- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 22 July 2015 17:49
- Hits: 1970
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
"ซื้อใหม่...เน้นอ่อนตัว"
Stock Picks-Jul 2015 : Fundamental : CENTEL, CK, CPN, IVL, TUF ส่วน Dark Horse คือ MCS, SYNEX
Fundamental Pick -Today: SPF (ดูใน Company Focus วันนี้)
Top Picks-High Div Yield : ADVANC, INTUCH, BTS, DCC, DELTA, DTAC, AP, QH, SPALI, SRICHA, MODERN, TISCO, TMT, BTSGIF, JASIF, CPNRF, TRUEIF
Shot Sell-Prev : PTT 11%, ADVANC & TRUE & BH 10%
Technical View ภาพตลาดเป็นลบ เน้นซื้ออ่อนตัว
Support Resistance Stop loss
SET 1440,1420 1460,1470 ค่าลบ
SET50 940,920 960-970 ค่าลบ
Technical Picks- Today : QH, PTTEP, INTUCH, BCP, EE, SPF, M
หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : SET Index ดิ่งลงอีก 19.27 จุด ปิดที่ 1447.44 โดยเป็นการขายปรับพอร์ตหุ้นกลุ่มหลักอีกระลอกหนึ่ง ทั้งในกลุ่มธนาคารพาณิชย์, ไฟแนนซ์, พลังงาน, สื่อสาร, อสังหาริมทรัพย์, ขนส่ง เป็นต้น ซึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจทำให้กำไรของบจ.มีแนวโน้มอ่อนแอกว่าที่เคยประมาณการไว้ นักลงทุนสถาบันในประเทศนำขายสุทธิที่ 1.7 พันล้านบาท ต่างชาติขายสุทธิแต่ไม่มากที่ 350 กว่าล้านบาท รายย่อยซื้อสุทธิ 2 พันล้านบาท ส่วนพอร์ตบล.ซื้อ/ขายใกล้เคียงกัน
ระยะสั้นปัจจัยที่มีน้ำหนักต่อตลาดคือ ผลประกอบการ 2Q58 ซึ่งทำให้มีการเลือกซื้อเก็งกำไรกันเป็นรายบริษัท แต่โดยภาพใหญ่ของตลาดแล้วยังถูกกดดันจากปัญหาเศรษฐกิจซบเซา และโครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐเลื่อนไปเป็นปี 59 (มีข่าวว่าโครงการลงทุนขนาดใหญ่ด้านคมนาคมในปีนี้จะมีมูลค่าราว 9.5 หมื่นล้านบาท ส่วนอีก 7.3 แสนล้านบาทเลื่อนไปลงทุนปีหน้า) รวมทั้งต้องจับตาโรคเมอร์ส ว่าเข้ามาในไทยแล้วหรือไม่ ซึ่งส่วนนี้จะส่งผลกระทบภาคท่องเที่ยวที่เป็น Key Growth ในปีนี้ ส่วนภายนอก ตลาดเชื่อว่าเฟดจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้อย่างแน่นอน และทำให้ค่าเงินดอลลาร์อยู่ในแนวโน้มแข็งขึ้นเพราะสหรัฐเป็นประเทศใหญ่รายเดียวที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยขณะที่ประเทศอื่นๆยังคงต้องใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป รวมถึง EU ที่ยังคงเดินหน้าโครงการ QE ต่อไปจนถึงก.ย.59 กลยุทธ์การลงทุน ถอยรับเป็น Step ในหุ้นพื้นฐานดีเพื่อลงทุนระยะกลาง-ยาว สำหรับ Position ที่ยังต้องคงไว้ในพอร์ตเน้นหุ้น Defensive & ปันผลสูง
การวิเคราะห์ทางเทคนิค ภาพตลาดโดยรวมเป็นลบ ตลาดมีแนวรับระยะสั้น 1440, 1420 จุด ส่วนการรีบาวด์จะมีแนวต้าน 1460, 1470 จุด โดยยังต้องระวังการเด้งสั้นแล้วลงต่อ เพราะยังขาดปัจจัยบวกใหม่สนับสนุน สำหรับหุ้นที่มีสัญญาณทางเทคนิคดี เน้นการซื้อเก็งกำไรตามด้วยค่าบวก ได้แก่ QH, PTTEP, INTUCH, BCP, EE, SPF, M
