- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 22 June 2015 18:10
- Hits: 1428
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ยังถูกกดดันจาก ICAO ให้ธงแดงแก่ไทย และ "เมอร์ส" ระยะสั้นหลีกเลี่ยงหุ้นท่องเที่ยว/โรงแรม ขนส่งทางอากาศ และโรงพยาบาล แต่ยังให้สะสมหุ้นเด่นรายบริษัท CK([email protected]), RCL([email protected]) วันนี้เลือก TASCO(FV@B27) เป็น Top pick นักวิเคราะห์ ASPS ปรับเพิ่มประมาณการ และ Fair Value ปี 2558 ขึ้นจากเดิม 44%
ธปท. ปรับลด GDP เหลือ 3% ใกล้เคียงตลาด ตลาดน่าจะรับรู้แล้ว
วันศุกร์ที่ผ่านมา ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการรายงานนโยบายการเงินไตรมาสที่58 /2โดยมีการปรับตัวเลข GDP Growth ของปี 2558 เป็นขยายตัว 3% yoy และ 4.1% ในปี )2559 ใช้การคำนวนวิธีใหม่ CVM (จากเดิมที่ประเมินไว้ก่อนหน้าที่ 3.8% yoy (วิธีการคำนวนแบบเดิม คือ ณ ราคาคงที่) โดยส่วนที่ช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจคือภาครัฐ ทั้ง การลงทุนภาครัฐ และการใช้จ่ายภาครัฐ ที่คาดว่าจะขยายตัวถึง 16.3% และ 3.3% ตามลำดับ ในส่วนของภาคเอกชนยังคงทรงตัว กล่าวคือ การบริโภคเอกชนขยายตัว 2% และการลงทุนขยายตัว 2.7% (แต่ดีขึ้นกว่าปีที่แล้วการบริโภคและการลงทุนขยายตัว 0.6% และ2.0% ตามลำดับ) ซึ่งเป็นผลจากที่ภาคเอกชนขาดความเชื่อมั่นในการบริโภคและลงทุน จากภาคการค้าต่างประเทศที่ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องจากการฟื้นตัวช้าของเศรษฐกิจโลก) โดยเฉพาะจีนและภูมิภาคเอเชีย (โดย ธปท. ได้ประเมินการส่งออกปีนี้จะขยายตัวเพียง 2.2% (มูลค่าการส่งออกน่าจะหดตัว1.5% จากเดิมที่เคยประเมินว่าขยายตัว 0.8%) และการนำเข้าปรับตัวขึ้น 2.7% (มูลค่าการนำเข้าปรับลดลงจาก 0% เป็น -2.4%) ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลอยู่ที่19.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มากกว่าเดิมที่ประมาณการไว้ที่16.5 พันล้านเหรียญเล็กน้อย ซึ่งก็อาจช่วยลดแรงกดดันต่อดันอัตราแลกเปลี่ยน
หากพิจารณาข้อสมมติฐานของการประมาณการ )ของ ธปท (.แล้วพบว่าสมมติฐานยังไม่การเปลี่ยนแปลงมากจากเดิม โดยราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีมองว่าจะอยู่ที่ระดับ61.7 จากเดิมมองที่ ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปหดตัวลง0.5% -)จากเดิมประเมินไว้ขยายตัว 2.0% ( ซึ่งไม่แตกต่างมากจากสมมติฐานของทางฝ่ายวิจัย ASPS ที่มองว่าราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยนจะอยู่ที่ 63 เหรียญฯต่อบาร์เรล และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะขยายตัวต่ำกว่า 1% (อยู่ระหว่างการปรับตัวเลข) และอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมองว่าการปรับประมาณการตัวเลขครั้งนี้ ตลาดน่าจะรับข่าวและปรับตัวไปก่อนหน้านี้แล้ว
ICAO ให้ธงแดงแก่ไทย และ "เมอร์ส" ยังกดดัน SET
นอกจากประเทศที่ ICAO ให้ธงแดงกับหน่วยงานภาครัฐของไทย เท่ากับกดดันให้สายการบินของไทย ต้องถูกตรวจสอบหรือระงับการเพิ่มเที่ยวบินใหม่ ๆ ถือเป็นอุปสรรคที่สำคัญ ต่อความสามารถในการทำกำไร (THAI, AAV, NOK, BA) แล้ว การเกิดระบาดของไข้หวัด "เมอร์ส" ในประเทศไทยแล้วในขณะนี้ จะกระทบต่อจำนวนผู้เดินทางการเข้าประเทศไทย ทั้งนักท่องเที่ยว และผู้ที่เข้ามาท่องเที่ยวพร้อมกับตรวจสุขภาพ ซึ่งแน่นอน จะกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม และหุ้นโรงพยาบาล