 487 ล้านบาท
สรุปแรงซื้อขายจากต่างชาติในเดือน ก.ย. พบว่า นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิสะสมในตลาดหุ้นภูมิภาคราว 3.4 พันล้านเหรียญ และเป็นการขายต่อเนื่องเดือนที่ 4 โดยมียอดขายสุทธิสะสมรวมสูงถึง 2.0 หมื่นล้านเหรียญ ส่งผลให้ยอดซื้อสะสมตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันติดลบราว 1.2 พันล้านเหรียญ จากยอดซื้อสะสมที่เคยสูงถึง 1.8 หมื่นล้านเหรียญ (ตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือน พ.ค.) และหากพิจารณาเป็นรายประเทศ พบว่า ในเดือน ก.ย. นั้นเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 1.6 พันล้านเหรียญ ตามมาด้วย ฟิลิปปนส์, ไทย, อินโดนีเซีย และไต้หวัน ถูกขายสะสมสุทธิราว 706 ล้านเหรียญ, 584 ล้านเหรียญ, 498 ล้านเหรียญ และ 41 ล้านเหรียญ ตามลำดับ
     ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 11,658 ล้านบาท ตรงข้ามกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 426 ล้านบาท ส่วนค่าเงินบาทล่าสุดอยู่ที่ 36.36 บาท/ดอลลาร์

ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!