Market Drivers
ปัจจัยต่างประเทศ & ราคาโภคภัณฑ์
+ สหภาพยุโรป : ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนพ.ค.58 ดีขึ้นเมื่อเทียบ MoM โดยอยู่ที่ 1.3 หมื่นล้านยูโร จาก 1.19 หมื่นล้านยุโรในเดือนเม.ย.58 โดยหลักมาจากยอดเกินดุลบริการที่ดีขึ้นมากเป็น 1.43 หมื่นล้านยูโร จาก 8.3 พันล้านยูโร แต่ยอดเกินดุลบัญชีสินค้าลดลงเป็น 7.4 หมื่นล้านยูโร จาก 1.15 หมื่นล้านยูโร ซึ่งส่วนนี้ทำให้ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในระยะสั้น
- ตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลง โดยดัชนี DJIA ลดลง 1%, ดัชนี S&P 500 ลดลง 0.43% และดัชนี Nasdaq อ่อนลง 0.21% โดยปัจจัยที่มีน้ำหนัก คือ รายงานผลประกอบการ 2Q58 ซึ่งปรากฎว่า IBM มีประกาศกำไรแย่กว่าคาดโดยลดลง 15%YoY รวมถึงหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมก็รายงานกำไรลดลงด้วย เช่น ยูไนเต็ด เทคโนโลยีส์ และแม้ว่าหุ้นกลุ่มพลังงานจะดีดขึ้นแต่ก็ไม่สามารถชดเชยได้
ราคาน้ำมันดิบขยับขึ้นเล็กน้อย...รอข่าวใหม่ โดยสัญญา WTI และ BRENT ปรับขึ้น 0.21 และ 0.39 ดอลลาร์ ปิดที่ 50.36 และ 57.04 ดอลลาร์/บาร์เรล เนื่องจากมีการขายออกไปก่อนหน้านี้แล้ว และตลาดรอ Update ข่าวใหม่ เช่น รายงานสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ของสหรัฐ, สถานการณ์การผลิตน้ำมันอิหร่าน และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
ราคาทองคำอ่อนต่อเล็กน้อย โดยสัญญา COMEX ส่งมอบส.ค.58 ลดลง 3.3 ดอลลาร์ ปิดที่ 1103.50 ดอลลาร์/ออนซ์ ปัจจัยที่ยังกดดันราคาทองคำ คือ แนวโน้มการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ
ปัจจัยในประเทศและหุ้นเด่น
KTB รายงานกำไร 2Q58 ที่ 8.45 พันล้านบาท (+11%YoY) และกำไรสุทธิ 1H58 อยู่ที่ 16.4 พันล้านบาท (+2.9%YoY) โดยกำไรก่อนสำรองฯใน 2Q58 เติบโตได้ 8.4%YoY ที่ 17.5 พันล้านบาท แต่มีการตั้งสำรองฯพิเศษเข้ามาอีก 3.6 พันล้านบาท จากสำรองปกติไตรมาสละ 2.1 พันล้านบาท ซึ่งส่วนนี้ตลาดรับทราบแล้วตั้งแต่เดือนพ.ค.58 ด้านสินเชื่อ ณ สิ้นมิ.ย.58 เติบโต 1.4%YTD ส่วน NPL เพิ่มขึ้น 10 พันล้านบาทจากสิ้นปี 57 (+17.5%YTD) โดยหลักมาจาก SME ขนาดเล็กและลูกค้ารายย่อย แต่ NPL ลดลง 506 ล้านบาทจากสิ้น 1Q58 เพราะปรับปรุงกระบวนการตามหนี้ภายในธนาคาร ทำให้คุณภาพหนี้ส่วนรายย่อยดีขึ้น ซึ่งส่วนนี้ดีกว่าที่เราประเมินไว้ อย่างไรก็ตาม ความกังวลเรื่อง NPL ยังคงมีอยู่ใน 2H58 เพราะภาวะเศรษฐกิจโดยรวมมีแนวโน้มซบเซาต่อเนื่อง ด้วยประเด็นนี้เราจึงให้น้ำหนักลงทุนกลุ่มธนาคารพาณิชย์เป็น Neutral และแนะนำถือ KTB
