- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 24 June 2015 15:59
- Hits: 1302
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
แม้ตลาดได้รับ Sentiment เชิงบวกจากต่างประเทศ แต่ตลาดหุ้นไทยยังถูกจำกัดด้วย Expected PER ที่ใกล้ 16 เท่า จึงยังแนะนำให้ลดน้ำหนักการลงทุนเหลือ 40% และสลับมาลงทุนรายหุ้น CK([email protected]), RCL([email protected]) โดยยังเลือก TASCO([email protected]) เป็น Top pick
ให้น้ำหนักของกรีซจนถึงการประชุม ECB ปลายสัปดาห์นี้
การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปยังคงส่งสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้น แม้จะฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปก็ตาม โดยล่าสุด GDP Growth งวด 1Q58 กระเตื้องขึ้นมาอยู่ในแดนบวกแม้เพียง 0.4% yoy แต่ถือว่าเป็นการฟื้นตัวที่มีนัยสำคัญ นับตั้งแต่ 2Q54 ตามมาด้วยอัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย. กลับขึ้นมาเป็นบวก 0.3%yoy (หลุดจากเงินเฟ้อติดลบ ที่ต่อเนื่องมานาน 4 เดือน) ทั้งนี้ในเดือนพ.ค. พบว่าดัชนีเชื่อมั่นทางด้านเศรษฐกิจเดือน พ.ค.อยู่ที่ระดับ 103.8 (สูงกว่าคาดการณ์ที่ 103.5 และเดือน เม.ย.ที่ 103.7) และดัชนีความเชื่อมั่นภาคบริการ มาอยู่ที่ 7.8 (ดีกว่าคาดการณ์ที่ 6.7 และเดือน เม.ย.อยู่ที่ 6.7) และล่าสุดพบว่าดัชนีสำคัญภาคการผลิตและบริการ เดือน มิ.ย. ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ระดับ 52.5 (สูงกว่าคาดที่ 52.2) และ 54.4 (สูงกว่าคาดที่ 53.6) และสูงขึ้นกว่าเดือน พ.ค. แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม และเช่นเดียวกับ ดัชนี PMI รวม (ภาคการผลิตและบริการ) เพิ่มขึ้นมาที่ 54.1 สูงกว่าที่คาด 53.5 และเดือนก่อนหน้าที่ 53.6 ซึ่งการฟื้นตัวดังกล่าว สรุปได้ว่าหลักๆ น่าจะเกิดจากการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน QE ที่เริ่มใช้เมื่อปลายเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา โดยรวมเม็ดเงินจนถึงปัจจุบันใช้เงินไปแล้ว 4.42 แสนล้านยูโร
เชื่อว่าตลาดจะยังให้ความสนใจผลการประชุมระหว่างผู้นำของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพฤหัสนี้ ซึ่งจะมีการพิจารณาแผนประนอมหนี้ของกรีซด้วย หลังจากที่กรีซ ได้ยื่นแผนประนอมหนี้ในวันจันทร์ที่ผ่านมา ทั้งนี้แม้ข้อเสนอของกรีซ จะยอมให้มีการตัดลดงบประมาณรายจ่าย (เช่น ตัดลดเงินบำเหน็จบำนาญ ด้วยการเสนอให้มีการยืดอายุผู้ที่จะเกษียณอายุออกไปเป็น 67 ปี) และเสนอให้มีการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (Sales tax) แม้จะเป็นการเลือกเฉพาะผู้ที่มีรายได้ระดับกลาง-สูงเป็นต้นก็ตาม แต่ยังต้องติดตามรายละเอียด และ ข้อสรุปในปลายสัปดาห์นี้อีกครั้ง
อย่างไรก็ตามเชื่อว่า ตลาดมีความหวังว่าการประนอมหนี้ครั้งนี้น่าจะบรรลุผล และช่วยให้กรีซยังคงอยู่ในสหภาพยุโรป พร้อมกับกรีซยังจะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติม โดยเฉพาะเงินกู้ยืมงวดสุดท้ายที่ยังเบิกไม่หมด ราว 7.2 พันล้านยูโรแก่กรีซ (จากวงเงินที่ขอความช่วยเหลือ 2 ครั้ง รวม 2.4 แสนล้านยูโร) ทั้งนี้เพื่อให้กรีซ มีสภาพคล่องทางการเงิน ที่จะช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ที่สถาบันการเงินในกรีซ ที่กำลังเผชิญกับเงินฝากไหลออกจากประเทศ อย่างต่อเนื่อง จนน่าจะเข้าขั้นวิกฤติแล้วในขณะนี้ แต่ประเด็นความเสี่ยงที่ยังมีอยู่ก็คือ เจ้าหนี้ของกรีซ ทุกรายอาจจะต้องเสียสละในการลดหนี้ให้กับกรีซ หรือไม่อย่างไร ซึ่งถือเป็นประเด็นที่อาจจะกลับเข้ามามีน้ำหนักต่อตลาดอีกรอบ
ดัชนี เศรษฐกิจสหรัฐขัดแย้ง หนุน FED ขึ้นดอกเบี้ยเร็วสุด ธ.ค.
ตัวเลขดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐ ยังมีความขัดแย้งกัน กล่าวคือ ตลาดแรงงานมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ การจ้างงานนอกภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามด้วย ยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานใหม่ที่ปรับตัวลดลง แม้อัตราการว่างงานจะยังอยู่ที่ระดับ 5.5% ก็ตาม แต่การฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ได้ส่งผลให้การบริโภคครัวเรือนของสหรัฐปรับตัวขึ้น สะท้อนจากยอดค้าปลีกและความเชื่อมั่นขอผู้บริโภค รวมถึงส่งผลให้ตลาดบ้านฟื้นตัวต่อเนื่องเช่นกัน โดยล่าสุดตัวเลข ขายบ้านใหม่ เดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 2.2% มาอยู่ที่ 5.46 แสนหลัง (สูงสุดในรอบ 7 ปี) ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวถึง 6.8% และสอดคล้องกับตัวเลขการขออนุญาตสร้างบ้านใหม่ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ยกเว้น ทางด้านการผลิตยังคงหดตัวต่อเนื่อง
โดยล่าสุดพบว่า คำสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือน พ.ค. หดตัว 1.8% (ต่ำกว่าตลาดคาดเพิ่มขึ้น 0.8%) และเช่นเดียวกับ PMI ภาคการผลิตเดือน มิ.ย. ที่ลดลงต่อเนื่อง 3 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 53.4 (ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 54.1)
ทั้งนี้ ผลการประชุมล่าสุด ทำให้ Fed ปรับดัชนีเศรษฐกิจที่สำคัญ ทั้ง GDP Growth อัตราการว่างงานและ อัตราเงินเฟ้อลง พร้อมส่งสัญญาณว่าจะยังไม่รับร้อนขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าจะเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวดีขึ้นจากปัจจัยที่เชื่อว่าเป็นการเติบโตในระดับปานกลาง โดย Fed กำหนดดอกเบี้ยนโยบายสิ้นปี 2558 ไว้ที่ 0.75% หรือ ขึ้นดอกเบี้ยราว 0.5% ในการประชุมที่เหลืออีก 4 ครั้งก่อนสิ้นปี 2558 คือ 28-29 ก.ค., 16-17 ก.ย., 27-28 ต.ค. และ 15-16 ธ.ค ส่วนในปี 2559 Fed กำหนดกรอบการขึ้นดอกเบี้ยไว้ 1% เป็น 1.75% อย่างไรก็ตามพิจารณาปัจจัยรอบด้านเชื่อว่า Fed น่าจะมีการปรับดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือน ธ.ค. หรืออย่างช้าในต้นปี 2559 ปัจจัยนี้น่าจะเป็นที่รับรู้ในตลาดไปพอควรแล้ว และเชื่อว่าหากมีการขึ้นดอกเบี้ยในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ตลาดหุ้นสหรัฐน่าจะกลับมาฟื้นตัวเป็นขาขึ้นอีกครั้งได้
ต่างชาติยังคงขายสุทธิตลาดภูมิภาคหนักตลอด มิ.ย.
