- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 02 July 2015 18:19
- Hits: 1244
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์วันนี้ End of the Game?
ตลาดหุ้นวานนี้:
ตลาดหุ้นไทยวันอังคารที่ผ่านมา SET INDEX เปิดปรับฐานลง จากความไม่แน่นอนของวิกฤติกรีซ อีกทั้งตลาดหุ้นไทยปิดทำการในวันพุธ ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ลดการถือครองหุ้น เพื่อปิดความเสี่ยงดังกล่าว ส่งผลให้ SET INDEX ซึมตัวลงแต่แนวรับ 1,500 จุดยังทำงานได้อย่างแข็งแกร่ง ปิด ณ สิ้นวันที่ 1,504.55 จุด ลบ 6.64 จุด มูลค่าการซื้อขาย 45,406 ล้านบาท
กระแสเงินทุนต่างชาติเป็นกลาง แม้ซื้อสุทธิตลาดหุ้นเป็นวันที่ 3 เพียง 76 ล้านบาท Long สุทธิใน SET50 Index Futures อีกครั้ง 204 สัญญา แต่คงการขายสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 3 เพียง 1,784 ล้านบาท
ปัจจัยสำคัญวันนี้
นายกฯ กรีซ ส่งจดหมายถึงเจ้าหนี้ เพื่อแจ้งแนวทางการปฎิรูปเศรษฐกิจ อันนำไปสู่การขอรับเงินช่วยเหลือจากทางเจ้าหนี้อีกครั้ง แต่ท้ายสุดนายกฯ กรีซ ยืนยันทำประชามติวันที่ 5 ก.ค.ต่อไป
นายกฯ เตรียมลงนามใน MOI ร่วมกับญี่ปุ่น และ พม่า โครงการทวายเฟสแรก วันที่ 4 ก.ค.
ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด
มุมมองต่อตลาด
เราคาดตลาดหุ้นไทยในช่วง 1-2 วันนี้ เป็นลักษณะ sideways-to-sideways-up เพื่อทดสอบแนว 1,520 จุด เพื่อเก็งกำไรต่อกรณีกรีซ เราเชื่อว่าจะใกล้ได้ข้อสรุปในช่วงสุดสัปดาห์นี้ ก่อนการลงประชามติวันที่ 5 ก.ค. เพราะชาวกรีซน่าจะโหวต "เยส" เป็นส่วนใหญ่ เพื่อคงความเป็นสมาชิกภาพสหภาพยุโรป หากเป็นไปตามนี้ นายกฯ กรีซ ก็จะไม่สามารถดำรงตำแหน่งได้อีกต่อไป อันนำไปสู่ นายกฯ กรีซ เริ่มเร่งเครื่องขอเปิดการเจรจากับเจ้าหนี้ ด้วยการส่งจดหมายถึง ประธาน EC / ECB / IMF เพื่อแจ้งเจตจำนงค์การปฎิรูปเศรษฐกิจตามกรอบหลักที่เจ้าหนี้เสนอมาก่อนหน้านี้ ณ ปัจจุบัน เจ้าหนี้ยังไม่มีการเคลื่อนไหว หรือ แสดงความเห็นดังกล่าว เพียงแต่เริ่มไม่เข้าใจถึงการเรียกร้องของนายกฯ กรีซ ว่าต้องการอะไร
ขณะที่กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง / กลุ่มวัสดุก่อสร้าง วันนี้มีแนวโน้มขยับเด่น หลังนายกฯ กำหนดวันลงนามบริษัทร่วมทุนระหว่าง ไทย - ญี่ปุ่น - พม่า เพื่อลงทุนในโครงการทวาย วันที่ 4 ก.ค. ช่วงที่นายกฯ เยือนญี่ปุ่นวันที่ 3-4 ก.ค. และล่าสุด โครงการรถไฟรางคู่ ฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย วงเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท เตรียมเปิดประมูลในเดือนก.ค. คู่ไปกับโครงการรถไฟรางคู่ เส้น จิระ - แก่นคอย - ขอนแก่น
