- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 23 June 2015 14:56
- Hits: 1480
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดได้รับ Sentiment เชิงบวก ด้วยความคาดหวังว่า แผนประนอมหนี้กรีซอาจบรรลุผล แต่ถือเป็นจังหวะลดพอร์ตลงทุน โดยแนะให้ลดน้ำหนักจากเดิม 50% เหลือ 40% และให้เลือกลงทุนรายหุ้น CK([email protected]), RCL([email protected]) โดยยังเลือก TASCO(FV@B27) เป็น Top pick
SET ได้รับแรงหนุน..ความหวังว่าการประนอมหนี้กรีซจะบรรลุเป้าหมาย
หลังจากที่การเจรจาระหว่างเจ้าหนี้ และกรีซ กินเวลามานานกว่า 4 เดือน ดูเหมือนว่าตลาดเริ่มมีความหวังมากขึ้น หลังจากที่กรีซได้เสนอแผนประนอมหนี้ล่าสุด แก่ที่ประชุมในวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยเสนอให้มีการเพิ่มการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (Sales tax) ในกลุ่มของประชาชนที่มีรายได้ระดับกลาง-สูง รวมถึงการเก็บภาษีบริษัทที่มีรายได้สุทธิมากกว่า 5 แสนยูโร และยังเสนอให้ตัดลดงบประมาณรายจ่ายในส่วนของเงินบำเหน็จบำนาญ โดยเสนอให้มีการยืดอายุผู้ที่จะเกษียณอายุออกไปเป็น 67 ปี แต่อย่างไรก็ตาม แนวทางข้างต้นนี้ยังไม่มีชัดเจนว่ากระบวนการในทางปฏิบัติจะทำอย่างไร โดยยังต้องติดตามรายละเอียดส่วนนี้ที่จะมีการยื่นให้กลุ่มเจ้าหนี้ พิจารณาในการประชุม EC ที่จะมีในวันพฤหัสบดี-ศุกร์นี้ต่อ และที่สำคัญจะเป็นไปตามข้อเรียกร้องของเจ้าหนี้ที่ต้องการให้มีการจัดทำงบประมาณเกินดุล (รายรับภาครัฐมากกว่ารายจ่าย) 1% ของ GDP ในปี 2558 และเพิ่ม 2% ของ GDP ในปี 2559 จากปัจจุบันที่จัดทำงบประมาณแบบขาดดุล (รายจ่ายภาครัฐมากกว่ารายรับ) ด้วยการเพิ่มรายได้จากการเก็บภาษีเพิ่มเติม ผ่านการขึ้น sales tax และตัดลดงบประมาณรายจ่าย ผ่านการตัดลดค่าใช้จ่ายบางส่วนลง เช่น เงินช่วยเหลือผู้เกษียณอายุ หรือค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น นอกจากนี้ที่ประชุมวันจันทร์ เจ้าหนี้ยังพร้อมที่จะช่วยเหลือก้อนสุดท้าย 7.2 พันล้านยูโรแก่กรีซ (จากวงเงินที่ขอความช่วยเหลือ 2 ครั้ง รวม 2.4 แสนล้านยูโร)
ความคาดหวังในเชิงบวกต่อการประนอมหนี้ดังกล่าว ได้หนุนให้ตลาดหุ้นในสหภาพยุโรป และสหรัฐ ปรับตัวเป็นส่วนใหญ่ (ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นเฉลี่ย 3.5-3.8% ยกเว้นเพียงตลาดหุ้นอังกฤษที่ปรับขึ้นเพียง 1.7% ส่วนตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นระหว่าง 0.5-0.8%) แต่อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาค่าเงินในยูโร เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ยังคงทรงตัวที่ระดับ 1.1342 เหรียญสหรัฐต่อยูโร เป็นระดับที่ใกล้เคียงกับหลายวันก่อนหน้า และเช่นเดียวกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่ยังเคลื่อนไหวในลักษณะแกว่งตัวในทิศทางแข็งค่า โดยดัชนี Dollar Index ล่าสุดอยู่ที่ 94.327 จุด (แข็งค่า 3.6% ในระยะเกือบ 1 เดือน) จากระดับสูงสุดหรืออ่อนค่ามากสุดที่ 97.88 จุด เมื่อต้นเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการบ่งบอกว่าความเสี่ยงของกรีซยังไม่จบ และอาจจะกลับมาสร้างความกังวลต่อตลาดได้ ซึ่งต้องติดตามผลการประชุมของ ธนาคารกลางยุโรปในปลายสัปดาห์นี้อีกรอบ
ต่างชาติยังขายสุทธิในตลาดภูมิภาค
วานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคราว 268 ล้านเหรียญ แต่ยังเป็นการซื้อสลับขายรายประเทศ โดยมี 2 ประเทศที่ ซื้อสุทธิ คือตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ถูกซื้อสุทธิเป็นวันแรกราว 7 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเป็นต่อเนื่อง 13 วัน) และตลาดหุ้นอินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิราว 45 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศขายสุทธิ คือ หุ้นเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิราว 277 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 4) และไทยนักลงทุนต่างชาติสลับมาขายสุทธิอีกครั้งราว 42 ล้านเหรียญ หรือ 1,422 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 2,979 ล้านบาท (ส่วนตลาดหุ้นไต้หวันหยุดทำการเนื่องจากเป็นวันหยุด)
