- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 19 June 2014 17:30
- Hits: 2936
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“ซื้อค่าบวกหรือที่แนวรับ 1440-1430”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
• ภาพตลาดวันก่อน : SET Index เมื่อวานนี้ร่วงลงแรงในช่วงบ่ายหลังกนง.ประเมินเศรษฐกิจปีนี้เติบโตเพียง 1.5% ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 2%สะท้อนให้เห็นว่าการบริโภคและการลงทุนในประเทศต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวมากกว่าที่ตลาดประเมินไว้ ส่วนหนึ่งมาจากการที่คสช.ต้องมีระยะเวลาในการพิจารณามาตรการและโครงการต่างๆ ก่อนจะอนุมัติให้ใช้มาตรการและเดินหน้าลงทุน รวมทั้งมีกระแสข่าวว่าอาจจะมีการเรียกเก็บภาษีกำไรจากการซื้อขายหุ้น (Capital gain tax) เข้ามากดดันด้วย นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2.76 พันล้านบาท สถาบันในประเทศขายสุทธิ 1.61 พันล้านบาทพอร์ตบล.ซื้อขายใกล้เคียงกัน ส่วนรายย่อยซื้อสุทธิ
• ปัจจัยและกลยุทธ์ : ผลประชุมเฟดออกมาตามคาด คือ คง Fed fund rate ไว้ที่ 0-0.25% และลด QE อีก 1 หมื่นล้านUS$ เป็น 3.5 หมื่นล้านUS$/เดือน รวมทั้งส่งสัญญาณว่าจะใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นประวัติการณ์ต่อไปก่อนแม้ว่าจะจบ QE3 ในประมาณ 4Q57 แล้วก็ตาม ทั้งนี้ขึ้นกับระดับอัตราเงินเฟ้อว่าจะสูงแค่ไหน (สหรัฐกำหนดอัตราเงินเฟ้อระยะยาวไว้ที่ 2%) ซึ่งขณะนี้ตลาดประเมินว่าเฟดน่าจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วสุดในกลางปี 58ส่วนการประชุมกนง.ของไทยก็คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2% ตามคาด และมองว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโตไม่มาก (+1.5%) แล้วค่อยไปเร่งตัวขึ้นในปี 58 ที่มากกว่า 5% โดยธปท.จะแถลงวันที่ 27 มิ.ย.นี้ ปัจจัยที่ดีกว่าคาด คือ การประชุมนัดแรกของบอร์ด BOI มีการอนุมัติโครงการส่งเสริมลงทุนเลย มูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท โดย 75% ของมูลค่าที่อนุมัติเกี่ยวข้องกับธุรกิจยายนต์ & ชิ้นส่วน ซึ่งเรามีมุมมองที่ดีในระยะยาวกับ Sector นี้ และยังคงแนะนำให้ทยอยซื้อลงทุนระยะยาวในหุ้นกลุ่มนี้ ซึ่งหุ้นเด่น คือ SAT, STANLY, AH ตัวเล็กเป็น LHK ส่วนการเก็บภาษีกำไรจากการซื้อขายหุ้น ทางปลัดกระทรวงการคลังได้ออกมากล่าวแล้วว่ายังไม่มีแนวคิดเรื่องนี้ กลยุทธ์ทางเทคนิค : ซื้อใหม่เน้นซื้อตามค่าบวก (ค่าลบควรหยุดรอหรือลดพอร์ตต่อโดยเฉพาะพอร์ตที่มีเงินสดเหลืออยู่น้อย) การอ่อนตัวต่อมีแนวเด้ง 1440, 1430 จุด ส่วนการรีบาวด์มีแนวต้านระยะสั้น 1460, 1470 จุด หุ้นพื้นฐานแนะนำซื้อลงทุนระยะยาววันนี้เป็น SAT
Fundamental Pick
SAT แนะนำซื้อปิด 18.20 บาท ราคาพื้นฐาน 22.50 บาท
• ยอดขายของ SAT ได้รับผลกระทบน้อยกว่าการลดลงของอุตสาหกรรม เนื่องจากมียอดขายชิ้นส่วนที่เป็นเครื่องจักรกลการเกษตรด้วย และแม้ว่าออร์เดอร์จากมิตซูบิชิจะหายไปราว 700ล้านบาทแต่ก็ได้ในส่วนของคูโบต้าที่มีมูลค่า 500 ล้านบาทเข้ามาชดเชยได้บางส่วน นอกจากนั้นบริษัทกำลังพัฒนาชิ้นส่วนเพื่อจำหน่ายให้กับรถบรรทุกขนาดใหญ่ คือ ค่ายฮีโน่ โดยจะเริ่มจำหน่ายเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ 1Q58 เป็นต้นไป คาดการณ์ว่าสัดส่วนรายได้จากฮีโน่จะเพิ่มขึ้นจาก1-2% ในปี 2557 เป็น 5-10% ในปี 2558 คาดการณ์กำไรสุทธิปี 2558 จะเติบโตได้ 12% ซึ่งสูงกว่า P/E ที่ซื้อขายในปัจจุบันที่ 10 เท่า และ 9 เท่า สำหรับปี 57-58 แนะนำซื้อ ให้ราคาพื้นฐาน22.50 บาท อิงกับ P/E ปี 2558 ที่ 10.5 เท่า