เมื่อสถานการณ์ต่างประเทศเริ่มนิ่งมากขึ้น ส่วนแผนการลงทุนขนาดใหญ่ที่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ต่างรอคอย ความคืบหน้าแผนการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล ซึ่งเริ่มเห็นกรอบของโครงการและเวลามากขึ้น คาดว่าจะเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศได้มากขึ้น เราเชื่อว่ามูลค่าการซื้อขายจะหนาแน่นขึ้นเป็นลำดับ สู่ 5.0-5.5 หมื่นล้านบาท/วัน ในระยะถัดไป
กลยุทธ์การลงทุน
ดังนั้น เราแนะนำ "นักลงทุนซื้อเก็งกำไรบริเวณต่ำกว่า 1,500 จุด เพราะเราคาดว่ากรีซและเจ้าหนี้จะสามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ในท้ายที่สุด"
Top Pick in 2Q15: ITD / TPIPL/ WHA / TASCO
HOLD: ITD / TPIPL/ BJCHI/ ADVANC/ WHA/ THAI/ BCP/ IFEC
Trading Buy : ITD/ TASCO
Stock Pick of the Day
กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำ "เก็งกำไร" ได้แก่
1. TASCO : ราคาปิด 22.90 บาท ราคาเหมาะสม 28.00 บาท
a) ราคาหุ้นมี Sentiment เชิงบวก หลังราคาน้ำมันดิบ NYMEX ปรับตัวลงแรงเมื่อคืนนี้ -4.2% dod เหลือ US$56.96/barrel เนื่องจาก EIA รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นสูงกว่าคาด และความคาดหวังเชิงบวกว่าการเจรจาระหว่างอิหร่านและชาติมหาอำนาจที่ขยายระยะเวลาออกไปเป็นวันที่ 7 ก.ค. อาจบรรลุข้อตกลงโครงการอาวุธนิวเคลียร์กันได้
b) คาดกำไรสุทธิ 2Q58 จะทำระดับสูงสุดใหม่ที่ 1.2 - 1.4 พันล้านบาท จากแรงหนุนของตลาดต่างประเทศ หลังจีนมีคำสั่งซื้อ Lot ใหญ่เข้ามาถึง 2.5 แสนตัน ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นจะทรงตัวในระดับสูงเนื่องจากได้ทำสัญญาซื้อขายน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนไว้ล่วงหน้าแล้วราว 3-4 เดือน
c) ทิศทางผลประกอบการ 3Q58 จะดีต่อเนื่อง และคาดว่าปริมาณขายใน 3Q58 จะทำระดับสูงสุดใหม่เนื่องจากคำสั่งซื้อจากจีนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกใน 3Q58 ดังนั้น จึงมีโอกาสที่กำไรสุทธิ 3Q58 จะทำระดับสูงสุดใหม่ต่อเนื่องได้จาก 2Q58
d) คาดกำไรสุทธิปี 2558 เติบโต +249.7% yoy เป็น 4,226 ล้านบาท และ Valuation ยังไม่สูงมากนัก เนื่องจากซื้อขายระดับ PER2558 ที่ 8.3 เท่า นอกจากนั้น แผนการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐฯใน 2H58 จะเป็นอีกปัจจัยผลักดันยอดขายยางมะตอยในประเทศให้ขยายตัวและส่งผลบวกต่อหุ้น TASCO โดยตรง
2. ITD : ราคาปิด 8.00 บาท ราคาเหมาะสม 12.00 บาท
a) MBKET คาดว่าราคาหุ้นจะตอบรับเชิงบวกจากความคืบหน้าของโครงการทวาย หลัง ครม.มีมติเห็นชอบร่าง MOI ระหว่างรัฐบาลไทย - พม่า - ญี่ปุ่น แล้วในสัปดาห์ที่ผ่านมา
b) และคาดว่าจะมีการเซ็นสัญญาระหว่างรัฐบาล 3 ฝ่าย ในวันที่ 4 ก..ค.ที่กรุงโตเกียว หลังจากนั้นจะมีการเซ็นสัญญา SPV ระหว่างเอกชนเพื่อพัฒนาโครงการทวายระหว่างวันที่ 14-17 ก.ค.
