- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 01 September 2015 17:48
- Hits: 1227
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(-) ตลาดหุ้นต่างประเทศ : DJIA -114.98, NASDAQ -51.82, S&P -16.69, FTSE +55.91, CAC -22.18 และ DAX -39.07 ภายใต้ความกังวล (1) การชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก โดยมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ ปรับลดคาดการณ์ GDP ของโลกในปี’59 จากก่อนหน้าที่ 3.0% เป็น 2.8% พร้อมลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จากการส่งออกที่ซบเซาลง และ (2) ผลกระทบทางเศรษฐกิจ หากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย. โดยก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดได้ออกมาส่งสัญญาณว่าอาจจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวมถึงนายสแตนลีย์ ฟิชเชอร์ รองประธานเฟด ในการกล่าวปาฐกถาที่เมืองแจ็คสัน โฮล ในช่วงสุดสัปดาห์ รวมถึงเจ้าหน้าที่เฟดหลายรายส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน หลังระบุว่าอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น
.....ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรป ยังได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงอย่างต่อเนื่องของตลาดหุ้นจีน แม้จีนจะดำเนินการหลายด้านเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่น
.....ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ต.ค. +US$3.98 อยู่ที่ US$49.20 ต่อบาร์เรล หลังจาก EIA ประกาศปรับลดคาดการณ์การผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ในช่วง 5M/58 ประมาณ 40,000 - 130,000 บาร์เรลต่อวันในแต่ละเดือน เนื่องจาก EIA ใช้วิธีการสำรวจแบบใหม่ โดยเท็กซัส และอ่าวเม็กซิโกเป็นบริเวณที่ถูกปรับลดการผลิตมากที่สุด และเปิดเผยการผลิตน้ำมัน - มิย. ลดลง 100,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ระดับ 9.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้การผลิตโดยรวมในช่วง 6M/58 อยู่ที่ระดับ 9.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน
......ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ธ.ค. -US$1.5 อยู่ที่ US$1,132.5 ต่อออนซ์ ภายใต้การคาดการณ์เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้
(+) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ +388 ล้านบาท สะสมตั้งแต่ต้นปีสุทธิ -86,392 ล้านบาท (ปี’57 มียอดขายสุทธิสะสม 36,584 ล้านบาท)
ทิศทางตลาด :
ทิศทางตลาด : คาดยังผันผวน? ภายใต้ปัจจัยต่างประเทศที่มีน้ำหนักเป็นลบ โดยเฉพาะต่อประเด็นความเป็นไปได้ในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด อย่างไรก็ตามคาดยังมีความไม่แน่นอน ภายใต้ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจีน ที่อาจทำให้การเติบโตของสหรัฐฯ ในช่วงเวลาที่เหลือไม่เป็นไปตามคาด ขณะที่จีนยังมีการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบต่อเนื่อง (วานนี้ อีกประมาณ 140,000 ล้านหยวน) นอกเหนือการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ก่อนหน้านี้ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งคาดยังเป็นปัจจัยบวกในระยะสั้นต่อภาพรวมตลาดฯ อยู่
.....ทางด้านปัจจัยในประเทศ (+) ความคาดหวังในเชิงบวกต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของครม. ชุดใหม่ โดยเฉพาะทีมเศรษฐกิจ ที่จะมีการนำเข้า ครม. ในวันนี้ ประกอบด้วย (1) มาตรการช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อย (2) มาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายภาครัฐลงไปสู่ ระดับตำบล และ (3) มาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณในส่วนของโครงการขนาดเล็ก เพื่อให้ผู้ประกอบการมีส่วนเข้าไปรับงานได้
.....นอกจากนี้ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น คาดมีแรงเก็งกำไรกลับเข้ามาในกลุ่มพลังงานต่อเนื่อง และ Fund Flow ที่มีสัญญาณเป็นบวก หลังล่าสุดต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ แม้มูลค่าไม่มากนักเพียง 388 ล้านบาท ซึ่งทำให้ภาพรวมตลาดในวันนี้อาจเคลื่อนไหวในแดนบวกได้ ขณะที่คาดหุ้นที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเริ่มมีแนวโน้มทรงตัวได้และเป็นโอกาสในการสะสมหุ้น เช่น กลุ่มโรงแรม (CENTEL) และหุ้นกลุ่มสายการบิน (เช่น AAV, BA) เป็นต้น
...และยังแนะติดตาม (1) หุ้นกลุ่มโรงกลั่น เช่น IRPC, PTTGC, TOP และ BCP จะได้รับผลกระทบจากการขาดทุนจากสต็อกน้ำมันในช่วง 3Q/58 แต่เรามองเป็นโอกาสในการทยอยสะสมหุ้นในช่วงที่ราคาอ่อนตัวสำหรับการลงทุนในระยะยาวกลาง – ยาว (2) กลุ่มรับเหมาก่อสร้างที่คาดยังคงได้รับประโยชน์จากโครงการภาครัฐ เช่น CK, STEC, TRC และ UNIQ (3) ค่าเงินบาท ภาพรวมยังมีทิศทางอ่อนค่า โดยเคลื่อนไหวบริเวณ 35.81 – 35.83 คาดเป็น Sentiment ที่ดีต่อกลุ่มส่งออก และ (4) กลุ่มวัสดุก่อสร้างที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากโครงการก่อสร้างของภาครัฐ เช่น TASCO และ VNG เป็นต้น
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.01 อยู่ที่ 2.20% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54) และดัชนีความเสี่ยง (VIX) +2.38 มาอยู่ที่ 28.43
หุ้นแนะนำ : SIRI
ประเด็นที่ต้องติดตาม (1 – 4 กย.’58)
1/9/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้าย – สค. (2) ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้าง - กค.
(3) ดัชนี PMI ภาคการผลิต - สค.
2/9/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน - สค. (2) ประสิทธิภาพการผลิตและต้นทุนแรงงานต่อหน่วย – 2Q/58
(3) ดัชนีการผลิตรัฐนิวยอร์ค - สค. (4) ยอดสั่งซื้อของโรงงาน - กค. (5) สต็อกน้ำมัน
3/9/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน (2) ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ - กค. (3) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้าย - สค. (4) ดัชนี PMI ภาคบริการ - สค.
4/9/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร - สค.
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ 02-684-8788