- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 26 June 2015 16:18
- Hits: 1313
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
แม้จะมีการทำ Window Dressing 3 วันทำการสุดท้ายก่อนสิ้น 2Q58 (หุ้นเข้าข่าย ADVANC/INTUCH) แต่คาด 1-3 เดือน SET ยังอยู่ในช่วงอ่อนตัว จึงยังเลือกลงทุนรายหุ้น TASCO([email protected]) มีกำไรโดดเด่นทุกไตรมาสที่เหลือของปีนี้ และเลือก IRPC([email protected]) เป็น Top pick เพราะเป็น 1 ใน Cyclical stock มี upside สูงสุด ในกลุ่ม
ตลาดหุ้นโลก ผันผวน ตราบที่ปัญหากรีซยังไม่มีข้อสรุป
ระหว่างการประชุมผู้นำของสหภาพยุโรปที่กรุงบรัสเซลส์มีขึ้นตั้งแต่วานนี้ กรีซก็ยังคงมีการเจรจากับตัวแทนเจ้าหนี้ (IMF, ECB, EC) และคาดว่าอาจจะต่อเนื่องจนถึงวันเสาร์นี้ ซึ่งดูเหมือนว่ายังไม่มีข้อสรุปที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย เพราะหลังจากการเจรจากันในรอบนี้ จะต้องนำข้อสรุป ไปหารือ หรือ ต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้งฝั่งเจ้าหนี้ คือ ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาฯ ของเยอรมัน และ ทางฝั่งลูกหนี้คือ กรีซ ซึ่งก็ต้องผ่านการรับรองจากรัฐสภาของกรีซเองเช่นกัน ซึ่งจะนำเสนอใน Market Talk วันจันทร์หน้า (29 มิ.ย.)
ในที่สุดแล้ว การที่จะต้องเลือกให้กรีซ อยู่ในสภาพยุโรปต่อไป เจ้าหนี้จำเป็นที่จะต้องยอมลดหนี้ลง (debt hair cut ) เช่นที่เคยมีการลดยอดหนี้แล้ว 50% ของหนี้บางก้อน ซึ่งแน่นอนผู้ที่บาดเจ็บคือ เจ้าหนี้ทุกราย โดยเฉพาะรัฐบาล และ สถาบันการเงินในยุโรป สหรัฐ ญี่ปุ่น และ จีน ที่ถือหุ้นกู้พันธบัตรรัฐบาลกรีซ และ ผลที่ตามมาคือ การที่สถาบันการเงินเหล่านี้จะต้องตั้งสำรองหนี้ที่มีปัญหา แม้เชื่อว่าตลาดหุ้นน่าจะรับรู้ประเด็นนี้ไปบ้างแล้ว แต่ขึ้นอยู่กับ Debt haircut ที่เกิดขึ้น กับ สิ่งที่สถาบันการเงินได้ตั้งสำรองฯ ไว้ สิ่งเหล่านี้จะกระทบต่อผลการดำเนินงาน และ ราคาหุ้นกลุ่มธนาคาร และ ยังคงกดดันให้ ตลาดหุ้นโลกผันผวน ต่อ หากยังไม่ข้อสรุปในประเด็นเหล่านี้
ขณะที่ทางฝั่งสหรัฐ การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังคงมีความขัดแย้งกัน กล่าวคือ ตลาดแรงงานยังมีการฟื้นตัวต่อเนื่อง แม้ล่าสุด ยอดของผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 20 มิ.ย. เพิ่มขึ้น 3 พันราย แต่ต่ำกว่าที่ตลาดคาดว่าเพิ่ม 6 พันราย (อยู่ที่ 2.71 แสนคน ต่ำกว่า 3 แสนรายต่อเนื่อง 16 สัปดาห์) และ เช่นเดียวกับ ยอดจ้างงานนอกภาคเกษตรและ การเปิดรับสมัครงานในตำแหน่งงาน ใหม่ ที่รายงานก่อนหน้านี้ พบว่าปรับตัวดีขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยหนุนสำคัญต่อ กำลังซื้อของภาคครัวเรือน (สะท้อนจากรายได้ภาคครัวเรือน เดือน พ.ค. ขยายตัว 0.5% นับว่าขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน มากกกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 0.7% และการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคขยายตัว 0.9% สูงสุดตั้งแต่ ต.ค. 2552) ตรงกันข้ามกับภาคการลงทุน ที่ดัชนี PMI ภาคบริการ และดัชนี PMI รวม เดือน มิ.ย. ปรับตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 อยู่ที่ 54.8 และ 54.6 ตามลำดับ สอดคล้องกับทิศทางดัชนี PMI ภาคการผลิตที่รายงานก่อนหน้านี้ จากตัวเลขชี้นำเศรษฐกิจข้างต้นที่มีความขัดแย้ง และสะท้อนถึงอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจน่าจะอยู่ในระดับปานกลาง ทางฝ่ายวิจัยมองว่า Fed น่าจะมีการปรับดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือน ธ.ค. หรืออย่างช้าในต้นปี 2559 ทั้งนี้ยังต้องติดตามการประชุมที่เหลืออีก 4 ครั้งก่อนสิ้นปี 2558 คือ 28-29 ก.ค., 16-17 ก.ย., 27-28 ต.ค. และ 15-16 ธ.ค.