c) คงมุมมองเชิงบวกต่อกลุ่มรับเหมาก่อสร้างใน 2H58 จากการประมูลงานขนาดใหญ่ของภาครัฐฯที่จะเปิดประมูลต่อเนื่อง และ ITD เป็นตัวเต็งที่จะได้งานสุวรรณภูมิเฟส 2 มูลค่า 6.2 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเคยมีประสบการณ์ในการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิเฟสแรก และมีความเชี่ยวชาญงานระบบรถไฟใต้ดินเชื่อต่อระหว่างเฟส 1 และเฟส 2
d) โครงการเหมืองโปรแตซมีความคืบหน้าไปมาก หลังผ่าน EIA แล้ว และปัจจุบันเหลือเพียงตำบลห้วยสามพาดที่ยังไม่เห็นด้วยกับโครงการเหมืองโปรแตซ โดยคาดว่าหลังได้รับความเห็นชอบจากประชาคมหมู่บ้านต่างๆแล้วจะเสนอเข้าคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม และขอรับประทานบัตรทำเหมืองได้ภายใน 3 เดือน
e) ให้ ITD เป็น Top pick ของกลุ่มรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ และโครงการเหมืองโปรแตซจะเพิ่ม Upside ต่อราคาเป้าหมายได้อีกอย่างมีนัยสำคัญ
Fund Flow Analysis
Fund Flow in Emerging Markets
ตลาดหุ้นเอเชียซื้อสุทธิเล็กน้อย US$32 ล้าน จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ US$338 ล้าน
Foreign Investors Action วานนี้
กระแสเงินทุนต่างชาติชะลอตัวมากขึ้น
นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 3 อีกเล็กน้อย 76 ล้านบาท รวม 3 วันทำการซื้อสุทธิ 536 ล้านบาท ส่งผลให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้ขายสุทธิลดลงเล็กน้อยเป็น 15,667 ล้านบาท
ด้าน SET50 Index Futures นักลงทุนต่างชาติกลับมา Long สุทธิเป็นวันแรกในรอบ 3 วันทำการ 204 สัญญา เทียบกับ 2 วันทำการก่อนหน้า Short สุทธิ 4,649 สัญญา คาดว่าจะเป็นการปิดสถานะ Short ที่เปิดไว้ หลัง SET50 Index เริ่มทรงตัว และ S50U15 ปิดต่ำกว่า Set50 Index กว้างถึง 16.61 จุด ส่งผลให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้ Short สุทธิเท่ากับ 36,448 สัญญา
และตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนกลุ่มนี้คงการขายสุทธิเป็นวันที่ 3 อีกเล็กน้อย 330 ล้านบาท รวม 3 วันทำการ ขายสุทธิ 1,784 ล้านบาท โดยราคาพันธบัตรไทยยังคงขยับขึ้นเล็กน้อย ผ่านผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ลดลง 0.70bps ปิดที่ 2.952%
Short-Selling วานนี้
มูลค่า Short-selling สูงถึง 917 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 656 ล้านบาท
NVDR Movement
NVDR ซื้อสุทธิหนาแน่น อาจเป็นผลของ Window Dressing
การซื้อขายผ่าน NVDR กลับมาซื้อสุทธิมากถึง 1,261 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 123 ล้านบาท โดยเน้นสะสมกลุ่มปิโตรเคมีอย่างโดดเด่น แม้ว่าภาวะการลงทุนจะไม่เอื้อก็ตาม อาจเป็นผลของการทำ Window Dressing ของกองทุน สรุปภาพรวมการลงทุนได้ดังนี้
1. กลุ่มปิโตรเคมีถูกซื้อสุทธิสูงสุด 432 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 109 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มธนาคาร ซื้อสุทธิ 331 ล้านบาท กลุ่มค้าปลีก ซื้อสุทธิ 183 ล้านบาท และกลุ่ม ICT ซื้อสุทธิ 121 ล้านบาท
2. ส่วนกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ขายสุทธิสูงสุด 139 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 261 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มอสังหาฯ ขายสุทธิ 82 ล้านบาท
ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ - การเงินรายภูมิภาค
สหรัฐอเมริกา
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาเป็นกลาง
