- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 22 September 2015 17:57
- Hits: 1650
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่เบาบาง และค่า Current PER ที่ขึ้นมาอยู่เหนือ 16 เท่า น่าจะทำให้ SET Index ยืนอยู่ที่ระดับเหนือ 1,400 จุดได้ค่อนข้างยาก สำหรับตัวเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ ยังเลือก CK([email protected]) และ TCAP([email protected]) เป็น Top picks ขณะที่กลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัยฯ มีหลายบริษัทที่น่าติดตามอย่างเช่น SIRI, SPALI, PS
ปัญหากดดัน SSI น่าจะสะท้อนผ่านราคาหุ้น ธ.พ. ไปแล้ว
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยถูกกดดันจากกลุ่ม ธ.พ. โดยเฉพาะ SCB, KTB และ TISCO ที่ได้รับ Sentiment เชิงลบจากแผนปรับโครงสร้างธุรกิจของ SSI ที่ให้โรงงาน SSI-UK หยุดผลิตชั่วคราว นำไปสู่การตั้งสำรองหนี้ฯ ในส่วนของผลขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้ที่เพิ่มขึ้นในงวด 2H58 ของทั้ง 3 ธ.พ. เนื่องจากแผนปรับโครงสร้างหนี้ที่ต้องยืดระยะเวลาชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับลูกหนี้ออกไปอีก แม้สถานะลูกหนี้ปัจจุบันของ SSI จะถูกจัดอยู่ในชั้น Special Mention (SM) ยังไม่ได้เป็น NPL แต่ ธปท. ก็ได้แนะนำให้ตั้งสำรองหนี้ฯ สูงกว่าเกณฑ์ที่ 2% ของสินเชื่อจัดชั้นสุทธิจากหลักประกัน โดย ณ สิ้นงวด 2Q58 ได้ตั้งสำรองหนี้ของ SSI เพิ่มขึ้น จาก 36% ของหนี้คงค้างโดยไม่หักหลักประกัน ขึ้นเป็น 58% ของหนี้คงค้างไม่หักหลักประกัน ในส่วนของ SSI-UK และยังคงระดับสำรองหนี้ที่ 36% ของ SSI-ไทย ซึ่งมีแนวโน้มว่าอาจต้องสำรองเพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับ SSI - ไทย เนื่องจากการถือหุ้นใน SSI-UK 100% โดยฝ่ายวิจัยเชื่อว่าแนวโน้มการบันทึกขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้ และการตั้งสำรองหนี้เฉพาะราย (specific reserve) ของ SSI ที่สูงขึ้น น่าจะนำไปสู่การเพิ่ม credit cost ของ ธ.พ.ทั้ง 3 แห่ง เพื่อเพิ่ม coverage ratio มากกว่าการที่จะนำสำรองส่วนเกินไปใช้ตั้งสำรองหนี้ฯ เฉพาะราย ซึ่งในกรณีเลวร้าย หาก SSI ต้องจัดชั้นหนี้เป็น NPL อาจส่งผลกระทบต่อแนวโน้ม coverage ratio ในอนาคตให้ลดลงต่ำกว่า 100% ทั้ง 3 แห่ง ทั้งนี้ ภายใต้สมมติฐานกรณีเลวร้ายสุดที่กำหนดให้เพิ่มระดับการตั้งสำรองหนี้ฯ ขึ้นเป็น 50% (ไม่หักหลักประกันทั้งที่ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อที่มีหลักประกัน) สำหรับ SSI-ไทย และ 100% สำหรับ SSI-UK จะพบว่า SCB มี downside ของกำไรสุทธิปี 2558 ต่ำสุดในกลุ่มฯ เพียง 9% เนื่องจากฝ่ายวิจัยได้เผื่อ credit cost สำหรับงวด 2H58 ไปมากแล้ว ตามด้วย KTB ที่เห็น downside 18% ขณะที่ TISCO ซึ่งเห็น downside สูงสุดถึง 29% ของประมาณการกำไรสุทธิเดิม จนนำไปสู่การปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2558-59 ของ TISCO ลง 13.4% และ 1.0% จากเดิม ภายใต้สมมติฐานที่กำหนดให้เพิ่มสำรอง SSI-ไทย เป็น 50% และ SSI-UK เป็น 80% พร้อมทั้งปรับลด Fair value ปี 2558 ลงเหลือ 40 บาท ระยะสั้น จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการลงทุนใน TISCO, KTB, SCB และให้ switch ไปลงทุนใน KBANK (FV@232 บาท) จาก sentiment เชิงบวกของมาตรการกระตุ้น SME และ TCAP([email protected] บาท)
