WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BAYบล.กรุงศรี : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

Daily Strategy

     ตลาดหุ้นอังคารที่ผ่านมา: SET ร่วงลง -11.81 จุด ปิดที่ 1,408.32 จุด จากความวิตกกังวลต่อผลกระทบที่จะเกิดจากการปรับลดค่าเงินหยวนที่มีต่อธุรกิจการท่องเที่ยวและการส่งออกไทย-จีน รวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจจีนที่จะชะลอมากกว่าคาด นักลงทุนต่างชาติยังขายสุทธิ 1,215 ล้านบาท ต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 และกลับมา Net Short TFEX 2,940 สัญญา แต่ยังซื้อในตลาดพันธบัตร 122 ล้านบาท ต่อเนื่องเป็นวันที่ 4
แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้: เตรียมรับแรงกระแทกและผันผวนตามตลาดหุ้นต่างประเทศ หลังหยวนลดค่า shock โลก อย่างไรก็ตามเรามอง Panic เป็นโอกาสในการเข้าซื้อเล่นเด้งในระยะสั้น เนื่องจากตลาดมองประเด็นการลดค่าเงินหยวนเป็นผลร้ายมากเกินไป กรณีเลวร้ายสุด SET มีโอกาสลงไปแตะระดับ 1,380 จุด หรือปรับลงประมาณ 3%
      กลยุทธ์วันนี้: หากตลาดลงจาก Panic เราไม่แนะนำให้ขายตาม แต่หาโอกาสในการเข้าซื้อเมื่อตลาดลงแรงและเล่นเด้งระยะสั้น
Trading วันนี้ : EA และ GUNKUL (ได้ประโยชน์จากการนำเข้าสินค้าจากจีนหลังลดค่าเงินหยวน)


Accumulative BUY: SCN EPG TPCH และ GUNKUL
กลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มดี: พลังงานทดแทน ท่องเที่ยว Healthcare และสื่อสาร
      High Div. Stock: ADVANC, TVO, INTUCH, BTS KSS report วันนี้: HANA (ถือ/เป้า 33 บาท) SPALI (ถือ/เป้า 18 บาท) SVI (ถือ/เป้า 4.60 บาท) BLA (ซื้อ/เป้า 60 บาท) EA (ซื้อ/เป้า 23 บาท) KCE (ซื้อ/เป้า 62 บาท) TPCH (ซื้อ/เป้า 28) TVO (ซื้อ/เป้า 32 บาท)

 

หุ้น/ข่าว/ประเด็นสำคัญวันนี้:-
(-) เงินหยวนอ่อนค่า 3.46% ใน 2 วันที่ผ่านมา ส่งผลลบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก แต่เชื่อว่าเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น : แม้วันพุธที่ผ่านมาตลาดหุ้นปรับลง 1-3% ทั่วโลก แต่เมื่อคืนตลาดหุ้นสหรัฐร่วงต่อในช่วงเปิดตลาดกว่า 250 จุด แต่ก็กลับมาทรงตัวในช่วงชั่วโมงสุดท้ายก่อนปิดตลาด ได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มน้ำมันและคาดว่าผลกระทบจากค่าเงินหยวนที่อ่อนค่าอยู่ในวงจำกัด
(-/+) 4 เหตุผลหลักที่จีนต้องปรับลดค่าเงินหยวนและทำไมต้องปรับ เชื่อกระทบแค่ช่วงสั้น :
1) เศรษฐกิจจีนเติบโตในอัตราที่ลดลงต่อเนื่อง สวนทางกับเงินหยวนที่แข็งค่ากว่า 14% ตั้งแต่ปี 2008: ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจจีนที่เติบโตในอัตราที่ชะลอตัวต่อเนื่องจนแตะระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ทางการจีนพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง 4 ครั้ง รวมถึงการปรับลง RRR rate เพื่ออัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ ภาคการส่งออกจีนก็ยังติดลบต่อเนื่อง ดังนั้นทางการจีนจำเป็นต้องปรับลดค่าเงินหยวนเพื่อช่วยส่งออก ซึ่งหากจีนไม่ลดค่าเงินหยวนเศรษฐกิจจีนจะแย่กว่านี้ แต่ตลาดหุ้นกลับมองว่าเศรษฐกิจจะแย่กว่านี้ และจีนอาจต้องการให้หยวนอ่อนค่ามากกว่านี้อีก ทำให้นักลงทุนกลัวจีนนำเข้าสินค้าลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ดีประเด็นนี้ต้องติดตามว่าค่าเงินหยวนหลังจากนี้จะยังอ่อนค่าอีกหรือไม่อย่างไร ระยะสั้นจะเกิด Panic แต่ระยะกลางและยาวต้องติดตามผลและไม่ควรรีบด่วนสรุป
2) จีนไม่ต้องการให้สหรัฐปรับขึ้นดอกเบี้ย เพราะเงินหยวนผูกติดกับ US$: เพราะหากค่าเงิน US$ แข็งค่า เงินหยวนก็จะแข็งค่าตาม ดังนั้นหากเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินหยวนแข็งค่าตามมา และจะไปกระทบต่อการส่งออกของจีน ดังนั้นจีนจึงปรับลดค่าเงินหยวนเพื่อกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ให้ปรับลงและนำเข้าสินค้าจากจีนถูกลง ซึ่งจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอยู่ระดับต่ำต่อเนื่องเพื่อดึงไม่ให้เฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือน ก.ย นี้
3) ค่าเงินของประเทศคู่แข่งทางการค้าของจีนได้อ่อนค่าไปมากแล้วก่อนหน้านี้อย่างญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และภูมิภาคเอเชีย ทำให้จีนสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน: ดังนั้นจีนจึงต้องลดค่าเงินหยวนเพื่อช่วยส่งออก ซึ่งจะทำให้ประเทศคู่แข่งจะได้รับผลกระทบในทางลบ สำหรับไทยส่งออกไปจีนประมาณ 14% ล่าสุดหลังจีนลดค่าเงินหยวน ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 2.5% เมื่อเทียบกับหยวน มาอยู่ที่ 5.5 บาท/หยวน ขณะที่ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและสกุลอื่นอ่อนค่ากว่า 7.5% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ดังนั้นด้านการส่งออกไทยจะได้รับผลกระทบไม่มาก
4) จีนต้องการแสดงให้เห็นว่าค่าเงินหยวนมีความยืดหยุ่นและสามารถเข้าไปคำนวนในตะกร้าเงินโลก (SDR) ได้ เพราะหากหยวนเข้าไปอยู่ในตะกร้าเงินโลกจะต้องลอยตัวค่าเงินและมีความยืดหยุ่นสูง

 

Best Regards,
Songklod Wongchai
Analyst
Research Department

Krungsri Securities Public Company Limited
Tel: +66 (0) 2659 7000 ext.5003
Fax: +66 (0) 2658 5645
Email: [email protected]

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!