ดัชนีราคาบ้าน S&P Case-Shiller เดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 0.3% mom ต่ำกว่า Bloomberg consensus คาด 0.8% mom และเดือนก่อนหน้า 1.0% mom โดยราคาบ้านใน Cleveland หดตัวลงแรงสุด 0.5% mom ตามมาด้วย Atlanta และ Chicago ที่หดตัว 0.4% mom ในแต่ละเมือง
ดัชนี ความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนมิ.ย. เท่ากับ 101.4 จุด สูงกว่า Bloomberg consensus คาด 97.4 จุด และเดือนก่อนหน้าที่ 94.6 จุด โดยเชื่อมั่นในแนวโน้มตลาดบ้านและรายได้
ยอดการจ้างงานภาคเอกชนเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 2.37 แสนตำแหน่ง สูงกว่า Bloomberg consensus คาด 2.20 แสนตำแหน่ง และเดือนก่อนหน้าที่ 2.03 แสนตำแหน่ง
ดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือนมิ.ย. เท่ากับ 53.6 จุด ใกล้เคียงกับ Bloomberg consensus คาด 53.7 จุด แต่ต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 54.0 จุด เนื่องจากคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกชะลอตัว เป็นเดือนที่ 3
ดัชนี ISM ภาคการผลิต เดือนมิ.ย. เท่ากับ 53.5 จุด ใกล้เคียงกับ Bloomberg consensus คาด 53.2 จุด แต่สูงกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 52.8 จุด โดยการจ้างงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
ยุโรป
พัฒนาการของกรีซ ยังอยู่ระหว่างการเจรจา
กรีซ ได้ผิดนัดชำระหนี้ของ IMF มูลค่า 1.5 พันล้านยูโร ซึ่งครบกำหนดวันที่ 30 มิ.ย. เป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศซิมบาเวย์ และ คิวบา
นายกฯ กรีซ ขอให้อียู เสนอแผนช่วยเหลือชุดใหม่ ทั้งนี้กรีซ ต้องการเงินช่วยเหลือในช่วง 2 ปี หลังกรีซ ไม่สามารถปฎิบัติตามแผนปฎิรูปเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา
ด้าน นายกฯ เยอรมัน ยืนยัน เจ้าหนี้พร้อมเปิดการเจรจากับกรีซ แต่กรีซ ต้องรับในหลักการของเจ้าหนี้ กรีซไม่มีอำนาจมากพอที่จะสร้างผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในอียู
นายกฯ กรีซ ได้ส่งจดหมายถึงประธาน EC / ECB / IMF ถึงแนวทางการปฎิรูปเศรษฐกิจ ได้แก่
การปฎิรูปกองทุนบำเหน็จบำนาญ และการปฎิรูปการเกษียณ ออกไปเป็นเดือนต.ค. จากเดิมที่กำหนดเดือนก.ค. แต่จะเริ่มแผนการยกเลิกการให้ผลประโยชน์กับการเกษียณก่อนเวลา (early retirement) และลดการให้สิทธิประโยชน์กับกองทุนบำเหน็จบำนาญ
การคงอัตราภาษี VAT ที่ 30%
สำหรับการลงประชามติวันที่ 5 ก.ค. ด้านนายกฯ กรีซ เรียกร้องให้ประชาชนโหวต "โน" เพื่อให้ประเทศได้รับเงื่อนไขการช่วยเหลือที่ดีขึ้น
โพลแรกของการทำประชามติ โดย GPO พบว่า 47% ของประชาชน ต้องการโหวต "เยส" ส่วน 43% โหวต "โน" โดยมี margin of error ราว 3.1%
ดัชนี PMI ภาคการผลิตของอังกฤษชะลอตัว: เดือนมิ.ย. เท่ากับ 51.4 จุด จากเดือนก่อนหน้าที่ 51.9 จุด และสวนทางกับ Bloomberg consensus คาด 52.5 จุด เป็นระดับที่ต่ำสุดยาวนานกว่า 2 ปี แม้ว่าคำสั่งซื้อใหม่จะเพิ่มขึ้น แต่คำสั่งซื้อภาคการส่งออกกลับลดลงเป็นเดือนที่ 3
จีน
ตัวเลข PMI ของจีนทรงตัวถึงดีขึ้น
ดัชนี HSBC PMI ภาคการผลิต เดือนมิ.ย. เท่ากับ 49.4 จุด สูงกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 49.2 จุด และเป็นเดือนที่ 4 ดัชนีดังกล่าวต่ำกว่า 50 จุด แต่ภาคการผลิตเดือนมิ.ย. ถือเป็นการหดตัวในอัตราที่ช้าสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.
ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนมิ.ย. เท่ากับ 50.2 จุด ทรงตัวจากเดือนพ.ค.
