- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 28 September 2015 16:52
- Hits: 1199
บล.อาร์เอชบี โอเอสเค (ประเทศไทย) : Market Comment
กดดันจากแรงขายของต่างชาติอยู่
ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดบวก แรงหนุนจาก GDP สหรัฐฯ ในไตรมาส 2 ที่ขยายตัว 3.9% สูงกว่า 3.7% ในครั้งก่อน ทำให้ DOW JONES, NASDAQ, S&P500 ปิด 0.70%, -1.01%, -0.05%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก หลังเฟดสร้างความมั่นใจให้ตลาดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้ ทำให้ DAX, FTSE, CAC40, FTMIB ปิด 2.77%, 2.47%, 3.07%, 3.68%
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 0.79 ดอลลาร์ ปิดที่ 45.70 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 0.43 ดอลลาร์ ปิดที่ 48.60 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังมีรายงานแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง
ตลาดหุ้นไทยวันศุกร์ที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นลงในกรอบแคบ ๆ ในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นเอเซียที่ผันผวนเช่นกัน หลังประธานเฟดได้กล่าวสุนทรพจน์ที่รัฐแมสซาชูเซตส์ ในหัวข้อ “พลวัตเงินเฟ้อและนโยบายการเงิน” โดยระบุว่ามีแนวโน้มที่จะมีความเหมาะสมในการเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับมาสู่เป้าหมายที่ 2% ในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า ปัจจุบันเจ้าหน้าที่เฟดส่วนใหญ่ต่างคาดถึงการเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ในขณะที่ปัจจัยภายในประเทศนั้นธปท. ได้ปรับลดเป้าหมายอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ GDP ของไทยในปีนี้และปีหน้าลงมาที่ระดับ 2.7% และ 3.7% ตามลำดับ จากประมาณการณ์ครั้งก่อนที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 3% และ 4.1% ซึ่งเป็นผลมาจากแนวโน้มการส่งออกสินค้าของไทยที่คาดว่าจะหดตัว 5% จากเดิมที่คาดว่าจะหดตัวราว 1.5% จากความต้องการที่ลดลงตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะจีนและตลาดในเอเซีย แต่ธปท. คาดว่าปีหน้าการส่งออกของไทยจะกลับมาขยายตัวได้ 1.2% จากเดิมที่คาดว่าจะหดตัวราว 2.5% และการใช้จ่ายภาคเอกชนที่อ่อนแอลงเป็นสำคัญตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ช้ากว่าคาด โดยคาดว่าการลงทุนภาคเอกชนในปีนี้จะหดตัว 0.5% จากเดิมที่คาดว่าจะหดตัวราว 2.7% แต่ปีหน้าคาดว่าจะขยายตัวได้ 5.4% จากเดิมที่คาดว่าจะหดตัว 6.3% ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐยังมีส่วนในการช่วยพยุงเศรษฐกิจทั้งการใช้จ่ายในโครงการลงทุนและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาเพิ่มเติม ส่วนการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่องก็มีส่วนหนุนให้เศรษฐกิจไทยทรงตัว ทั้งนี้ยังมีประเด็นสำคัญที่กนง. ติดตามอยู่ เช่น เศรษฐกิจจีนและเอเซีย การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ความต่อเนื่องในการใช้จ่ายของภาครัฐ เป็นต้น ทั้งนี้ประเด็น SSI นั้น เจ้าหนี้ทั้งหมดเตรียมเดินทางไปที่อังกฤษ เพื่อหารือกับผู้บริหาร SSI UK ในการร่วมมือกันฟื้นฟูกิจการ ทางด้านมูดี้ส์ ปรับความน่าเชื่อถือของ KTB และ SCB เป็นอยู่ในขั้นติดลบหรือมีโอกาสที่จะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลง 50% ในระยะเวลา 3 เดือนนับตั้งแต่ประกาศ หลังธนาคารทั้งสองต้องตั้งสำรองหนี้ของของ SSI ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของหนี้ที่อาจกลายเป็นหนี้เสียในภาคส่วนเอกชนขนาดใหญ่ยังทำให้ต้นทุนในการกู้ยืมของธนาคารไทยปรับตัวสูงขึ้น ในประเด็นนี้คาดว่าราคาหุ้นของกลุ่มเจ้าหนี้ที่ปรับตัวลงก่อนหน้านี้ อาจจะยังรับข่าวนี้ไม่หมด มีโอกาสผันผวนลงต่อได้ในระยะสั้น ส่วนแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้คาดว่าน่าจะมีเรื่องการทำราคาปิดสิ้นงวดบัญชีไตรมาส 3 เข้ามาบ้าง แต่ทิศทางหลักยังไม่ชัดเจนในแง่การฟื้นตัว กดดันจากแรงขายต่างชาติอยู่
กลยุทธ์การลงทุน
Trading : ไม่ต่่ำกว่าระดับ 1,360 จุด แนะนำ เก็งกำไรได้
Saravut Tachochavalit, Analyst TEL : +66 (0) 2682 9754 Ext. 9754 EMAIL : [email protected]