- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 10 July 2015 15:54
- Hits: 1326
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ถูกดดันรอบด้าน ทั้งกำไรตลาดที่ลดลง และภัยแล้งที่จะกดดันเศรษฐกิจในประเทศ จึงยังเน้นหุ้นที่กำไรเด่นในช่วงที่เหลือ/ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อน (RCL, HANA) หรือทนทานต่อเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวได้ (TASCO) วันนี้เลือก THCOM(FV@B51) และ BTS(FV@B12) เป็น Top Picks
กรีซเสนอแผนยกเครื่องเศรษฐกิจน่าจะลดแรงกดดันระยะสั้น
เชื่อว่าแรงกดดันจากกรีซอาจจะลดลง หากพิจารณาจากแผนปฏิรูปเศรษฐกิจฉบับใหม่ที่อยู่ระหว่างการจัดเตรียมในขณะนี้ และพร้อมจะยื่นให้กับเจ้าหนี้พิจารณาในการประชุมผู้นำ EU ในวันอาทิตย์นี้ (12 ก.ค.) หลังจากที่วานนี้รัฐสภากรีซได้ลงมติเห็นชอบกับแผนปฏิรูปดังกล่าว ซึ่งในเบื้องต้นมีความเห็นว่าเริ่มปรับให้กับเงื่อนไขที่เจ้าหนี้กำหนด คือ ยินยอมเพิ่มการใช้งบประมาณแบบเกินดุล(รายได้ภาษี มากกว่าค่าใช้จ่าย ซึ่งไม่รวมต้นทุนทางการเงิน) เป้าหมาย 3.5% ของ GDP ภายในปี 2561 (เทียบกับร่างฯ ครั้งก่อนที่ 1, 2 และ 3% ในปี 58, 59 และ 60 ตามลำดับ) โดยมีรายละเอียดคือ
- เพิ่มรายรับด้วยการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มในบางธุรกิจ เช่น อาหารเป็น 23% ธุรกิจโรงแรมเป็น 13% โดยมีเป้าหมายคือเพิ่มรายได้ให้ได้ 1% ของ GDP หรือ 1.8 พันล้านยูโรต่อเนื่องทุกปี
- ตัดลดค่าใช้จ่าย ด้วยการปฏิรูประบบเงินบำนาญ (รัฐบาลกรีซได้ออกกฏหมายไว้แล้วตั้งแต่ปี 2555 มีผลบังคับใช้ในเดือน ต.ค. 2558 แต่ทางเจ้าหนี้ต้องการให้บังคับใช้ทันที) และต้องการให้เพิ่มอายุเกษียณเป็น 67 ปี ภายในปี 2565 รวมทั้งยกเลิกเงินบำนาญช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยภายใน ธ.ค. 2562
เป็นที่น่ากังวลว่า แม้แผนนี้จะผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรีซแล้ว และเจ้าหนี้อาจจะมีความพอใจ แต่อาจมีปัญหาในทางปฏิบัติและอาจได้รับการต่อต้านจากประชาชนกรีซ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ผลประชามติที่ออกมาจะปรากฏว่าประชาชนไม่ยอมรับมาตรการรัดเข็มขัดก็ตาม และอาจกลายเป็นการประท้วงหรือการจลาจลได้ ปัญหาในกรีซจึงยังไม่สามารถจะตัดทิ้งไปได้ และเชื่อว่ายังกดดันตลาดหุ้นโลกอยู่
IMF ตัดลด GDP โลก แต่คาดปริมาณการค้าโลกเพิ่มดีต่อ RCL, HANA
หลังจากที่นำเสนอไปวานนี้ถึงกรณีที่ OECD มีความกังวลต่อการฟื้นตัวต่อเศรษฐกิจล่าช้า โดยเฉพาะจากจีน และสหภาพยุโรป ที่จะได้รับผลกระทบจากรีซ พร้อมทั้งกังวลต่อการฟื้นตัวของสหรัฐที่อาจจะไม่ยั่งยืน จากผลกระทบของเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าต่อเนื่อง และการที่ FED กำลังจะขึ้นดอกเบี้ยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า และทำให้ล่าสุด IMF ได้นำเสนอรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจโลกครั้งใหม่โดยปรับลดประมาณการ GDP Growth โลก เป็นครั้งที่ 2 (หลังจากที่ได้ปรับลดไปเมื่อเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา) โดยในครั้งนี้ได้ปรับลดลง 0.2% เหลือ 3.3% ในปี 2558 ทั้งนี้เป็นการปรับลดประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศเกิดใหม่ รวมถึงกำลังพัฒนาคือ
