- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 26 August 2015 16:49
- Hits: 1315
บล.เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
การใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายของจีนในระยะสั้น ๆ น่าจะหนุนตลาดหุ้นเอเซียในเช้าวันนี้ต่อ แม้ว่ามีการฟื้นตัวในช่วงบ่ายวานนี้ไปแล้วก็ตาม ทั้งนี้คาดว่า SET น่าจะขึ้นไปทดสอบ 1,330 จุดอีกรอบโดยยังเน้นหุ้นที่กระทบจากเศรษฐกิจชะลอน้อยอย่าง BTS(FV@B12) และ Property Fund ที่จ่ายปันผลสูงและมีรายไดมั่นคงอย่าง TFUND([email protected]) เป็น Top Pick
SET Index 1,323.88
เปลี่ยนแปลง (จุด) 22.82
มูลค่าซื้อขาย (ล้านบาท) 60,200.19
ยอดซื้อ-ขายสุทธิ นักลงทุนแต่ละประเภท (ล้านบาท)
นักลงทุนต่างชาติ -3,311.92
บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ 1,076.53
นักลงทุนสถาบันในประเทศ 3,143.31
นักลงทุนรายย่อย -907.92
ตลาดหุ้นโลกฟื้นตัว ตอบรับจีนใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
บ่ายวานนี้เริ่มเห็นตลาดหุ้นโลกบางแห่งเริ่มฟื้นตัว หรือชะลอการปรับฐานลง หลังจากที่ปรับฐานหนักๆ มากว่า 1 เดือน ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากจีนได้ประกาศใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย โดยธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะ 1 ปี ลง 0.25% มาอยู่ที่ 4.6% นับเป็นการปรับลดลงครั้งที่ 5 นับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2557 (และเป็นครั้งที่ 4 ในปีนี้) และลดอัตราการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลง 0.5% มาอยู่ที่ 18% (เป็นครั้งที่ 3 ในปีนี้)
เป็นที่สังเกตว่าการใช้นโยบายผ่อนคลายต่อเนื่องน่าจะเกิดจากความกังวลที่ PMI ตกต่ำกว่าจุดต่ำเดิมที่ทำไว้ในปี 2552 (ดังภาพด้านล่าง) ซึ่งคาดว่าน่าจะกระตุ้นตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเซียได้บ้างหลังจากตกต่ำต่อเนื่องมานาน ทั้งนี้ ระดับดอกเบี้ยนโยบายของจีนที่4.6% เป็นระดับที่ต่ำกว่าช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจช่วงปี 2552 ที่ระดับ 5.31% จึงอาจเหลือพื้นที่ให้ปรับลงได้อีกไม่มากนัก ตรงข้ามกับ RRR ที่ยังสูงกว่าช่วงปี 2552 ที่ราว 15% จึงยังมีน้ำหนักที่ PBOC จะปรับ RRR ลงได้มากกว่า
ท่ามกลางเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวดังกล่าวอาจจะกดดันเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐซึ่งเป็นประเทศเดียวในกลุ่มประเทศพัฒนาที่ฟื้นตัวตั้งแต่ปี 2557 (หลังจากมีการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน QE มา 3 รอบ) อาจจะเกิดสะดุดบ้างในระยะสั้น โดยวานนี้มีการรายงานตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ส.ค. ฟื้นตัวมาอยู่ที่ระดับ 101.5 ดีขึ้นมากเทียบกับที่ต่ำกว่าระดับ 100 มาตั้งแต่เดือนเม.ย.เป็นต้นมา ส่วนหนึ่งเกิดจากตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง แม้ว่าอาจจะแกว่งตัวในช่วงสั้นๆ สะท้อนจากยอดขายบ้านใหม่ในเดือน ก.ค.อยู่ที่ 5.07 แสนหลัง เพิ่มขึ้น 5.4% จาก 4.82 แสนหลังในเดือน มิ.