WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
       SET ยังมีแนวโน้มอ่อนตัวตามแรงกดดันภายในและภายนอก กลยุทธ์การลงทุนภายใต้สถานการณ์นี้ยังเน้นเลือกรายหุ้น เฉพาะหุ้นที่มีแนวโน้มผลกำไรโดดเด่นในงวด 3Q58 เช่น IRPC, RCL, TASCO, HANA, TUF วันนี้ยังเลือก HANA(FV@B48) เป็น Top Pick

 

ตลาดหุ้นน่าจะให้น้ำหนักเชิงบวก หากกรีซลงประชามติ "Yes"
     ตลาดยังคงให้น้ำหนักความสำคัญไปที่การลงประชามติของกรีซในวันอาทิตย์ที่ 5 ก.ค.นี้ ทั้งนี้หากผลออกมาว่า ประชาชนเลือกยอมรับเงื่อนไขเจ้าหนี้ (Yes) ก็น่าจะทำให้กรีซได้อยู่ในสหภาพยุโรปต่อ และมีโอกาสที่จะได้รับเงินช่วยเหลือก้อนใหม่ รวมทั้งอาจจะมีการเจรจาเพื่อลดหนี้ (Debt haircut) บางส่วนได้ ซึ่งกรีซน่าจะบวกกับบวก ในทางตรงกันข้าม หากประชาชนเลือกที่จะไม่รับเงื่อนไขเจ้าหนี้(No) ก็มีความเสี่ยงอย่างมากที่กรีซจะออกจากสหภาพยุโรป และกลับไปใช้สกุลเงินของตนเอง ขณะที่หนี้สินทั้งก้อนอาจจะต้องกลายเป็นหนี้สูญ 100% ซึ่งในกรณีปัญหาจะบานปลายคือ ในสหภาพยุโรปอาจจะต้องมีปรับสกุลเงินใหม่ นอกเหนือจากความแตกตื่นจากการถอนเงิน (Deposit run) ที่อาจจะขยายวงมาในประเทศอื่น ๆ ได้นอกเหนือจากกรีซ เป็นต้น


โดยสรุปไม่ว่าผลการทำประชามติจะออกมาเป็นอย่างไร เจ้าหนี้ของกรีซทั้งในประเทศและต่างประเทศต่างต้องได้รับความเจ็บปวดทั้งสิ้น แต่เชื่อว่าการโหวตเพื่ออยู่ต่อ น่าจะทำให้เจ้าหนี้ต้องตั้งสำรองหนี้ฯ เพิ่มเติมบางส่วน จากที่ได้ตั้งไปแล้วล่วงหน้าบางส่วน(ขึ้นอยู่กับ Debt haircut ที่เกิดขึ้น ว่าจะมากน้อยเพียงใด และการตั้งสำรองหนี้ฯ ครอบคลุมหรือไม่) ซึ่งแน่นอนว่าในมุมมองของเจ้าหนี้การที่กรีซอยู่ในสหภาพยุโรป ย่อมดีกว่าออกไป และก็เชื่อว่าผลการลงประชามติวันอาทิตย์นี้น่าจะออกมาเป็น Yes สะท้อนได้จากเงินยูโรเทียบกับดอลลาร์นับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. มีทิศทางแกว่งตัวอ่อนค่าลงเล็กน้อย 0.4% ซึ่งถือว่าไม่ได้แย่มากนัก แต่ปัจจัยกดดันเหล่านี้ยังคงกระทบ Sentiment การลงทุน และตลาดหุ้นโลก จนกว่าได้จะข้อสรุปที่ชัดเจนภายหลังการลงประชามติเสร็จสิ้นลง รวมทั้งท่าทีของเจ้าหนี้หลังจากนี้

 

แม้ตลาดแรงงานดีขึ้นแต่เงินเฟ้อติดลบ...Fed ขึ้นดอกเบี้ยเร็วสุด ธ.ค.
ล่าสุดพบว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงบ่งชี้ความแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน หลังจากการรายงานตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนตำแหน่งงานใหม่ที่ปรับตัวดีขึ้นกว่าที่คาด และหนุนให้อัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย. ลดลงมาที่ 5.3% นับว่าต่ำสุดตั้งแต่ เม.ย. 2551 แม้ว่ายอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน มิ.ย.จะเพิ่มขึ้นเพียง 2.23 แสนราย (น้อยกว่าคาดและเดือน พ.ค.ที่ 2.25 และ 2.54 แสนรายตามลำดับ) แต่อย่างไรก็ตามยังอยู่ในทิศทางปรับตัวดีขึ้น เช่นเดียวกับตัวเลขขอรับสวัสดิการการว่างงาน สิ้นสุดที่ 27 มิ.ย. แม้จะเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 1 หมื่นราย มาอยู่ที่ 2.81 แสนรายก็ตาม แต่ยังเพิ่มขึ้นในระดับที่ ต่ำกว่า 3 แสนรายต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 17 โดยรวมตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งขึ้นส่งผลให้การบริโภคและความเชื่อมั่นภาคครัวเรือน รวมถึงตลาดที่อยู่อาศัยปรับตัวดีขึ้นตามแต่อย่างไรก็ตามดัชนีชี้นำเศรษฐกิจอาจจะไม่สอดคล้องกันทั้งหมด หากพิจารณาภาคการผลิต พบว่ายังฟื้นตัวล่าช้า กล่าวคือแม้ล่าสุดตัวเลข PMI ภาคการผลิต จากการรายงานของ ISM (ปรับตัวดีขึ้น) แต่ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือน มิ.ย. กลับหดตัวถึง 1.0% มากกว่าที่ตลาดคาดว่าจะหดตัว 0.5% และหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2


