WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
       เงินเอเซียอ่อนค่าทำสถิติใหม่ กดดัน Fund Flow แต่น่าจะหนุนส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้ ระยะสั้นเชื่อว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น จะเห็นผลในงวด 4Q58 ยังคงชื่นชอบหุ้นที่ได้ประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ (SCC, TASCO, ROBINS) เลือก CK([email protected]) เป็น Top pick

 

เงินเอเซียอ่อนดีต่อส่งออก/ท่องเที่ยว
     การอ่อนค่าของเงินในภูมิภาคเอเชียกลับมาเป็นประเด็นกดดันอีกครั้ง โดยพบว่าหลายๆ สกุลในเอเชีย ได้อ่อนค่าลงทำสถิติต่ำสุดในรอบหลายๆ ปี เริ่มจากเงินบาท วานนี้อ่อนค่าลงอีก 0.39% ล่าสุดอยู่ที่ 36.12 บาทต่อดอลลาร์ ทำระดับต่ำสุดในรอบกว่า 6 ปีครึ่ง แต่ที่อ่อนค่ามากสุดคือ ริงกิตมาเลเซีย วานนี้อ่อนค่าในวันเดียวถึง 1.68% ทำสถิติอ่อนค่ามากสุดในรอบ 17 ปี เช่นเดียวกับรูเปียะห์อินโดนีเซีย ที่ค่าเงินต่ำสุดในรอบ 17 ปีเช่นกัน ขณะที่เปโซฟิลิปปินส์ ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ไต้หวัน วอนเกาหลีใต้ ค่าเงินต่างทำระดับต่ำสุดในรอบ 5-6 ปี ทั้งนี้ หากนับตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (ytd) จะพบว่า ริงกิตมาเลเซีย อ่อนค่ามากสุดเกือบ 20% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ตามมาด้วยรูเปียะห์อินโดนีเซีย ราว 13% บาทอ่อนค่าไป ราว 10% (แต่ถ้านับเฉพาะ 10 ส.ค. ที่จีนประกาศลดค่าเงิน บาทอ่อนค่ามากสุดกว่า 8%)


       ปัจจัยที่มีผลกดดันต่อค่าเงินในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเศรษฐกิจในภูมิภาคฯ ที่ชะลอตัวจากผลกระทบของเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวล่าช้า ขณะที่ค่าเงินหยวน มีการผูกติดอยู่กับเงินดอลลาร์ จึงมีแนวโน้มแข็งค่าตามสกุลเงินดอลลาร์ ซึ่งไม่สอดคล้องกับเศรษฐกิจจีนที่เข้าสู่ภาวะชะลอตัว จึงเป็นเหตุผลทำให้รัฐบาลจีนได้ ปรับลดค่าเงินหยวนเมื่อ 11 ส.ค. ที่ผ่านมา แต่หลังจากนี้เงินหยวนเริ่มแข็งค่าอีก ด้วยเหตุผลที่เงินหยวนผูกติดกับสกุลดอลลาร์ จึงเป็นไปได้ที่จีนอาจจะต้องออกมาปรับลดค่าเงินหรืออาจจะต้องปล่อยให้ค่าเงินลอยตัว มากกว่าไปผูกติดกับดอลลาร์ ซึ่งทำให้ค่าเงินไม่สามารถเคลื่อนไหวตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดสงครามค่าเงินขึ้นในภูมิภาคเอเชียอีกระลอก แต่อย่างไรก็ตามการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาคเอเซีย จะช่วยกระตุ้นการส่งออก ดังเช่นที่เวียดนาม กับ คาซัคสถาน ได้ปรับลดค่าเงินตามหลังจีนไปแล้ว
สำหรับไทยนั้นการอ่อนค่าของเงินบาท ก็น่าจะช่วยหนุนภาคส่งออกได้เช่นกัน