SET Index แกร่งแต่ยังยืนเหนือ 1,400 ยาก ... อสังหาฯ น่าติดตาม
แม้มีแรงกดดันจากปัจจัยภายนอก แต่ SET Index วานนี้ก็ยังสามารถแสดงความแข็งแกร่งโดยปิดบวกสวนกระแสได้ แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาจากองค์ประกอบแวดล้อมในบางส่วนแล้ว ยังเห็นถึงข้อจำกัดบางประการในการที่จะขับเคลื่อนให้ SET Index ปรับตัวขึ้นไปยืนอยู่เหนือ 1400 จุดได้อย่างมีเสถียรภาพ เริ่มจากมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันทำการ ซึ่งปัจจุบันถือว่าอยู่ในระดับต่ำ โดยวานนี้ต่ำกว่า 2.8 หมื่นล้านบาท ขณะที่ กลุ่มนักลงทุนที่ซื้อขายในตลาดหากพิจารณาจากยอด Net Buy / Sell รายกลุ่มแล้ว พบว่า กลุ่มที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนตลาดในช่วงนี้ล้วนเป็นนักลงทุนในประเทศ โดยกลุ่มที่กำหนดทิศทางตลาดในช่วงนี้ ได้แก่ พอร์ตโบรกเกอร์และ สถาบันในประเทศ ซึ่งด้วยรูปแบบการลงทุนแล้วอาจเห็นการทยอย Take Profit เป็นช่วงๆ อันเป็นเหตุให้ Upside จำกัด อีกแง่มุมหนึ่งเป็นเรื่องของ Valuation กล่าวคือ หากพิจารณาในส่วนของค่า Current PER พบว่าปัจจุบันอยู่ที่ 16.18 เท่า และหาก SET Index ปรับขึ้นไปที่ 1400 จุด ค่า Current PER จะเพิ่มขึ้นเป็น 16.26 เท่า ซึ่งถือเป็นฐาน PER ที่ค่อนข้างสูง สถานการณ์แวดล้อมดังกล่าวทำให้เชื่อว่า SET Index น่าจะผันผวนอยู่ที่บริเวณต่ำกว่า 1400 จุด ต่อไปอีกระยะหนึ่ง จนกว่าจะเห็นสัญญาณบวกจาก Fund Flow หรือปัจจัยบวกใหม่ ๆ เข้ามาหนุน
สำหรับ ตัวเลือกการลงทุนอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจได้แก่ กลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งปัจจุบันมีค่าเฉลี่ย PER ต่ำกว่า 10 เท่า ขณะที่คาดหมายว่าผลประกอบการ 2H58 จะโดดเด่นกว่า 1H58 อย่างชัดเจน นอกจากนี้หากพิจารณาย้อนกลับไปในช่วงปี 2544 – 2545 ซึ่งมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาใกล้เคียงรูปแบบในปัจจุบัน พบว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว ผลตอบแทนจากหุ้นอสังหาฯ ชนะ SET Index หลายเท่าตัว สำหรับสถานะในปัจจุบันหุ้นที่น่าสนใจได้แก่ SIRI (FV@B 2.13), SPALI (FV@B 27.57), PS (FV@B 34.46), AP
(FV@B 8.64) และ SC (FV@B 4.06) ซึ่งนักลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้
ยังคงคาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐฟื้นความเชื่อมั่น
ยังคงต้องรอลุ้นว่า มาตรการกระตุ้นภาครัฐจะช่วยส่งเสริมภาคการผลิตได้มากน้อยแต่ไหน หลังจากที่วานนี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) รายงานยอดขายรถยนต์ในประเทศเดือน ส.ค. ลดลง 9.9%yoy แต่เพิ่มขึ้น 1.85%mom ส่วน 8M58 ลดลง 25% เมื่อเทียบกับ 8M57 โดยแนวโน้มยอดขายในประเทศปีนี้มีแนวโน้มทรงตัว เนื่องจากงบลงทุนของภาครัฐคาดว่าจะยังลงมาไม่ทันในปีนี้ทาง ส.อ.ท. จึงปรับลดยอดขายรถยนต์ในประเทศปีนี้ลงเหลือราว 7.5 – 8 แสนคัน (จากเดิม 8.5 แสนคัน) อย่างไรก็ตาม ยอดส่งออกเดือน ส.