- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 15 July 2015 16:09
- Hits: 1679
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET ยังผันผวน วันนี้ติดตามการประชุมรัฐสภาฯกรีซ จะยอมรับแผนปรับโครงสร้างหนี้ครั้งใหม่หรือใหม่ ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐ/ยุโรปปรับตัวขึ้นไปแล้ว จึงยังเน้นรายหุ้นที่มีประเด็นบวกหนุน TASCO([email protected]), CK ([email protected]) หุ้นที่มีภูมิคุ้มกันสูง THCOM(FV@B51) และ BTS(FV@B12) วันนี้เลือก IRPC([email protected]) เป็น Top pick ปรับ Fair Value ขึ้น 12% สะท้อนแนวโน้มธุรกิจสดใส
ตลาดหุ้นโลกตอบรับประเด็นกรีซ ยกเว้นเอเซียยังแกว่งตัวเชิงลบ
วันนี้มีประเด็นที่ต้องตาม 2 เรื่อง คือ กรีซ ที่จะต้องยื่นร่างปฏิรูปเศรษฐกิจให้รัฐสภากรีซอนุมัติและตราเป็นกฏหมายในการประชุมสภาเช้าวันนี้ 10.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) และต้องยื่นต่อให้ให้กลุ่มผู้นำ EU อนุมัติต่อเพื่อเข้าสู่กระบวนการต่อไป อย่างไรก็ตามยังต้องติดตามต่อว่าสภาฯ และประชาชนของกรีซจะยอมรับเงื่อนไขนี้หรือไม่ หลังจากมีการลงประชามติว่าไม่ขอรับเงื่อนไขการรัดเข็มขัดในวันที่ 5 ก.ค. ที่ผ่านมาถึง 62% นอกจากนี้ การขอเสียงสนับสนุนจากสภาฯ ไม่ง่ายนัก เนื่องจากฝ่ายรัฐบาลมีเสียงข้างมากในสภาเพียง 162 จาก 300 ที่นั่งเท่านั้น อีกทั้งมีสมาชิกพรรคไซรีซ่า (พรรครัฐบาล) บางคน และพรรค Independent Greek (พรรคฝ่ายค้าน) ไม่เห็นด้วยกับมาตรการรัดเข็มขัดและเตรียมโหวตไม่เห็นชอบ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องขอเสียงสนับสนุนจากฝ่ายค้านอื่นๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปได้ตอบรับประเด็นนี้แล้ว ยกเว้นเอเซียที่ยังปรับฐาน เชื่อว่าปัญหาในกรีซยังคงกดดันตลาดหุ้นโลกอยู่
ทางด้านสหรัฐ จะมีการแถลงผลงานและนโยบายการเงินในรอบครึ่งปีของนางเจเน็ต เยลเลน ประธาน Fed ต่อสภาคองเกรส วันที่ 15- 16 ก.ค. นี้ว่าจะมีมุมมองต่อเศรษฐกิจ และการส่งสัญญาณในการขึ้นดอกเบี้ยอย่างไร หลังจากวานนี้ รายงานตัวเลขค้าปลีก เดือน มิ.ย. พบว่าหดตัว -0.3% mom (ผิดจากที่ตลาดคาดว่าจะขยายตัวถึง 0.3%) เทียบกับที่ขยายตัวติดต่อกันในช่วงก่อนหน้านี้ถึง 3 เดือน (ผลกระทบจากพ้นภาวะอากาศหนาว และช่วงวันหยุด Memorial day) รวมถึงยอดค้าปลีกในเดือน พ.ค. ที่ได้มีการทบทวนใหม่ โดยปรับลดลงจากเดิมที่ขยายตัว 1.2% เป็น 1% และยอดค้าปลีกไม่รวมรถยนต์ หดตัว -0.1% mom (เทียบกับตลาดคาดขยายตัว 0.5%) และดัชนีราคาสินค้านำเข้า ปรับตัวลง -0.1% mom และเมื่อเทียบกับปีที่แล้วหดตัวถึง -10% ซึ่งเป็นผลจากค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ จะเห็นว่าดัชนีค้าปลีกที่ชะลอตัวดังกล่าว (เป็นดัชนีชี้นำภาคการบริโภคของสหรัฐ คิดเป็น 70% ของ GDP) มีความขัดแย้งกับตลาดจ้างงานที่แข็งแกร่ง ซึ่งเป็นปัจจัยบ่งชี้ภาคครัวเรือนอีกประการเช่นกัน โดยรวมจึงคาดว่าน่าจะทำให้การใช้นโยบายการเงินตึงตัวของ Fed อาจจะต้องล่าช้าออกไป สะท้อนจากผลการสำรวจของ Bloomberg พบว่าความน่าจะเป็นที่ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมในเดือน ธ.ค. อยู่ที่ 65% (ลดลงจากจากวันจันทร์ที่ 69%) และการปรับขึ้นในเดือน ก.ย. อยู่ที่ 29% (ลดจากวันจันทร์ที่ 35%) โดยคาดว่าส่วนที่เหลือน่าจะให้น้ำหนักกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยฯ ในต้นปีหน้า สอดคล้องกับ ASPS ที่มองว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ครั้งแรกน่าจะเกิดขึ้นในช่วงเดือน ธ.ค. 2558 หรืออย่างช้าในช่วงต้นปี 2559
ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นกลุ่ม TIP เล็กน้อย
วานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคราว 37 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8) โดยยังขายสุทธิอยู่ 2 ประเทศ คือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 44 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิได้เพียงวันเดียว) และตลาดหุ้นไต้หวันถูกขายสุทธิเล็กน้อยราว 4 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8) ส่วนที่เหลือเป็นการซื้อสุทธิ คือกลุ่ม TIP เริ่มจากตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ถูกซื้อสุทธิราว 8 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 4 วัน) และตลาดหุ้นอินโดนีเซียที่ถูกซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 1 ล้านเหรียญ ส่วนตลาดหุ้นไทยถูกซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 3 ล้านเหรียญ หรือ 113 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 4 วัน) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 519 ล้านบาท แต่ถ้านับตั้งแต่ต้นเดือน ก.ค. จนถึงวานนี้ ต่างชาติซื้อสุทธิสะสมตลาดหุ้นอินโดนีเซียอยู่ประเทศเดียวราว 53 ล้านเหรียญ ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศ ต่างชาติยังคงขายสุทธิสะสม
ทางด้านตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 39,698 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 4,609 ล้านบาท ส่วนค่าเงินบาทล่าสุดอยู่ที่ 34.06 บาท/ดอลลาร์
ท่ามกลางกำไรตลาดลด แต่ปรับเพิ่ม IRPC เลือกเป็น Top pick
ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรตลาดหุ้นไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้สะท้อนจากที่นักวิเคราะห์ ASPS ได้ทยอยปรับลดประมาณการกำไรตลาดไปแล้วบางส่วนและเป็นครั้งที่ 2 ของปีนี้ โดยปรับลดใน 2 กลุ่มหลักคือ ธนาคารพาณิชย์ (คาดทั้งกลุ่มจะลดลง 9% ในปีนี้ และลด 9.5% ในปีหน้า) และพลังงาน (คาดทั้งกลุ่มจะลดลง 17% ปีนี้ และ ลดลง 6.5% ในปีหน้า) รวมทั้งกลุ่มบันเทิง (RS ปรับลดปีนี้จากเดิม 600 ล้านบาท เหลือ 100 ล้านบาท และปีหน้าลดลงจาก 730 ล้านบาท เหลือ 300 ล้านบาท ตามมาด้วย MCOT มีโอกาสปรับลดประมาณการ (รายละเอียดปรากฏใน Market Talk วันจันทร์ 13 ก.ค. ที่ผ่านมา) นอกจากนี้กลุ่มที่มีแนวโน้มจะปรับลดประมาณการเพิ่มเติมได้แก่ กลุ่มเกษตรและอาหาร อันเนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง กระทบต่อต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ และทำให้ต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์บก มีแนวโน้มสูงขึ้น รวมถึงผลกระทบจากเรื่องปัญหาการทำประมงที่ผิดกฏหมาย อาจจะทำให้ปริมาณปลาป่นหายไปจากตลาดบางส่วนและ กดดันให้ราคาปลาป่น ซึ่งเป็น 1 ในวัตถุดิบอาหารสัตว์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกเช่นกัน บริษัทที่ได้รับผลกระทบในสถานการณ์นี้มากสุดคือ CPF มีแนวโน้มจะปรับลดประมาณการกำไรลงราว 40% จากประมาณการเดิม ตามมาด้วย GFPT เตรียมจะปรับลด 20% จากประมาณการเดิม