ปัจจัยต่างประเทศและโภคภัณฑ์
• เฟดลด QE อีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ/เดือน และตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ 0-0.25% ตามคาด...ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังทรงตัวต่ำอีกระยะแม้จะจบ QE แล้วก็ตาม (แต่ต้องดูอัตราเงินเฟ้อว่าจะสูงกว่าเป้าหมายระยะยาวที่ 2% หรือไม่)
• คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ลงอีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์ในการประชุมระยะเวลา2 วัน (17-18 มิ.ย.57) ส่งผลให้วงเงินการซื้อพันธบัตรปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน และในการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการฯยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น(Fed fund rate) เอาไว้ที่ระดับ 0-0.25% พร้อมกับระบุว่าเฟดจะยังคงใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นประวัติการณ์ต่อแม้ว่าโครงการซื้อพันธบัตรได้สิ้นสุดลงตามกำหนดแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากตัวเลขเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายระยะยาวที่เฟดกำหนดไว้ที่ 2%
• สำหรับแถลงการณ์ภายหลังการประชุมของเฟดระบุว่า ข้อมูลที่คณะกรรมการเฟดได้รับตั้งแต่การประชุมเมื่อเดือนเม.ย.สะท้อนให้เห็นว่าการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ขณะเดียวกันมีสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงฟื้นตัวขึ้น และตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคปรับตัวขึ้นปานกลาง แต่การฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัยยังคงเป็นไปอย่างล่าช้า
• เฟดได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปีนี้ลงสู่ระดับ 2.1-2.3% จากที่คาดการณ์ไว้ในเดือนมี.ค.57 ที่ระดับ 2.8-3% ซึ่งเป็นการปรับลงมาในระดับที่ใกล้เคียงกับหลายสำนัก เช่น ธนาคารโลก, IMF และรวมทั้ง DBS Group Research ด้วย (เราประมาณการว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเติบโต 2.1% ในปี 57 และขยายตัว 2.5% ในปี 58)
+ ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นรับผลประชุมFOMC ที่เป็นไปตามคาด
+ ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นรับผลประชุม FOMC ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,906.62 จุด เพิ่มขึ้น 98.13 จุด หรือ +0.58% ดัชนี NASDAQปิดที่ 4,362.84 จุด เพิ่มขึ้น 25.61 จุด หรือ +0.59% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,956.98 จุด เพิ่มขึ้น14.99 จุด หรือ +0.77%
•/+ สัญญาน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้นต่อเพราะกังวลปัญหาการเมืองในอิรัก
•/+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค.ลดลง 39 เซนต์ ปิดที่ 105.97 ดอลลาร์/บาร์เรลเนื่องจากสต็อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐปรับตัวลดลงเล็กน้อย แต่สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์(BRENT) ส่งมอบเดือนส.ค.ที่ตลาดลอนดอน เพิ่มขึ้น 81 เซนต์ ปิดที่ 114.26 ดอลลาร์/บาร์เรลเพราะยังกังวลกับสถานการณ์ความไม่สงบในอิรักหลังมีข่าวว่ากลุ่มหัวรุนแรงได้โจมตีโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ในอิรัก
• สัญญาทองคำ COMEX ขยับขึ้นเพียงเล็กน้อย
• สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 70 เซนต์หรือ 0.06% ปิดที่ 1,272.7 ดอลลาร์/ออนซ์
ปัจจัยในประเทศและหลักทรัพย์
• กนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.00%ตามคาด ... ธปท.คาดการณ์เศรษฐกิจไทย1H57 หดตัว 0.5% แล้วเติบโต 3.4-3.5% ใน2H57 ทำให้ทั้งปี 57 จะเติบโต 1.5%
• เมื่อ 18 มิ.ย.57 คณะกรรมการกนง.มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่2.00% ต่อไป เนื่องจากประเมินว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนขึ้นหลังสถานการณ์การเมืองได้คลี่คลายลง ขณะที่นโยบายการเงินยังผ่อนคลายเพียงพอที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
• สำหรับเศรษฐกิจไทย ใน1Q57 หดตัวจากอุปสงค์ในประเทศและการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการเมือง ในขณะที่การส่งออกสินค้าฟื้นตัวช้าไม่สามารถขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวได้ ส่วนในระยะต่อไป คาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวจากการใช้จ่ายภาครัฐและภาคเอกชนที่มีแนวโน้มปรับดีขึ้น หลังสถานการณ์ทางการเมืองเริ่มมีความชัดเจน แต่ยังมีความเสี่ยงจากการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวที่อาจฟื้นตัวช้า ด้านแรงกดดันเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นบ้าง ธปท.คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 57 จะขยายตัว 1.5% (ใน1H57 ติดลบ 0.5% และเติบโตใน 2H57 ที่ 3.4-3.5%) และเติบโตสูงขึ้นกว่า 5% ในปี 58 ซึ่งตัวเลขคาดการณ์เปลี่ยนไปจากประมาณการของปี 57-58 เมื่อเดือนมี.ค.57 ที่ 2.7% และ4.8% ตามลำดับ โดยธปท.จะแถลงอย่างเป็นทางการวันที่ 27 มิ.ย.นี้
• ปัจจัยที่ธปท.ติดตาม คือ 1. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่จะปรับขึ้นใน 2H57 แต่คาดว่าจะส่งผ่านไปยังราคาสินค้าไม่มากนัก, 2. พัฒนาการทางเศรษฐกิจและการเงิน เพื่อดำเนินนโยบายการเงินอย่างเหมาะสม และหนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพในระยะยาว
• ความเห็น Retail Research : คาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 57 ที่ 1.5%ต่ำกว่าที่ตลาดประเมินไว้ที่ประมาณ 2% บ่งชี้ว่าหลายภาคส่งจะมีการฟื้นตัวได้ไม่เร็วนัก เช่นการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่คสช.ต้องใช้เวลาในการพิจารณาทบทวนโครงการก่อนอนุมัติลงทุน และอาจจะเริ่มลงทุนได้จริงในปี 58, ภาคท่องเที่ยวและส่งออกที่ฟื้นตัวช้า ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจโลกและการปรับโครงสร้างการผลิตที่ล่าช้าในบางผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 58 ที่มากกว่า 5% ก็ดีกว่าคาด แสดงว่าการเติบโตในส่วนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 2H57 ได้เลื่อนไปเข้าปี 58 แทน
• ทาง DBS Group Research คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 57-58 จะขยายตัว 1.6% และ3.8% ซึ่งต่ำกว่าที่ธปท.ประมาณการ แต่ประมาณการในปี 58 มี Positive Upside เพราะเป็นการคาดการณ์ก่อนที่คสช.จะเข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน
• ในเชิงกลยุทธ์การลงทุน เห็นว่าการอ่อนตัวของราคาหุ้นเป็นโอกาสในการทยอยซื้อหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี ที่จะได้รับประโยชน์จากการบริโภค การลงทุน การท่องเที่ยว และการส่งออกที่จะฟื้นตัวดีขึ้นในปี 58 ซึ่งเราประเมินว่า Key growth ของเศรษฐกิจไทยในปี 58 คือ การลงทุนภาครัฐ & เอกชน และการส่งออกที่เติบโตดีขึ้น กลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะมีผลประกอบการเติบโตแข็งแกร่ง/ Turnaround ในปี 58 คือ