ถ้านับตั้งแต่ตั้นเดือน มิ.ย.จนถึงวานนี้ พบว่านักลงทุนต่างชาติขายสะสมสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคราว 4,744 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นการขายสุทธิทุกวัน ยกเว้นวันที่ 15 มิ.ย. ที่ซื้อสุทธิเพียงเล็กน้อยวันเดียว โดยวานนี้พบว่าต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคราว 122 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทั้ง 5 ประเทศ นำโดยตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิราว 18 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 2)และตลาดหุ้นอินโดนีเซียถูกขายสุทธิราว 9 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 2) เช่นเดียวกับตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิราว 17 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 6) และตลาดหุ้นไต้หวันถูกขายสุทธิราว 61 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิได้เพียงวันเดียว) ส่วนตลาดหุ้นไทยนักลงทุนต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 18 ล้านเหรียญ หรือ 611 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิได้เพียงวันเดียว) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 322 ล้านบาท ทั้งนี้เชื่อว่าส่วนหนึ่งเกิดจากเศรษฐกิจในประเทศภูมิภาคเอเซียที่เข้าสู่ภาวะชะลอตัว และค่าเงินของทุกประเทศมีแนวโน้มอ่อนตัวเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ จากความคาดหวังว่าสหรัฐจะขึ้นดอกเบี้ยภายในสิ้นปีนี้ อย่างน้อย 1 ครั้งคือราว 0.25% จากปัจจุบันที่ต่ำเพียง 0.25%
คาดกำไรงวด 2Q58 ของไทย จะอ่อนตัวจากงวด 1Q58
หลังจากงวด 1Q58 บริษัทจดทะเบียนมีกำไรสุทธิรวม 2.25 แสนล้านบาท ซึ่งนับว่าต่ำกว่าที่คาดการณ์ ทำให้มีการปรับลดประมาณการกำไรตลาดหุ้นโดยรวมลง ลง 6.98 หมื่นล้านบาท หรือราว 7.3% ของฐานประมาณการเดิม ลงมาที่ 8.88 แสนล้านบาท ส่งผลทำให้กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ปี 2558 ลงมาอยู่ที่ 95.74 บาท/หุ้น (และปี 2559 ปรับลดประมาณการกำไรลง 4.61 หมื่นล้านบาท หรือ 4.3% จากประมาณการเดิม และทำให้ EPS ปี 2559 ใหม่ อยู่ที่ 109.97 บาท/หุ้น) โดยเป็นการปรับลดในหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มพลังงานสื่อสาร ธนาคารพาณิชย์ เกษตร และบันเทิง เป็นต้น หากยึดประมาณการกำไรสุทธิปี 2558 ใหม่ดังกล่าว และหากตัดกำไรสุทธิในงวด 1Q58 จำนวน 2.25 แสนล้านบาทออกไป ในช่วงเวลาที่เหลืออีก 3 ไตรมาส ของปี 2558 ราว 6.63 แสนล้านบาท หรือเฉลี่ย 2.21 แสนล้านบาทไตรมาส น่าจะอยู่ในระดับที่เป็นไปได้
แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเฉพาะไตรมาส 2 หลังจากที่สำรวจความคิดเห็นของนักวิเคราะห์ ASPS ล่าสุด ทำให้พอสรุปในเบื้องต้นได้ว่า กำไรสุทธิของตลาดในงวด 2Q58 น่าจะอ่อนตัวจากงวด 1Q58 โดยพิจารณาจากกลุ่มหลักๆ หรือ market cap ใหญ่ เนื่องจากเนื่องจากเป็นช่วง Low Season ของหลายอุตสาหกรรม และยังเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวเกิดขึ้นหลายวัน ซึ่งสรุปได้ดังนี้
ธนาคารพาณิชย์ พิจารณาจากยอดสินเชื่อล่าสุดเดือน เม.ย.-พ.ค. ชะลอตัวลง โดยเพิ่มขึ้นเพียง 0.42% yoy (เป็นการหดตัว 0.2% mom ในเดือน พ.ค. เทียบกับเพิ่มขึ้น 0.61%mom) เทียบกับ เติบโต 3.36%yoy ในงวด 1Q58 เป็นผลของฤดูกาล ตามมาด้วย ส่วนต่างดอกเบี้ยรับสุทธิ (NIM) ที่คาดว่าจะลดลง จากผลกระทบของการลดดอกเบี้ยฯ ตามดอกเบี้ยนโยบาย 2 รอบ นับจากต้นปี 2558 (ดอกเบี้ยรับจากสินเชื่อลดลงเร็วกว่าดอกเบี้ยจ่ายจากเงินฝาก) และ การตั้งสำรองฯ ที่เพิ่มขึ้น ที่สินเชื่อยังค่อนข้างชะลอตัว โดยรวมทำให้นักวิเคราะห์กลุ่มธนาคารของ ASPS ได้ประเมินกำไรสุทธิงวด 2Q58 จะเพิ่มขึ้นเพียง 3.9% yoy เทียบกับเติบโต 6.1% yoy จากงวด 1Q58 แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าจะเริ่มดีขึ้นในงวด 2H58 ภายใต้สมมติฐานสำคัญคือ การลงทุนภาครัฐ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ สามารถเดินหน้าได้ตามแผน กระตุ้นให้เกิดสินเชื่อ เพื่อการลงทุนต่อเนื่อง โดยยังคงให้น้ำหนักลงทุนเท่ากับตลาด และเชื่อว่าดัชนีกลุ่มธนาคารได้ปรับลดลงกว่า 15% ytd น่าจะสะท้อนปัจจัยลบต่าง ๆ ไปมากแล้ว โดยยังชอบ KBANK (FV@270 บาท), BBL (FV@209 บาท)
ICT คาดว่ากำไรกลุ่มฯ จะถูกขับเคลื่อนจากกลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ (คิดเป็น 70% ของกำไรกลุ่ม) โดยงวด 2Q58 อาจเห็นการอ่อนตัวจาก 1Q58 เพราะเป็นช่วง low season แต่น่าจะฟื้นตัวขึ้นได้ในงวด 3Q58 ตามภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว ส่วนงวด 4Q58 คาดกำไรกลุ่มขึ้นทำระดับสูงสุด หลักๆ มาจากผลประกอบการ ADVANC (สัดส่วนกำไรสูงสุดในกลุ่ม) ที่จะรับประโยชน์ต้นทุนค่าตัดจำหน่ายอุปกรณ์ 2G ที่จะหยุดรับรู้เป็นไตรมาสแรก ขณะที่ธุรกิจให้บริการดาวเทียมเป็นธุรกิจเดียวในกลุ่มที่มีแนวโน้มเติบโตมากสุด จากการเปลี่ยนผ่านไปจากภาพธรรมดาเป็นภาพคมชัด ทำให้ต้องใช้กำลังให้บริการดาวเทียมเพิ่มขึ้นราว 3-4 เท่าตัวต่อช่อง รวมทั้งการใช้งานรองรับการเชื่อมต่อประเภทข้อมูล (อินเตอร์เนต) ในสถานที่ที่โครงข่ายภาคพื้นดินเข้าไม่ถึงยังเป็นอีกปัจจัยหนุน ส่งผลให้ภาพรวมกำไรปกติกลุ่มในปีนี้คาดเพิ่มขึ้นราว 22% เลือก THCOM (FV@B51) เป็น Top Pick
