- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 30 June 2015 16:43
- Hits: 2834
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
ถ้าเข้าเทรดดิ้งช่วงลบแรงแล้ว ต้องเน้นทำกำไรช่วงบวกขึ้นด้วย
กลยุทธ์ : หลังจาก SET ปรับลงแรงวานนี้แล้วมีแรงซื้อกลับเข้ามาหนุนให้มีจังหวะรีบาวด์ให้เทรดดิ้งช่วงสั้นได้ตามคาด แต่ด้วยประเด็นลบต่างๆ ยังกดดันตลาด โดยเฉพาะตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่ยังอ่อนแอ ทำให้คาดว่ากรอบบวกยังมีจำกัด และสุดท้ายยังมีสิทธิแกว่งลงต่อมากกว่า ดังนั้นถ้าเทรดดิ้งสั้นก็ต้องดูจังหวะทำกำไรช่วงบวก เพื่อลดพอร์ตแล้วเน้นถือเงินสดไว้ก่อน เพื่อรอจังหวะซื้อใหม่เมื่อ SET ไหลลงต่ำต่อไป
หุ้นเด่นทางเทคนิค : TVT, TSI, GFPT(buy back)
แนวโน้ม : เมื่อวานนี้ความวิตกเกี่ยวกับโอกาสที่กรีซจะผิดนัดชำระหนี้ IMF ในวันนี้(30 มิ.ย.) และนำไปสู่การที่กรีซอาจจะต้องออกจากสมาชิกยูโรโซนต่อไป ทำให้ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงกันค่อนข้างแรง รวมทั้งตลาดหุ้นไทยด้วย แต่ในช่วงบ่ายหลังจากมีข่าวว่ากลุ่มเจ้าหนี้อาจจะยืดเวลาให้กับกรีซอีกครั้ง ส่งผลให้ SET ดีดกลับขึ้นมาเป็นลบน้อยลงได้บ้าง ขณะที่เช้านี้ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ก็เริ่มกลับมาเปิดเป็นบวก ถึงแม้ว่าจะแกว่งบวกกรอบแคบ แต่ก็แสดงถึงความคาดหวังในเชิงบวกว่ากรีซกับกลุ่มเจ้าหนี้อาจจะหาทางออกได้ก่อนที่กรีซจะต้องผิดนัดชำระหนี้จริงๆ ในวันนี้ต่อไป ซึ่งอาจจะช่วยกระตุ้นให้มีแรงซื้อในตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องจากช่วงบ่ายวานนี้บ้างก็ตาม แต่ FSS คาดว่าโอกาสที่กลุ่มเจ้าหนี้กับกรีซจะหาทางออกได้ในระยะเวลาอันสั้น ดูจะมีความเป็นไปได้ยาก ดังนั้นเรามองว่ากรอบการบวกต่อของ SET จะมีค่อนข้างจำกัด และยังต้องระวังการกลับไปแกว่งตัวลงต่อเนื่องอีกครั้งมากกว่า ดังนั้นถ้าเทรดดิ้งช่วงสั้นอยู่ ก็ต้องเน้นขายทำกำไรลดพอร์ตในช่วงบวกด้วย
แนวรับ 1510-1508 , 1505-1503 , 1496-1490 จุด
แนวต้าน 1515-1517 , 1520-1525 จุด
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาค US$338 ล้าน จากความกังวลกรีซผิดนัดชำระหนี้ ไหลออกหนักจากไต้หวัน US$218.8 ล้าน และเกาหลี US$107.4 ล้าน ขณะที่ไหลเข้าเวียดนาม US$14.4 ล้าน หนักเป็นวันที่ 2 ติดต่อกันหลังตลาดหุ้นเพิ่ม Foreign limit เป็น 100% แนวโน้มเงินทุนในวันนี้น่าอยู่ในทิศทางไหลออก เพราะสถานการณ์กรีซที่เลวร้ายลง
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(0) เชื่อว่าชาวกรีซรับแผนของเจ้าหนี้ กรีซจะมีการลงประชามติ 5 ก.ค. ว่าประชาชนจะยอมรับแผนปฎิรูปเศรษฐกิจของเจ้าหนี้ (IMF, EU, ECB) หรือไม่ คำตอบมีเพียง YES หรือ NO ซึ่งนายซีปราส นายกกรีซ แนะให้ประชาชนโหวต NO เพื่อให้นายซีปราสเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ต่อ เพราะเขาเชื่อว่าในที่สุดแล้วกรีซจะไม่ถูกขับออกจากยูโรโซน