ย. เป็นการฟื้นตัวที่ดีขึ้นมากเทียบกับ มิ.ย. ที่หดตัว 6.8% จากเดือน พ.ค. ในส่วนของภาคการผลิตและบริการยังทรงตัว โดยพบว่าดัชนี PMI ภาคบริการ จัดทำโดย Markit เดือน ส.ค.ยังคงทรงตัวอยู่ที่ระดับ 55 ต่อเนื่องมาตั้งต้นปี 2558 ส่วนดัชนี PMI ภาคการผลิตอยู่ที่ระดับ 55 ยังคงทรงตัวเทียบกับเดือน มิ.ย อยู่ที่ 55.7 จะเห็นได้ว่ามีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้น ซึ่ง Fed มีแนวโน้มที่จะขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น แม้สถานการณ์ตอนนี้จีนจะชะลอตัวลงก็ตาม ทาง ASPS มองว่า ถึงแม้ Fed จะส่งสัญญาณการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายภายในปีนี้ แต่น่าจะเป็นการขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งยังให้ความเห็นว่าอย่างเร็วสุดคือ ในการประชุมครั้งสุดท้ายของปีนี้คือ 15-16 ธ.ค. 2558 หรือไม่ต้นปี 2559
ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในภูมิภาครวมถึงไทยยังคงถูกขายสุทธิ
วานนี้ นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 477 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 15) โดยเป็นการซื้อสุทธิอยู่ประเทศเดียวคือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิราว 175 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 4 วัน) ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศ ต่างชาติยังคงขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 416 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 14) เช่นเดียวกับอินโดนีเซียถูกขายสุทธิราว 55 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 15) และฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 59 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 12) ส่วนตลาดหุ้นไทยถูกขายสุทธิราว 93 ล้านเหรียญ หรือ 3,312 ล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกัน 6 วัน โดยมียอดขายสะสมสุทธิรวม 2.7 หมื่นล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 3,143 ล้านบาท
ทางด้านตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 19,645 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิ 5,323 ล้านบาท ส่วนทางค่าเงินบาทล่าสุดอยู่ที่ 35.67 บาท/ดอลลาร์
ตลาดหุ้นรีบาวด์ช่วงสั้น ทยอยสะสมหุ้นปลอดภัย เติบโตแกร่ง
วานนี้ตลาดฯ มีการรีบาวด์ขึ้นมาได้หลังจากปรับลดลงหนักในวันก่อนหน้า ทั้งนี้ นับตั้งแต่ SET Index ขึ้นไปทำจุดสูงสุดในปีนี้ที่ระดับ 1,619.65 จุด เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2558 เป็นต้นมา นับถึงปัจจุบันดัชนีปรับลดลงไปแล้วกว่า 18.1% โดยเป็นที่น่าสังเกตว่ากลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะปรับลงแรงกว่าตลาด นำโดย ธนาคารพาณิชย์ ลดลงหนักถึง 29.5% ตามมาด้วยสื่อ-บันเทิง ลดลง 28% พลังงาน ลดลง 24.8% และอสังหาฯ ลดลง 22.9% ส่วนกลุ่มที่ใกล้เคียงกับตลาด คือ เกษตร-อาหาร -18.3% สื่อสาร -17.6% ยานยนต์ -16% และรับเหมาฯ -15.9% สวนทางกับกลุ่มที่ปรับลดลงน้อยกว่าตลาด