- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 09 July 2015 17:27
- Hits: 1132
บล.เคเคเทรด : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ความกังวลต่อตลาดหุ้นจีนเข้ามา
SET View
แนวโน้ม วานนี้ SET ปิดบริเวณแนวรับ 1470 จุดที่เราประเมินไว้ แต่ sentiment ตลาดยังถูกกดดันจากปัจจัยภายนอก (กรีซและจีน) และภายใน (เศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวช้า) ทำให้วันนี้ SET มีโอกาสพักฐานต่อ
Sentiment เชิงลบจากตลาดหุ้นจีน เริ่มสร้างความกังวลให้กับนักลงทุนในตลาดหุ้นเอเชีย เห็นได้ชัดเจนว่า วานนี้ ตลาดหุ้นเอเชียปรับฐานแรงเป็นส่วนใหญ่ แต่ตลาดหุ้นยุโรป กลับฟื้นตัว สะท้อนว่า ปัญหากรีซไม่ใช่ปัจจัยหลักที่มีผลวานนี้
ตลาดหุ้นจีนปรับฐานรุนแรงและรวดเร็วมาก ดัชนี Shanghai Composite ปรับตัวลดลงกว่า 32% ภายในเวลาแค่ 1 เดือน ทำให้กลต.ของจีน ออกข้อบังคับใหม่มากมายเพื่อลดความผันผวนของตลาดหุ้นจีน เช่น ห้ามผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (มีหุ้นตั้งแต่ 5% ของทุนจดทะเบียน), ผู้บริหารระดับสูง และกรรมการบริษัท ขายหุ้นของบริษัทนั้นๆภายใน 6 เดือน, พักการทำ IPO เพื่อรักษาสภาพคล่องในตลาดหุ้น, จำกัดจำนวนสัญญาฟิวเจอร์สที่นักลงทุนเปิดสถานะได้ เพื่อลดการเปิด Short, ควบคุมการใช้มาร์จิ้น เป็นต้น แต่วิธีการดังกล่าวยังไม่สามารถหยุดยั้งความตื่นตระหนกในตลาดหุ้นจีนได้
สถานการณ์ล่าสุดของกรีซ
นายกรัฐมนตรีกรีซ แสดงเจตจำนงว่า กรีซจะคงอยู่ในยูโรโซนต่อไป
รัฐบาลกรีซขยายมาตรการ Capital control และสั่งให้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศหยุดทำการต่อไปจนถึงวันศุกร์นี้
กรีซส่งคำร้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนรักษาเสถียรภาพ (ESM) อย่างเป็นทางการ โดยระบุว่า กรีซพร้อมจะบังคับใช้มาตรการด้านภาษีและบำเหน็จบำนาญ เป็นการแลกเปลี่ยน และจะส่งรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนปฏิรูปในวันนี้ (9 ก.ค.)
กลยุทธ์การลงทุน : สำหรับนักลงทุนระยะกลาง เริ่มทยอยเข้าสะสมเมื่อราคาหุ้นอ่อนตัว ลงมาถึงบริเวณ 1450-1460 จุด
Top Daily Pick : ADVANC (มูลค่าเหมาะสม 288 บาท) ราคาหุ้นแข็งแกร่งกว่า SET, ปันผลสูง 5.5%, THCOM (มูลค่าเหมาะสม 51 บาท) หุ้น Growth stock คาดกำไรปีนี้เติบโตสูงถึง 40%YoY, ราคาหุ้นผันผวนต่ำ สะท้อนจาก Beta ต่ำเพียง 0.54
Technical Pick : SVOA AQ ACD RICH CEN (โปรดอ่านบทวิเคราะห์ Technical เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน)
Theme Plays : การประมูล 4G เริ่มนับหนึ่งในเดือนนี้ (ADVANC, INTUCH)/ หุ้นอสังหาฯที่ซื้อขายด้วย P/E ratio ค่อนข้างต่ำ (SPALI, QH) / หุ้นได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า (KCE, SVI, SAPPE)
พอร์ตลงทุน
Trading ADVANC BANPU BBL CK SVI SAPPE SPALI
Growth BTS PTTEP BDMS THCOM WORK
Dividend BTS AP SAT ROJNA MC HANA
Quant MODERN MEGA HANA NOK EGCO NYT TTW
In: EGCO NYT TTW Out: RATCH MAJOR SCCC
รายงานวันนี้