ที่เน้นลูกค้าต่างชาติโดยเฉพาะจากตะวันออกกลาง คือ BH ณ งวด 1Q58 โครงสร้างรายได้ส่วนใหญ่ 65% มาจากชาวต่างประเทศ (ในจำนวนนี้แยกเป็นตะวันออกกลาง 25% ที่เหลือกระจายทั้งในอาเซียน และ สหรัฐ เป็นต้น ที่เหลืออีก 35% มาจากเป็นคนไทย) และ BDMS มีโครงสร้างรายได้ส่วนใหญ่ 69% มาจากคนไทย และที่เหลือ 31% มาจากชาวต่างประเทศ (ซึ่งในจำนวนนี้มาจากตะวันออกกลาง 5% ที่เหลือกระจายจากญี่ปุ่น 2.4%, อังกฤษ 1.9% และเยอรมัน 1.7%) ที่เหลืออีก 35% มาจากเป็นคนไทย) ทั้งนี้ล่าสุดเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ผ่านมา นักวิเคราะห์ ASPS ได้เข้าร่วมประชุมกับผู้บริหารของ BH ได้รับข้อมูลว่าได้มีการแนวทางการป้องกัน MERS ไว้อย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อความระมัดระวัง ในกรณีที่เลวร้ายคาดว่า อาจจะกระทบต่อประมาณการรายได้ 20% เท่ากับยอดผู้ป่วยจากตะวันออกกลาง คาดว่าจะกระทบทำให้ประมาณการกำไรของ BH ลดลงราว 23.7% และ จะทำให้ Fair Value หายไปราว 25.6% เหลือ 145 บาท ระยะสั้นให้หลีกเลี่ยงไปก่อน
หากพิจารณาสถิติในอดีต เมื่อเกิดเหตุการณ์ไข้หวัดนกในปี 2547 และ ไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่งพบว่ากระทบต่อตลาดหุ้นไทย และ รายกลุ่มดังนี้
ไข้หวัดนก ในปี 2547 แม้เริ่มมีข่าวแพร่ระบาดตั้งแต่ปลายปี 2546 คือ ช่วงเดือน ธ.ค .2546 มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก สายพันธุ์ H5N1 เกิดขึ้นในประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น และเวียดนาม จนกระทั่งวันที่ 14 ม.ค. 2547 มีการประกาศพบผู้ป่วยที่ถูกสงสัยว่าติดเชื้อไข้หวัดนกในประเทศไทย ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยลดลงราว 16% ในช่วงวันที่ 14 ม.ค .2547 - 2 ก.พ .2547 ซึ่งหากพิจารณาเป็นกลุ่มกลุ่มพบว่า ส่วนหุ้นกลุ่มอาหารวส่งออกที่เน้นผลิตภัณฑ์ไก่ ได้แก่ CPF ลดลงถึง 16% (เฉพาะ 23 ม.ค .2547 เมื่อกระทรวงสาธารณสุขได้มีการประกาศยืนยันว่าพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 เป็นรายแรกของประเทศ จึงส่งผลให้หุ้น CPF ตกราว 7% ภายในวันเดียว) และ GFPT ลดลง 11% ตามมาด้วย กลุ่มท่องเที่ยวเช่น ERW ลดลงมากสุดราว 18% และ CENTEL ลดลงราว 12% และ กลุ่มโรงพยาบาลอย่าง นำโดย BH ลดลงราว 11% , BDMS ลดลงราว 8%และ หุ้นกลุ่มขนส่ง เช่น THAI ลดลงราว 9%
แต่อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นเหล่านี้ได้ฟื้นตัว แต่ค่อนข้างใช้เวลานานแตกต่างกัน กล่าวคือ CPF ราคาหุ้นฟื้นกลับมาที่เดิมช่วงเดือน มี.ค. 2548 หรือใช้เวลานานกว่า 1 ปี ส่วน GFPT จะกินเวลานานกว่าคือถึง ก.ย. 2552 ส่วนกลุ่มท่องเที่ยว ERW และ CENTEL ฟื้นกลางปี 2547 ส่วน โรงพยาบาลส่วนใหญ่ BDMS, BH จะฟื้นช่วงกลางปี 2547
กรณีที่เกิดไข้หวัดใหญ่ 2009 ในระหว่าง 12 มิ.ย. 18. มิ.ย. 2552 พบว่าตลาดหุ้นลดลง 9.25% พบว่าหุ้นปรับตัวลดลงมากที่สุด คือ หุ้นที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว โรงแรม และขนส่ง นำโดย ERW ลดลง 15.93% และ CENTEL ลดลง 8.33% ใน 1 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มขนส่ง นำโดย AOT ลดลง 11.57% THAI ลดลง 7.94% และหุ้น โรงพยาบาล นำโดย BH ลดลง 6.36% ขณะที่ BDMS ลดลงน้อยกว่าตลาด คือ ลดลงเพียง 4.3%
แต่อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นเหล่านี้ได้ฟื้นตัวหลังจากนี้ แต่ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ERW และ CENTEL ฟื้นในช่วงเดือน ส.ค. 2552 , AOT ฟื้น เดือน ก.ค. 2552, THAI ฟื้น ส.ค. 2552 ส่วน BH และ BDMS จะ ฟื้นเดือน ก.ย. 2552
