- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Saturday, 22 August 2015 14:31
- Hits: 2491
คมนาคมชงครม.พิจารณากย.นี้ เปิดเสรีน่านฟ้าแบบมีเงื่อนไข
แนวหน้า : นายวรเดช หาญประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนนโยบายการเปิดเสรีน่านฟ้า หรือ Open Skies Policy ว่า สำหรับนโยบายเปิดเสรีน่านฟ้าแบบมีเงื่อนไข หรือ Open Skies Under Condition จะข้อสรุปให้มีการเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ภายในเดือนก.ย.นี้
สำหรับ Open Skies Under Condition จะพิจารณาเปิดเสรีน่านฟ้าโดยพิจารณาตามปริมาณความจุของท่าอากาศยานแต่ละแห่งว่าสามารถรองรับสายการบินและจำนวนผู้โดยสารได้มากน้อยเพียงใด และตามนโยบายจะมีการแบ่งแผนเป็น 3 ระยะ ได้แก่ แผนระยะสั้น1 ปี แผนระยะกลาง 3 ปี และแผนระยะยาว 5 ปี
นายวรเดช กล่าวว่า สำหรับการใช้ท่าอากาศยานอู่ตะเภา เชิงพาณิชย์ จะเป็นสนามบินทางเลือกแห่งใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาท่าอากาศยานของไทยที่แออัด ซึ่งจะอยู่ในแผนระยะสั้น ส่วนแผนระยะกลางและระยะยาวต้องรอแผนการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส 2
สำหรับ เที่ยวบินที่ให้บริการกับท่าอากาศยานของไทยปัจจุบันจะอยู่ที่ประมาณ 700,000 เที่ยวต่อปี และในปีหน้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,000,000 เที่ยวต่อปี
คาด E-Freight แล้วเสร็จปลายปี เชื่อลดต้นทุนภาคขนส่ง SME
แนวหน้า : นายวรเดช หาญประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนนโยบายการเปิดเสรีน่านฟ้า หรือ Open Skies Policy ว่า นโยบายเปิดเสรีน่านฟ้าแบบมีเงื่อนไขหรือ Open Skies Under Condition โดยเป็นการสำรวจถึงปริมาณความจุของท่าอากาศยานแต่ละแห่งว่า สามารถรองรับสายการบินและจำนวนผู้โดยสารได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งได้มีข้อสรุปให้มีการเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ภายในเดือน ก.ย.นี้ โดยจะมีการแบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่ แผนระยะสั้น 1 ปี แผนระยะกลาง 3 ปี และแผนระยะยาว 5 ปี โดยแผนระยะสั้นจะกำหนดช่วงเวลาในการเข้า-ออกท่าอากาศยาน ,การจัดระบบการจราจรทางอากาศแบบใหม่ รวมถึงการใช้พื้นที่ว่างของท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิมาใช้งานเช่นการทำหลุมจอดเพิ่มเติม
ทั้งนี้ แม้ว่าการใช้ท่าอากาศยานอู่ตะเภาเป็นทางเลือกแห่งใหม่จะยังดำเนินการไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ในแผนระยะสั้นจะมีการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2559 เพื่อแก้ไขปัญหาท่าอากาศยานของไทยที่แออัดในระยะสั้น ส่วนแผนระยะกลางและระยะยาวก็จะรอแผนการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส 2 และระบบการบริหารจัดการด้านอากาศใหม่ๆ รวมถึงการขอจัดสรรพื้นที่ห้วงอากาศเพิ่มเติมจากกองทัพอากาศ สำหรับเที่ยวบินที่ให้บริการกับท่าอากาศยานของไทยปัจจุบันจะอยู่ที่ประมาณ 700,000 เที่ยวต่อปี และในปีหน้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,000,000 เที่ยวต่อปี
ด้านนางสาวอัมพร ชาตบุษยมาส ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ความคืบหน้าในการส่งเสริมและพัฒนาระบบเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ระหว่างผู้ประกอบการขนส่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง(E-Freight & E-transport) ได้มีข้อสรุปให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือน ธ.ค.นี้ ซึ่งจะทำให้ข้อมูลการขนส่งทางอากาศ,ทางเรือ และด่านชายแดนเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการสามารถเชื่อมโยงข้อมูลและติดต่อกับภาครัฐบาลได้ง่ายขึ้น โดยกลุ่มผู้ประกอบการที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดคือกลุ่ม SME เนื่องจากผู้ประกอบการจะมีต้นทุนด้านการจัดระบบข้อมูลการขนส่งที่ลดลง ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาว่าจะลดได้มากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตามในวันที่ 1 ก.ย.58 จะมีการรับฟังความคิดเห็นผู้ประกอบการเพื่อไปปรับปรุงระบบก่อนให้มีการทดลองใช้