โดยภาพรวมในเดือน มิ.ย. 2558 พบว่า เป็นเดือนแรกของปีนี้ ที่ต่างชาติแสดงยอดขายสุทธิสะสมตลอดเดือน กล่าวคือ ยอดขายสุทธิทั้ง 5 ตลาด รวมกัน ตั้งแต่ตั้นเดือน มิ.ย.จนถึง ปัจจุบัน (mtd) สูงถึง 4,573 ล้านเหรียญ ขณะที่ซื้อสุทธิทุกเดือนโดยในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ที่มียอดซื้อสุทธิสุทธิสะสม 18,359 ล้านเหรียญฯ อย่างไรก็ตามต่างชาติได้ ได้สลับขายหุ้นบางตลาด ตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมา แต่เป็นที่สังเกตว่ามีหลายตลาดที่ถูกขายหนักต่อเนื่องในช่วง 3-4 เดือนหลังคือ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ และในเดือน มิ.ย. ต่างชาติได้ขายสุทธิทุกตลาด รายละเอียดดังปรากฏในตารางด้านล่าง
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ วานนี้พบว่านักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 4,262 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 900 ล้านบาท ล่าสุดค่าเงินบาทอยู่ที่ 33.61 บาท/ดอลลาร์
กลยุทธ์ยังสั้น แนะปรับลดพอร์ต หากดัชนีขึ้นทะลุ 1,500 จุด
แม้จะได้รับ sentiment เชิงบวกจากการเจรจาประนอมหนี้ของกรีซ มีความคืบหน้า และอาจจะออกมาทางด้านบวก แต่การที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยมี Expected PER ที่ 15.8 เท่า (อิง EPS ตลาดปี 2558 ที่ 95.5 บาทต่อหุ้น มี EPS Growth 24.5% ซึ่งเป็นตัวเลขที่เกิดขึ้นหลังการปรับลดประมาณการกำไรตลาดลงหลังมีการรายงานงบงวด 1Q58 ต่ำกว่าคาด) ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับภูมิภาค อย่างเช่น ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย 15.6 เท่า, ตลาดหุ้นอินเดีย 16.1 เท่า, ตลาดหุ้นมาเลเซีย 16.3 เท่า และยังต่ำกว่าตลาดเพื่อนบ้านบางแห่ง เช่น ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ 19.9 เท่า ตลาดหุ้นจีน 18 เท่า ขณะที่คาดว่าประเด็นความเสี่ยงในประเทศที่ยังมีแรงกดดันจากทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่แน่ชัดแล้วว่าจะทำให้การเลือกตั้งต้องล่าช้าออกไปจากเดิม เป็นช่วงเดือน ก.ย. 2559 หรืออาจล่าช้าออกไปถึงปี 2560 หากทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญแล้วไม่ผ่าน และ แนวโน้มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศที่อาจจะต่ำกว่าที่ตลาดคาด ค่ากลางที่ราว 3.5% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวล่าช้า สะท้อนจากล่าสุด ธปท. ได้ปรับลด GDP Growth เหลือ 3% (คำนวณตามวิธีใหม่ : CVM) จากเดิม 3.8% (ตามวิธีเดิม ณ ราคาคงที่) รวมถึงคาดว่านักลงทุนต่างชาติจะไม่กลับเข้ามาซื้อตลาดหุ้นไทยอย่างน้อยในระยะ 3 เดือนข้างหน้า หากพิจารณาสถิติในอดีต (10 ปี) พบว่า ต่างชาติยังคงขายในเดือน มิ.ย.และแม้จะกลับมาซื้อในเดือน ก.ค. แต่ก็กลับมาขายในเดือน ส.ค. และ ก.ย. ของทุกปี (จะกลับมาซื้อในช่วงเดือน พ.ย. และ ธ.ค. ของทุกปี)
ดังนั้นการที่ดัชนีตลาดขึ้นมาแตะ 1,500 จุดหรือ สูงกว่า จะทำให้ค่า Expected PER ขยับขึ้นเป็น 16 เท่า แนะนำให้ทยอยลดน้ำหนักการลงทุนจากเดิมที่ให้ไว้ 50% ของเงินลงทุน โดยให้ลดลงเหลือ 40% และให้คัดเลือกลงทุนในหุ้นดังนี้
1. หุ้นรายตัวที่มีประเด็นบวกหนุน พร้อมกับมีผลกำไรที่โดดเด่น เช่น SAMTEL(FV@B27), RCL([email protected]), TASCO(FV@B27), IRPC([email protected])
2. หุ้นส่งออกที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า TUF(FV@B26), HANA(FV@B48), KCE(FV@B60)
3. เงินปันผลจ่ายสูง พร้อมมี Expected PER ต่ำ ได้แก่ SPALI ([email protected]), PS([email protected], ASK([email protected])
นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647