ถ้าเสียงส่วนใหญ่ตอบ NO กรีซจะถูกตัดความช่วยเหลือทางการเงินจากภายนอก และมีโอกาสสูงที่จะต้องออกจากยูโรโซน ดอลลาร์จะแข็งค่า Bond yield ลดลงรุนแรง ตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงไทยร่วงแรงแต่เป็นระยะสั้นๆ เพราะรับรู้ข่าวมานานแล้ว
ถ้าตอบ YES ตลาดหุ้นทั่วโลกจะรีบาวนด์โดยเฉพาะหุ้นยุโรปและกรีซ ส่วน Bond yield ของยุโรปจะปรับขึ้น เงินยูโรแข็งค่าชั่วคราว แต่นายซีปราสน่าจะแสดงความรับผิดชอบโดยการลาออกและมีการเลือกตั้งใหม่ แม้จะใช้เวลาอีก 2-3 เดือนแต่เชื่อว่ารัฐบาลใหม่จะโอนอ่อนตามเจ้าหนี้
เราเชื่อว่าชาวกรีซจะโหวต YES และไม่ออกจากยูโรโซน แม้กรีซจะมีความสำคัญน้อยต่อเศรษฐกิจของยูโรโซน (GDP กรีซคิดเป็น 2% ของกลุ่ม) แต่อาจลุกลามกลายเป็นโดมิโนไปยังโปรตุเกส สเปน และอาจรวมถึงฝรั่งเศส ซึ่ง ECB ไม่น่ายอมให้เกิดขึ้น
(0) วันนี้กรีซจะไม่มีการชำระหนี้แก่ IMF แต่สถาบันจัดอันดับจะไม่ปรับลดเรทติ้ง เพราะ IMF ไม่ใช่สถาบันการเงิน แต่กลางเดือนหน้ากรีซมีหนี้ต้องจ่าย ECB หากการเจรจาไม่ยุติและไม่สามารถชำระเงินได้ กรีซจะถูกลดเครดิตเหลือ D (Default)
(-) KBANK เราคาดกำไรสุทธิ 2Q15 -8% Q-Q, -2.8% Y-Y และปรับกำไรสุทธิปีนี้ลง 9% เหลือ 4.37 หมื่นล้านบาท -5% Y-Y ลดลงเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2009 จากการตั้งสำรองหนี้สูญที่เพิ่มสูงกว่าคาดตามแนวโน้ม NPL ที่เพิ่มขึ้น เพราะลูกหนี้บางส่วนเริ่มผ่อนไม่ไหวซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม SME (ภาคเกษตร ท่องเที่ยว และวัสดุก่อสร้าง) เราปรับลดเป้าหมายปีนี้ลงเหลือ 219 บาทจากเดิม 245 บาท แม้เรทติ้งจะเป็นซื้อเพราะ upside ที่มีกว่า 10% แต่ Growth story ที่หายไป ข่าวลบที่เพิ่มขึ้น ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนซื้อ
(-) BCH แนวโน้มกำไร 2Q15 แย่ลง การบริโภคในประเทศที่ซบเซาโดยเฉพาะผู้มีรายได้ปานกลาง-น้อยซึ่งเป็นฐานลูกค้าหลักของ BCH ขณะที่ WMC ที่เป็นโรงพยาบาลระดับบน ยังถ่วงผลการดำเนินงานของทั้งเครือ นอกจากนี้ รพ.การุณเวช รัตนาธิเบศร์ที่เริ่มเปิดบริการต้นเดือน มิ.ย. คาดว่าจะมีผลขาดทุนในช่วงเริ่มต้น กำไรที่เราคาดทั้งปีนี้ที่ -8% Y-Y น่าจะมี downside อีกเล็กน้อย ส่วนกำไร 2Q15 คาด -26% Q-Q, -35% Y-Y ยังแนะนำขาย ราคาเป้าหมาย 7 บาท
(+) FPI กำไรมีแนวโน้มฟื้นในครึ่งปีหลังจากออเดอร์ของ Toyota Revo, Fiat, Suzuki (new vitara 2015), ชุดแต่ง TRD, และ New Foton ของจีน และสายการผลิตงานชุบที่กลับมาเดินเครื่องได้ปกติ ระยะสั้นอาจมีแรงเก็งกำไรจากความคาดหวังกำไร 2H15 รวมถึงการรุกธุรกิจพลังงานไฟฟ้าพลังงานทดแทน แต่ด้วย Forward PE ประมาณ 30 เท่า สูงกว่ากลุ่มที่ 15 เท่า จึงต้องระวังการเก็งกำไร กรอบเก็งกำไรมีแนวรับ 5.7-5.8 บาท แนวต้าน 6.2-6.30 บาท เราอยู่ในระหว่างทบทวนประมาณการ