ประเทศพัฒนาแล้ว ปรับลดลง 0.3% เหลือ 2.1% หากพิจารณาเป็นรายประเทศพบว่าเป็นการลดสหรัฐ 0.6% เหลือ 2.5% และปรับลดญี่ปุ่นลง 0.2% เหลือ 0.8% ยกเว้นสหภาพยุโรปยังคงที่ 1.5% และหากพิจารณาเป็นรายประเทศพบว่ามีการปรับเพิ่ม อิตาลี และ สเปน ราว 0.2% และ 0.6% เป็น 0.7% และ 3.1% ตามลำดับ โดยยังคงยืนเยอรมันและฝรั่งเศสที่เดิมคือ 1.6% และ 1.2% ตามลำดับ
ประเทศเกิดใหม่และกำลังพัฒนา ปรับลดลง 0.1% เหลือ 4.2% โดยเป็นการปรับลด ASEAN-5 ลดลง 0.5% เหลือ 4.7% (ไม่มีการรายงานข้อมูลรายประเทศ) ขณะที่ยังคงเดิมคือ จีน และอินเดียที่ 6.8% และ 7.5% ตามลำดับ ตามมาด้วยลาตินอเมริกา และคาริเบียน ปรับลด 0.4% ซึ่งที่ปรับลดหลักๆ คือ บราซิล และเม็กซิโก ปรับลดลง 0.5 และ 0.6% เป็น -1.5% และ 2.4% ตามลำดับตะวันอกกลาง-อเมริกาเหนือ อาฟกานิสถาน และปากีสถาน ปรับลด 0.3% ซึ่งได้แก่ การปรับลดซาอุดิอารเบียลง 0.2% เหลือ 2.8% เป็นต้น โดยการปรับลดในกลุ่มหลัง น่าจะเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ตกต่ำมาก ขณะที่รายได้หลักของกลุ่มนี้มาจากการส่งออกน้ำมัน
โดยรวม IMF มองว่าเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังพัฒนาและมีรายได้น้อย มีการเติบโตในอัตราชะลอตัวคือจาก 6% ในปี 2557 เหลือ 5.1% ในปี 2558 แต่คาดว่าปริมาณการค้าโลกน่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยคือจาก 3.2% ในปี 2557 เป็น 4.1% ในปี 2558 และ เพิ่มเป็น 4.4% ในปี 2559 โดยจะเป็นปริมาณการนำเข้าจากประเทศพัฒนาแล้ว ที่คาดว่าจะเติบโตในอัตราสูงเท่ากันคือ 4.5% ในปี 2558 และ 2559 ส่วนประเทศเกิดใหม่และกำลังพัฒนา คาดปริมาณนำเข้า จะเติบโต 3.6% ในปี 2558 ดีขึ้นจาก 3.4% ในปี 2557 และจะเพิ่มเป็น 4.7% ในปี 2559 ซึ่งปริมาณการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นได้บ่งบอกว่า แม้เศรษฐกิจชะลอตัวการนำเข้าสินค้าทจี่ เป็น ยังคงเดินหน้า ทั้งสินค้าประเภทปัจจัยสี่ได้แก่ อาหาร เครื่องใช้ในครัวเรือน และ ยารักษาโรค รวมถึงชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็นสำหรับการประกอบสินค้าในหลายประเภท ทั้ง อิเล็กรอนิกส์ในรถยนต์ เครื่องมือทางการแพทย์ อุปกรณ์โทรศัพท์รุ่นใหม่ ๆ (smart phone) เป็นต้น ในสถานการณ์นี้ยังเชื่อว่าดีต่อ RCL([email protected]) และ HANA(FV@B48) ซึ่งนอกจากได้ปริมาณการค้าที่เพิ่มยังได้ประโยชน์จากเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่า
ต่างชาติขายหุ้นไทยสูงสุดในรอบ 134 วัน
วานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคราว 966 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6) ซึ่งเป็นการขายที่สูงใกล้เคียงกับวันก่อนหน้าและเป็นการขายสุทธิทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 377 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นการขายสูงสุดในรอบ 203 วันที่ผ่านมา (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 5) รองลงมาคือ ตลาดหุ้นไต้หวันถูกขายสุทธิราว 414 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 6) เช่นเดียวกับกลุ่ม TIP ที่ถูกขายสุทธิอย่างต่อเนื่อง นำโดยตลาดหุ้นอินโดนีเซียถูกขายราว 36 ล้านเหรียญ และตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 26 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 2) ส่วนตลาดหุ้นไทยถูกขายสุทธิราว 109 ล้านเหรียญ หรือ 3,710 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขายสูงสุดในรอบ 134 วันที่ผ่านมา (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 2) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 1,863 ล้านบาท
ทางด้านตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 10,729 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 2,726 ล้านบาท ส่วนค่าเงินบาทล่าสุดอยู่ที่ 33.94 บาท/ดอลลาร์
เศรษฐกิจไทยชะลอตัวเลือกหุ้นที่มีภูมิต้านทาน : TASCO, BTS, THCOM
เศรษฐกิจไทยดูเหมือนจะได้รับผลกระทบซ้ำเติมอย่างต่อเนื่อง นอกจากปัญหาจากการส่งออก แล้วปัญหาภัยแล้งในประเทศ ที่คาดว่าจะกดดัน ผลผลิตภาคการเกษตรและอาจจะทำให้ GDP Growth ภาคการเกษตรหายไปราว 1.1-1.6% จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตราว 2.5-3% เหลือ 1.4% หรือกระทบต่อ GDP Growth โดยรวมราว 0.15% ในปีนี้ (จากการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจกระทรวงการคลัง หรือ สศค ที่เผยแพร่ 24 มิ.ย. 2558) ซึ่งคาดว่าจะทำให้นักเศรษฐสาตร์โดยรวมอาจจะต้องปรับลดประมาณการ GDP Growth ในปีนี้ลง เช่นเดียวกับความเสี่ยงต่อการปรับประมาณการกำไรตลาด ซ่งึ ASPS คาดว่าหลังประกาศงบงวด 2Q58 มีโอกาสจะปรับลดประมาณการกำไรตลาดปี 2558 และ 2559 ลงจากเดิมราว 4% และ 3.5% ลงมาเหลือ 91.73 เท่า และ 105.92 บาท ซึ่งเท่ากับทำให้ Expected PER ของตลาดขยับขึ้น มา เป็น 16 เท่า ซึ่งทำให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้าน
จึงทำให้ตลาดหุ้นไทยจึงยังไม่น่าสนใจ และ แนวโน้มจะปรับลดดัชนีเป้าหมายสิ้นปี 2558 ที่เดิมกำหนดไว้ที่ 1,480 จุดอิง 15.5 เท่า ลดลงเหลือ 1,421 จุด (อิง Expected PER 15.5x) กลยุทธ์การลงทุนจึงยังเน้นรายหุ้น โดยเฉพาะหุ้นที่มีผลกำไรที่โดดเด่นในงวด 2Q58 และต่อเนื่องในงวด 3Q58 ได้แก่ หุ้นส่งออก และอิงส่งออกที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่าได้แก่ HANA, KCE, TUF, RCL หรือหุ้นในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัวน้อย ขณะเดียวกันยังได้ประโยชน์จากการเร่งเบิกจ่ายงบเหลื่อมปี โดยเฉพาะการซ่อมบำรุงถนน เอื้อประโยชน์ TASCO ถือเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่สุดของประเทศ หรือธุรกิจมีลักษณะผูกขาดเช่นให้บริการดาวเทียม คือ THCOM และ BTS เป็นต้น