อย่างไรก็ตาม มีหุ้นส่วนน้อยที่มีการปรับประมาณการกำไรปีนี้และปีหน้าขึ้น โดยล่าสุดนักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไร และ Fair Value ปี 2558 ของ IRPC([email protected]) ขึ้นจากเดิม เพื่อสะท้อน กำไรสุทธิงวด 2Q58 ฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยได้รับปัจจัยหนุนหลักมาจากหลายประเด็น เช่น
กำไรจากสต๊อกน้ำมันราว 4 เหรียญฯต่อบาร์เรล และ Market GIM ในงวด 2Q58 จะปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.2%qoq มาอยู่ที่ 13.8 เหรียญฯต่อบาร์เรล (จาก Spread ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงมาเฉลี่ยอยู่ราว 7.7 เหรียญ ฯต่อบาร์เรล จาก 5 เหรียญฯต่อบาร์เรล ในงวดก่อนหน้า ยังชดเชย Spread ของธุรกิจโรงกลั่นและ น้ำมันหล่อลื่นปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 5.1 เหรียญฯต่อบาร์เรล จาก 7 เหรียญฯต่อบาร์เรล ในงวดก่อนหน้า)
บันทึกเงินชดเชยจากการเคลมประกันกรณีเหตุเพลิงไหม้หน่วย VGOHT จำนวน 400 ล้านบาท แม้อาจจะถูกหักล้างจากการบันทึกขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนราว 500 ล้านบาท ตามค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงจากสิ้นงวด 2Q58 ราว 1.2 บาทต่อเหรียญฯก็ตาม
โดยรวมกำไรสุทธิงวด 1H58 คิดเป็น 98% ของประมาณการทั้งปี 2558 เดิม จึงปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2558 ขึ้นจากเดิมราว 20.9% (พลิกเป็นกำไรราว 6.6 พันล้านบาท จากขาดทุนกว่า 7 พันล้านบาท ในปี 2557) โดยการปรับเพิ่มสมมติฐาน GIM ขึ้น 1 เหรียญฯต่อบาร์เรล เป็น 12 เหรียญฯต่อบาร์เรล และ 2) ปรับเพิ่มรายได้พิเศษเงินชดเชยจากการเคลมประกันภัยกรณีเหตุเพลิงไหม้หน่วย VGOHT จำนวน 1.4 พันล้านบาท ทั้งนี้ประเมินว่าผลกำไรในงวด 2H58 อาจจะมีกำไรที่อ่อนลงเมื่อเทียบกับ 1H58 ซึ่งเป็นภาวะปกติ และ รายการพิเศษต่าง ๆ ที่กล่าวมาจะลดลงในช่วงที่เหลือของปีนี้ แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าจะมีประเด็นบวกที่เป็นปัจจัยหนุนหุ้น IRPC คือ ความคืบหน้าโครงการ ฟีนิกซ์ (หรือ UHB เป็นการเพิ่มมูลค่าน้ำมันเตา ที่มีมาร์จินติดลบ มาทำการผลิตโพลิโพรพิลิน ทำให้มาร์จินโดยรวมดีขึ้น) คาดจะเริ่มผลิตในเชิงพาณิชย์ราวต้นปี 2559 ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้กำไรสุทธิในปี 2559 มีอัตราการเติบโตสูงถึง 35.8% จากปี 2558 พร้อมกับปรับเพิ่มมูลค่าหุ้นในปี 2558 จากเดิม 5.2 บาท เป็น 5.80 บาทต่อหุ้น ซึ่งมีค่า Expected PER ต่ำกว่า 10 เท่า และ สามารถยก ROE ขึ้นแตะ 13% ในรอบ 8 ปี
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647