ดัชนี PMI ภาคการบริการ เดือนมิ.ย. เท่ากับ 53.8 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนพ.ค. เท่ากับ 53.2 จุด
เอเชียแปซิฟิก
ตัวเลข Tankan ของญี่ปุ่นออกมาดีกว่าคาด: ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่ 2Q58 เท่ากับ 15.0 จุด สูงกว่า 1Q58 ที่ 12.0 จุด และสูงกว่าที่ Bloomberg consensus คาดทรงตัวที่ 12.0 จุด ส่วนความเชื่อมั่นใน 3 เดือนข้างหน้า ขยับขึ้นเป็น 16.0 จุด โดยส่งสัญญาณวางแผนการลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 9.3% ตลอดปีสิ้นสุดเดือนมี.ค. 2559
Fitch ปรับแนวโน้มมาเลเซียขึ้นเป็น คงที่: จากเดิม "ลบ" และเป็นการปรับแนวโน้มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2556
ตัวเลขเศรษฐกิจเกาหลีใต้ออกมาเป็นกลาง
อัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย.เพิ่มขึ้น 0.7% yoy เท่ากับที่ Bloomberg Consensus คาด เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ +0.5% yoy โดยราคาอาหารเพิ่มขึ้น 2.7% yoy ขณะที่ราคาที่อยู่อาศัยและขนส่งลดลง 1.1% yoy และ 7.7% yoy ตามลำดับ
ส่งออกเดือน มิ.ย.ลดลง 1.8% yoy ใกล้เคียงกับที่ Bloomberg Consensus คาดหดตัว 2.0% yoy แต่เป็นการหดตัวที่น้อยลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว 10.9% yoy ด้านยอดนำเข้าหดตัวแรงเช่นกัน 13.6% yoy ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลอยู่ที่ US$1.02 หมื่นล้าน
อัตราเงินเฟ้ออินโดนีเซียต่ำกว่าคาด: ในเดือน มิ.ย. เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 7.26% yoy เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้น 7.15% yoy แต่ต่ำกว่าที่ Bloomberg Consensus คาด 7.40% yoy ทั้งนี้ราคาอาหารเร่งตัวขึ้นโดย +8.58% yoy ขณะที่ราคาที่อยู่อาศัย, ขนส่งและค่ารักษาพยาบาลชะลอตัวลง
ไทย
อัตราเงินเฟ้อติดลบเป็นเดือนที่ 6: อัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย.2558 เท่ากับ 106.64 ลดลง 1.07% yoy เป็นการติดลบต่อเนื่อง 6 เดือน แต่สูงขึ้น 0.10% mom ส่วนเฉลี่ย 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) ลดลง 0.81% และยังไม่ปรับคาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปี 2558 ที่ประเมินไว้เติบโตในกรอบ 0.6-1.3% สิ่งที่กังวลขณะนี้คือสถานการณ์ภัยแล้ง และภาวะเศรษฐกิจโลก ที่จะมีผลต่อการบริโภคในอนาคต หากภัยแล้งรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งจะมีการติดตามอย่างใกล้ชิด แต่ขณะนี้ยืนยันว่ายังไม่ใช่ภาวะเงินฝืดที่แท้จริง ซึ่งตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานเมื่อหักพลังงานและอาหารสดยังเป็นบวกอยู่
ICT เผยคลอดแผนเศรษฐกิจดิจิทัลเดือนพ.ย.นี้: การประชุมผู้บริหารหน่วยงานในกระทรวงไอซีทีวานนี้ (1 ก.ค.) มีรายงานความคืบหน้าเตรียมการจัดทำแผนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อใช้เป็นแนวทางขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวสู่การมีเศรษฐกิจดิจิทัล ตามนโยบายของรัฐบาล ใช้เวลาดำเนินการ 6 เดือน ตั้งแต่ มิ.ย.-พ.ย.2558 แบ่งเป็น เดือน มิ.ย. ทบทวนภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศึกษาประเด็นปัญหาต่างๆ ส่วนเดือนก.ค.-ส.ค. จะเป็นการจัดประชุมระดมความคิดเห็น ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล จากนั้นเดือน ส.ค.-ก.ย. เป็นการจัดทำร่างกรอบนโยบาย เพื่อนำเสนอกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำเป็นกรอบนโยบาย และเดือนต.ค.- พ.ย. จะนำแผนที่เสร็จสมบูรณ์เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
ธปท.รายงานตัวเลขเศรษฐกิจไทยเดือน พ.ค.การฟื้นตัวยังช้าและเปราะบาง: ภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายลงทุนภาครัฐยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ภาคส่งออกและการใช้จ่ายภาคเอกชนยังคงอ่อนแอ
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 50.3 จุด จากเดือน เม.ย. ที่ 45.2 จุด นำโดยความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก เนื่องจากวันทำการที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจใน 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 52.0 ลดลงจาก 54.4 ที่สำรวจในเดือนก่อน
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน พ.ค.เกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ที่ US$2.13 พันล้าน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ US$1.11 พันล้าน และดีกว่าที่ตลาดคาด US$1.3 พันล้าน
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 อีก 7.6% yoy จากเดือนก่อนที่หดตัว 7.1% yoy และเป็นการหดตัวแรงกว่าที่ Bloomberg Consensus คาดที่ 5.0% yoy เป็นผล จากการผลิตที่ลดลงในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ รถยนต์ และเครื่องรับโทรทัศน์ ทั้งนี้ สศอ.คาดดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมจะเริ่มเป็นบวกได้ใน 3Q58
Strategist Team Maybank KimEng
Mayuree Chowvikran, CISA Strategist / Analyst 662-6586300 x 1440
Padon Vannarat Equity Analyst 662-6586300 x 1450
Rinrada Lianghathaitham Assistant Analyst 662-6586300 x 1530