/- เลื่อนลงทุนโครงการคมนาคมขนาดใหญ่ไปปี 59 ทางรมว.คมนาคมเปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่าเปิดประมูลเพื่อลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของกระทรวงคมนาคมช่วงที่เหลือของปีนี้เหลือไม่กี่โครงการ ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณปี 58 แล้วมูลค่ารวมประมาณ 9.5 หมื่นล้านบาท (รถไฟทางคู่ราง 1 เมตร 3 เส้นทาง, รถไฟรางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร และมอเตอร์เวย์สายพัทยา-มาบตาพุด ส่วนโครงการลงทุนอีกราว 7.3 แสนล้านบาท (ไม่รวมรถไฟไทย-จีน) จะเปิดประมูลปี 59 ซึ่งรวมถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ ด้วย
ความเห็นเชิงกลยุทธ์ : เป็นไปตามที่เราคาดการณ์ไว้ว่าโครงการลงทุนขนาดใหญ่จะเกิดขึ้นไม่มากในปีนี้ ทั้งนี้ทาง Retail Research ได้ปรับลดมุมมองทางบวกเรื่องการลงทุนไปเมื่อมิ.ย.และ Call ให้ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง & วัสดุก่อสร้างเป็น Neutral (เดิม Overweight) โดยใช้กลยุทธ์ถอยรับเพื่อลงทุนระยะกลาง-ยาว ซึ่งเราเชื่อว่าโครงการลงทุนสาธารณูปโภคขนาดใหญ่จะต้องเกิดขึ้นในที่สุดแม้ว่าจะล่าช้ากว่าที่เคยประเมินกันไว้ก็ตาม หุ้นเด่น CK, STEC, SCC เป็นต้น
/- กลุ่มที่พักอาศัย : สมาคมอาคารชุดไทยเป็นห่วงเรื่องทิ้งดาวน์ โดยทางสมาคมฯกำลังจับตาดูสต็อกคอนโดที่รอโอนกรรมสิทธิ์ 1.9 แสนยูนิตว่าจะมีการโอนเกิดขึ้นแค่ไหนในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว หนี้ภาคครัวเรือนสูง และธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ พร้อมทั้งเตือนไม่ให้ผู้บริโภคเข้ามาเก็งกำไรในตลาดคอนโดราคาแพงกันมากเกินไป รวมถึงให้ผู้ประกอบการพิจารณาเรื่องการเปิดขายโครงการใหม่อย่างรอบคอบ เพราะยอดขาย Presales อาจจะไม่ได้ดีมากเหมือนในช่วงที่ผ่านมา
ความเห็นเชิงกลยุทธ์ : ด้วยภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ซบเซาในปัจจุบันและมีแนวโน้มว่าจะต่อเนื่องไปใน 2H58 ทำให้เราคาดว่าผู้ประกอบการโครงการอสังหาริมทรัพย์จะชะลอการเปิดขายโครงการใหม่กันเพื่อดูแลรักษาสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม (น่าจะมีการปรับเป้าหมายยอดขาย Presales & การรับรู้รายได้อีกรอบหลังรายงานกำไร 2Q58 ทำให้นักวิเคราะห์จะมีการปรับลดประมาณการกำไรและราคาเป้าหมายของหุ้นกลุ่มนี้ลง) เราให้น้ำหนักการลงทุนกลุ่มที่พักอาศัยเป็น Neutral กลยุทธ์ เน้นทยอยซื้อสะสมหุ้นชั้นนำของกลุ่มในจังหวะราคาหุ้นอ่อนตัว โดยมองว่าผู้ประกอบการชั้นนำที่มีฐานะการเงินดีจะฝ่าความซบเซาไปได้และพร้อมจะเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว หุ้น Residential ที่มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง (Net Gearing ต่ำกว่า 0.7 เท่า) ปันผลสูง (Dividend Yield มากกว่า 5%) และ Valuation ไม่สุง (P/E ต่ำกว่า 10 เท่า) ได้แก่ LPN, LALIN, SPALI เป็นต้น
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : Tel 7829 [email protected]