      โดยกลุ่มส่งออกชิ้นส่วนฯ ฝ่ายวิจัยประเมินว่ากำไรจากการดำเนินงานในงวด 2H58 จะเป็นทิศทางขาขึ้นจากงวด 1H58 โดยจะขึ้นทำระดับสูงสุดของปีในงวด 3Q58 อานิสงส์จากการเข้าสู่ช่วง high season ของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก หนุนคำสั่งซื้อจากลูกค้าต่างประเทศปรับเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับเทศกาลวันหยุดยาวในช่วงปลายปี และจะเริ่มอ่อนตัวลงในงวด 4Q58 เมื่อพ้นช่วง high season ไปแล้ว ทำให้คำสั่งซื้อจากลูกค้าต่างประเทศปรับลดลง เนื่องจากได้สั่งซื้อสินค้าเพื่อเก็บไว้ในสต็อกแล้วในงวด 3Q58 โดย SVI, KCE, DELTA จะแสดงการเติบโตของกำไรปี 2559 ที่โดดเด่น ขณะที่ธุรกิจท่องเที่ยว/โรงแรมที่เป็นช่วง high season ในงวด 4Q58 แม้รายได้ส่วนใหญ่เป็นเงินบาท แต่เงินที่อ่อนค่าจะทำให้นักท่องเที่ยวหันมาเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น เป็นบวกต่อ MINT, ERW, CENTEL

 

แผนกระตุ้นเศรษฐกิจจะเห็นผลไตรมาสถัดไปคล้ายปี 2544
      แผนการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นล่าสุด มุ่งให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย ดูเหมือนจะคล้ายคลึง ปี 2544 และที่สำคัญ คือ มี ดร. นายสม จาตุศรีพิทักษ์ เป็น 1 ในทีมเศรษฐกิจ ทั้ง 2 สมัย ทั้งนี้แม้ในรายละเอียดจะแตกต่างกันบ้างเช่น โครงการกองทุนหมู่บ้านในปีนี้ใช้เม็ดเงิน 6 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าปี 2544 ราว 25% แต่มีเงื่อนไขที่จูงใจกว่า เช่น คิดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ และระยะเวลาการกู้ยืมที่ยาวนานกว่า เป็นต้น ขณะที่แผนการลงทุนระยะยาว น่าจะเป็นการผลักดันแผนลงทุนในสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่ได้มีการเสนอต่อเนื่องมาในหลายรัฐบาล แต่รัฐบาลน่าจะผลักดันในเรื่องของการกระดมเงินที่มาใช้ในการลงทุน คือ นอกจากที่รัฐจะต้องกู้ยืมแล้ว อาจจะให้ภาคเอกชน เข้ามาร่วมลงทุนในโครงการที่เกิดผลในเชิงเศรษฐกิจ (PPP) จึงคาดว่า น่าจะคาดหวังผลด้านบวกต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในลักษณะที่คล้ายคลึงกับปี 2554 คือ

ปี 2554 พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคฟื้นตัวทันที (CCI) นับตั้งแต่เริ่มอนุมัติโครงการในเดือน ตุลาคม 2544 และฟื้นตัวต่อเนื่องกันราว 11 เดือน และทำให้ CCI ปี 2554 เพิ่มขึ้น 12% และเพิ่มอีก 17% ในปี 2546 เทียบกับที่ - 5.4% ปี 2544


GDP Growth กระเตื้องจาก 3.6% งวด 3Q44 เป็น 4.1 % ในงวด 4Q44 และ ทั้งปี 2544 และ 2545 อยู่ที่ 3.4% และ 6.1% ตามลำดับ ทั้งนี้พบว่าเครื่องจักรที่ทำงานหลักคือ การบริโภคภาคครัวเรือน ขณะที่การการใช้จ่าย และ การลงทุนโดยรวมมีแนวโน้ม กระเตื้องขึ้นอีก 2-3 ไตรมาสถัดมา


ทั้งนี้ ASPS อยู่ระหว่างการทบทวน GDP Growth ในปี 2558 โดยมีแนวโน้มจะกระเตื้องขึ้นจากเดิมที่ประเมินไว้ 2.5% เล็กน้อย โดยน่าจะไม่เกิน 3% แต่ในปี 2559 GDP Growth น่าจะสามารถแตะระดับ 3.5-4% ซึ่งจะนำเสนอเร็วๆ นี้ โดยรวมเชื่อว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจน่าจะส่งผลบวกต่อตลาดหุ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคในประเทศ ที่ราคาหุ้นยังมี upside สูงเมื่อเทียบกับ Fair Value ได้แก่ CK, SCC, DRT, ROBINS, SYNTEC, SAT (คาดว่ายอดขายน่าจะโดดเด่นในงวด 4Q58 เนื่องจากปรับขึ้นภาษีรถยนต์ จะทำให้ราคาขายรถยนต์ในประเทศปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2559)