ลงทุนหุ้นเด่น Window Dressing Plays งวด 2Q58
เชื่อว่าปัจจัยหนุนระยะสั้นยังมาจากแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันในการประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะเกิดจากการลงทุนผ่านกองทุนประหยัดภาษี (LTF) หรือ การออกกอง Trigger fund นอกจากนี้เชื่อว่าน่าจะเห็นการทำราคาหุ้นก่อนจะปิดงบรายไตรมาส แม้ในงวด 2Q58 ตามสถิติแล้วจะเกิดขึ้นน้อยกว่าช่วงปลายปี หรือ งวด 4Q58 แต่อย่างไรก็ตามจากสถิติในอดีต ก็ยังพอจะเห็นโอกาสการตกแต่งบัญชี หรือ ที่เรียกว่าการทำ Window Dressing บ้าง
ทั้งนี้จากสถิติย้อนหลัง 5 ปีย้อนหลัง พบว่า SET มักปรับขึ้นในราว 3 วันทำการสุดท้าย ก่อนสิ้นไตรมาส 2 โดยมีโอกาส 100% ด้วยผลตอบแทนเฉลี่ย 2.28% (หรือคิดเป็นผลตอบแทนที่คาดหวัง หรือ Expected Return เท่ากับ 2.28%) ขณะที่หุ้นที่คาดว่าจะให้ Expected Return ชนะตลาด ได้แก่ AOT , ADVANC, QH, INTUCH, BBL, KBANK ให้ผลตอบแทนที่คาดหวังเฉลี่ย 10.48%, 9.18%, 8.13%, 6.09%, 5.88%, และ 5.74% ตามลำดับ และเลือก ADVANC, INTUCH เป็น Top Picks โดยกลยุทธ์การลงทุนมีดังนี้
ADVANC : ซื้อหุ้นก่อนสิ้นไตรมาส 2 : 3 วัน และขายหลังสิ้นไตรมาส 2 : 2 สัปดาห์
INTUCH : ซื้อหุ้นก่อนสิ้นไตรมาส 2 : 3 วัน และขายหลังสิ้นไตรมาส 2 : 2 สัปดาห์
(ติดตามอ่านรายละเอียด Quantitative Analysis ฉบับวานนี้)
แม้ภาพรวมต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคแต่ขายสุทธิถึง 4 ประเทศ
วานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคราว 303 ล้านเหรียญ อย่างไรก็ตามเป็นการซื้อสุทธิเพียงประเทศเดียว คือ ตลาดหุ้นไต้หวันถูกซื้อสุทธิราว 346 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องวันที่ 2) ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ คือ ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 16 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 4) และตลาดหุ้นอินโดนีเซียถูกขายสุทธิราว 11 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 4) เช่นเดียวกับตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิราว 5 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิได้เพียงวันเดียว) ส่วนตลาดหุ้นไทยนักลงทุนต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 11 ล้านเหรียญ หรือ 337 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิได้เพียงวันเดียว) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 730 ล้านบาท
ทางด้านตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1,051 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 2,324 ล้านบาท ล่าสุดค่าเงินบาทอยู่ที่ 33.76 บาท/ดอลลาร์
แนวโน้มตลาดในช่วง 1-3 เดือนคาดว่ายังเป็นขาลง