พลังงาน ธุรกิจปิโตรเลียม คาดแนวโน้มกำไรกลุ่มฯงวด 2Q58 น่าจะเห็นการปรับตัวสูงขึ้นจากงวด 1Q58 ตามภาพรวมราคาน้ำมันดิบ ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งสถานการณ์ Oversupply เริ่มทยอยปรับตัวลดลง และคาดจะเห็นแนวโน้มราคาที่ทยอยฟื้นตัวได้ในช่วง 2H58 เมื่อเทียบกับในช่วง 1H58 นำโดย PTT ที่ธุรกิจปิโตรเคมี และธุรกิจโรงแยกก๊าซฯจะกลับมาช่วยประคองกำไรให้ทรงตัวในระดับสูงใกล้เคียงกับงวดที่ผ่านมา ตรงข้ามกับ PTTEP ที่คาดกำไรงวด 2Q58 จะปรับตัวลดลงจากงวด 1Q58 ตามราคาขายก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวลดลงราว 10%qoq ขณะที่แนวโน้มกำไรกลุ่มในช่วง 2H58 จะยังคงเห็นการเติบโตต่อเนื่องจากงวด 1H58 โดยได้รับปัจจัยหนุนจากแนวโน้มราคาน้ำมันที่คาดจะปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลบวกต่อราคาขายน้ำมันดิบของ PTTEP อีกทั้งในส่วนของ PTT คาดจะได้รับอานิสงค์จากกลุ่มโรงกลั่นที่จะกลับมาบันทึกเป็นกำไรจากสต๊อกน้ำมันเพิ่มขึ้น ฝ่ายวิจัยเลือก PTT (FV@B394) เป็น Top Pick ของกลุ่มฯ จากการฟื้นตัวของกำไรปี 2558 อย่างมีนัยฯหลังจากปรับโครงสร้างราคาพลังงาน
ธุรกิจปิโตรเคมีและโรงกลั่น คาดแนวโน้มผลการดำเนินงานปกติกลุ่มฯงวด 2Q58 จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากงวด 1Q58 โดยได้รับแรงหนุนจากธุรกิจปิโตรเคมีเป็นหลัก ทั้งโอเลฟินส์ อะโรเมติกส์ และ PET โดยเฉพาะกลุ่มโอเลฟินส์ ที่ Spread ผลิตภัณฑ์กลับมายืนในระดับ 800 เหรียญฯต่อตันอีกครั้ง ขณะที่ Spread กลุ่มอะโรเมติกส์ คาดจะดีในช่วงสั้นในงวด 2Q58 เพราะ Supply ในภูมิภาคมีแนวโน้มจะลดลงเพียงชั่วคราว ในส่วนของธุรกิจโรงกลั่นต้องคาดหวังกำไรที่เติบโตจากการบันทึกกำไรจากสต๊อกน้ำมันของธุรกิจโรงกลั่น เพราะหากพิจารณาในส่วนของค่าการกลั่นนั้น พบว่าผ่านจุดพีคของปีตามช่วงฤดูกาลไปแล้วในงวด 1Q58 จากนี้ไปในช่วงที่เหลือของปีจะทยอยปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ฝ่ายวิจัยเลือก IRPC([email protected]) เป็น Top pick เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์ (สัดส่วนกำลังการผลิต 35%)
พัฒนาที่อยู่อาศัย คาดแนวโน้มกำไรงวด 2Q58 จะเติบโตขึ้นจากงวด 1Q58 ที่ฐานกำไรเป็นจุดต่ำสุดของปี จากยอด Backlog ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะคอนโดฯ ที่คาดว่าจะสร้างเสร็จพร้อมโอนได้มากสุดใน 2Q58 และ 4Q58 มูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท/ไตรมาส บวกกับการบันทึกรายได้จากโครงการแนวราบอีกราว 6 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ฐานกำไร 2Q58 ฟื้นตัวขึ้นจาก 1Q58 อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนแนวโน้มผลประกอบการ 2H58 คาดจะสูงเป็นปกติในงวด 4Q58 เนื่องจากเป็นช่วงที่มีโครงการคอนโดฯ ใหม่ที่ก่อสร้างและพร้อมโอนฯ เข้ามาจำนวนมาก ประกอบกับทิศทางดอกเบี้ยขาลง ทำให้ Backlog มีคุณภาพขึ้น ส่งผลให้กำไรจากการดำเนินงานของกลุ่มฯ ปี 2558 เติบโตประมาณ 5.4% yoy เลือก SPALI ([email protected]), PS ([email protected]) และ QH ([email protected]) เป็น Top Pick