แม้อัตราการว่างงานจะลดลงใกล้เคียงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ 5.1-5.2% ก็ตาม แต่เชื่อว่าเงื่อนไขที่สำคัญอีกประการที่จะประกอบการตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ก็คืออัตราเงินเฟ้อ ที่ปัจจุบันยังคงติดลบอยู่ (ห่างจากเป้าหมายระยะสั้นของ Fed ที่เข้าใกล้ 1%) และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่ยังไม่ไปในทางเดียวกัน ทำให้ ASPS ยังคงมองว่า Fed น่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างเร็วในช่วงเดือน ธ.ค. หรืออย่างช้าในช่วงต้นปี 2559

 

ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังบ่งบอกว่าย่ำแย่ น่าจะกดดัน กนง. ลดดอกเบี้ยต่อ
ล่าสุด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่ยังส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอ โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เป็นองค์ประกอบที่มากสุดคือราว 48%ใน GDP) เดือน มิ.ย. ลดลง 1.58% ลงมาอยู่ที่ 74.4 ซึ่งนับว่าลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และต่ำสุดในรอบ 1 ปี สะท้อนถึงกำลังซื้อในประเทศที่อ่อนตัว เช่น การใช้จ่ายบัตรเครดิต เดือน เม.ย. 2558 ลดลง 9.63% ตามมาด้วย ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือน พ.ค.อยู่ที่ 1.5 แสนคัน ลดลง 3.7% จากระยะเดียวกันของปี 2557 (yoy) ยอดขายรวมรถยนต์นั่ง ลดลง 21.1% yoy มาอยู่ที่ 2.31 หมื่นคัน (ลดลงต่อเนื่องนับตั้งแต่หลังการใช้นโยบายรถคันแรก ตั้งแต่กลางปี 2555 โดยจะมีปรับตัวขึ้นในช่วงต้นปีบ้างในแต่ละปี) และพบว่ายอดการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เดือน พ.ค. (56,531 ล้านบาท) ลดลงจากเดือนก่อน เม.ย. 7.1%mom (หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2) และหดตัวลง 3.8%yoy (หลังจากเดือน เม.ย. ขยายตัว) หากพิจารณามูลค่านำเข้าเพื่อบริโภคเดือน พ.ค. ลดลง 2.62%yoy จากที่ปรับลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 จึงเป็นการสะท้อนว่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าสินค้าน่าจะปรับตัวลงตามกัน (อ่านรายละเอียด Economic Outlook 2 ก.ค. 2558)
เช่นเดียวกับที่รายงานเงินเฟ้อเดือน มิ.ย. เมื่อวานนี้พบว่ายังติดลบ 1.07% แม้จะดีขึ้นจากที่ -1.27% ในเดือน พ.ค. และทำให้เงินเฟ้อ 1H58 -0.81% และด้วยราคาน้ำมันดิบที่ยังทรงตัวที่ 60 เหรียญฯ ต่อ บาร์เรล ทำให้ ASPS ประเมินว่าเงินเฟ้อตลอดปี 2558 ไม่น่าจะเกิน 0.5% โดยภาพรวมยังทำให้เชื่อว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินมีแนวโน้มจะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายอีกอย่างน้อย 1 ครั้ง ในการประชุมที่เหลืออีก 4 ครั้งจนถึงสิ้นปีนี้ โดยน่าจะลดลงมาที่ 1.25% ซึ่งแม้จะไม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากเพราะถือว่าเป็นระดับที่ต่ำแล้วก็ตาม แต่น่าจะช่วยรักษาเงินบาทให้อยู่ในทิศทางอ่อนค่าซึ่งน่าจะเพิ่มอำนาจต่อรอง ในการแข่งขันตลาดส่งออกของโลก ภายใต้ประเทศคู่แข่งขันในอาเซียน ที่กำลังเผชิญกับภาวะการอ่อนค่าทุกสกุล

 

ต่างชาติขายหุ้นไทยสูงสุดในรอบ 127 วัน
วานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคราว 115 ล้านเหรียญ แต่ยังซื้อสุทธิใน 2 ประเทศคือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิราว 90 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 3 วัน) และตลาดหุ้นอินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิราว 15 ล้านเหรียญ ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศขายสุทธิ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิราว 85 ล้านเหรียญ เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 6 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่อง 2 วัน) และหุ้นไทย ขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 129 ล้านเหรียญ หรือ 4,365 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขายสุทธิสูงสุดในรอบ 127 วันที่ผ่านมา (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 3 วัน) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 1,966 ล้านบาท


อย่างไรก็ตามแม้ต่างชาติจะขายหุ้นไทยหนักดังกล่าวข้างต้น แต่คาดว่าน่าจะมีแรงขายที่จำกัด สังเกตได้จากสถานะการซื้อสะสมสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทย นับจากปี 2552 ถึงปัจจุบัน พบว่ามีมูลค่าตลาดลดลงเหลือเพียง 2.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นระดับที่ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง บวกกับสถิติในอดีตมักพบว่า นักลงทุนต่างชาติจะซื้อหุ้นไทยในเดือน ก.ค. ถึง 9 ใน 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้เชื่อว่านับจากนี้แรงขายอาจจะมีอีกไม่มากนักและน่าจะมีแรงซื้อกลับเข้ามาบ้างภายในเดือนนี้


ทางด้านตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 17,251 ล้านบาท เช่นดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 735 ล้านบาท ส่วนค่าเงินบาทล่าสุดอยู่ที่ 33.78 บาท/ดอลลาร์

นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!