- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 31 August 2015 18:03
- Hits: 1434
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(-/+) ตลาดหุ้นต่างประเทศ : DJIA -11.76, NASDAQ +15.62, S&P +1.21, FTSE +55.91, CAC +16.95 และ DAX -17.09 ภายใต้การซื้อขายที่เป็นไปอย่างผันผวน หลังนักลงทุนผิดหวังต่อตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดของสหรัฐฯ (1) ตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภค – กค. เพิ่มขึ้น 0.3% ต่ำกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.4% และ (2) ดัชนีความเชื่อมั่นขั้นสุดท้ายของผู้บริโภค - สค. อยู่ที่ 91.9 ต่ำกว่า 92.9 ซึ่งเป็นตัวเลขเบื้องต้น และต่ำกว่าระดับ 93.1 เมื่อกค. จากความกังวลต่อภาวะผันผวนในตลาดหุ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะเศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ตามการปรับลดลงเป็นไปอย่างจำกัด โดยยังได้รับปัจจัยบวกจากการคาดการณ์ว่าเฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงเผชิญความเสี่ยงจากภาวะความผันผวนในตลาดโลก
.....ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ต.ค. +US$2.66 อยู่ที่ US$45.22 ต่อบาร์เรล โดยยังคงได้รับปัจจัยบวกจากตัวเลข GDP – 2Q/58 ของสหรัฐฯ ที่ขยายตัวแข็งแกร่งและดีกว่าคาด ทำให้มีมุมมองที่เป็นบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและอุปสงค์พลังงานในสหรัฐฯ
......ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ธ.ค. +US$11.4 อยู่ที่ US$1,134.0 ต่อออนซ์ ภายใต้ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่อ่อนแอข้างต้นกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -1,225 ล้านบาท สะสมตั้งแต่ต้นปีสุทธิ -86,780 ล้านบาท (ปี’57 มียอดขายสุทธิสะสม 36,584 ล้านบาท)
(-) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) - กค. ลดลง 5.3%yoy เทียบกับที่
ลดลง 7.7% เมื่อมิย. โดยลดลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิต - กค. อยู่ที่ 58.74% ดีขึ้นจาก 57.09% เมื่อมิย. อย่างไรก็ตาม สศอ. ยังคงคาดการณ์ดัชนี MPI ว่าเติบโต 3 - 4% จากที่ลดลง 4.59เมื่อปี’57 และจะทบทวนคาดการณ์ดังกล่าวอีกครั้งสิ้น 3Q/58
ทิศทางตลาด :
ทิศทางตลาด : ผันผวน? ภายใต้ปัจจัยต่างประเทศ (+) การคาดการณ์ว่าเฟดอาจจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน ก.ย. นี้ จากความผันผวนเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจีน นอกจากนี้ในระยะสั้นคาดยังได้รับปัจจัยหนุนจากมาตรการผ่อนคลายทางการเงินของจีน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) และการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ แต่ (-) ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ยังมีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะความเชื่อมั่นผู้บริโภค ล่าสุดที่มีความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจจีน
.....เช่นเดียวกับปัจจัยในประเทศ (+) ความคาดหวังในเชิงบวกต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของครม. ชุดใหม่ โดยเฉพาะทีมเศรษฐกิจ ซึ่งคาดมีความชัดเจนในสัปดาห์นี้ (คาดนำเข้าครม. 1/9/58) คาดเน้นช่วยกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย และ SME รวมถึงกระตุ้นการลงทุนทั้งภาคเอกชน และภาครัฐ นอกจากนี้ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น คาดมีแรงเก็งกำไรกลับเข้ามาในกลุ่มพลังงานต่อเนื่อง แต่ (-) Fund Flow ต่างชาติยังคงขายสุทธิ ต่อเนื่องอีกกว่า 1,200 ล้านบาท และทำให้ YTD มูลค่าขายสุทธิสูงเกือบ 87,000 ล้านบาท ขณะที่คาดหุ้นที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเริ่มมีแนวโน้มทรงตัวได้และเป็นโอกาสในการสะสมหุ้น เช่น กลุ่มโรงแรม (CENTEL) และหุ้นกลุ่มสายการบิน (เช่น AAV, BA) เป็นต้น
...และยังแนะติดตาม (1) หุ้นกลุ่มโรงกลั่น เช่น IRPC, PTTGC, TOP และ BCP จะได้รับผลกระทบจากการขาดทุนจากสต็อกน้ำมันในช่วง 3Q/58 แต่เรามองเป็นโอกาสในการทยอยสะสมหุ้นในช่วงที่ราคาอ่อนตัวสำหรับการลงทุนในระยะยาวกลาง – ยาว (2) กลุ่มรับเหมาก่อสร้างที่คาดยังคงได้รับประโยชน์จากโครงการภาครัฐ เช่น CK, STEC, TRC และ UNIQ (3) ค่าเงินบาท ภาพรวมยังมีทิศทางอ่อนค่า โดยเคลื่อนไหวบริเวณ 35.86 – 35.89 คาดเป็น Sentiment ที่ดีต่อกลุ่มส่งออก และ (4) กลุ่มวัสดุก่อสร้างที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากโครงการก่อสร้างของภาครัฐ เช่น TASCO และ VNG เป็นต้น
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.02 อยู่ที่ 2.19% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54) และดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.05 มาอยู่ที่ 26.05
หุ้นแนะนำ : GL
ประเด็นที่ต้องติดตาม (31 สค. – 4 กย.’58)
31/8/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโก - สค.
1/9/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้าย – สค. (2) ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้าง - กค.
(3) ดัชนี PMI ภาคการผลิต - สค.
2/9/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน - สค. (2) ประสิทธิภาพการผลิตและต้นทุนแรงงานต่อหน่วย – 2Q/58
(3) ดัชนีการผลิตรัฐนิวยอร์ค - สค. (4) ยอดสั่งซื้อของโรงงาน - กค. (5) สต็อกน้ำมัน
3/9/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน (2) ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ - กค. (3) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้าย - สค. (4) ดัชนี PMI ภาคบริการ - สค.
4/9/58 : สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร - สค.
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ 02-684-8788