กล่าวโดยสรุปแม้เหตุการณ์รอบนี้ จะแตกต่างจาก 2 เหตุการณ์ที่กล่าวมา แต่คาดว่าการเฝ้าระวัง และ การรักษา อาจจะกินเวลาอีกระยะหนึ่ง ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบต่อ Sentiment ต่อตลาดหุ้นไทย ระยะสั้นจึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงหุ้นเหล่านี้ไปก่อน
กลยุทธ์ยังสั้นยังเน้นรายหุ้น : RCL, SAMTEL และ TASCO
กลยุทธ์ระยะสั้นให้ลดน้ำหนักหุ้นที่กล่าวถึงทั้ง 3 กลุ่ม และให้มาลงทุนในหุ้นรายตัวที่มีประเด็นบวกหนุน พร้อมกับมีผลกำไรที่โดดเด่น เช่น SAMTEL(FV@B27) และ RCL ([email protected]) นอกจากนี้ ยังแนะนำ TASCO เนื่องจากนักวิเคราะห์ ASPS เพิ่งปรับเพิ่มประมาณการกำไรในปี 2558 ขึ้นจากเดิม 44% เป็น 4,245 ล้านบาท เติบโตอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับปี2557 ที่มีกำไรสุทธิ 1,200 ล้านบาท เนื่องจากความต้องการใช้ยางมะตอยที่สูงกว่าคาด โดยคาดว่าแนวโน้มผลประกอบการในช่วง 2Q58 และ 3Q58 ของ TASCO น่าจะออกมาโดดเด่นอย่างมาก จากยอดคำสั่งซื้อยางมะตอยที่เพิ่มขึ้นทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยคาดว่าจะมีปริมาณการขายสูงถึง7-6แสนตัน/ไตรมาส เทียบกับงวด 1Q58 ที่มีปริมาณการขายเพียง4.3 แสนตัน ขณะที่ส่วนต่างราคาระหว่างยางมะตอยและน้ำมันดิบที่ทรงตัวในระดับสูง ช่วยหนุนกำไรให้อยู่ในระดับสูงกว่า1.1 พันล้านบาท/ไตรมาส สาเหตุสำคัญที่ทำให้ปัจจัยพื้นฐานของ TASCO เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง คือความสามารถในการจัดหาวัตถุดิบได้ในราคาที่ต่ำลง ซึ่งเกิดจากการที่โลกค้นพบแหล่งพลังงานใหม่คือ Shale Oil&Gas รวมถึงการเซ็นสัญญาจัดซื้อน้ำมันดิบในระยะยาวกับ PDVSA ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติของเวเนซุเอล่า ทำให้ TASCO สามารถซื้อน้ำมันดิบได้ในราคาที่ถูกกว่าราคาตลาด
ผลจากการปรับเพิ่มประมาณการขึ้นดังกล่าว ส่งผลให้ Fair Value ที่ประเมินโดยอิง PER 10 เท่า จะให้ราคาเหมาะสมอยู่ที่27.50 บาท มี Upside สูงถึง 34% จึงปรับเพิ่มคำแนะนำจาก ถือ เป็น ซื้อ (ติดตามอ่านรายละเอียดได้ใน Equity Talk วันนี้)
ต่างชาติสลับมาขายหุ้นไทยอีกครั้ง
วานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นภูมิภาคราว 268 ล้านเหรียญ ขายต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 โดยมีซื้อในบางประเทศ คือ ฟิลิปปินส์กลับมาซื้อสุทธิเป็นวันแรกราว 7 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเป็นต่อเนื่อง วัน) และอินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิราว 45 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศคือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิราว 277 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 4) และ ไทย ขายสุทธิอีกครั้งราว 42 ล้านเหรียญ หรือ 1,422 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิวันก่อนหน้าเพียงวันเดียว) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 2,979 ล้านบาท (ส่วนตลาดหุ้นไต้หวันหยุดทำการเนื่องจากเป็นวันหยุด)
ทางด้านตราสารหนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 4,262 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 900 ล้านบาท ล่าสุดค่าเงินบาทอยู่ที่ 33.61 บาท/ดอลลาร์
นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647