WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
       ตลาดหุ้นวันนี้น่าจะถูกกดดันจากปัญหาหนี้สินของกรีซ โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากนี้ไปยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด แนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุนในภาคธุรกิจการเงินชั่วคราว และสลับมาลงทุนในหุ้น Domestic Play ที่โดดเด่นได้แก่ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง TASCO(FV@B 27.50) และ CK (FV@B 31.25) ซึ่งเลือกเป็น Top Picks

 

SET Index 1,518.03
เปลี่ยนแปลง (จุด) -1.44
มูลค่าซื้อขาย (ล้านบาท) 33,672.79

ยอดซื้อ-ขายสุทธิ นักลงทุนแต่ละประเภท (ล้านบาท)


นักลงทุนต่างชาติ 452.31
บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ -324.49
นักลงทุนสถาบันในประเทศ 2,201.18
นักลงทุนรายย่อย -2,329.00

 

ปัญหาหนี้สินกรีซถึงทางตัน กระทบตลาดการเงินโลก
      หลังจากการเจรจาระหว่างกรีซและกลุ่มเจ้าหนี้ในวันเสาร์ที่ผ่านมา กลุ่มเจ้าหนี้อย่าง IMF ยืนยันไม่เลื่อนกำหนดชำระหนี้ที่จะครบกำหนดในวันอังคารที่จะถึงนี้ (1.6 พันล้านยูโร) รวมถึงทางเจ้าหนี้ Troika ก็จะไม่ยืดช่วงเวลาการให้เงินช่วยเหลือกรีซที่จะสิ้นสุดวันอังคารนี้เช่นกัน ขณะที่ท่าทีของกรีซเตรียมจัดให้มีการทำประชามติเรื่องการยอมรับแผนปฎิรูปตามข้อตกลงของเจ้าหนี้ในวันที่ 5 ก.ค. (ก่อนขอยืดระยะเวลาการชำระหนี้ไปเป็น 5 ก.ค. แต่ไม่สำเร็จ) ซึ่งเลยกำหนดของทางกลุ่มเจ้าหนี้แล้ว ทำให้กรีซจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด นอกจากนี้วันอาทิตย์ที่ผ่านมาทาง ECB ได้มีแนวโน้มที่จะระงับการให้ความช่วยเหลือ (ELA) แก่ธนาคารกลางกรีซหากกรีซไม่สามารถชำระหนี้ได้ในสิ้นเดือนนี้ (คงเพดานเงินช่วยเหลือไว้ที่ 8.5 หมื่นล้านยูโร)

       ผลสรุปดังกล่าวทำให้ประชาชนกรีซแห่ถอนเงินออกจากสถาบันการเงินเป็นจำนวนมาก จนทำให้รัฐบาลกรีซประกาศให้วันจันทร์ที่ 29 มิ.ย. (วันนี้) เป็นวันหยุดทำการของธนาคารและมีแนวโน้มที่จะหยุดทำการต่อเนื่องจนถึงหลังวันที่ 5 ก.ค. 2558 ซึ่งเป็นการเตรียมการเพื่อทำ Capital Control ต่อไป โดยการทำ Capital control นี้จะมีการจำกัดวงเงินในการถอนเงินจากธนาคารกรีซว่าจะจะอยู่ที่ 60 ยูโรต่อบัญชี/วัน (ยกเว้นชาวต่างชาติที่สามารถถอนได้ตามปกติ) และไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายเงินไปยังต่างประเทศ ซึ่งจะกระทบต่อการใช้จ่ายและการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ฝ่ายวิจัยประเมินว่าท่าทีที่แข็งกร้าวของ IMF ทำให้กรีซตกที่นั่งลำบาก นอกจากจะไม่ได้เงินก้อนใหม่แล้ว ยังจะต้องหาเงินมาชำระหนี้เดิมให้ได้ก่อนหรืออาจกล่าวได้ว่ากรีซประสบปัญหา Technical Default ไปแล้ว และน่าจะเป็นปัจจัยลบต่อตลาดหุ้นสำคัญของโลกเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป


       ส่วน จีน มีความเคลื่อนไหวเช่นกัน โดยเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (ซึ่งเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปี) ลงอีก 0.25% เหลือ 4.85% เช่นเดียวกับลดดอกเบี้ยเงินฝาก 1 ป ลงเหลือ 2% นับเป็นการลดดอกเบยี้ ลงเป็นครั้งที่ 4 รวม 1.15% ในรอบ 7 เดือน นอกจากนี้ยังปรับลดอัตราเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลงอีก 0.5% เหลือ 18% สำหรับธนาคารที่ปล่อยกู้ให้แก่ภาคการเกษตรและธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก นับเป็นการลด RRR ครั้งที่ 3 ในรอบกว่า 5 เดือน ซึ่งเป็นไปตามที่ฝ่ายวิจัยได้กล่าวมาโดยตลอดว่า มีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางจีน จะต้องใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มอีกในช่วงที่เหลือของปีนี้ หลังจากที่เศรษฐกิจรายภาคที่สำคัญ ๆ ในช่วง 4-5 เดือนแรกของปีนี้ ยังส่งสัญญาณชะลอตัว ส่งผลให้ GDP Growth งวด 1Q58 เติบโตต่ำเพียง 7% และทั้งปีอาจโตเพียง 6.8% ตามคาดการณ์ของ IMF นับว่าเป็นการขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบกว่า 25 ปี ทั้งนี้เชื่อว่ามาตรการผ่อนคลายทางการเงินรอบใหม่ของจีนนี้ น่าจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องขึ้นในระบบขึ้นมากว่า 3 ล้านล้านหยวน (4.9 แสนล้านเหรียญ) และน่าจะเป็นข่าวดีที่ช่วยกระตุ้นสภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นจีนให้ฟื้นกลับขึ้นมาได้ หลังจากที่ตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ลดลงหนักถึงกว่า 19% นับตั้งแต่กลางเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา

 

แม้ผลกระทบจริงจะไม่ชัด แต่น่าจะเกิด Panic จากปัญหากรีซ
      ผลจากการที่กรีซ กำลังเดินเข้าสู่ปัญหาที่ยังไม่มีใครสรุปได้ชัดเจนว่าผลกระทบจะมีมากน้อย กินวงแคบหรือกว้างอย่างไร เชื่อว่าน่าจะทำให้เกิดความผันผวนกับตลาดหุ้นหลักทั่วโลก สำหรับตลาดหุ้นไทยหากประเมินผลกระทบใน 2 ส่วนหลัก คือเรื่อง ทิศทาง Fund Flow กับผลกระทบในเชิงพื้นฐาน เชื่อว่ามีโอกาสทำให้เกิดการปรับฐานลง และตามมาด้วยความผันผวน โดยในมุมของ Fund Flow รอบนี้เชื่อว่าแรงกดดันที่เกิดจากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ อาจมีไม่มากนักเนื่องจากสถานะการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยอยู่ในระดับตำ โดยในส่วนของยอดซื้อสุทธิสะสมที่ดำเนินมาตั้งแต่ต้น 2552 จนถึงปัจจุบันได้ลดลงจากระดับสูงสุดที่ 3.21 แสนล้านบาท (ปรับเป็นมูลค่าตลาดแล้ว) ในช่วงกลางปี 2556 จนมาอยู่ที่ระดับ 2.95 หมื่นล้านบาท ในปัจจุบัน ซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่าเม็ดเงินลงทุนส่วนที่ไหลเข้ามาในช่วงราว 6 ปีที่ผ่านมาถูกขายออกไปแล้วกว่า 90% ขณะที่สัดส่วนการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ 2 รูปแบบคือการปิดโอนเป็นชื่อนักลงทุนต่างชาติและ NVDR ปรับลดลงจากระดับสูงสุด 36-37% มาอยู่ที่ช่วง 32-33% ซึ่งเป็นระดับการถือครองในภาวะปกติ ภาพดังกล่าวทำให้เชื่อว่าแรงกดดันจากการขายของนักลงทุนต่างชาติจะมีไม่มาก ส่วนที่น่ากังวลมากกว่าในด้านของ Fund Flow ของตลาดหุ้นไทย น่าจะเป็นแรงขายที่เกิดจากนักลงทุนในประเทศ ทั้งในส่วนของ นักลงทุนรายบุคคลพอร์ตโบรกเกอร์ และ นักลงทุนสถาบัน ซึ่งใน 3 กลุ่มนี้ ในช่วงหลังมีลักษณะของการซื้อขายทำกำไรในช่วงสั้นมากขึ้นโอกาสที่จะเกิด Panic Sell จากกลุ่มนักลงทุนในประเทศจึงมาก


      สำหรับ ผลกระทบในเชิงของปัจจัยพื้นฐาน ประเมินว่าโอกาสที่จะเห็นความผันผวนเกิดขึ้นกับภาคธุรกิจการเงินจะมีค่อนข้างมาก ที่จะเห็นได้ชัดที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของค่าเงินบาท ซึ่งปรากฎสัญญาณการกลับมาอ่อนค่าอีกครั้ง ซึ่งประเมินว่ามีโอกาสปรับไปที่ประมาณ 34 บาท/USD ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวควรหลีกเลี่ยงการลงทุนในกลุ่มธุรกิจการเงินชั่วคราว ส่วนหุ้นในกลุ่มส่งออก จะให้น้ำหนักไปกลุ่มที่มีสัดส่วนการส่งออกไปยุโรปน้อยที่สุด ซึ่งเมื่อเทียบระหว่างกลุ่มอาหาร และกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แล้ว กลุ่มอาหารน่าจะมีความโดดเด่นกว่า มีตัวเลือกเช่น CPF (FV@B 28) ส่วนอีกแนวคิดการลงทุนที่น่าสนใจได้แก่กลุ่มที่ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคเศรษฐกิจในประเทศ หรือ Domestic Play ที่ชัดเจนที่สุดในเวลานี้ได้แก่ภาคการก่อสร้าง หุ้นเด่นได้แก่ TASCO(FV@B 27.50) และ CK (FV@B 31.25) ตัวเลือกที่น่าสนใจอีกกลุ่มหนึ่งคือหุ้น High Dividend Yield ที่มี Beta ต่ำ ที่ฝ่ายวิจัยได้เคยแนะนำไปแล้ว

 

ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคทั้ง 5 ประเทศ
       วันศุกร์ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคราว 116 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นการซื้อสุทธิทั้ง 5 ประเทศ นำโดยตลาดหุ้นไต้หวันถูกซื้อสุทธิราว 67 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องวันที่ 3) และตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ถูกซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 1 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 4) เช่นเดียวกับตลาดหุ้นอินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิราว 10 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 4) และตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิราว 24 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิได้เพียงวันเดียว) ส่วนตลาดหุ้นไทยนักลงทุนต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 13 ล้านเหรียญ หรือ 452 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิได้เพียงวันเดียว) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 2,201 ล้านบาท
ทางด้านตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 4,456 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิ 1,451 ล้านบาท ล่าสุดค่าเงินบาทอยู่ที่ 33.87 บาท/ดอลลาร์

นักวิเคราะห์: ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!