วัสดุก่อสร้าง แนวโน้มธุรกิจวัสดุก่อสร้างมีการเติบโตที่ดีขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจที่ค่อยๆฟื้นตัว และการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณจากภาครัฐ เช่นเดียวกับการลงทุนจากภาคเอกชนที่เริ่มเห็นเม็ดเงินลงทุนมากขึ้นตามการอนุมัติหลายโครงการขณะที่ต้นทุนพลังงานและต้นทุนขนส่งที่ลดลงส่งผลดีต่อผู้ประกอบการโดยเฉพาะธุรกิจปูนซีเมนต์และกระเบื้องเช่นเดียวกับสินค้าไม้บอร์ด และยางมะตอย ยังมีอนาคตที่สดใสจาก Demand ที่เพิ่มขึ้นในช่วง High Season เลือก TASCO ([email protected]) เป็น Top Pick
ท่องเที่ยว โรงแรม แม้ธุรกิจโรงแรมมีความเสี่ยงจากสถานการณ์โรคเมอร์สที่เพิ่มเริ่มเกิดขึ้น แต่เชื่อว่าจะส่งผลกระทบกลุ่มโรงแรมฯ เล็กน้อย (ERW, CENTEL และ MINT) เนื่องจากงวด 2Q58 คือ ระหว่าง เม.ย. - พ.ค. นักท่องเที่ยวยังเดินทางเข้าประเทศไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากงวด 1Q58 แม้ในภาวะปกติไตรมาส 2 และ ไตรมาส 3 ของทุกปีจะเป็นช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยวก็ตาม ปรระกอบการงวด 2Q57 กำไรของผู้ประกอบการในกลุ่มตกต่ำมาก จากผลกระทบจากปัญหาการเมืองที่รุนแรง บวกกับหลายบริษัทในกลุ่มฯ มีฐานรายได้กระจายตัวไปยังธุรกิจอื่น ทำให้แนวโน้มกำไรกลุ่มโรงแรม 2Q58 ยังเติบโตจากสูงจาก 2Q57 แต่จะอ่อนตัวลงมากเมื่อเทียบกับงวด 1Q58 โดยนักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในกลุ่มนี้เป็นมากกว่าตลาด ก่อนเกิดปัญหาโรคระบาด MERS ภายใต้ประมาณการกำไรสุทธิปี 2558 ที่คาดว่าจะเติบโต 41.5% yoy และ เลือก MINT (FV@B39) เป็น Top Pick เพราะมีฐานรายได้กระจายตัวดีที่สุด
บันเทิง เนื่องจากการเติบโตหลักๆ ของกลุ่มบันเทิง จะมาจากธุรกิจโฆษณา ซึ่งงวด 2Q58 เป็นช่วงฤดูกาล เช่นเดียวกับงวดไตรมาสสุดท้ายของทุกปี (จากการเร่งใช้งบโฆษณาของภาคธุรกิจ และจะอ่อนตัวในงวด 3Q58 เพราะเป็นช่วงนอกฤดูกาล) จึงคาดว่างวด 2Q58 ผลกำไรโดยรวมน่าจะกระเตื้องจากงวด 1Q58 (ภายใต้สมมติฐานเม็ดเงินโฆษณาปีนี้เติบโต 3-4%) ทั้งนี้สื่อทีวีจะเป็นกลุ่มที่เติบโตโดดเด่นสุดในช่องที่มีเรตติ้งสูง คือ BEC WORK และ RS โดยคาดว่าแนวโน้มงวด 2H58 ผลประกอบการน่าจะดีกว่า 1H58 แต่ปัจจัยเสี่ยงคือปัญหาการเมือง โดยหากมีความรุนแรงหรือการประท้วง สื่อทีวีมักจะถูกรัฐบาลขอความร่วมมือในการออกอากาศสื่อสารกับประชาชนบ่อยครั้ง ทำให้รายได้จากค่าโฆษณาหายไปในช่วงเวลาดังกล่าว ฝ่ายวิจัยเลือก WORK (FV@B45) เป็น Top Pick เนื่องจากมีเรตติ้งที่สูงขึ้นโดดเด่นสุด จึงเชื่อว่าจะสามารถปรับเพิ่มอัตราค่าโฆษณาในระดับสูงต่อเนื่อง หนุนกำไรมีแนวโน้มเติบโตก้าวกระโดดในช่วง 5 ปีนี้
นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647