ล่าสุด ASPS ได้ออกรายงาน 3rd Invest+ (ติดตามอ่านได้ตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย. ที่ผ่านมา) โดยได้ประเมินแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วง 3 เดือนข้างหน้า จะยังคงแกว่งตัวในทิศทางขาลง โดยคาดว่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,432-1,528 จุด (อิง Expected PER สิ้นปี 15-16 เท่า และ EPS Growth 24.8%) ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ยืนเหนือ 1,500 จุดสะท้อนว่า เข้าใกล้ PER 16 เท่า ซึ่งถือเป็นระดับสูงใกล้เคียงกับตลาดหุ้นในภูมิภาค ทำให้เงินลงทุนที่ไหลเข้ามาสู่ตลาดหุ้นมาจากนักลงทุนในประเทศ ส่วนนักลงทุนต่างชาติยังไม่มีแนวโน้มเข้าซื้อในตลาดหุ้นไทย ความเสี่ยงที่ต้องระวังอีกประการหนึ่งคือการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่อาจต่ำกว่าคาด และทำให้ Expected PER มีแนวโน้มจะสูงกว่าที่เป็นอยู่ กรณีที่ GDP Growth ต่ำกว่า 3.5% (ASPS คาดเพียง 2.5%) หากการเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐ (กระทบกลุ่ม Domestic Play) และภาคการท่องเที่ยว (โรงแรมและการบริโภคในประเทศ) ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ด้วยผลกระทบจากการระบาดของ MERS และการให้บริการสายการบินของไทยอาจจะพบอุปสรรค หลังจาก ICAO ให้ธงแดงแก่กรมการบินพลเรือน ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลสายการบินสัญชาติไทย ล้วนเป็นปัจจัยที่อาจจะบั่นทอน EPS Growth ที่กล่าวข้างต้น
ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนในระยะ 3 เดือน ขอลดเงินลงทุนในหุ้นเหลือ 40% จากเดิม 50% และที่เหลืออีก 60% แบ่งไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศ 40% เลือก ETF ของอุตสาหกรรม Healthcare ในสหรัฐที่เติบโตสูงต่อเนื่องอย่าง PJP US และ Daimler AG (DAI GY) ที่ได้ประโยชน์จากเงินยูโรอ่อนค่า และอีก 20% ลงทุนตราสารทางการเงิน หรือที่ให้ผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย (Fixed Income Asset) โดยคง Duration พอร์ตไว้ที่ 5 ปี โดยหุ้นไทยที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนชนะตลาดใน 3 เดือนข้างหน้า ได้แก่ CK, HANA, IRPC, KBANK, PS, RCL, SPALI, TASCO และ TUF
ขาย PTTGC มาเข้า IRPC ซึ่ง Laggard และมี upside
วันนี้นักวิเคราะห์ ASPS ได้ออกรายงาน Earnings preview งวด 2Q58 ของหุ้น PTTGC พร้อมกับได้ปรับลดน้ำหนักการลงทุน จากเดิมที่ซื้อ เป็น ถือ เพราะราคาหุ้นทะลุ Fair Value 67.50 บาท ไปแล้วเกือบ 4% และ ให้ Switch ไปซื้อหุ้น IRPC ซึ่งอยู่ในกลุ่มปิโตรเคมี และ เป็น 1 ในหุ้น Cyclical Stock (มีสัญญาณการฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก สะท้อนจากราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และ spread ที่ดีขึ้นต่อเนื่อง 3 เดือนติดต่อกัน) เช่นเดียวกัน แต่ช่วงที่ผ่านมาพบว่า ราคาหุ้น IRPC ยังมี upside สูงสุด เมื่อเทียบกับหุ้น PTTGC หรือ เมื่อเทียบกับ หุ้น โรงกลั่น ที่มีธุรกิจปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์ ผสมอยู่ด้วย อย่าง TOP (มีแนวโน้มจะปรับลดคำแนะนำจากปัจจุบันที่ถือ เพราะยังหุ้นในตลาดใกล้เคียกับ Fair Value เช่นกัน) ติดตามอ่านรายละเอียดหุ้น PTTGC ใน Equity Talk วันนี้ จึงเลือก IRPC([email protected]) เป็น Top pick
นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647