 

กบง. เดินหน้าปรับขึ้น NGV อีก 0.5 บ./กก. อยู่ในประมาณการ PTT
วานนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV ขึ้นอีก 0.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 13.50 บาทต่อกิโลกรัม มีผลตั้งแต่ 8 ก.ย. เป็นต้นไป โดยการปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV ในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 4 แล้ว (ครั้งที่ 1 ปรับขึ้น 1 บาท จาก 10.50 เป็น 11.50 บ./กก. มีผล 1 ต.ค. 2557, ครั้งที่ 2 ปรับขึ้น 0.50 บาท จาก 12.50 เป็น 13.00 บ./กก. มีผล 3 ธ.ค. 2557 และ ครั้งที่ 3 ปรับขึ้น 0.50 บาท จาก 12.50 เป็น 13.00 บ./กก. มีผล 31 ม.ค. 2558) ถือเป็นปัจจัยบวกโดยตรงต่อ PTT เนื่องจากปัจจุบัน PTT ขายก๊าซที่ราคาต่ำกว่าต้นทุนที่ 15 บาทต่อกิโลกรัม การปรับขึ้นในครั้งนี้ ส่งผลให้ขาดทุนจากการขาย NGV ที่ PTT เผชิญอยู่ราว 1 หมื่นล้านบาทต่อปี ลดลงเหลือราว 8 พันล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ กบง. ยังมีแผนที่จะปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV ให้ใกล้เคียงกับ ต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งจะลดภาระขาดทุน PTT ได้เกือบทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยได้มีการปรับเพิ่มประมาณการตั้งแต่ปี 2558 เพื่อสะท้อนการต้นทุนที่แท้จริง 15 บาทต่อกิโลกรัม ไว้ล่วงหน้าแล้ว จึงยังคงประมาณการกำไร และมูลค่าพื้นฐานไว้เช่นเดิมที่ 360 บาทต่อหุ้น มี upside สูงถึง 38% โดยเชื่อว่าราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมากว่า 20% จากระดับสูงสุด ได้สะท้อนปัจจัยลบต่างๆที่เกิดขึ้นในระดับหนึ่งจนมี Downside ที่จำกัดแล้ว ดังนั้นจึงเป็นโอกาสเข้าลงทุน อีกทั้งยังให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสม่ำเสมอเฉลี่ย 4.6%p.a. (จ่ายปันผลระหว่างกาล 6 บาท/หุ้น ขึ้น XD วันที่ 10 ก.ย. นี้)

ต่างชาติยังคงขายหุ้นไทย กดดันเงินบาทอ่อนทะลุ 36 บาท


วานนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 355 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6) และเป็นการขายสุทธิทั้ง 5 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิสูงสุดราว 208 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 22) รองลงมาคือ ไต้หวันขายสุทธิราว 54 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับกลุ่ม TIP อย่างอินโดนีเซียที่ขายสุทธิราว 34 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) และฟิลิปปินส์ขายสุทธิราว 5 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) และไทยต่างชาติขายสุทธิราว 54 ล้านเหรียญ หรือ 1,936 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) ซึ่งสวนทางกับสถาบันไทยที่ซื้อสุทธิราว 337 ล้านบาท


ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ พบว่านักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 24,691 ล้านบาท สวนทางกับต่างชาติที่ขายสุทธิ 1,439 ล้านบาท ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องล่าสุดอยู่ที่ 36.15 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นการอ่อนค่าสูงสุดในรอบ 6 ปี 6 เดือน (นับตั้งแต่ 23 ก.พ. 2552 เป็นต้นมา)


นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647

ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ : ภราดร เตียรณปราโมทย์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!