ได้แก่ ขนส่ง -15.2% ปิโตร -11.5% ประกันฯ -6.9% ท่องเที่ยว-โรงแรม -5.7% วัสดุก่อสร้าง -4.7% ค้าปลีก -3.7% ชิ้นส่วน -1.9% และกลุ่มที่สามารถปรับขึ้นได้ คือ โรงพยาบาล +0.9% การฟื้นตัวช่วงสั้นของตลาดหุ้นไทยวานนี้ ส่งผลให้ระดับ Expected PER ณ สิ้นปี 2558 อยู่ที่ 14.8 เท่า ซึ่งใกล้เคียงกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน ได้แก่ ตลาดหุ้นมาเลเซีย 14.7 เท่า อินเดีย 15.8 เท่า แต่สูงกว่าอินโดนีเซีย 13.7 เท่า และจีน 12.2 เท่า จึงนับว่าตลาดหุ้นไทยยังมีมี downside risk อยู่ โดยเชื่อว่าที่ PER 14 เท่า น่าจะทำหน้าที่เป็นฐานราคาที่แข็งแกร่งของตลาดหุ้นไทยได้ สำหรับกลยุทธ์การลงทุนแนะนำสะสมหุ้นพื้นฐาน ซึ่งปลอดภัยจากเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว โดยเน้นเลือกหุ้นที่มีคุณสมบัติดังนี้คือ Dividend Yield สูง ที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภคพื้นฐาน หรือหุ้นที่มีอัตราการเติบโตของกำไรสูง อาทิ
- หุ้นสาธารณูปโภค โรงไฟฟ้า ประปา เนื่องจากรายได้ค่อนข้างมั่นคง มีความผันผวนต่ำ ได้แก่ EASTW (FV@B14) beta ต่ำเพียง 0.50 และ PER เพียง 14 เท่า คาดหวัง Div.Yield ราว 4.2%, TTW ([email protected]) beta ต่ำเพียง 0.46 และ PER 14.9 เท่า คาดหวัง Div.Yield ถึง 5.9%, EGCO (FV@B184) beta ต่ำเพียง 0.27 และ PER เพียง 10.6 เท่า Div.Yield ราว 4.1%
- หุ้นเติบโตแรงท่ามกลางเศรษฐกิจชะลอตัว ได้แก่ SCC (FV@B 580) EPS Growth ปีนี้กว่า 40% และปีหน้าเติบโต 8%, WORK (FV@B 45) EPS Growth ปีนี้เติบโตถึงกว่า 7 เท่า และปีหน้าเติบโต ถึง 73%, และ THCOM(FV@BCC) EPS Growth ปีนี้เติบโต 30% และปีหน้าเติบโต 12%
- หุ้น Dividend Yield สูง ได้แก่ INTUCH (FV@B113) Div.Yield 7%, ADVANC (FV@B 285) Div.Yield 6.2%, BTS (FV@B12) Div.Yield 7.2%
- กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และกอง REIT สำหรับผู้ลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลาง ได้แก่ TFUND([email protected])
ตลาดหุ้นผันผวน เน้นกองทุนมีกระแสเงินสด+ปันผลสูง : TFUND
ภายใต้ภาวะตลาดหุ้นไทยที่ยังมีความเสี่ยงสูง ขณะที่ผลตอบแทนการลงทุนในพันธบัตร และดอกเบี้ยเงินฝากกับสถาบันการเงิน ก็มีแนวโน้มต่ำลง ทำให้ทางเลือกการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจหายากขึ้น อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลาง กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากมีความเสี่ยงด้านราคาซื้อขายที่ต่ำ โดยพบว่ามี Beta ต่ำ 0.06 อีกทั้งโครงสร้างรายได้ของกองทุน Property Fund และ REIT เกิดจากค่าเช่าที่ได้รับจากอสังหาริมทรัพย์ที่กองไปลงทุน ทำให้มีความมั่นคงของรายได้ และสามารถจ่ายเงินปันผลได้สม่ำเสมอ โดยปัจจุบันคิดเป็น Div Yield เฉลี่ย 7% ต่อปี