(-) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาร่วงแรงราว 2% หลังสถานการณ์หนี้ของกรีซเข้าสู่ช่วงวิกฤตเนื่องจากจะครบกำหนดชำระเงินในวันนี้ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปสำหรับการรับความช่วยเหลือ
(-) ส่วนตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนที่ผ่านมาดิ่งลงแรงเช่นกันจากความหวาดกลัวที่กรีซอาจเป็นประเทศแรกที่จะออกจากยูโรโซนหลังยังไม่ยอมรับการช่วยเหลือและได้ประกาศใช้ Capital Control ไปแล้ว
(0) สำหรับตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้แกว่งตัวในกรอบแคบหลังจากร่วงแรงวานนี้ โดยตลาดจับตาดูว่ากรีซจะผิดนัดชำระหนี้ในวันนี้หรือไม่
(0) ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาเล็กน้อยหลังอ่อนค่าลงเช้าวานนี้ ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 33.70-33.80 บาท/ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน ส.ค. ปิดที่ 58.33 เหรียญ/บาร์เรล ร่วงลง 1.30 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยได้รับแรงกดดันจากปัญหาหนี้ของกรีซหลังประกาศใช้ Capital Control ขณะที่อิหร่านอยู่ระหว่างเจรจากับฝั่งตะวันตกเพื่อส่งออกน้ำมันเพิ่มเติม
ราคาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ส.ค. ปิดที่ 1,179.00 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 5.80 เหรียญ/ออนซ์ โดยนักลงทุนเข้าถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้นหลังสถานการณ์หนี้ของกรีซเข้าขั้นวิฤตและเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้มาก
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
30-มิ.ย. - ไทย: AMATARเริ่มเทรด (ราคา IPO 10 บาท), รายงานภาวะเศรษฐกิจเดือน พ.ค. โดยธปท.
- ยูโรโซน:อัตราเงินเฟ้อ (มิ.ย.)
- สหรัฐ:S&P/CaseShiller Index (เม.ย.),ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (มิ.ย.)
1 ก.ค. - ตลาดหุ้นฮ่องกงและไทยปิดทำการ
- จีน:Manufacturing & Non-manufacturing PMI (มิ.ย.)
- ญี่ปุ่น: ดัชนี Tankan (2Q15)
- สหรัฐ: การจ้างงานภาคเอกชน (ADP Report) (มิ.ย.ป
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Manufacturing PMI (มิ.ย.)
2-ก.ค. - ไทย:อัตราเงินเฟ้อ (พ.ค.)
- อินเดีย:ธนาคารกลาง (RBI)ประชุม
- ออสเตรเลีย: ธนาคารกลาง (RBA)ประชุม
- สหรัฐ: การจ้างงานนอกภาคเกษตร (มิ.ย.) (Consensus คาดเพิ่ม 2.3 แสนราย เทียบกับเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้น 2.8 แสนราย)
- ยูโรโซน: อัตราเงินเฟ้อ (เม.ย.)
3-ก.ค. - จีน:HSBC China Composite PMI (มิ.ย.)
- ยูโรโซน:Markit Eurozone Composite PMI (มิ.ย.)