ค. เพิ่มขึ้น 13.88%yoy ส่วน 8M58เพิ่มขึ้น 5.26% เทียบกับ 8M57 จึงยังคงยอดส่งออกรถยนต์ในปีนี้ไว้ที่ 1.2 ล้านคันตามเดิม ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. อยู่ที่ 82.4 ลดลงจาก 83.0 ในเดือน ก.ค. นับเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ปัจจัยกดดันก็ยังคงเป็นเรื่องภาวะเศรษฐกิจในประเทศโดยรวมที่ชะลอตัว รวมทั้งเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาและการแข่งขันที่รุนแรง แต่อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรากฏว่าอยู่ที่ 102.0 เพิ่มขึ้นจาก 101.2 ในเดือน ก.ค. โดยปัจจัยหนุนมาจากยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย และปริมาณการผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สอดรับกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ออกมา ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายและหนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป
ทางด้านของความคืบหน้าเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นของภาครัฐนั้น ล่าสุด รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ เตรียมยื่นมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ระยะที่ 2 เข้าสู่การพิจารณาอนุมัติของ ครม. โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอความช่วยเหลือผ่านคลัสเตอร์ 6 กลุ่ม อาทิ ยานยนต์และชิ้นส่วน, เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์โทรคมนาคม,ปิโตเคมีและเคมีภัณฑ์,เกษตรแปรรูป, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งมาตรการะยะที่ 2 จะประกอบด้วย การบูรณาการขับเคลื่อน SMEs, การปรับแผนธุรกิจ SMEs ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับ SMEs ส่วนกระทรวงพาณิชย์ จะช่วยเหลือ SMEs ผ่านโครงการต่างๆอาทิ การสร้างนักการค้ามืออาชีพ, การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน, การยกระดับตลาดกลางที่มีอยู่ให้เป็นศูนย์กลางการซื้อ โดยในปี 2559 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณไว้กว่า 2,178 ล้านบาท โดยเบื้องต้น ธนาคาร TMB ได้เตรียมวงเงิน 5 หมื่นล้านในการปล่อยกู้ สนับสนุนมาตรการของภาครัฐ โดยแบ่งเป็นสำหรับโครงการขนาดเล็กและขนาดใหญ่ พร้อมทำโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) ดอกเบี้ยร้อยละ 4 สูงสุด 7 ปี นอกจากนี้ ผู้ประกอบการ SMEs ยังสามารถได้รับสิทธิประโยชน์การค้ำประกันกับ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โดยจะได้รับฟรีค่าธรรมเนียมการค้ำประกันในปีแรก และจ่ายเพียงร้อยละ 0.5 ในปีที่ 2, ร้อยละ 1.0 ในปีที่ 3 และร้อยละ 1.5 ในปีที่ 4 (อัตราปกติร้อยละ 1.75 ต่อปี)โดยหลังการสมัครจะสามารถรับเงินได้ทันทีภายใน 15 วัน จึงคาดการเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจทันทีในไตรมาส 3 นี้
ตลาดหุ้นโลกรอผลการประกาศดัชนี PMI จีน
ภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ที่มีขนาด GDP เป็นลำดับ 2 ของโลก สร้างความกังวลให้กับเศรษฐกิจโลกว่าอาจจะเข้าสู่ภาวะชะงักงันตามไปด้วย การรายงานดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจของจีนจึงเป็นที่จับตาเป็นอย่างมาก ว่าจะส่งสัญญาณเตือนภัยอะไรออกมาบ้าง สะท้อนจากการประกาศดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อไฉซิน (PMI) เดือน ส.ค. ลดลงมาอยู่ที่ 47.3 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2552 ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลก (รวมทั้งไทย) ปรับลดลงเป็นอย่างมาก ซึ่งในวันพรุ่งนี้จะมีการรายงานดัชนี PMI เดือน ก.ย. คาดว่าจะดีขึ้นเพียงเล็กน้อยที่ 47.5 ขณะที่ตัวเลขภาคการส่งออกของจีน ติดลบ 5.5% แม้ว่ารัฐบาลจีนมีการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจขนานใหญ่ โดยมีการผลักดันแผนปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ แต่การปฏิรูปดังกล่าวอาจจะทำให้จีนอยู่ในภาวะชะลอตัวไปอีกราว 1-2 ปี ล่าสุดสถาบันสังคมศาสตร์ของจีน (CASS) ออกมาคาดการณ์ GDP Growth ของจีนมีแนวโน้มขยายตัว 6.9% ในปีนี้ โดยต่ำกว่าเป้าหมายของรัฐบาลที่ ตั้งไว้ 7% จึงยังเป็นปัจจัยที่ยังคอยกดดันตลาดหุ้นโลก
ในส่วนของสหรัฐ วานนี้มีการประกาศตัวเลขยอดขายบ้านมือสอง ชะลอตัวลง อยู่ที่ 5.31 ล้านหลัง ต่ำกว่าที่ผลสำรวจคาดที่ระดับ 5.5 ล้านหลัง (เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี เพิ่มขึ้นเท่ากับ 5.25 ล้านหลัง) ขณะที่ควันหลงการปรับขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐยังคงมีอยู่ ล่าสุด นายเดนนิส ล็อค ฮาร์ท ประธาน Fed สาขาแอตแลนตา กล่าวว่า ยังคงหวังว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ จากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ แต่จากตัวเลขชี้วัดที่ออกมาผันผวน ฝ่ายวิจัยก็ยังเชื่อว่า Fed อาจจะขึ้นดอกเบี้ยเร็วที่สุดในช่วงปลายปีนี้ หรืออาจเลื่อนไปเป็นต้นปีหน้าก็มีความเป็นไปได้
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสเงินทุนต่างชาติเริ่มไหลเข้ามาในไทยมากขึ้น
วานนี้นักลงทุนต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 560 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 3 วัน) โดยเป็นการขายสุทธิ 3 ประเทศ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 355 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 3 วัน) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิราว 231 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 3 วัน) เช่นเดียวกับอินโดนีเซียที่ถูกขายสุทธิราว 31 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ คือ ฟิลิปปินส์ที่ถูกซื้อสุทธิราว 15 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ส่วนไทยต่างชาติซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 2 ล้านเหรียญ หรือ 59 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 1,180 ล้านบาท และหากสังเกตในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (15 - 21 ก.ย. 2558) พบว่า กระแสเงินทุนจากต่างชาติเริ่มไหลกลับเข้ามาในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น โดยมียอดซื้อสุทธิสะสมราว 66 ล้านเหรียญ หรือ 2.4 พันล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศขายสุทธิ 4,212 ล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 706 ล้านบาท ส่วนทางค่าเงินบาทล่าสุดอยู่ที่ 35.81 บาท/ดอลลาร์
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์