ทั้งนี้ในการเลือกลงทุน ควรพิจารณาถึงองค์ประกอบ 1) สินทรัพย์ที่กองทุนถือครอง ควรคำนึงถึงความมั่นคงของโครงสร้างรายได้ 2) ลักษณะการครอบครองสินทรัพย์ ซึ่งมีทั้งแบบครอบครองกรรมสิทธิ์ หรือ กองเป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นเลย (Freehold) และ แบบครองสิทธิการเช่า (Leasehold) โดยผลตอบแทนกอง Leasehold ควรจะให้อัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend yield) ที่สูงกว่า Freehold เนื่องจากมีระยะเวลาในการสร้างรายได้ของสินทรัพย์จำกัดเท่ากับอายุสัญญาเช่า เช่น 30 ปี เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว กองทุนฯ จะต้องคืนสินทรัพย์กลับไปยังเจ้าของเดิมที่ทำสัญญาเช่าไว้ ทำให้ NAV เมื่อหมดอายุสัญญาเช่ากลายเป็น 0 ต่างจากกองที่เป็น Freehold หากเลิกกองฯ ก็จะมีการขายสินทรัพย์ออกไปและนำเงินมาจ่ายคืนให้ผู้ถือหน่วย ดังนั้นเงินที่จ่ายออกมาจากกองทุนประเภท Leasehold ให้กับผู้ถือหน่วย ต้องถือว่ามี 2 ส่วนด้วยกัน คือเงินต้นที่จ่ายคืน และ เงินปันผล 3) อัตราเงินปันผล ต้องสม่ำเสมอและไม่ต่ำกว่า 6-7% ขึ้นไป และ 4) สภาพคล่องในการซื้อขาย โดยภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว ฝ่ายวิจัยแนะนำลงทุน
CPNRF (Leasehold) : ลงทุนสิทธิเช่าศูนย์การค้า 4 แห่ง มีอายุการเช่าคงเหลือเฉลี่ย 35 ปี (โครงการพระราม 2, พระราม 3, ปิ่นเกล้าและเชียงใหม่ แอร์พอร์ต ซึ่งมีอายุการเช่าคงเหลือ 10, 80 (อายุสัญญา 30 ปี ต่อได้ 2 ครั้ง), 9, และ 29 ปี ตามลำดับ) เงินปันผลปี 2558 คาดไว้ที่ 1 บาท/หน่วย เทียบเท่า Div Yield เฉลี่ย 6.1% ซึ่งลดลงจากอดีตทีผ่านมา แต่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นแค่ชั่วคราว เนื่องจากปีนี้มีการปรับปรุงศูนย์การค้าปิ่นเกล้าร่วม 6 เดือน เมื่อปรับปรุงเสร็จใน 4Q58 ย่อมสร้างโอกาสในการปรับขึ้นค่าเช่าได้สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้การจ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้นตามมาเช่นกัน โดยคาด Div Yield ปี 2559 และ 2560 จะเพิ่มเป็น 7.7% และ 8.2% ตามลำดับ
POPF (Leasehold): ลงทุนสิทธิการเช่าอาคารสำนักงาน 3 แห่ง อายุการเช่าคงเหลือเฉลี่ย 23.2 ปี (อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์มีอายุการเช่าคงเหลือ 10 ปี, อาคารยูบีซี 2 เหลือ 26 ปี และ อาคารบางนา ทาวเวอร์ อายุเหลือ 29 ปี) ซึ่งมีการเช่าเฉลี่ยเกิน 95% และปรับขึ้นค่าเช่าเฉลี่ย 3-5% ต่อปี ทำให้สามารถจ่ายเงินปันผลแน่นอนทุกไตรมาส โดย Div Yield ปี 2558 สูงถึง 8.1% ต่อปี
SPF (Leaseholds): ลงทุนสิทธิการเช่าในสนามบินสมุย (อายุการเช่าคงเหลือ 21 ปี) โดยคาดเงินปันผลปี 2558 ระดับ 7% อีกทั้งเป็นกองทุนเดียวที่มีการประกันรายได้ขั้นต่ำตลอดสัญญาเช่า 30 ปี ระดับ 6% ของขนาดกองทุน คิดเป็นมูลค่า 570 ล้านบาทต่อปี ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงให้กับนักลงทุน
TFUND (Freehold): ลงทุนกรรมสิทธิ์ในโรงงานอุตสาหกรรมและคลังสินค้า 245 โรง พื้นที่รวม 5.8 แสนตารางเมตร สำหรับปี 2558 คาด Div Yield เฉลี่ย 6.6% ด้านราคาซื้อขายหน่วยลงทุนปัจจุบันยังต่ำกว่า NAV สิ้นเดือน มิ.ย. 2558 ที่ 11.07 บาท และคาดการณ์ NAV สิ้นปี 2558 ที่ 11.66 บาท (วันนี้ขึ้นเครื่องหมาย XD 0.16 บาทต่อหน่วย)
นักวิเคราะห์: ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647