BTS พร้อมเป็นผู้บริหาร/ก่อสร้าง รถไฟฟ้าสายเขียวเหนือและใต้
จากการเจรจา 3 ฝ่ายคือ กระทรวงคมนาคม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และกทม. เมื่อวานนี้ ได้ข้อสรุปว่าจะให้ กทม. เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบรถไฟฟ้าทั้งสายเขียวใต้ (แบริ่ง - สมุทรปราการ) และเขียวเหนือ (หมอชิต-คูคต) โดยกทม. จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าก่อสร้างงานโยธาทั้งหมดของสายเขียวใต้ (16.5 หมื่นล้านบาท) และเหนือ (28.8 หมื่นล้านบาท) แต่รฟม. จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายไปก่อนล่วงหน้า เพราะไม่ต้องการเปลี่ยนคู่สัญญาระหว่างสร้าง
ทั้งนี้ เนื่องจากเส้นทางรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายเชื่อมต่อจากเส้นทางหลัก (หมอชิต-แบริ่ง) ซึ่ง กทม.เป็นผู้รับชอบอยู่ก่อนแล้ว ทำให้เชื่อว่าการเปิดประมูลหาผู้เดินรถน่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปีนี้ โดย BTS ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ได้รับสัมปทานเส้นทางหลัก และรับจ้างเป็นผู้บริหารส่วนต่อขยายเส้นทางดังกล่าวทั้งหมดจากกทม. อยู่ก่อนหน้า น่าจะเป็นผู้ชนะการประมูลผู้บริหารจัดการเดินรถไฟฟ้าทั้งสายสีเขียวเหนือและใต้ เนื่องจากเป็นเส้นทางเชื่อมต่อกับเส้นทางหลักที่ตนเองดูแล จึงมีความคุ้นเคยและชำนาญการอยู่ก่อนแล้ว รวมทั้งสามารถแชร์ต้นทุนส่วนกลางในการบริหารจัดการ ศูนย์ซ่อมบำรุง รวมทั้งขบวนรถไฟฟ้าสามารถใช้ร่วมกันวิ่งเชื่อมต่อไปเลยโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนขบวนรถไฟฟ้าที่จุดเชื่อมต่อ
ทั้งนี้ กำหนดการเปิดบริการรถไฟฟ้าสายเขียวใต้ในช่วงปี 2561 และสายสีเขียวเหนือ 2562 โดยการเป็นผู้บริหารจัดการทาง 2 เส้นทางใช้งบลงทุนราว 3 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย งานระบบเดินรถ อาณัตสัญญาณ ขบวนรถไฟฟ้าและระบบราง ซึ่งจะมีการทยอยลงทุนนอกจากนี้ BTS ยังมีความพร้อมด้านเงินลงทุนมาก เพราะมีเงินสดในมืออยู่ราว 1.5 หมื่นล้านบาท และมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานราว 2 พันล้านบาทต่อปี ซึ่งหากกู้เงินอีกราว 1 หมื่นล้านบาท D/E ratio ยังไม่ถึง 2 เท่า ทั้งนี้ประเด็นดังกล่าวถือเป็น Sentiment เชิงบวกต่อ BTS (FV@B12) ขณะที่คาด Div. Yield ปีนี้จะอยู่ที่ 6.7% และแม้ต้องลงทุนในรถไฟฟ้าสายเขียวใต้และเหนือเพิ่มเติม ยังคาดเงินปันผลในปีหน้าจะยังสูงราว 4% จึงแนะนำ "ซื้อ"
นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647