# รับเหมาก่อสร้าง (หุ้นเด่น CK, STEC รองลงมาเป็น SEAFCO)
# วัสดุก่อสร้าง (หุ้นเด่น SCC, SCCC, TASCO)
# นิคมอุตสาหกรรม (หุ้นเด่น ROJNA รองลงไปเป็น AMATA, HEMRAJ)
# ธนาคารพาณิชย์ (หุ้นเด่น BBL, KBANK, KTB)
# ยานยนต์ & ชิ้นส่วน (หุ้นเด่น SAT)
# ท่องเที่ยว & การบิน (หุ้นเด่น AOT, MINT)
+ ประชุมบอร์ด BOI นัดแรก อนุมัติโครงการลงทุนกว่า 1.2 แสนล้านบาท
+ ที่ประชุมบอร์ด BOI นัดแรกเมื่อวานนี้ (18 มิ.ย.) ได้อนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนจำนวน 18โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุนกว่า 1.2 แสนล้านบาท ประกอบด้วย
• ความเห็น Retail Research : หลังจากการบริหารงานของคสช.เดินหน้าอย่างเป็นรูปธรรม(ล่าสุดคือการที่บอร์ด BOI อนุมัติโครงการส่งเสริมลงทุนมูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาทดังข้างต้น) คาดว่าการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วง 2H57 และคาดว่าจะเติบโตสูงในปี 58 โดยจะมีทั้งการลงทุนในโครงการตามแผนเดิม และการลงทุนใหม่ที่จะรองรับอุปสงค์ในประเทศ ภูมิภาคกลุ่ม AEC และการส่งออกไปในภูมิภาคอื่นๆ ด้วย สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการลงทุนภาคเอกชนที่ฟื้นตัว คือ รับเหมาก่อสร้าง, วัสดุก่อสร้าง, นิคมอุตสาหกรรม ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งดูรายละเอียดหุ้นเด่นได้จากด้านบน)
กลุ่มยานยนต์ & ชิ้นส่วนมีแนวโน้มดีในระยะยาว เมื่อพิจารณาอุตสาหกรรมที่ขอรับและได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ในตารางข้างต้นแล้ว เห็นว่าธุรกิจยานยนต์และชิ้นส่วนน่าจะมีแนวโน้มดีในระยะยาว โดยผู้ประกอบการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในมูลค่ารวมกันถึง 9.4 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 75% ของมูลค่าโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมฯในรอบนี้ และอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมีมูลค่า Supply chain ที่สูงและแข็งแกร่งมาก รวมทั้งระบบการใช้ชิ้นส่วนของค่ายประกอบรถยนต์แบบ Just in Time ซึ่งผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศไทยสามารถทำและตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ความเสี่ยงที่ผู้ผลิตรถยนต์ต่างๆ จะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศหรือภูมิภาคอื่นนั้นต่ำมาก เราแนะนำให้ทยอยซื้อลงทุนระยะยาวในกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน โดยหุ้นเด่น คือ SAT, STANLY, AH ส่วนหุ้นเล็กในกลุ่มนี้เราชอบ LHK
• ปลัดกระทรวงการคลังยืนยันว่ายังไม่มีแนวคิดเรื่องการเก็บภาษีกำไรจากการซื้อขายหุ้น (Capital gain tax)
• นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง ยืนยันว่ากระทรวงการคลังยังไม่มีแนวคิดในการเก็บภาษีที่ได้จากกำไรในการซื้อขายหุ้น (Capital gain tax) แม้ก่อนหน้านี้จะได้มอบหมายให้ 3 กรมจัดเก็บภาษี และ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)ไปพิจารณาแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างภาษี แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีหน่วยงานใดรายงานเข้ามาว่าจะมีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : Tel 7829 [email protected]