- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 14 September 2015 17:26
- Hits: 6132
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
'จับตาดอกเบี้ยสหรัฐ & ไทย'
Stock Picks-Sep 2015 : Fundamental : CK, INTUCH, KBANK, QH, RATCH
Fundamental Pick -Today: -
Top Picks-High Div Yield : ADVANC, INTUCH, BTS, DCC, AP, QH, SPALI, SNC, MODERN, TCAP, TISCO, TMT, BTSGIF, CPNRF, SPF
Shot Sell-Prev : BIGC 44%, EGCO 44%, RATCH 29%, TTW 23%, LH 21%
Technical View ตลาดยังไม่ทิ้งผันผวน เน้นซื้อตามค่าบวก ค่าลบดูไม่ค่อยดี
Support Resistance Stop loss
SET ซื้อค่าบวก 1400,1410 ค่าลบ
SET50 ซื้อค่าบวก 900-910 ค่าลบ
Technical Picks- Today : STAR, MAX, BBL, SIRI, BRR
หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : ตลาดหุ้นไทยปิดร่วงลง 14.44 จุดที่ 1381.72 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดต่างประเทศในวันศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายก่อนการประชุมเฟดในสัปดาห์นี้ นักลงทุนต่างชาติและพอร์ตบล.ขายสุทธิ ส่วนสถาบันในประเทศและรายย่อยซื้อสุทธิ
สำหรับ สัปดาห์นี้ตลาดจับตาผลประชุมเฟด (16-17 ก.ย.) และผลประชุมกนง. (16 ก.ย.) ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ ซึ่งกระแสคาดการณ์ส่วนใหญ่ในขณะนี้มองว่าทางการสหรัฐและไทยน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมก่อน เนื่องจากสถานการณ์ภายนอกประเทศยังไม่แน่นอนและอาจกดดันให้เศรษฐกิจเติบโตได้น้อยกว่าคาด โดยถ้าเฟดและไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย.58 ความผันผวนระยะสั้นก็จะผ่อนคลายลง แต่เรื่องราวก็ยังไม่จบ โดยต้องไปลุ้นกันต่อในการประชุมรอบหน้าว่าเฟดจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ต่อไป ทั้งนี้ความเสี่ยงยังมีพอควร นักวิเคราะห์มีมุมมองที่ระมัดระวังต่อเศรษฐกิจจีนและราคาน้ำมันดิบมาก ซึ่งหมายถึงความเสี่ยงขาลงยังมีอยู่ เศรษฐกิจญี่ปุ่นและยุโรปที่ฟื้นช้าก็ช่วยเศรษฐกิจโลกได้ไม่มาก สำหรับเศรษฐกิจไทย เรามองว่าฮันนิมูนพีเรียดของทีมเศรษฐกิจใหม่จะสั้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซามายาวนานหลายเดือน แต่รัฐบาลก็เร่งเครื่องกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ ซึ่งคาดว่าจะเห็นผลดีกันในช่วง 1-2 ไตรมาสข้างหน้า
กลยุทธ์ : การลงทุนยังเน้นหุ้น Defensive & ปันผลสูง ส่วนการเก็งกำไรตามรอบก็ยังสามารถทำได้ในหุ้นที่มีข่าวหรือปัจจัยกระตุ้นในระยะใกล้ๆ แต่ไม่ควรหวัง Gap กำไรมากในช่วงตลาดผันผวน
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ตลาดโดยรวมยังผันผวน การซื้อเก็งกำไรใหม่เน้นตามด้วยค่าบวกและเมื่อ SET อยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน แนวต้าน 1400, 1410-1420 ค่าลบดูไม่ดี ควร Wait & See หรือลดพอร์ตตามเมื่อมีเงินสดเหลืออยู่น้อย สำหรับหุ้นที่มีสัญญาณทางเทคนิคดี น่าสนใจซื้อเก็งกำไรระยะสั้น ได้แก่ STAR, MAX ส่วนหุ้นที่แนะนำไปแล้วและยังถือต่อได้ คือ BBL, SIRI, BRR
Market Drivers
ปัจจัยต่างประเทศ & ราคาโภคภัณฑ์
สหรัฐ : คาดเฟดคงดอกเบี้ยไว้ที่ 0-0.25% ในการประชุมรอบ 16-17 ก.ย.นี้ หลังตัวเลขเศรษฐกิจบางตัวอ่อนแอกว่าคาด และเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงเรื่องการชะลอตัว หลังราคาสินค้าโภคภัณฑ์อ่อนตัวลงอย่างมาก กำลังซื้อในตลาดโลกอ่อนแอกว่าคาด และอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ
สหรัฐ : ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ทรงตัว MoM ในเดือนส.ค. หลังเพิ่มขึ้น 0.2%MoM ในเดือนก.ค. โดยดัชนี PPI ที่ทรงตัวบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงอยูในระดับต่ำ
- สหรัฐ : ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ย.ชะลอตัวลง ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐเบื้องต้นประจำเดือนก.ย.ลดลงสู่ระดับ 85.7 โดยต่ำกว่า 91.9 ซึ่งเป็นตัวเลขขั้นสุดท้ายของเดือนส.ค. และต่ำกว่าระดับ 91.1 ซึ่งเป็นตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
- จีน : การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวน้อยลง ยอดการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ขยายตัว 3.5%YoY เป็น 6.11 ล้านล้านหยวน หรือ 9.59 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งอัตราการขยายตัวดังกล่าวต่ำกว่าการขยายตัวในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ส่วนผลผลิตมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 6.1%YoY ในเดือนส.ค. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ 6% ในเดือนก.ค.58
- จีน : การลงทุนในสินทรัพย์คงที่เติบโตชะลอตัวลง สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเผยยอดการลงทุนในสินทรัพย์คงที่ช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 10.9%YoY ต่ำกว่ายอดการลงทุนในช่วง 11 เดือนแรกซึ่งอยู่ที่ 11.2%YoY
จีน : ยอดค้าปลีกเดือนส.ค.ขยายตัว 10.8%YoY แตะ 2.49 ล้านล้านหยวน หรือ 3.90 แสนล้านดออลลาร์
+ ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นก่อนประชุมเฟด โดยดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับขึ้น 102.69 จุด หรือ+ 0.63% ปัจจัยที่ทำให้คาดว่าเฟดจะยังไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยรอบก.ย.นี้ คือ ตัวเลขเศรษฐกิจยังค่อนข้างผันผวน
- ราคาน้ำมันดิบลดลงหลังโกลด์แมน แซคส์ปรับลดคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบอีกรอบ โดยสัญญา WTI ปิด -1.29 ดอลลาร์ แตะที่ 44.63 ดอลลาร์/บาร์เรล และ BRENT ปิด -75 เซนต์ สู่ระดับ 48.14 ดอลลาร์/บาร์เรล ทั้งนี้มีแรงกดดันจากการที่โกลด์แมน แซคส์ ปรับลดคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบสหรัฐปี 58 ลงเป็น 48.10 จาก 52 ดอลลาร์/บาร์เรล) และปรับลดของปี 59 เป็น 45 จาก 57 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วน BRENT คาดการณ์ของปี 58 ลดลงเป็น 53.70 ดอลลาร์/บาร์เรล จาก 58.20 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนปีหน้าปรับลงเป็น 49.50 จาก 62 ดอลลาร์/บาร์เรล
ราคาทองคำอ่อนลง โดยสัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบธ.ค.58 ลดลง 6.00 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,103.30 ดอลลาร์/ออนซ์
ปัจจัยในประเทศ & หุ้นเด่น
คาดกนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50% ในการประชุมวันที่ 16 ก.ย.58 ทั้งนี้แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยในปีนี้จะติดลบและไม่เป็นแรงกดดันต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่คาดว่าทางการไทยน่าจะสำรองการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมไว้ก่อน เนื่องจากในระยะสั้นมากกำลังเร่งผลักดันด้วยนโยบายการคลัง โดยการเร่งใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐและลงทุน (ทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผู้มีรายได้น้อย 1.3 แสนล้านบาท, มาตรการช่วยเหลือ SME, การเร่งให้โครงการลงทุนขนาดเล็กเบิกจ่ายงบประมาณภายใน 3 เดือน เป็นต้น)