Preview: PTTEP (เก็งกำไร / มูลค่าเหมาะสม 132 บาท) ค่าใช้จ่ายปรับเพิ่มกดดันผลประกอบการ
Reinitiate: RS (เก็งกำไร / มูลค่าเหมาะสม 12.50 บาท) รอผ่านมรสุมก่อนจะฟื้นตัว
Strategy Talk
ลดคาดการณ์ GDP ไทยปีนี้เหลือ 2.5%
ฝ่ายวิจัยภัทร ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยสำหรับปี 58 จากเดิมคาดโต 3.3% เหลือ 2.5% และปี 59 จาก 3.7% เหลือ 3.5% เพื่อสะท้อนปัจจัยลบทั้งการส่งออกอ่อนแอ (ปรับสมมุติฐานการส่งออกปีนี้ลงจาก -0.5% เป็น -2.5%), การบริโภคภาคเอกชนฟื้นตัวช้า, ปัญหาภัยแล้ง, การปราบปรามการทำประมงแบบผิดกฎหมาย, ความเสี่ยงเรื่องการบินพลเรือน กระทบการท่องเที่ยว, ความไม่แน่นอนทางการเมือง ทำให้ภาคเอกชนชะลอการลงทุน (Wait and see) ในเชิงกลยุทธ์ เรามองเป็นความเสี่ยงต่อกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะธนาคาร, อสังหาฯ, ค้าปลีก ดังนั้น การลงทุนในหุ้นกลุ่มเหล่านี้ ต้องเน้นหุ้นที่ Valuation ถูก (P/E หรือ P/BV ต่ำ, ปันผลสูง) สะท้อนว่ารับข่าวลบไปพอสมควรแล้ว และมีโอกาสน้อยที่จะถูกปรับลดประมาณการ
ด้านมุมมองต่อทิศทางดอกเบี้ยไทย ฝ่ายวิจัยภัทร คาดว่า กนง.จะลดดอกเบี้ย 1 ครั้งภายในปีนี้ และอาจเกิดขึ้นเลยในการประชุมครั้งถัดไป 5 ส.ค.นี้ เนื่องจาก 1) ธปท.เพิ่งปรับลดประมาณการ GDP และเงินเฟ้อ 2) การนำเข้าหดตัวรุนแรงกว่าการส่งออกมาก ทำให้ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดราว 5% ของ GDP สะท้อนว่าการใช้จ่ายในประเทศค่อนข้างอ่อนแอ 3) กนง.เริ่มส่งสัญญาณว่า การลดดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ค่าเงินบาทอ่อนและหนุนส่งออกได้ ซึ่งช่วยจำกัดความเสี่ยงขาลงของเศรษฐกิจไทยได้
หุ้นมีประเด็น
กลุ่มอาหาร รัฐบาลไทยเดินหน้าแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย หลังจากสหภาพยุโรปออกคำเตือน IUU (Illegal Unreported and Unregulated Fishing) โดยตั้งแต่ 1 ก.ค. คสช. มีคำสั่งห้ามเรือประมงที่ไม่ปฎิบัติตามกฎข้อบังคับ ออกจากท่า ส่งผลให้เรือประมงบางกลุ่มเรียกร้องให้รัฐบาลผ่อนผันการบังคับใช้กฎหมายออกไป 2 เดือนและเริ่มนัดหยุดออกหาเรือหาปลาเพื่อประท้วง ทำให้ราคาปลาเริ่มปรับตัวสูงขึ้น
ฝ่ายวิจัยภัทร ประเมินว่า ผลกระทบต่อ TUF และ CPF มีจำกัดมาก เพราะกระทบแค่ผลิตภัณฑ์ปลาป่น (Fishmeal) ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตอาหารกุ้ง (Shrimp feed) แต่ใช้ในสัดส่วนเพียงแค่ 10% เท่านั้น สำหรับ TUF ธุรกิจอาหารกุ้งคิดเป็นเพียง 3% ของยอดขายเท่านั้นและบริษัทยังสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลพลอยได้ (byproduct) จากการแปรรูปปลาทูน่า มาใช้แทนปลาป่นได้ ส่วน CPF มีรายได้จากอาหารกุ้งแค่ 3% ของรายได้รวมเท่านั้น นอกจากนี้ทั้งสองบริษัท ได้กระจายความเสี่ยงด้วยการซื้อปลาป่นจากเรือประมงต่างประเทศที่มีใบอนุญาตอย่างถูกกฎหมาย
จากการประเมิน ราคาปลาป่นที่เพิ่มขึ้นทุก 10% มีผลต่อกำไรสุทธิของ TUF และ CPF น้อยมาก เพียงไม่ถึง 0.1%
ปิยะภัทร์ ภัทรภูวดล นักกลยุทธ์การลงทุน