ไทย: รัฐบาลแก้การเบิกจ่ายงบลงทุนล่าช้าด้วยการโอนเข้างบกลางและงบฯปี 59 โดยในปีงบประมาณ 58 จนถึงสิ้นส.ค.58 มีการเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนได้เพียง 58.6% ของงบลงทุน 4.49 แสนล้านบาท และคาดว่าเมื่อสิ้นปีงบประมาณในสิ้นก.ย.นี้จะเบิกจ่ายงบลงทุนได้ 65% ซึ่งต่ำมาก แต่ภาพรวมการเบิกจ่ายงบประมาณปี 58 คาดว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 96% หรือราว 2.47 ล้านล้านบาท จากวงเงินงบประมาณทั้งหมด 2.57 ล้านล้านบาท สำหรับงบประมาณ 59 ตั้งเป้าหมายภาพรวมการเบิกจ่ายไว้ที่ 96% โดยตั้งเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประจำไว้ที่ 98% และการเบิกจ่ายงบลงทุนตั้งเป้าหมายไว้ที่ 87% แต่ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 59 รัฐบาลกำหนดให้เร่งรัดการเบิกจ่ายให้ได้ถึง 30%
ค่าเงินบาทอ่อน...ผู้ส่งออกรายใหญ่เก็งกำไรค่าเงินโดยแห่ตุนดอลลาร์สหรัฐ ด้านผู้นำเข้าเร่งทำ Hedging ประกันความเสี่ยง ทาง KBANK คาดว่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนต่อ โดยปี 59 มีสิทธิเห็น 38 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ (ประชาชาติธุรกิจ 14-16 ก.ย.58)
เราประเมินว่าค่าเงินบาทยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่า (ตรงข้ามกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อยู่ในแนวโน้มแข็งค่าเพราะอัตราดอกเบี้ยกำลังจะทยอยปรับขึ้น) อย่างไรก็ตาม ทาง DBS ประเมินแนวโน้มการอ่อนค่าน้อยกว่าบางสำนักวิจัยฯ โดยเราคาดว่าค่าเงินบาทใน 1Q59, 2Q59 และ 3Q49 จะอยู่ที่ 36.5, 36.9 และ 37.4 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
เงินบาทที่อยู่ในแนวโน้มอ่อนตัวเป็นผลดีกับบริษัทที่มีรายได้สุทธิอยู่ในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ซึ่งผู้ส่งออกส่วนใหญ่จะขายในรูปดอลลาร์สหรัฐอยู่แล้ว) แต่ผลดีส่วนหนึ่งอาจถูกชดเชยไปด้วยการขอต่อรองราคาจากผู้ซื้อ ส่วนความสามารถในการส่งออกคาดว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่มาก เพราะค่าเงินของประเทศผู้ส่งออกอื่นๆ ในภูมิภาคก็อ่อนค่าลงเช่นกัน สำหรับหุ้นในกลุ่มส่งออกที่เราชอบและมองว่ายังมี Upside สำหรับการลงทุนเพราะราคาหุ้นปรับลงมามาก ขณะที่ราคาเนื้อสัตว์ในประเทศกระเตื้องขึ้นหลังปัญหาอุปทานล้นเกินค่อยๆ ผ่อนคลายลง คือ CPF, GFPT, TUF ส่วนกลุ่มอิเลคทรอนิกส์เราชอบ KCE, SVI แต่เน้นซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว
การเมือง: จะสรุปรายชื่อคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ 21 คน และรายชื่อสภาขับเคลื่อนฯ 200 คนภายในวันที่ 23 ก.ย.นี้...ฝ่ายการเมืองบางรายเสนอว่าคณะกรรมาธิการยกร่างฯชุดก่อนในควรเข้ามาอยู่ในชุดใหม่ แต่ไปทำหน้าที่ในสภาขับเคลื่อนฯได้ และบางคนเสนอว่าไม่ควรมีนักการเมืองเข้ามาอยู่ในคณะกรรมการยกร่างฯ เพราะมีผลประโยชน์ทับซ้อน นอกจากนั้นยังมีการกล่าวถึงการผ่านประชามติร่างรัฐธรรมนูญว่าควรเป็นกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิหรือของผู้มาใช้สิทธิ ฯลฯ
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : Tel 7829 [email protected]